Inujima เกาะศิลปะที่เลิกถลุงแร่มาดูแลสิ่งแวดล้อม

พูดถึงเกาะศิลปะของญี่ปุ่น ชื่อของ Naoshima คงขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ใครมีเวลามากหน่อย อาจจะเคยแวะไป Teshima หรือ Shodoshima ที่อยู่ใกล้ๆ กัน จริงๆ แล้วในน่านน้ำทะเล Seto Inland ยังมี Inujima เกาะศิลปะอีกแห่งที่กรุบกริบไม่แพ้กัน แถมยังมีสตอรี่เข้มข้นและสภาพแวดล้อมแตกต่างจากเกาะศิลปะอื่นๆ ที่นี่เคยเป็นอดีตที่ตั้งโรงถลุงแร่ทองแดงซึ่งตัวโรงงานยังอยู่ในสภาพดีและถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสุดเท่ แถมยังมี Art House กระจายตัวอยู่ทั่วเกาะอย่างเก๋ ดูเผินๆ ก็กรุบกริบตามมาตรฐานจริตงานอาร์ตร่วมสมัยญี่ปุ่น แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สถาปัตยกรรมและงานศิลปะบนเกาะนี้กำลังพยายามทำคือการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับโรงงานที่อดีตเคยสร้างความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมและนำความเดือดร้อนมาให้คนในชุมชน ถ้ายังไม่เคยไป วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความใส่ใจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของอินุจิมะ เกาะศิลปะไซซ์เอสที่มีความยาวรอบเกาะ 36 กม. พื้นที่ 0.54 ตร.กม. และคนอยู่อาศัยประมาณ 50 คน Inujima Seirensho Art Museum อินุจิมะอยู่ในเขตจังหวัดโอคะยะมะ เป็นเกาะหลักในบรรดาหมู่เกาะอินุจิมะและเป็นเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ เป็นเกาะชิลๆ ที่เดินประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงก็ทั่วแล้ว สมัยก่อนนิยมตั้งบนเกาะเพราะอยากลดมลภาวะทางอากาศในตัวเมืองและเพื่อความสะดวกในการขนส่งวัสดุต่างๆ คนในเกาะลงทุนตั้งโรงงานถลุงแร่ทองแดงในปี 1909 แต่อยู่ได้แค่ […]

More Meat อาหารทางเลือก กินเนื้อไม่ใช่เนื้อ l Urban เจอนี่ EP.3

กระแสรักสุขภาพและเทรนด์การบริโภคอาหารทางเลือกลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยที่สุด กำลังเป็นที่นิยม URBAN เจอนี่ EP. นี้ ขอเอาใจสายโปรตีน พาไปเจอ More Meat : Plant Based Food โปรตีนจากพืช อาหารทางเลือกของคนยุคใหม่ ที่ใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรชุมชนไทย มาพัฒนาให้รสสัมผัสเสมือนเนื้อสัตว์ บอกเลยว่าหากคุณหลับตากินเข้าไป นึกว่าเนื้อสัตว์จริงๆ! ติดตามรายการ URBAN เจอนี่ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook และ Youtube : Urban Creature หากมีข้อติชมหรืออยากให้เราไปที่ไหน ร่วม Comment เป็นกำลังใจให้ทีมงานได้เลยครับ #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #Moremeat #PlantBasedFood #food

หยุดด้อยค่า เสียงของแรงงาน l Urban Sound Check

‘ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร คุณคือคนทำงาน’ Urban Creature ขอพาคุณร่วมขบวนส่งพลังเนื่องในวันแรงงานสากลที่ผ่านมา แสดงพลังเสียงของคุณ หยุดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ สวัสดิการต่างๆที่แรงงานควรจะได้ ‘เพราะคนที่สำคัญที่สุดในองค์กร ในที่ทำงาน คือพวกเรา’ มีแค่เจ้าของ มีแค่นายทุน บริษัทไปต่อไม่ได้  ร่วมแสดงพลังของคุณไปพร้อมกับเราผ่าน Urban Soudcheck มนุษย์-สิทธิ-ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน? #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #วันแรงงานสากล #แรงงาน #รัฐสวัสดิการ #สวัสดิการ 

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

รถไฟฟ้าสามล้อชุมชน จากมือคนไทย l URBAN เจอนี่ EP.2

ถอดรหัส รถไฟฟ้าชุมชนจากฝีมือคนไทย ดีจริงหรือแค่กระแส? ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคมนาคม และหากมองรวมถึงความปลอดภัยในท้องถนนของสังคมไทย ก็มักเห็นข่าวอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง URBAN เจอนี่ EP.2 ขอพาทุกคนไปพบกับ ‘หนุ่ม ศตวรรษ ลิ้มกอปรไพบูลย์’ กรรมการ บริษัท Electric Racing Automotive Co., Ltd จากคนชอบรถซิ่งที่หยิบเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในการใช้รถของผู้สูงอายุอย่างคุณพ่อของตนเอง มาพัฒนาจนเกิดเป็นรถไฟฟ้า “ERA ATOM” รถไฟฟ้าสามล้อ ฝีมือคนไทย ถ้าคุณมองจากด้านหน้า คุณจะเห็นเจ้ารถ ERA ATOM เหมือนตัวการ์ตูน มีที่ดวงตากลมโตน่ารัก แต่แฝงความ Smart ในการใช้งาน และหากคุณเป็นสายซิ่ง สามารถปรับเกียร์ เพื่อให้รถจ่ายไฟสูงสุด ได้ใน 30 วินาที บอกเลยว่าไม่ว่าคุณจะชอบขับแบบไหน ต้องหลงรักเจ้ารถ ERA ATOM คันนี้แน่นอน อย่ารอช้า เราขอพาคุณนั่งเจ้า ERA ATOM บุกโรงงาน ร่วมพูดคุยถึงที่มา และทิศทางของรถไฟฟ้าในประเทศไทย จะเป็นอย่างไรนั้น […]

SoundCheck – Bangkok Street Noise เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ

เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ “ทำไมพื้นที่ที่ให้ความสุขทางเสียงดนตรี ถึงมีแต่ผับบาร์ หรือต้องไปคอนเสิร์ตฮอลล์” เมื่อเกิดคำถามว่าทำไม? Urban Soundcheck EP. นี้ อยากขอพาทุกคนมานั่งฟังดนตรีในสเปซที่ประชาชนทุกคนสามารถมีประสบการณ์ร่วมกัน กับกลุ่ม Bangkok Street Noise. จุดเริ่มต้นจากกลุ่มคนดนตรีกลุ่มเล็กๆ ที่อยากเล่นดนตรีนอกสถานที่ ได้เปลี่ยนพื้นที่เมืองธรรมดาๆ ที่โล่งและไม่มีคนใช้ในการจัดกิจกรรมดนตรี ทั้งใต้สะพานลอย ใต้ทางด่วน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรืออายุเท่าไร ก็สามารถมีสเปซและมีความสุขกับเสียงดนตรีร่วมกันได้ ก้าวเล็กๆ ของกลุ่ม Bangkok Street Noise ทำให้เมืองที่เราอยู่น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร และจะเป็นอย่างไร หากเมืองของเรามีสเปซแบบนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ติดตามได้จาก Urban Soundcheck นี้กัน! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #Soundcheck #Bangkok #street #song

ทำความเข้าใจสงคราม ‘รัสเซียบุกยูเครน’ ผ่าน 5 สถานที่

นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงตอนนี้ ครบ 2 เดือนแล้วที่รัสเซียเริ่มทำสงคราม ‘รุกราน’ ยูเครน ทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพกว่า 11 ล้านคนในทวีปยุโรป ผู้คนบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต และเมืองต่างๆ ถูกทำลายอย่างราบคาบหลังเปลี่ยนเป็นสมรภูมิสงคราม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2 วันก่อนรัสเซียปฏิบัติการทางการทหาร มีรายงานอย่างหนาหูว่า ทหารรัสเซียกว่าหนึ่งแสนคนตั้งกองกำลังประชิดเขตแดนของประเทศยูเครน และประธานาธิบดีรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ก็ได้ประกาศรับรองเอกภาพของเขตการปกครองลูฮานส์ (Luhansk) และดอแนตสก์ (Donetsk) ทางตะวันออกของยูเครน แต่ปูตินก็ยังยืนยันหนักแน่นว่ารัสเซียไม่มีแผนบุกยูเครนแน่นอน  2 วันถัดมา เราจึงรู้ว่าคำกล่าวนั้นเป็นเพียงลมปาก รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกยูเครนจากทางเหนือ ตะวันออก และทางใต้ สื่อตะวันตกหลายแห่งรายงานตรงกันว่า การระดมกองกำลังทหารและสรรพาวุธของรัสเซียครั้งนี้มีจำนวนมากที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา  มีการวิเคราะห์กันว่า ฝ่ายรัสเซียหวังลึกๆ ว่าการรุกรานยูเครนในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เริ่มไวจบไว เหมือนการบุกยึดดินแดน ‘ไครเมีย’ ภายใต้การปกครองของยูเครนเมื่อปี 2014 แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นดังหวัง เพราะชาติตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือยูเครน […]

URBAN เจอนี่ EP.1 l บุกเส้าหลินวงการ Sport Stacking เมืองไทย (กีฬาเรียงแก้ว)

ใครจะคิดว่าการเล่นเรียงแก้วธรรมดาๆ จะเป็นเกมกีฬาสุดเจ๋งสำหรับทุกเพศทุกวัย! ขอเปิดประเดิมรายการใหม่ล่าสุดของ Urban Creature กับรายการ URBAN เจอนี่ ‘อยากเจอดี ต้องได้เจอ’ เมื่อความนิยมของ SPORT STACKING กลับมาอีกครั้งต้อนรับกระแสจากหนัง Fast and Feel Love เราจึงอยากพาคุณบุกสถานที่ ที่ได้ชื่อว่า เส้าหลินแห่งวงการกีฬาเรียงแก้ว ตามไปดูความยิ่งใหญ่ ถ้วยรางวัลการันตีและความสามารถของเด็กๆ ที่มีต่อกีฬาเรียงแก้ว จะสนุก มัน ฮา ขนาดไหน เราขออุบไว้ไม่อยากสปอยเยอะ แต่รับรองว่ารายการใหม่ของเราจะทำให้ทุกวันเสาร์ของคุณไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ติดตาม ‘URBAN เจอนี่’ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook  และ Youtube ได้แล้วตั้งแต่วันนี้! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #กีฬาเรียงแก้ว #Sport #Stacking 

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

Blooming Summer สดใสรับหน้าร้อนกับศิลปะจาก 3 ศิลปิน ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ

หน้าร้อนปีที่แล้วหลายคนอาจจะต้องกักตัวอยู่แต่ที่บ้าน แต่หน้าร้อนปีนี้ใครที่ไม่อยากเฉา เราอยากพาทุกคนไปรับพลังความสดใสของศิลปะกับหมู่ดอกไม้ที่เบิกบานกับแคมเปญ ‘Blooming Summer’ ที่เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศให้กลายเป็น Art Exhibition ออกแบบโดย 3 ศิลปินระดับประเทศ คือ ปรางค์-วิภาลักษณ์ ศิริพลานนท์, ปอม ชาน-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง และ สกุล อินทกุล   Blooming Summer จัดแสดงในศูนย์การค้าเซ็นทรัลต่างสาขากันไปตามรูปแบบสถานที่ ใครอยู่ใกล้สาขาไหนก็ออกไปชมความยูนีกของที่นั้นๆ กันได้ แต่ทุกสาขาจะได้รับความสดใส เยียวยาจิตใจกลับไปไม่ต่างกัน! ออกไปรับพลังสู้หน้าร้อนได้ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลใกล้บ้านคุณ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2565 มาเริ่มกันที่งานออกแบบของ ปรางค์ วิภาลักษณ์ ที่จัดแสดง ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ในคอนเซปต์ The Blooming House ได้แรงบันดาลใจจาก Architecture ของเซ็นทรัลเวิลด์ที่ตัวอาคารมีกระจกรอบตัวจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นไอเดียคล้าย Green House หรือกระจกโรงเรือนขนาดใหญ่ที่ด้านในเต็มไปด้วยดอกไม้สีสันสดใส ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายของคุณปรางค์ด้วยเพราะปกติไม่ได้ทำงานชิ้นใหญ่ขนาดนี้ ครั้งนี้จึงถือว่าได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่เป็น 3D ขึ้นมา โดยประกอบไปด้วย […]

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

1 64 65 66 67 68 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.