Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional

เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

ความเสี่ยงและโรคภัย ที่มาพร้อมวิถีชีวิตคนเมือง กับหมอภัทรภณ | Unlock the City EP.09

ไทยคือหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตในช่วงวัย 30 – 60 ปี หรือที่เรียกว่า ‘ตายก่อนวัยอันควร’ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น เราสามารถออกแบบนโยบายสุขภาพหรือแม้กระทั่งออกแบบผังเมือง เพื่อป้องกันการเกิดโรคในคนกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อแก่ตัวไป พวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เจ็บป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและเมือง Unlock the City เอพิโสดนี้ ชวนฟังบทสนทนาของ ‘ภัทรภณ อติเมธิน’ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มาแลกเปลี่ยนถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเมือง ที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทวีความรุนแรง เนื่องจากวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้แข่งขัน ภายใต้ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทุ่นแรง ซึ่งอีกแง่หนึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ ‘เนือยนิ่ง’ ในหมู่คนรุ่นใหม่ ยังไม่นับเปอร์เซ็นต์ของโรคติดต่อ-โรคไม่ติดต่อ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามกลุ่มการพัฒนาของประเทศทั่วโลก เพราะหากลงลึกถึงปัญหาจริงๆ แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน อาหารการกิน การคมนาคมขนส่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ไม่มากก็น้อย ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/zXOicJq9-5Q Spotify : https://spoti.fi/3qg5kSi Apple Podcasts : […]

‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

Dr.Back และ หมอเจี๊ยบ พาเหล่าคนนอนไม่หลับ ท้าพิสูจน์การนอนระดับดอกเตอร์กับที่นอนเพื่อคนเจนใหม่

หลายคนคงจะประสบปัญหาที่เป็นผลต่อเนื่องจากการ WFH ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเครียดสะสม หรือแม้แต่อาการปวดหลัง ปวดไหล่ ที่เราอาจจะคิดว่าหากร่างกายได้นอนพักผ่อนก็คงจะบรรเทาอาการได้ แต่หากเลือกซื้อที่นอนที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกายนั้น แทนที่จะช่วยให้อาการเบาลงแต่อาจทำให้ปัญหาหนักขึ้นกว่าเดิมก็ได้ ทางแบรนด์ที่นอนอย่าง Dr.Back ก็เลยหาเหล่าคนรุ่นใหม่ที่มีปัญหาการนอนไปลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่ร่วมกับ ‘หมอเจี๊ยบ-ลลนา ก้องธรนินทร์’ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งนอนไม่หลับ ปวดหลังหรือปวดคอ มาร่วมสัมผัสการนอนแบบใหม่กับที่นอนเจนใหม่ ที่จะช่วยให้นอนหลับระดับดอกเตอร์ ฟื้นฟูสภาพร่างกายและเปลี่ยนเวลานอนให้เป็นช่วงที่สบายและผ่อนคลายที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดย Dr.Back ได้พาผู้โชคดีทั้ง 3 คู่และหมอเจี๊ยบไปปรับสมดุลการนอนให้ถูกต้องและทดลองนอนที่นอนเจนใหม่ แบบ Hybrid Technology (ที่นอนพ็อกเกตสปริงเสริมเมมโมรี่โฟม) ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนเมืองกันที่ The Standard Hua Hin พร้อมกับกิจกรรมทั้งทาง Mental และ Physical รวมถึงการทดลองใช้เครื่องนอนอย่างหมอนและที่นอนจาก Dr.Back สำหรับการนอนหลับที่ดีกันด้วย การนอนคือช่วงเวลา 1 ใน 3 ของชีวิต ดังนั้นการเลือกที่นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะหากเลือกที่นอนที่แข็งเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยช่วงหลังล่าง และจะทำให้จุดใดจุดหนึ่งของร่างกายกดทับกับที่นอนมากเกินไป เช่น ช่วงหลัง สะโพก หรือหัวไหล่ เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่สบายและตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกายนั่นเอง หรือหากเลือกใช้ที่นอนที่นิ่มเกินไป […]

Bangkok eyes 01/50 – เขตธนบุรี

ธนบุรีเป็นเขตหนึ่งที่เราเดินทางผ่านบ่อยๆ เพราะอยู่ละแวกบ้าน แต่เราก็ไม่ค่อยได้เดินสำรวจเขตนี้สักเท่าไหร่ มีไปจุดใหญ่ๆ มาบ้าง อย่างโบสถ์ซางตาครู้ส วัดประยุรวงศาวาสฯ สี่แยกบ้านแขก ตลาดพลู และแถววงเวียนใหญ่นิดหน่อย เท่าที่รู้สึกคุ้นเคยกับเขตนี้มา ธนบุรีดูจะเป็นเขตที่มีชุมชนบ้านเดี่ยวและตึกแถวอยู่เยอะ แต่ก็มีคอนโดฯ เกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย เป็นย่านที่ดูน่าสนใจ แต่เรายังไม่เคยได้เดินเข้าไปในตรอกเล็กซอกซอยน้อยสักเท่าไหร่ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าภาพถ่ายจะออกมาเป็นอย่างไร ก่อนไปลงพื้นที่จริงจึงลองสำรวจทั้งเขตคร่าวๆ ใน Google Maps โดยหาจุดท่องเที่ยวและจุดแวะกินซะก่อน ซึ่งก็ไม่ค่อยพบอะไรมากนัก สุดท้ายก็ปักธงว่าจะลองเดินช่วงวุฒากาศไปโบสถ์ซางตาครู้ส หลังจากออกเดินมาก็พบชุมชนเล็กๆ ที่มีเยอะมาก ทำให้มีช่องแสงนิดๆ หน่อยๆ เกิดเป็นเส้นสายน่าสนใจดี ในช่วงเช้าตามตลาดจะมีคนเยอะเป็นพิเศษ ใครที่อยากมาเดินเล่นแถวนี้สามารถเข้าไปตามชุมชนและพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้ ขนาดเราถือกล้องเข้าไป เขายังค่อนข้างเป็นมิตรเลยทีเดียว น่าเสียดายที่ช่วงวันที่เราไปมีเมฆมากเกือบทุกวันและทุกเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคนิดหน่อยกับการถ่ายภาพที่ต้องเล่นกับแสง ซีนที่เราชอบและคิดว่าน่าแวะเลยคือ สถานีรถไฟตลาดพลู เพราะถึงจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ แต่สีและการออกแบบให้ความรู้สึกคลาสสิกสุดๆ ที่สำคัญมีร้านข้าวหมูแดงชื่อดังอยู่ตรงนั้นอีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงตอนบนๆ ของเขตบริเวณวัดกัลยาณมิตรฯ ก็มีนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานแวะเวียนเข้า-ออกกันเป็นระลอก ถือว่าเป็นเขตที่มีอะไรให้เซอร์ไพรส์ได้ตลอดทางอยู่เหมือนกัน

Smart Farmer ที่ผลิตนมโคด้วยเทคโนโลยี l Urban Journey เจอ ฟาร์มนมโฮมเมด

เราเคยตั้งข้อสงสัยกันไหมว่า ทำไมมนุษย์ต้องดื่มนมวัวทั้งๆ ที่ตอนเกิดเราดื่มนมแม่ แล้วแบบนี้นมวัวที่เรากินอยู่ทุกวันนี้เป็นการที่เราฝืนธรรมชาติหรือเปล่า ในบางครั้งเราก็มักจะเจอบทความที่เขียนถึงอันตรายหรือข้อเสียกับการดื่มนม  ทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากมายว่าสรุปแล้ว มนุษย์อย่างเราควรดื่มนมวัวหรือไม่ Urban journey  ในตอนนี้เราจึงจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกันว่ามนุษย์อย่างเราควรกินนมวัวต่อไปหรือไม่ กับฟาร์มที่ได้ชื่อว่าผลิตนมวัวที่มีคุณภาพมากที่สุดในตอนนี้อย่าง ก้าวแรกฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์โคนมคุณภาพอย่าง Mellow Milk   อีกทั้งความน่าสนใจของ ก้าวแรกฟาร์ม อยู่ที่วิธีการดูแลแม่โคนม ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดและยังเป็นฟาร์มที่นมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพนมวัวให้เทียบเท่าระดับโลกอีกด้วย

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

ทำไมคนไทยเชื่อหมอดูมากกว่าจิตแพทย์? เพราะงมงายหรือเข้าถึงง่ายกว่า

เวลาคุยกับหมอดู คุณถามว่าอะไรกันบ้าง?ช่วงนี้เครียดกับเพื่อนร่วมงานมาก งานนี้จะรอดไหม?ที่ทำงานบีบเงินเดือนสุดๆ ปีนี้จะรวยไหม?ทุ่มเทให้เขาขนาดนี้ เขาจะรักเราบ้างไหม? คำถามเหล่านี้ต่างเป็นปัญหาสุดกลุ้มใจของใครหลายคน หากให้เลือกปรึกษาระหว่างจิตแพทย์กับหมอดู เชื่อว่าส่วนใหญ่ขอพุ่งเข้าหาแม่หมอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันศาสตร์ทำนายอนาคตฮิตในบ้านเรา และทุกวันนี้มีธุรกิจสายดวงผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะบริการดูดวงออนไลน์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย เช่น YouTube, Facebook, Twitter หรือ TikTok จนทำให้บางคนที่ชอบดูดวงมองว่า หมอดูก็สามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจและรู้สึกมีความหวังในวันที่เขาหลงทาง รวมทั้งให้คำปรึกษาคล้ายกับจิตแพทย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ดูดวง ที่พึ่งยามยากที่เข้าถึงง่าย ความนิยมการดูดวงไม่ใช่เรื่องคิดไปเอง จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี และเป็นโสด สาเหตุที่เลือกดูดวงเนื่องจาก 1 ใน 3 พบว่ารู้สึกเครียดและต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ จึงต้องการรับรู้เรื่องอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจการตัดสินใจในปัจจุบัน เรื่องที่คนเมืองมักจะปรึกษาแม่หมอมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2) การเงินและการค้า และ 3) เรื่องโชคลาภ […]

FYI

NEW TRIBE OF URBAN LIVING สู่ชีวิตในเมืองที่ดีกว่าของเผ่าพันธ์ุใหม่กับ ‘CULTURE‘

“เปลี่ยนวิถีชีวิตในเมือง สู่การขับเคลื่อนพลังสร้างสรรค์ร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในวันนี้สู่วันที่ดีกว่าในอนาคตข้างหน้า”  คือสิ่งที่ ‘Culture’ คอนโดฯ ใหม่จากอนันดา (Ananda) บอกเล่าเพื่อนำเสนอทางเลือกของการใช้ชีวิตใจกลางเมือง แนวคิดใหม่ของการอยู่อาศัยในสังคมร่วมสมัยที่ดึงดูดผู้คนที่เปี่ยมด้วยพลังสร้างสรรค์มาอยู่ร่วมกัน เพื่อผสานไอเดียของยุคสมัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ดีกว่า สะดวก สบาย ในมาตรฐานระดับโลกได้ทุกวัน Culture มองเห็นว่าเรื่องหลักของที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ผู้คนนั่นคือ ‘สะดวก’ และ ‘สบาย’ ด้วยรูปแบบของชีวิตผู้คนที่ต้องวุ่นอยู่กับการงานจนอาจไม่มีเวลาดูแลทำความสะอาดห้อง หรือบางวันการซักผ้า รีดผ้า ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จึงมีเซอร์วิสที่ช่วยดูแลความยุ่งยากต่างๆ เหล่านี้อย่างครบครัน เหนือไปกว่าความสะดวกสบายในระยะสั้น Culture ยังให้ความสำคัญกับการบริการหลังการขายในระยะยาว ทั้งการจัดการส่วนกลางและการดูแลเรื่องอื่นๆ ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของลูกบ้านทุกคนดีขึ้นด้วยมาตรฐานแบรนด์ดังระดับโลก สังคมแบบใหม่ ที่ทำงานสะดวก เล่นได้ ใช้ชีวิต Culture มอบความลงตัวของการใช้ชีวิตทุกด้าน ทั้ง Live, Work, Play, Learn ด้วยการจัดการพื้นที่ภายในโครงการเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์กลุ่มคน อย่างเช่นการมีพื้นที่ส่วนกลางเปิดกว้าง สามารถจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ได้อเนกประสงค์ ตั้งแต่ปลูกพืชสวนครัวเพื่อให้ทุกคนได้มาเรียนรู้แลกเปลี่ยนในส่วนของกิจกรรม หรือ Yard Community ของโครงการที่ชวนให้ทุกคนนำสิ่งของที่สามารถ Recycle มาแลกเปลี่ยนกันได้ รวมถึงพื้นที่ตลาดเพื่อเติมเต็มการอยู่อาศัยที่ครบทุกมิติของไลฟ์สไตล์ ให้การอยู่อาศัยในเมืองครั้งนี้ต่างไปจากเดิม อยู่ร่วมกันด้วยความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ […]

1 56 57 58 59 60 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.