FYI

3 ฟาร์ม 3 ความสุขที่ปลูกเองได้ กับ ‘KUBOTA’ เพื่อนคู่ใจเกษตรกร  

ความสุขของคุณคืออะไร? บางคนอาจบอกว่าความสุขคือการออกไปพบเจอผู้คน ได้อยู่กับคนที่รัก หรือประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่หรือเล็กน้อยแค่ไหน ทุกความสุขล้วนมีคุณค่าเช่นเดียวกัน ไม่ต่างอะไรกับเหล่าเกษตรกรทั่วประเทศที่มองหาความสุขที่อยู่รอบๆ ตัว ผ่านผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของตน ไปจนถึงตัวช่วยสำคัญของเหล่าเกษตรกรอย่างเครื่องมือทางการเกษตร ยิ่งสำหรับเกษตรกรมือใหม่ ผู้ตัดสินใจละทิ้งความรีบเร่งในเมืองกรุง หวนคืนสู่ธรรมชาติ การมีอุปกรณ์ดีๆ ที่เป็นเหมือนเพื่อนคู่ใจคงช่วยทุ่นแรงไม่น้อย ‘แทรกเตอร์คูโบต้า’ คือตัวช่วยสำคัญของเหล่าเกษตรกรมือใหม่ ที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดีควบคู่ไปกับการมีความสุข ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกความรู้เป็นต้นแบบเกษตรกรรม สู่ทางเลือกให้คนที่อยากเป็นเกษตรกร โดยสื่อสารผ่าน 3 ความสุข 3 ต้นแบบเกษตรกร 3 จุดเปลี่ยน เพื่อผลลัพธ์ความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ในแคมเปญ ‘แทรกเตอร์คูโบต้า ต้นแบบความสุขที่ปลูกเองได้’ ที่ชวนเกษตรกรรุ่นใหม่มาแบ่งปันเรื่องราวความสุข องค์ความรู้ และประสบการณ์การใช้งานแทรกเตอร์คูโบต้า เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกความรู้ และเป็นต้นแบบแห่งความสุขให้คนที่เพิ่งเริ่มต้นบนเส้นทางอาชีพนี้ ยา-กัลยา พงสะพัง | ปลูกความสุข เพื่อ ‘สิ่ง’ ที่เรารัก “แต่ก่อนเรามองว่าความสุขคืออะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เรื่องเกษตร” ‘ยา-กัลยา พงสะพัง’ อดีตพนักงานบริษัทยางรถยนต์และเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกรเจ้าของ ‘ไร่ปรียา’ ที่เต็มไปด้วยความสุขที่ปลูกเองได้ และพร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้นักสู้ทุกคน ชีวิตของยาเริ่มต้นและเติบโตในจังหวัดขอนแก่น ก่อนที่จังหวะกับโอกาสจะพาเธอเดินทางเข้าสู่เมืองกรุง […]

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

รับมือหัวใจอันบอบบาง กับความเหงาในเมืองใหญ่

“คนเราต้องได้รับการกอดถึงสี่ครั้งต่อวัน เพื่อการมีชีวิตรอด” เวอร์จีเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir) นักจิตบำบัดครอบครัวชื่อดังคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ “และพวกเราก็ยังจำเป็นต้องได้รับการกอดถึงแปดครั้ง เพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ และการกอดถึงสิบสองครั้ง เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของเรา” โห…คุณเวอร์จีเนีย เอาแค่เบสิกการกอด 4 ครั้งของคุณยังยากเลย เพราะวันๆ นี้ แค่ทำงานให้ทันเดดไลน์เอย เตือนตัวเองให้หยุดทำงานแล้วมาทานข้าวบ้างเอย นั่งเฉาอยู่ในรถที่ติดหนึบเป็นชั่วโมงๆ เอย หลายชีวิตในเมืองกรุงแทบไม่มีเวลาหรือกะจิตกะใจจะมานั่งนับ ‘การกอด’ ในหนึ่งวันกันหรอก ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่เขาว่า ก็ไม่น่าแปลกใจที่ถึงหลายคนจะอยู่ในเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่านมากมายขนาดไหน ในใจลึกๆ ก็โดนแทรกซึมไปด้วยพลังแห่งความเหงาอยู่ดี ก่อนกลับมากรุงเทพฯ เมืองแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ฉันเคยอยู่ก็ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ หากใครเคยดูหนังเรื่อง LA LA LAND เมื่อหลายปีที่แล้ว คงเห็นว่าใครต่อใครจากเมืองหรือประเทศอื่น มักใฝ่ฝันอยากมาตามล่าหาฝันกันในเมืองแห่งนี้ เมืองที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเชื้อชาติ หลากศาสนา หลายความสามารถ ฯลฯ โดยเฉพาะอาชีพที่ดื่มด่ำอยู่ในแสงสีเสียงของวงการมายา ต่างก็มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ ฟังดูเหมือนเป็นเมืองแห่งความสนุกสนาน รื่นเริงในทุกหย่อมหญ้า แต่ภาพที่ฉันจำได้แม่นเลยคือ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ก็มักสัมผัสกลิ่นอายความเหงาจากใครบางคนที่นั่งอยู่ ไม่ว่าจะคนเดียวหรือกับเพื่อนฝูงเสมอ Connection-สายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง เมื่อนึกถึงเด็กๆ […]

Urban Eyes 07/50 เขตห้วยขวาง

ห้วยขวางเป็นเขตเพื่อนบ้านกับเขตดินแดงที่เราเพิ่งไปถ่ายภาพมาไม่กี่สัปดาห์ก่อน โดยครั้งนี้ เราได้ไปลงพื้นที่สำรวจกับรุ่นน้องชื่อ ‘บุ๋น’ ที่ช่วยแนะนำทางนิดๆ หน่อยๆ เราคิดว่าโซนด้านล่างตามถนนเพชรบุรีนี่น่าสนใจดี ช่วงเย็นๆ หลังเลิกเรียนและเลิกงานจะมีคนเดินไปมา ค่อนข้างคึกคัก จุดที่ชอบเป็นพิเศษคือสะพานที่อยู่กับท่าน้ำ มศว ประสานมิตร เพราะดูมีชีวิตชีวา แต่พอเดินถัดมาอีกหน่อย เจอถนนเล็กๆ สายเลียบทางรถไฟบริเวณใต้ทางด่วนหน้า RCA ตรงนี้ไม่เหมาะกับการเดินถ่ายภาพสตรีทเลย เพราะเดินๆ ไป ทางเท้าก็ค่อยๆ หาย มีแต่ทางรถยนต์ ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ  พอตัดสินใจเข้าไปเดินหาซีนเจ๋งๆ ในซอยศูนย์วิจัยได้ครึ่งทาง ก็เจอกับปัญหาใหญ่ นั่นคือน้ำท่วม! ไม่ใช่แค่ท่วมนิดๆ ด้วยนะ เพราะท่วมถึงข้อเท้า ส่งผลให้การเดินทางค่อนข้างลำบาก แต่ถ้าขึ้นมาในโซนที่สูงหน่อยอย่างช่วงสี่แยกเหม่งจ๋ายก็ดีขึ้น แถบนี้มีโรงเรียนอินเตอร์ คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านอาหารมากมาย ถ้าเดินมาเรื่อยๆ ตามถนนประชาอุทิศไปทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ จะเจอกับย่านคนจีน ที่มีร้านอาหารจีนแบบดั้งเดิมเพียบ อร่อยๆ ทั้งนั้น  อีกจุดที่สนใจไม่แพ้กันคือบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สุทธิสาร นี่แหละ ช่วงเย็นๆ แสงลงกำลังสวย แถมใกล้ๆ กันก็มีถนนเส้นยาวชื่อ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย รายทางเต็มไปด้วยตรอกซอกซอยชื่อน่ารักๆ เช่น ซอยสุขใจ […]

‘จ่าวอัน’ เปลี่ยนโกดังเก่าร้อยปีย่านเยาวราชเป็นคาเฟ่และบาร์ลับกลิ่นอายจีน

หากนิยามของร้านลับคือ ‘ร้านที่ไม่รู้ว่าไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไง’ และ ‘ตัดออกจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง’ JAO.UN (จ่าวอัน) คาเฟ่และบาร์ลับในซอยเจริญชัย 2 ติ๊กถูกทุกข้อได้แบบง่ายๆ ต่างจากความพลุกพล่านบนถนนเยาวราชที่อยู่ไม่ไกลแบบลิบลับ จ่าวอันแทรกตัวอยู่ในชุมชนเจริญชัยที่เงียบสงบ ความน่าสนใจคือนอกจากเปิดเป็นคาเฟ่เสิร์ฟกาแฟและขนมในตอนกลางวัน และเปลี่ยนโหมดเป็นบาร์เสิร์ฟค็อกเทลและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตอนกลางคืนแล้ว นี่ยังเป็นคาเฟ่ฝีมือลูกหลานชาวจีนอย่าง ‘ศิฑ-ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์’ เจ้าของร้านอาหาร Zong Ter ที่จับมือกับเพื่อนสนิทอย่าง ‘กิ๊ฟท์-กนกกาญจน์ กมลเดช’ และ ‘โอ๊ธ-รวิภาส มณีเนตร’ มาช่วยกันทำ เพราะก่อตั้งโดยลูกหลานคนจีน บรรยากาศของร้านไปจนถึงเมนูเครื่องดื่มและอาหารจึงมีกลิ่นอายความเป็นจีนจางๆ สอดแทรกอยู่ในรายละเอียด และหลังจากที่ได้ลองนั่งสนทนากับเจ้าของร้าน เรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบและคิดเมนูก็เอร็ดอร่อยไม่แพ้กัน 家庭 ครอบครัว ถ้าจะบอกว่า JAO.UN คือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากธุรกิจอีกทีก็ไม่ผิด  การเปิดร้าน ZONG TER ธุรกิจที่ศิฑเปลี่ยนร้านยี่ปั๊วประจำครอบครัวให้กลายเป็นร้านอาหาร/คาเฟ่ ส่งผลให้เกิดคาเฟ่/บาร์แห่งนี้ที่เขาชวนเพื่อนๆ ชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อย่างโอ๊ธและกิ๊ฟท์มาช่วยกันทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อครั้งยังทำร้านยี่ปั๊วที่เน้นการขายส่ง อากงของศิฑเซ้งบ้านเก่าอายุกว่า 100 ปีในชุมชนเจริญชัยไว้เป็นโกดังเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อร้านยี่ปั๊วถูกยกเครื่องให้กลายเป็นซงเต๋อ โกดังจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ครอบครัวของศิฑเลยปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อ ทว่าเมื่อปลุกปั้นซงเต๋อจนถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง ศิฑเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย  “เราไปร้านทุกวัน […]

‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL

“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป

ลิสต์หนังสือใหม่ที่ชาว Urban Creature อยากได้ ในมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27

ในที่สุด งานมหกรรมหนังสือระดับชาติก็กลับมาอีกครั้งแบบจัดใหญ่จัดเต็มในบ้านหลังเดิมที่นักอ่านคุ้นเคยอย่าง ‘ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์’ ที่รีโนเวตใหม่ ปรับพื้นที่ให้กว้างขวาง สวยงามร่วมสมัย มีมุมให้ไปสำรวจมากมาย ขณะเดียวกัน ภายในงานก็มีขบวนหนังสือออกใหม่ที่เหล่าสำนักพิมพ์เตรียมขนไปวางขายเป็นร้อยๆ เล่ม เพื่อต้อนรับงานหนังสือที่คุ้นเคย ชาว Urban Creature จึงลิสต์รายชื่อหนังสือใหม่ที่อยากได้จากงานครั้งนี้มาเป็นตัวเลือกให้ทุกคนพิจารณาก่อนกำเงินไปซื้อกัน ขอบอกว่ามีหลากหลายแนวตั้งแต่อ่านเพลินๆ ไปจนถึงอ่านเข้มๆ เลย ชื่อหนังสือ : บนเนินมรณะ สำนักพิมพ์ : Hummingbooks Publishing บูท M01ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  เราชื่นชอบงานเขียนของ ‘อิมามุระ อายะ’ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หลังจากตะลุยอ่านวรรณกรรมแปลไทยทุกเล่มของเขาหมดแล้ว ก็เฝ้ารอคอยและคอยไปถามไถ่สำนักพิมพ์ฮัมมิ่งบุ๊คส์อยู่เรื่อยๆ ว่าจะนำหนังสือของนักเขียนคนนี้มาจัดพิมพ์อีกไหม เนื่องจากงานแปลไทยของอายะมีเพียง 6 – 7 เล่มเท่านั้นจากทั้งหมดกว่า 20 เล่ม เพราะฉะนั้น เราจึงตื่นเต้นและดีใจมากๆ กับการเห็นประกาศหนังสือใหม่ของสำนักพิมพ์ที่มี ‘บนเนินมรณะ’ รวมอยู่ด้วย งานเขียนของอายะ เป็นแนวสืบสวนสอบสวนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายสยองขวัญ ให้ความรู้สึกน่าขนลุก […]

‘Gooutride’ ปั่นหาเส้นทาง มุมมองบนอานจักรยาน

“จักรยานและภาพถ่าย คือสิ่งที่เราเรียกได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารและถ่ายทอดความคิดในแบบของตัวเอง” ตอนที่อยู่บนอานจักรยาน ทุกสิ่งรอบตัวดูช้าไปหมด ผมมีสมาธิมากขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันมันทำให้เรารู้สึกถึงเพื่อนร่วมทางและวิวทิวทัศน์ข้างทางมากกว่าการเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ อาจเพราะเราต้องใช้แรงกายแรงใจในการโฟกัสกับการเดินทางก็ได้ นอกจากชอบปั่นจักรยานแล้ว ผมยังชอบถ่ายภาพด้วย สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะทำไปพร้อมๆ กันได้ไม่ง่ายในสายตาคนทั่วไป แต่ตัวผมสามารถพกกล้อง ปั่นจักรยาน และถ่ายภาพไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคเลย  Gooutride เป็นชุดภาพถ่ายที่นำเสนอการเดินทางด้วยจักรยาน กับการปั่นหาเส้นทาง สถานที่ใหม่ๆ ในชนบท ทั้งหมดอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเพื่อนร่วมทาง สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเรา ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

‘ไม่มีฝันของใครที่เป็นไปไม่ได้’ ล่องไปกับ ‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ EP Album ของ HUGO

‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ คือผลงานอีพีอัลบั้มล่าสุดของ ‘HUGO’ หรือ ‘เล็ก-จุลจักร จักรพงษ์’ ที่ออกสู่สาธารณะเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564  อัลบั้มนี้มีไอเดียจากข่าวที่มหาเศรษฐีและผู้คนบนโลกมากมายเริ่มมองอวกาศเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว เรือสำราญราตรีอมตะ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นภาพจำลองที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม และนำเสนอในแบบ Sci-Fi จินตนาการไปสู่อนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริงได้ในสักวัน ภายในอัลบั้มประกอบด้วย 6 บทเพลงไทย โดยได้นักแต่งเพลงแห่งยุคอย่าง ‘ฟองเบียร์-ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม’ กับ ‘ติ๊ก-กฤษติกร พรสาธิต’ วง Playground มาช่วยสร้างสรรค์ร้อยเรียงทำนองต่อเนื่องอย่างกลมกลืน ผสมผสานการเล่าเรื่องด้วยเนื้อหาจิกกัด เสียดสี สะท้อนสังคมอย่างมีชั้นเชิงทางภาษา และแพรวพราวไปด้วยดนตรีครบเครื่องที่ใช้วิธีการอัดดนตรีสดแทบทุกตำแหน่ง ทั้งกลอง เครื่องสาย เครื่องเป่า เพอร์คัสชัน และเสียงประสานที่จัดเต็ม รวมถึงได้นักดนตรีมากฝีมือหลายคนมาวาดลวดลาย จนออกมาเป็นหลากหลายแนวเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์แบบฮิวโก้  นอกจากนี้ การเดินทางของเพลงทั้งหมดในอัลบั้มมีจิตรกรนามว่า ‘อ๋อง-วุฒิกร เอกรัตนสมภพ’ จากทีม ‘Visionary’ มารับหน้าที่วาดภาพเรียงต่อกันเป็นแอนิเมชันเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงให้เข้ากับจินตนาการมากขึ้น  พูดได้ว่าอัลบั้มนี้เป็นอีกผลลัพธ์ของการทดลองและทุ่มเททำงานหนักของฮิวโก้และทีม ผ่านการออกแบบเพลงมาให้ฟังตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้ายแล้ววนไปเริ่มต้นใหม่ได้ เราไม่แปลกใจเลยถ้าอัลบั้มนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงไทยที่ไพเราะเสนาะหูจนใครหลายคนยกให้เป็นอัลบั้มในดวงใจ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของอีพีอัลบั้มนี้ คอลัมน์ ‘แกะเพลง’ ขอพาทุกคนขึ้นไปยังเรือสำราญราตรีอมตะ เพื่อสำรวจว่าภายใน […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

1 52 53 54 55 56 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.