
Featured
‘ฟรีแลนซ์’ เทรนด์การทำงานยุคใหม่ของคนเมือง กับ Fastwork | Unlock the City EP.19
ค่านิยมการทำงานสมัยนี้ไม่ได้ผูกติดกับการทำงานในบริษัทใหญ่หรือทำราชการ มีสวัสดิการดีๆ เงินเดือนสูงๆ หรือการทำงานที่ใดที่หนึ่งเป็นสิบๆ ปีอีกต่อไปแล้ว เห็นได้จากเทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ลาออกจากงานประจำแล้วผันตัวไปเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เผลอๆ บางคนยังไม่เคยเข้าระบบงานประจำในบริษัทตั้งแต่เรียนจบเลยด้วยซ้ำ อะไรที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ แล้วผู้เกี่ยวข้องอย่างผู้ประกอบการและเมืองควรปรับตัวอย่างไรถ้าในอนาคตคนเลือกที่จะเดินสายทำงานอิสระกันมากขึ้น ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองชวน ‘ซีเค เจิง’ ผู้บริหารแพลตฟอร์มรวมฟรีแลนซ์ Fastwork ที่ศึกษาเทรนด์การทำงานนี้อย่างยาวนาน มาพูดคุยกันถึงพัฒนาการของวิถีการทำงานในปัจจุบัน ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/PpxEzTroSvo Spotify : http://bit.ly/3Hr15eP Apple Podcasts : http://bit.ly/3Jsfk61 Podbean : http://bit.ly/3XXoSKK
‘ข้อมูลดี ทำเกษตรดี’ ช่องทางความรู้จากสยามคูโบต้า ที่อยากเป็นเพื่อนคู่เกษตรกรยุคใหม่
เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกษตรกรในประเทศไทยมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยส่งเสริมให้กรรมวิธีต่างๆ ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ด ลงปุ๋ย เก็บเกี่ยว ฯลฯ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ประหยัดต้นทุน และควบคุมจัดการพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมพอดีได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่อยากลงมือทำการเกษตรสามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกัน ต่อให้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน การทำเกษตรก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง และหลายครั้งก็ต้องใช้วิชาความรู้จากทั้งการศึกษาจากแหล่งต่างๆ และได้รับจากการบอกเล่าส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ‘SiamKubota’ (สยามคูโบต้า) ที่มองเห็นความสำคัญเช่นนี้ จึงตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อหวังสร้างมาตรฐานการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ คอลัมน์ FYI ขออาสาพาชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรหน้าใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจเริ่มต้นทำการเกษตร ไปดูความก้าวหน้าของการเกษตรในยุคสมัยใหม่ ผ่านการทำความรู้จักกับช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จากทางสยามคูโบต้าที่คอยส่งมอบเรื่องราวดีๆ เพื่อชาวเกษตรกรเสมอมา นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ในเว็บไซต์ของสยามคูโบต้า www.siamkubota.co.th มีหลากหลายองค์ความรู้ให้เราเลือกดูได้แบบที่เรียกว่า ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นทุกเรื่องรายละเอียดของสินค้านวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตจากทางแบรนด์ ออนไลน์โชว์รูมให้เราเลือกชมสินค้าได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา รวมถึงข้อมูลข่าวสารน่ารู้ งานประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม ที่สำคัญ ภายในเว็บไซต์ยังมีวารสารออนไลน์ ‘เพื่อนเกษตร’ ให้ได้อ่านเป็นประจำ และองค์ความรู้อย่าง KUBOTA (Agri) Solutions ที่เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกพืชผลตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า นอกจากนี้ยังมี […]
Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป
ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]
12 โปรแกรมไฮไลต์ภายใต้ธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ จากเทศกาล Bangkok Design Week 2023
สุดสัปดาห์นี้จะเข้าสู่สัปดาห์ของ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ เทศกาลสุดสร้างสรรค์ระดับโลกที่นำเสนอผลงานสุดครีเอทีฟและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เติบโตและกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เน้น ‘การออกแบบ’ เพื่อพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความหลากหลาย คนเดินทาง ธุรกิจ และชุมชน งานครั้งนี้จัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเมืองกว่า 550 โปรแกรม เช่น นิทรรศการ การบรรยาย เวิร์กช็อป ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ฯลฯ เพราะรู้ว่าผู้อ่านคงไปไม่ครบทุกกิจกรรมแน่ๆ คอลัมน์ Urban’s Pick อาสาคัดเลือก 12 […]
ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’
ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]
Urban Eyes 21/50 เขตคลองสาน
คลองสานเป็นเขตหนึ่งที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี เขตนี้อยู่ในฝั่งธนฯ ที่มีสะพานตากสินเชื่อมกับถนนสาทร เรียกได้ว่าเป็นเขตในกรุงเทพฯ ชั้นในที่ความเจริญเข้าถึง เห็นได้จากคอนโดฯ มากมายและสถานีรถไฟฟ้าที่ตัดผ่าน ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่ บนถนนเจริญนครก็มีทั้งห้างฯ ใหญ่และคอมมูนิตี้มอลล์เรียงราย เราขอตั้งต้นที่ ICONSIAM ห้างฯ ใหญ่แห่งใหม่ของคนฝั่งธนฯ ที่นี่มีช็อปหลากหลายแบรนด์ ตั้งแต่ของไฮเอนด์ไปจนถึงของชำร่วยจากท้องถิ่น แถมยังมีท่าเรือติดแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณลานติดแม่น้ำก็มักมีอีเวนต์ต่างๆ แวะเวียนมาจัดเรื่อยๆ รวมถึงสวนหย่อมเล็กๆ ชั้นบนให้คนมาพักผ่อนทอดสายตามองวิว นับว่าเป็นโลเคชันที่ค่อนข้างคลีน เหมาะกับการถ่ายภาพ ออกมาจากห้างฯ กันบ้าง เราแวะไปสำรวจที่ตลาดวัดเศวตฉัตรวรวิหาร ที่มีตลาดสดในตอนเช้า ด้วยความที่เป็นตลาดเปิด พ่อค้าแม่ค้าจะมาตั้งร้านกัน พอสายๆ ก็เก็บของแยกย้าย ถ้าเดินเลยไปข้างหลังวัดจะมีทางเดินเลาะริมน้ำ ซึมซับบรรยากาศสบายๆ ตามมาด้วยแลนด์มาร์กเด็ดที่ใครมาแถวนี้จะไม่แวะก็น่าเสียดาย นั่นคือ สวนสาธารณะใต้สะพานตากสิน (สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ) ที่ล้อมรอบไปด้วยความเขียวขจีของต้นไม้ และพื้นที่ออกกำลังกายอย่างลู่สำหรับคนวิ่ง สนามบาส ลานตะกร้อ สนามบอล และอุปกรณ์ยกน้ำหนัก แถมยังอยู่ใกล้กับท่าน้ำด้วย ช่วงเย็นบางทีจะมีนักเรียนมาซ้อมเต้นเชียร์ลีดเดอร์ เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้สวนเข้าไปอีก ที่นี่แสงเช้า-สายกำลังสวย แต่คนจะน้อยหน่อย ช่วงเช้าที่ตลาดวงเวียนใหญ่เป็นช่วงที่คนเยอะมาก ค่อนข้างวุ่นวายทีเดียว บวกกับตัวตลาดมีหลังคาทำให้แสงส่องลงไม่ถึง ใครอยากไปถ่ายภาพอาจต้องเน้น Decisive Moment […]
12 สถานที่พักผ่อนร่างกายและภายใน ฮีลตัวเองให้พร้อมลุยในวันต่อไป
ใกล้จบเดือนแรกของปี 2023 แล้ว ใครที่ตั้ง New Year’s Resolution เอาไว้ ทำสำเร็จกันไปกี่อย่างแล้วนะ ถ้ายังไม่ได้เริ่มหรือรู้สึกว่าอะไรหลายๆ อย่างดูไม่ค่อยเป็นใจให้ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ลองเริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่าง ‘การพักผ่อน’ ก่อนไหม การพักผ่อนที่ว่าไม่ได้หมายถึงนอนหลับเท่านั้น แต่รวมถึงการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ช่วยให้เรารู้สึกถึงการพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในอย่างเต็มอิ่ม ตามที่ ‘Dr.Saundra Dalton-Smith’ แพทย์และนักค้นคว้าเรื่องการพักผ่อนชื่อดังเคยเล่าไว้ว่า การพักผ่อนนั้นมีอยู่ 7 ประเภท ตั้งแต่การพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนผ่านประสาทสัมผัส ไปจนถึงการพักผ่อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban’s Pick ขอรวบรวม 12 สถานที่ทั่วกรุงเทพฯ ที่เหมาะแก่การใช้เวลาพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในมาให้ทุกคนไว้ใช้เป็นตัวเลือกในการเยียวยารักษาตัวเองกัน 01 | Physical Healingพักผ่อนร่างกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เราขอเริ่มหมวดหมู่แรกด้วยการพักผ่อนร่างกาย พูดอย่างนี้หลายคนคงคิดไปถึงฟิตเนสหรือการไปนวดคอบ่าไหล่แก้อาการ Office Syndrome แต่ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ ยังมีสถานที่สำหรับพักผ่อนร่างกายอีกหลายแบบที่รอให้เข้าไปสัมผัสอยู่ Yunomori Onsen & Spa ‘Yunomori Onsen & Spa’ คือออนเซ็นและสปา ที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมการแช่บ่อน้ำแร่ร้อนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้ากับบริการสปาอันเลื่องชื่อของไทย […]
นายเองก็เป็นได้นะ โปเกมอนการ์ดเทรดเดอร์น่ะ | Urban เจอนี่ เจอ โลกการ์ดเกม
โลกแห่งการ์ดเกมไม่ใช่แค่สถานที่เท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อกลางที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันด้วย Urban เจอนี่ ตอนนี้เราได้รับคำท้าจากผู้เล่นระดับโปรของ Pokémon Trading Card Game ให้มาประชันกันที่ร้านการ์ดเกมใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง Sedai 4.5 นอกจากการแข่งขัน Pokémon Trading Card Game ครั้งแรกกับ Pro Player ตัวจริงแล้ว เรายังจะได้สำรวจโลกแห่งการ์ดเกมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Magic the Gathering, ดราก้อนบอล, Flesh & Blood หรือ Tabletop Game ยอดฮิตอย่าง Warhammer มาดูกันว่าเขาแข่งขันกันระดับไหน คอมมูนิตี้ยิ่งใหญ่อย่างไร และนอกจากการเล่นการ์ดเกมสนุก ๆ แล้ว ประสบการณ์อะไรที่เหล่า Player จะได้รับเมื่อมาเยือนร้าน Sedai 4.5 ที่ The EmQuartier แห่งนี้ #UrbanCreature #URBANเจอนี่ #PokémonTCG #TCG #CardGame […]
จากเด็กกลางกรุง สู่ผู้ใหญ่ที่อยากทำให้คนกลับมารักกรุงเทพฯ อีกครั้ง | คนย่านเดียวกัน EP.7
หลังจากที่ไปพูดคุยเรื่องถิ่นที่อยู่กับหลายตัวละคร วันนี้รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ขอชวนคนใกล้ตัวแบบสุดๆ อย่าง ‘เตอร์-วันชนะ จิตต์การงาน’ Editor-in-chief & Co-founder แห่ง Urban Creature ผู้เติบโตในย่านกลางเมืองอย่างบางรัก-สี่พระยา มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่ยึดโยงกับพื้นที่อยู่อาศัยกันบ้าง เพราะได้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงมีความเชื่อว่าเมืองดีกว่านี้ได้ ทำให้ชายคนนี้ปลุกปั้น Urban Creature ขึ้นมา เพื่อร่วมเป็นเสียงหนึ่งที่ทำให้ผู้คนกลับมารักเมืองอีกครั้ง และอยากทำให้มันดีขึ้น ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/1lLkwtAv3iY Spotify : http://bit.ly/4080Fmf Apple Podcasts : http://bit.ly/3XYU3Vt Podbean : http://bit.ly/3kOBkO7
เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด
ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้ 1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]
Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO
‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย 1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]
สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง
คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]