Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024

ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย  แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง  หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]

บ้านทดลอง Home Isolation เมื่อโควิดอาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน

ตัวเลขที่ฉุดไม่อยู่ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ จนเกิดมาตรการเสริมแก้วิกฤติที่เรียกว่า Home Isolation หรือการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านทางเลือก และทางรอดใหม่ แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ตัวเลขน่าสนใจอยู่ที่ผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ซึ่งนับเป็น 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่สามารถทำการพักรักษาตัวอยู่บ้านด้วยการทำ Home Isolation ได้ หากทุกคนที่ติดเชื้อสามารถกักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ปัญหาเตียงไม่พอทุเลาลงอย่างมาก จนเกิดคำถามที่ว่า หากโควิดไม่ใช่โรคเดียวที่เราต้องทำ Home Isolation ถ้าในอนาคตมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก บ้านที่เราอาศัยอยู่ควรมีหน้าตาแบบไหน คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากชวนทุกคนไปจินตนาการบ้านทดลองภายใต้กฎเหล็กของ Home Isolation อย่างสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา อยู่ห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร หรือห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ถ้าเรายังอยากอยู่ด้วยกันเหมือนปกติ รูปแบบการอยู่อาศัยของเราจะเป็นอย่างไรหากเราต้องอยู่กันแบบนี้ตลอดไป หากพูดว่าเราอาจจะต้องทำการ Home Isolation ตลอดไป ภาพในหัวคงจะเหมือนหนัง Sci-Fi Dystopia ที่ชวนเศร้าใจไม่น้อย เราคงจะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน ใช้ชีวิตในโลกภายนอกด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย […]

Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น

ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น

Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด

Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]

ปลดล็อกเตียงทอง! เปลี่ยนพื้นที่เมืองเป็น ‘โรงพยาบาลสนาม’

ขอปลดล็อกสกินเตียงทอง ระดมไอเดียออกแบบโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจในฝัน หยิบพื้นที่ในเมืองที่น่าสนใจ แปลงโฉมเป็นศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราว แบบฉบับ Urban Sketch

แปลงโฉม ‘ป่าช้า’ ให้คนอยู่ได้ใช้พื้นที่

‘ป่าช้า’ กับ ‘คนไทย’ อยู่คู่กันมาหลายร้อยปี โดยมีฟังก์ชันเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งศพ เผาศพ และฝังศพก็ตาม อีกทั้งบางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง บางแห่งเป็นถนนตัดผ่าน หรือสร้างเป็นอาคารสำหรับพักอาศัย

โลกอีกใบใน ‘เรือนจำกลางคลองเปรม’

ในประเทศไทย ‘เรือนจำ’ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ตั้งแต่เรือนจำชั่วคราว เรือนจำส่วนภูมิภาค เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน ไปจนถึงเรือนจำกลาง อย่าง ‘คุกคลองเปรม’ หรือ ‘เรือนจำกลางคลองเปรม’ เป็นเรือนจำที่ใช้คุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาดที่มีอัตราโทษจำคุกถึงประหารชีวิต

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.