Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]

Meet Cute City เป็นไปได้ไหมหาก ‘กรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ มากกว่านี้

อันดับหนึ่งของเมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกคือ ‘ปารีส’ ประเทศฝรั่งเศส เพราะบ้านเมืองที่นั่นมีศิลปะ มีความงามทางประวัติศาสตร์ รวมถึงร้านอาหาร โรงแรม ให้ผู้คนได้อยู่กับความโรแมนติกไปกับทุกช่วงเวลาสุนทรีย์ของชีวิต ‘ซานฟรานซิสโก’ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นอันดับสอง ที่นั่นมีภูเขาให้มอง มีทัศนียภาพของอ่าวให้ดู มีจุดชมวิว ชมความยิ่งใหญ่ของสะพานชื่อดัง ที่สำคัญมีสวนสาธารณะให้ผู้คนพักผ่อนทำกิจกรรมโรแมนติกได้อีกเพียบ  ส่วนเมืองที่สามได้แก่ ‘อัมสเตอร์ดัม’ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองธรรมชาติ ผู้คนใช้จักรยานเดินทางกันเป็นส่วนมาก มีสภาพแวดล้อมที่มีดอกไม้เบ่งบานเป็นสีสันสดใสกันตลอดทั้งปี และยังสามารถนั่งเรือล่องไปในลำคลองมองดูเมืองได้ ทั้งสามเมืองสุดโรแมนติกนี้อ้างอิงมาจากผลสำรวจในปีที่ผ่านมาของ Bounce เว็บไซต์ฝากกระเป๋าชื่อดัง แน่นอนว่าเราไม่สามารถเอาประเทศทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับเมืองที่เราอาศัยอยู่ได้ แต่พอลองย้อนกลับมามองที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ ต้องบอกว่าเมืองหลวงของไทยหาความโรแมนติกได้ยาก เพราะว่าเมืองนี้ได้กลายเป็นเพียงฉากหลังและมีภาพของการทำงานเป็นสิ่งเคลื่อนไหวทุกเมื่อเชื่อวัน  โดยสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แจงจำนวนประชากรของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้คนที่อยู่ใน กทม.นั้นมีจำนวนถึง 5,494,932 คน ผู้คนมากมายขนาดนี้อยู่กับเมืองที่มีความเร่งรีบขึ้นเรื่อยๆ ติดกับงานที่ต้องทำเพื่อดำรงตนในยุคสมัยที่เศรษฐกิจย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในวันที่ผู้คนยังคงต้องทำงาน และการเปลี่ยนแปลงสังคมก็ยังมีเรื่องมหาศาลที่ต้องตามแก้ไขกันต่อไป คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ให้เมืองเกิดความโรแมนติกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ชีวิตที่ผูกติดกับความเร่งรีบได้ผ่อนคลายลง เมื่อผู้คนได้มองเมืองที่มีสิ่งโรแมนติกมากกว่าเดิม หวังว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเป็นความสุนทรีย์ของชีวิต และคอยหล่อเลี้ยงให้ใจดวงน้อยๆ […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

Snowfall in Thailand ถ้าหิมะตกในไทย จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง

ช่วงเวลานับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสและวันปีใหม่แบบนี้ ภาพบรรยากาศฤดูหนาวในต่างประเทศก็เริ่มวนกลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง ภาพผู้คนสวมชุดกันหนาวท่ามกลางสภาพอากาศเย็นจัด และพื้นที่ของเมืองต่างๆ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ชวนให้เราจินตนาการไปไกลว่า ถ้าได้สัมผัสอากาศหนาวพร้อมกับหิมะแบบนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร อากาศเย็นกำลังพัดผ่านมาให้ชาวไทยได้สัมผัสถึงฤดูหนาวในระยะสั้นกันพอดิบพอดี คอลัมน์ Urban Sketch ขอชวนทุกคนมาห่มผ้าหนาๆ หรือคว้าเสื้อกันหนาวมาใส่ แล้วจินตนาการไปพร้อมกันว่า ถ้าหากหิมะตกในประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ จะมีเรื่องราวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง และบรรยากาศจะแตกต่างจากการเป็นประเทศเมืองร้อนขนาดไหนกันนะ เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว สายเลือดนักกีฬาของคนไทยไม่เคยหายไปไหน หากประเทศของเราหนาวจนมีหิมะตก ก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เมื่อบ้านเราอากาศหนาว นักกีฬาของเราก็จะคุ้นชินกับสภาพอากาศ และมีพื้นที่ฝึกซ้อมกีฬาสำหรับการแข่งขันได้ เพราะขนาดการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งเรายังครองแชมป์โลกมาหลายสมัย แม้จะอยู่ในประเทศร้อนก็ตาม ถ้าประเทศหนาวจนมีหิมะจนได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว ไม่แน่ว่าก็อาจจะคว้าแชมป์มาหลายรายการก็ได้ งานวัดในรูปแบบ Winter Festival ชาวไทยอย่างเราผูกพันกับงานรื่นเริงในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงงานที่ทุกคนเข้าถึงได้คงหนีไม่พ้นงานวัด ที่มักจัดขึ้นตามวันสำคัญทางศาสนาหรือโอกาสพิเศษ ซึ่งงานวัดที่เราต่างคุ้นเคยมักจะมาพร้อมกับความเหนียวเหนอะหนะจากสภาพอากาศที่ทั้งร้อนอบอ้าว รวมถึงยังต้องเบียดเสียดผู้คนในงานจำนวนมากอีกด้วย หากเปลี่ยนงานวัดที่คุ้นเคยให้กลายเป็น Winter Festival ในอากาศหนาวๆ เราก็จะใช้เวลากับงานวัดรูปแบบนี้ได้นานขึ้น สนุกกับเครื่องเล่นได้มากกว่าเดิม แถมพ่อค้าแม่ค้าในงานยังจะมีรายได้มากกว่าเดิมจากการใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฤดูหนาวถือเป็นช่วงไฮซีซันของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวจากประเทศร้อนที่อยากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นก็มักจะรอช่วงนี้เพื่อไปเที่ยวและทำกิจกรรมที่ไม่เคยสัมผัสในประเทศตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหนาวในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีหรือญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราหนาวจนมีหิมะ ก็สามารถดึงมาเป็นจุดเด่นในการจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนและท่องเที่ยวในประเทศได้ด้วย แฟชั่นฤดูหนาว สิ่งที่ทุกคนรอคอยเมื่อมีลมหนาวพัดผ่านมาคือ […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง

สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย  การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.