‘Sakamoto Days’ ช่วยซาคาโมโตะออกแบบร้านชำแห่งใหม่ในไทย ให้กลมกลืนกับพื้นที่และเฟรนด์ลีกับลูกค้าทุกคน

ถึงจะวางมือจากการรับจ้างฆ่าและผันตัวเป็นเจ้าของร้านขายของชำไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าในแต่ละวันของ ‘ซาคาโมโตะ ทาโร่’ ในการ์ตูนเรื่อง Sakamoto Days จะไม่ได้ขายของอย่างสงบสุขเลยสักครั้ง เพราะมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้ามาเยี่ยมเยียนและสร้างความปวดหัวให้กับร้านทุกวัน และถ้าจะต้องเปิดร้านขายของไป เตรียมต่อสู้กับเหล่านักฆ่าที่หมายจะเอาค่าหัวไป ร้านชำแห่งนี้คงเจ๊งกะบ๊งแน่ๆ เพื่อความสงบสุข ครอบครัวซาคาโมโตะและเหล่าพนักงานอาจต้องโยกย้ายไปอยู่ทำเลใหม่ หลบหนีพวกนักฆ่า คอลัมน์ Urban Isekai ขอชวนซาคาโมโตะซังมาตั้งรกรากที่ไทย และช่วยออกแบบร้านชำแห่งใหม่ให้กลมกลืนกับพื้นที่ แถมได้ช่วยเหลือผู้คนตามที่ให้สัญญากับภรรยาด้วย เลือกทำเลในชุมชนให้อยู่ใกล้ผู้คนมากที่สุด ก่อนจะตั้งร้านก็ต้องเลือกทำเลที่บริการได้อย่างทั่วถึงก่อน เราจึงแนะนำซาคาโมโตะให้เลือกเปิดสาขาใหม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล วัด เพื่อเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ผู้คนจะนึกถึงเวลาซื้อของ และเพื่อความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสาธารณะ (เกิดมีการต่อสู้ขึ้นมาอีกจะได้มีสถานที่รองรับ) รวมไปถึงเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ให้คนในชุมชน หรือเหล่านักฆ่าที่ผันตัวมาเป็นครอบครัวพนักงานร้านชำซาคาโมโตะได้มาพบปะกัน ต้องการสินค้าอะไร ซาคาโมโตะหาได้ทุกอย่าง  เป็นแหล่งขายสินค้าในชุมชนทั้งทีก็ต้องพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ไม่ว่าใครต้องการอะไร ซาคาโมโตะจะหามาให้ทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อก ก็แค่แจ้งความต้องการทิ้งไว้ ถ้าได้สินค้าชิ้นนั้นมาแล้วทางร้านจะรีบแจ้งให้ลูกค้ากลับมารับสินค้าที่สั่งไว้ทันที แต่ขอเตือนเอาไว้ก่อนว่า อย่าคิดจะสั่งสินค้าที่หามาไม่ได้จริงๆ เพราะเหล่าลูกน้องนักฆ่าของซาคาโมโตะพร้อมจะสั่งสอนอยู่ตลอดเวลานะ! อาหารรองท้อง พร้อมดื่ม พร้อมทาน ไม่ใช่แค่ของใช้หรือของสดเท่านั้นที่มีให้ แต่ร้านแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ฝากท้องให้คนในชุมชนด้วย กับเมนูง่ายๆ กินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ […]

โฆษณาข้างรถเมล์ มีความชอบธรรมขนาดไหนในการบังทิวทัศน์

ในโลกทุนนิยมนั้นคงเป็นปกติที่เราจะเห็นโฆษณาสินค้ารายล้อมอยู่ตามที่ต่างๆ ตามความสร้างสรรค์ ตั้งแต่บนป้ายบิลบอร์ด ในโซเชียลมีเดีย จนไปถึงข้าง ‘รถเมล์’ รถเมล์ไม่ได้เป็นแค่รถสาธารณะที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารไปยังปลายทาง แต่ยังเป็นพื้นที่โฆษณารูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยนับว่าเป็น ‘สื่อเคลื่อนที่’ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่กับที่เหมือนป้ายโฆษณาอื่นทั่วไป แต่จะวิ่งไปตามที่ต่างๆ รอบเมืองตลอดทั้งวัน โอกาสที่ผู้คนจะได้เห็นโฆษณาบนรถเมล์จึงมีมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะช่วยให้ผู้คนรับรู้ถึงการมีอยู่ของโฆษณานี้มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาโฆษณาบนรถเมล์จะไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมย์สำหรับผู้โดยสารเท่าไร เพราะหลายครั้งก็ติดทับกระจกจนคนข้างนอกรถมองไม่เห็นข้างใน ส่วนคนข้างในรถก็มองเห็นแต่ร่องจุดเล็กๆ ชวนเวียนหัว ยิ่งถ้าฝนตกเมื่อไร ร่องเล็กๆ ที่เจาะไว้ก็มักมีน้ำซึมเข้ามาจนผู้โดยสารในรถแทบจะถูกตัดขาดการมองเห็นโลกภายนอกไปเลย ไม่ใช่แค่บดบังทัศนียภาพ แต่ยังชวนสงสัยไปถึงความปลอดภัยอื่นๆ เพราะรถเมล์บางคันติดโฆษณาทับประตูฉุกเฉินไปทั้งบาน ในขณะที่รถบางคันก็เว้นไว้ จนไม่รู้ว่าสรุปแล้วสามารถติดทับได้ไหม จากคำถามมากมายเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วโฆษณาบนรถเมล์ที่ผ่านหน้าเราทุกวันนี้อยู่อย่างถูกต้องแค่ไหน แล้วจะมีทางติดโฆษณาแต่ไม่บังวิวบ้างหรือเปล่า คอลัมน์ Curiocity ครั้งนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน โฆษณาข้างรถเมล์มีรูปแบบไหนบ้าง ปัจจุบันรถเมล์ในกรุงเทพฯ มีรูปแบบการติดโฆษณาข้างรถอยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือ ‘Full Wrap’ ซึ่งเป็นการติดโฆษณาทับตัวถังรถทั้งคัน และ ‘Half Wrap’ ซึ่งเป็นการติดทับเพียงแค่ช่วงครึ่งคันหน้าหรือตรงกลางของรถเท่านั้น ความแตกต่างระหว่างการติดโฆษณาแบบ Full Wrap และ Half Wrap อยู่ตรงที่ Full […]

การศึกษาไทยกับ 490 โรงเรียนที่หายไปในรอบ 5 ปี

วันครูปีนี้ คอลัมน์ City by Numbers อยากชวนมาดูสถิติที่ทำงานของคุณครูหรือก็คือ ‘โรงเรียน’ ในไทยที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนน่ากังวลใจ อย่างที่รู้กันว่า ปัจจุบันจำนวนเด็กเกิดในประเทศไทยลดลงเป็นจำนวนมาก มากเสียจนในปี 2567 มีจำนวนเด็กเกิดเพียง 461,421 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดไม่ถึง 5 แสนคนต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อหลายคนเห็นข่าวการปิดตัวของโรงเรียนในหลายปีที่ผ่านมาจะอุปมาไปว่าเป็นเพราะจำนวนเด็กที่ลดลง ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นการลดลงของนักเรียนไม่ได้น้อยลงขนาดจะทำให้การยุบหรือปิดตัวของโรงเรียนเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร เพราะจากรายงานพิเศษ กสศ. ในปี 2567 ชี้ให้เห็นว่า มีเด็กและเยาวชนอายุ 3 – 18 ปี กว่า 1.02 ล้านคน หรือร้อยละ 8.41 หลุดออกนอกระบบการศึกษา เท่ากับว่าในความเป็นจริงแล้ว โรงเรียนที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อเด็กในประเทศด้วยซ้ำไป สถิติโรงเรียนไทยที่หายไป ขณะเดียวกัน ถ้าย้อนดูตัวเลขย้อนหลังจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไป 5 ปี จะพบว่าตัวเลขโรงเรียนในประเทศไทยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ทุกปี ดังนี้ – ปี 2563 มีจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 29,642 […]

Animal and Wildlife Friendly City เมื่อคนกับสัตว์ต้องอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่ จะออกแบบป่าคอนกรีตยังไงให้เกิดสมดุล

ไอจีสตอรีคือพื้นที่ที่เราพบหมาแมวจรจัดมากที่สุด เพื่อนเราบางคนถ่ายภาพเจ้าขนปุยแสนน่ารัก พี่ที่รู้จักนำขนมไปให้ หรือกระทั่งเราเองที่ถ่ายวิดีโอเกาพุงให้น้อง แต่อย่าลืมว่าหลังจากมนุษย์แสนใจดีจากไป สัตว์จรเหล่านี้ต้องกลับไปเผชิญความโหดร้ายในสังคมเช่นเดิม ทั้งจากการถูกทำร้าย โรคติดต่อ หรืออุบัติเหตุ เมื่อการขยายตัวของเมืองผลักให้สัตว์ตาดำๆ กลายเป็นผู้ร้ายโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่เพียงหมาแมวจรจัดเท่านั้นที่กำลังเผชิญกับปัญหา เพราะสัตว์ในป่าคอนกรีตที่มาอาศัยอยู่เต็มเมืองอย่างหนูท่อ กระรอก อีกา นกพิราบ หรือแม้แต่ตัวเหี้ย ล้วนสร้างความไม่น่าอภิรมย์ในชีวิตประจำวันให้ชาวเมือง แถมยังเป็นพาหะเชื้อโรคหรือส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ อีกข้อน่ากังวลคือ ‘พฤติกรรมของสัตว์เมือง’ ที่กำลังเปลี่ยนไป และนับวันจะยิ่งก่อเรื่องปวดหัวมากขึ้น ทั้งกระรอกที่เปลี่ยนจากกินพืชมากินเนื้อและทิ้งซากศพไว้ทั่วเมือง หรือตัวเหี้ยที่เริ่มออกหาอาหารในบ้านคนแทนการลากไก่ไปกินในน้ำ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของพฤติกรรมเหล่านี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เกิดจากการที่เราไปพรากธรรมชาติในการใช้ชีวิตของพวกมัน หลายเมืองจึงเริ่มจริงจังกับการจัดการพวกสัตว์เหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างระบบนิเวศธรรมชาติ และการจัดการขยะ เพื่อทำให้คนกับสัตว์ในเมืองอยู่ร่วมกันได้ คำถามคือ ทำไมสัตว์ทั้งหมดทั้งมวลถึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมืองต้องจัดการเพื่อหาสมดุลอย่างไร มาร่วมหาคำตอบในคอลัมน์ Curiocity ไปพร้อมๆ กัน ป่าคอนกรีตที่อุดมไปด้วยสัตว์เมือง ‘พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นของเรา’ คำตอบและความจริงจากเหล่าสัตว์ผู้วิมลที่ถูกมนุษย์ผู้มาทีหลังยึดครองบ้านมาเป็นของตน ในยุคที่ความเจริญของเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ธรรมชาติ กระทบต่อระบบนิเวศและชีวิตของสัตว์ป่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรุงเทพฯ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของสัตว์หลากชนิด ปัจจุบันกลับเหลือเพียงเศษเสี้ยวของความหลากหลายทางชีวภาพที่เคยมีอยู่ เมื่อป่าเดิมถูกแทนที่ด้วย ‘ป่าคอนกรีต’ อาหารที่เคยมี ต้นไม้ที่เคยอยู่กลับอันตรธาน ทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นแหล่งชุมชนเล็กๆ ของสัตว์ป่าอย่างเต่า ตัวเหี้ย […]

‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด

‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]

เยี่ยมสเปซน่าสนใจในตึกแถว ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ โอลด์ทาวน์ที่น่าไปใช้ชีวิตและเป็นมิตรกับคนเมือง

เทศกาลแห่งการสังสรรค์ แสงสี และการรวมตัวกันของผู้คนในช่วงปลายปีใกล้เข้ามาทุกที แม้เป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่กรุงเทพฯ จะกลับสู่การเป็นเมืองที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตัวเองตามวิถีคนเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนขาดการปฏิสัมพันธ์กันก็ตาม คงดีไม่น้อยหากเมืองฟ้าอมรแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น มีพื้นที่ส่วนกลางให้มนุษย์กรุงเทพฯ ได้พบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า พักผ่อนจากการงานที่แสนหนักหน่วง ได้วางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารในห้วงยามที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตจนคล้ายเป็นอวัยวะที่ 33 เพื่อใช้เวลาไปกับการพูดคุยกันสารพัดเรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจกับเพื่อนทั้งเก่าและใหม่ หรือรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เดิม ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ ก็เป็นเหมือนโอลด์ทาวน์ทั่วไป ยังคงความเป็นชุมชนคล้ายกับหลายย่านเก่าในเมืองหลวง โดยมีธุรกิจอย่างอู่ซ่อมรถและร้านทำป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายเป็นภาพจำของผู้คน ทว่าในวันนี้หากลองเดินเท้าสำรวจย่านเก่าอายุกว่าร้อยปีแห่งนี้จะพบว่า นอกจากซอยนานาที่โด่งดังมาก่อนหน้าแล้ว ในมุมอื่นๆ ของย่านก็มีกิจการใหม่ในตึกเก่าที่แทรกตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คนเมืองมีกิจกรรมหลากหลายแวะเข้ามาทำมากขึ้นตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ไม่ได้พาไปดูอู่รถหรือเข้าร้านป้าย แต่อยากชวนสำรวจ Creative & Community Space รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ย่านที่วันนี้มีหลายสเปซน่าสนใจที่กวักมือเรียกผู้คนเข้ามาสัมผัสย่านในมุมมองใหม่ๆ ด้วยความตั้งใจของผู้ประกอบการที่อยากให้บ้านของเขาไม่เงียบเหงา และอยากเป็นเฉดสีอื่นๆ ที่แต้มแต่งเพิ่มเข้ามาในเมืองนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อศตวรรษที่แล้วมีการตัดถนนสายใหม่ 3 สาย ผ่านชุมชนของชาวจีนในตำบลหัวลำโพงที่เกิดไฟไหม้ ตรงกลางของเส้นเลือดใหม่ที่วิ่งไขว้กันไปมาทำเป็นวงเวียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามทั้งถนนและวงเวียนว่า ‘22 กรกฎาคม’ เพื่อระลึกถึงวันเดือนที่ประเทศสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร […]

ตรอกช้างม่อย-หลืบราชวงศ์ สำรวจพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ที่ซ่อนตัวในแหล่งการค้าเก่าของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยมีความยาวราวหนึ่งกิโลเมตร วางตัวขนานกับถนนท่าแพ เชื่อมคูเมืองโบราณใจกลางเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่เข้ากับพื้นที่เลียบแม่น้ำปิง ส่วนถนนราชวงศ์เป็นถนนสายสั้นที่ตัดผ่านถนนช้างม่อยบริเวณซุ้มประตูทางเข้าตลาดวโรรส ทั้งสองเป็นถนนสายรองที่เรียงรายไปด้วยอาคารเก่าแก่กว่า 50 ปี ซึ่งเป็นทั้งร้านค้าและโกดังเก็บสินค้าของผู้ประกอบการรุ่นต่อรุ่น พร้อมไปกับกระแสการฟื้นฟูย่านเก่าด้วยรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จากย่านเก่าแก่ที่หลายคนเคยมองข้าม ช้างม่อยและราชวงศ์ก็ตกอยู่ภายใต้แสงสปอตไลต์ และดูเหมือนจะถูกมองว่าเป็น ‘ย่านนิมมานเหมินท์ใหม่’ ในสายตาของนักท่องเที่ยว แม้จะมีการเปรียบเปรยเช่นนั้น แต่ช้างม่อย-ราชวงศ์ กลับมีเอกลักษณ์ที่ต่างออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินใหม่อย่างนิมมานเหมินท์อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากต้นทุนดั้งเดิมของย่านคืออาคารเก่า เราจึงพบรูปแบบ Mixed-use ผสานความเก่า-ใหม่ภายในพื้นที่อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่บนพื้นที่ชั้นบนของร้านค้าเก่าแก่ที่ยังคงเปิดกิจการ ร้านขายเสื้อผ้าในโกดังที่เคยร้าง หรือกระทั่งโชว์รูมสินค้าดีไซเนอร์ที่ตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นอาทิ ไม่ว่าจะตั้งใจให้เป็นหรือไม่ รูปแบบของการผสมผสานการใช้งานเหล่านี้ได้มาพร้อมการสร้างนิยามของการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมืองเชียงใหม่ไปโดยปริยาย ทั้งจากการประยุกต์ใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด การดึงดูดให้คนทำงานสร้างสรรค์หรือผู้ที่สนใจธุรกิจเข้ามาใช้พื้นที่ รวมถึงการมีพลวัตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คอลัมน์ Neighboroot ชวนไปเลาะตรอกซอย และเดินขึ้นชั้นสองของอาคารในย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เพื่อสำรวจที่มาและพัฒนาการของย่าน ผ่านมุมมอง ‘คนใน’ ที่มีส่วนในการพลิกโฉมพื้นที่แห่งนี้ Brewginning : จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน เริ่มกันที่หัวถนนช้างม่อย บริเวณสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนช้างม่อยสายเก่ากับสายใหม่ อันเป็นศูนย์รวมร้านขายเครื่องหวายเก่าแก่ในย่านเมืองเก่า ที่นี่คือที่ตั้งของ Brewginning Coffee ร้านกาแฟในอาคารปูนสไตล์โมเดิร์นผสมกลิ่นอายอาร์ตเดโค อายุเกินครึ่งศตวรรษ ร้านที่เรามองว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่เปลี่ยนภาพจำของย่านนี้ไปโดยสิ้นเชิง ‘โชค-พีรณัฐ กาบเปง’ เจ้าของร้าน เคยทำงานในร้านกาแฟที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย […]

“เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัว” ข้อบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ กทม. กับปัญหาสัตว์เลี้ยงล้นเมือง

เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัวกัน ช่วงนี้เทรนด์ Pet Parenting คนหันมาเลี้ยงสัตว์แทนลูกกันมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดที่น้อยกว่า รวมถึงสภาพสังคมไทยที่ไม่เอื้อกับการเลี้ยงมนุษย์สักคนขึ้นมา การมีหมาแมวตัวน้อยคอยชุบชูจิตใจในวันเหนื่อยล้า เป็นครอบครัวเดียวกัน และมีเพื่อนในวันเหงาๆ เจ้าสัตว์น้อยสี่ขา (หรืออาจจะน้อยกว่า) จึงเป็นทางเลือกของคนส่วนมากในยุคนี้ สัตว์ล้นบ้าน เจ้าสี่ขาล้นเมือง ทว่าในระหว่างการเลี้ยงดูที่คนให้ความสนใจกับสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น ปรากฏว่าเรากลับเห็นข่าวเกี่ยวกับจำนวนสัตว์เลี้ยงที่มากเกินขนาดพื้นที่ จนกลายเป็นเหตุรบกวนเพื่อนบ้านและบริเวณโดยรอบ หรือเมื่อมีจำนวนมากเกินกว่าที่บ้านหลังหนึ่งจะรับดูแลไหว ก็กลายเป็นว่าเจ้าของกลับทิ้งน้อง ปล่อยกลายเป็นสัตว์จรจัดเสียอย่างนั้น อย่างช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีข่าวการร้องเรียนเพื่อนบ้านที่เลี้ยงแมวจำนวนมากถึง 50 ตัวในพื้นที่บ้าน ในหมู่บ้านย่านรามอินทรา ซึ่งเป็นเหตุให้ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านตลอดเวลา ร่วมกับความเป็นห่วงต่อสุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ของแมวเหล่านั้น จากการต้องอัดกันอยู่ในพื้นที่ขนาดไม่เหมาะสมกับปริมาณ ประกอบกับข้อมูลของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 67 แห่งในกรุงเทพฯ พบว่า ปี 2567 กรุงเทพมหานครมีจำนวนสุนัขและแมวมากถึง 198,688 ตัว โดยแบ่งเป็นสุนัขที่มีเจ้าของ 53,991 ตัว จรจัด 8,945 ตัว รวม 62,936 ตัว และแมวที่มีเจ้าของ 115,827 ตัว จรจัด 19,925 ตัว รวม […]

เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท

ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ  2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]

‘พระราม 4’ ย่านที่อยู่อาศัยสุดแรร์ ท่ามกลางไวบ์ธรรมชาติ เต็มไปด้วยเสน่ห์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตหลากหลาย

ก่อนหน้านี้ ‘พระราม 4’ อาจเป็นทำเลที่หลายๆ คนมองข้าม เพราะมักถูกพูดถึงในฐานะถนนเส้นที่เชื่อมต่อไปยังสาทร ถนนวิทยุ หรือโซนสุขุมวิท แต่เมื่อไม่นานมานี้เราได้ยินชื่อพระราม 4 บ่อยขึ้น หลังจากมีโครงการระดับ Mega Project ที่กำลังทยอยเปิดให้บริการ จึงไม่แปลกใจที่ชื่อพระราม 4 จะเริ่มคุ้นหู จนมีหลายคนเริ่มมองหาโอกาสในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ และตกหลุมรักย่านนี้กันมากขึ้น เพราะมีทุกอย่างครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีมุมสงบ ให้บรรยากาศความเป็นธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจในวันสบายๆ ขนาบด้วยพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ถึงสองแห่ง ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บริเวณ Central Park คอลัมน์ Neighboroot เลยอยากชวนไปค้นพบเสน่ห์ของพระราม 4 ถนนเส้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่แห่งโอกาสใหม่ๆ เดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และเต็มไปด้วยหลากหลายธุรกิจในพื้นที่ที่ช่วยเติมสีสันให้กับย่านได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นทำความรู้จักย่านนี้ด้วยภาพจำของทำเลสุดแรร์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ Central Park ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง ที่แรกคือ ‘สวนลุมพินี’ สวนสาธารณะใจกลางเมืองที่หลายคนคุ้นเคย สวนสีเขียวสำหรับออกกำลังกายที่มีห้องสมุดประชาชนเปิดให้ใช้งานฟรี และอีกแห่งคือ สวนป่าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่มีพื้นที่กว่า 300 ไร่บนที่ดินของโรงงานยาสูบเก่าอย่าง ‘สวนป่าเบญจกิติ’ ที่ภายในมาพร้อมโซนกิจกรรมมากมาย ถือเป็นพื้นที่สีเขียวที่เปรียบเสมือนปอดของคนกรุงเทพฯ ทำให้บรรยากาศภายในย่านดูสงบร่มรื่นเมื่อเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง เปิดโอกาสให้เราได้ใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น […]

สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค

นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์​เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]

สำรวจความรื่นรมย์และเสน่ห์ใน ‘วุฒากาศ’ ย่านที่อยู่อาศัยที่ทำให้คนเมืองมีชีวิตชีวา

‘วุฒากาศ’ อาจเป็นย่านที่หลายคนไม่คุ้นชินและไม่ได้นึกถึงมากเท่าไรนัก แต่พื้นที่แห่งนี้เรียกได้ว่าเป็นทำเลที่พร้อมแก่การใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ด้วยความที่เป็นโซนอยู่ใกล้กับเมืองชั้นใน แถมยังเงียบสงบแต่ไม่เงียบเหงา ทำให้ย่านนี้กลายเป็นตัวเลือกแหล่งที่พักอาศัยระดับ A list สำหรับคนเมืองที่อยากหลีกหนีจากความวุ่นวาย แต่ก็ยังชอบความสะดวกสบายของไลฟ์สไตล์แบบเมืองๆ อยู่ แน่นอนว่าเมื่อเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย วุฒากาศก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าย่านอื่นๆ เพราะโดยรอบบริเวณนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและสเปซดีๆ หลากหลายแห่งที่อยู่ไม่ไกล ครบครันทุกความต้องการ สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับย่านครบทุกมิติคอลัมน์ Neighboroot จะพาไปลัดเลาะชมย่านเมืองชั้นนอกและแหล่งใกล้เคียง ที่เดินทางง่ายๆ ด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อพาทุกคนไปทำความรู้จักกับย่านนี้ให้มากขึ้นกัน ชุมชนเก่าแก่ที่พัฒนาย่านจนกลายเป็นโซนที่อยู่อาศัยใกล้เมือง ‘วุฒากาศ’ เมืองชั้นนอกที่เงียบสงบแห่งนี้ เดิมทีเป็นย่านชุมชนที่อยู่อาศัยมานาน มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เราสามารถพบร้านค้าเก่าแก่และบริการต่างๆ ที่ดำเนินกิจการมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้นี้ วุฒากาศก็จะกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยยอดฮิต เนื่องจากตอบโจทย์ชีวิตของเหล่าคนทำงาน ด้วยความเงียบสงบอันเป็นจุดเด่นของย่านนั้น ช่วยทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่ได้หลบหลีกจากความวุ่นวาย ขณะเดียวกัน แม้ว่าจะดูอยู่ไกล แต่ความจริงแล้ววุฒากาศเป็นย่านที่เดินทางง่าย เหมาะกับการใช้ชีวิตในเมือง ทั้งการขับรถยนต์ส่วนตัว หรือขนส่งสาธารณะที่มีรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีวุฒากาศ พาเราเข้าสู่สาทรได้ในเวลาเพียง 15 นาที หรือเข้าสยามโดยนั่งรถเพียงต่อเดียวเท่านั้น  ‘Masonia Tree & Coffee Cafe’ คาเฟ่ที่อยากเป็นห้องรับแขกของชุมชน ถึงจะดูเงียบสงบ แต่พื้นที่โดยรอบวุฒากาศก็มีร้านรวงที่น่าสนใจอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือ ‘Masonia […]

1 2 3 4 49

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.