เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

ผ่อบ้านเก่า แอ่วเมืองแป้ แลโบราณคดีชุมชน กับเมือง ‘แพร่’ ที่ไม่ได้มีแค่ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์

จุดหมายปลายทางของคนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือ มักจะหยุดอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย หรือถัดออกมาหน่อยคงเป็นน่าน แต่สำหรับ ‘แพร่’ จังหวัดเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสี่ทิศ อาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ ของใครหลายคน แต่ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบการเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชุมชน และสนใจเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี เชื่อเถอะว่าถ้าได้มาเยือนจังหวัดแพร่ด้วยตัวเองสักครั้งจะต้องติดใจ อยากกลับมาอีกแน่นอน เพราะที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคเหนือที่มีภาคประชาสังคมที่แข็งแรง และพร้อมผลักดันเมืองที่เต็มไปด้วยมนตร์เสน่ห์แห่งนี้ให้ก้าวไปข้างหน้า คอลัมน์ Neighboroot ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับแพร่ในแง่มุมต่างๆ ผ่าน 3 สถานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,500 ปี ‘อาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน (บ้านเขียว)’ พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของชาวแพร่ที่ถูกบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ และ ‘กาดกองเก่า’ กาดแลงประจำวันเสาร์ที่กลายเป็นจุดนัดพบของคนในท้องถิ่น ว่าสถานที่เหล่านี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร และเพราะอะไรจึงไม่ควรพลาดหากได้ไปเยือน เปิด ‘บ้านนาตอง’ โบราณคดีชุมชน แหล่งเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินทางครั้งนี้เราตั้งต้นกันที่ตัวเมืองแพร่ เพื่อนัดเจอ ‘ลุงไกร-วุฒิไกร ผาทอง’ หนึ่งในสมาชิกข่ายลูกหลานเมืองแพร่ เครือข่ายภาคประชาสังคมของจังหวัดแพร่ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนที่มีความรักในท้องถิ่นเมืองแพร่ ผู้จะเป็นคนนำเราไปเรียนรู้เรื่องราวของเมืองแพร่ในแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยมี ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ เป็นจุดหมายแรกของเราในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ถัดออกไปจากตำบลช่อแฮ ที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ […]

‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ จากแหล่งกระจายเครื่องเทศสู่แหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอาหาร

นอกจากพลอยและผลไม้ที่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัด ‘จันทบุรี’ แล้ว ‘อาหาร’ ก็เป็นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งตัววัตถุดิบและการปรุง จนทำให้หลายคนติดใจในรสชาติ อยากแวะกลับมาอีกครั้ง มีหลายแหล่งไม่น้อยที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นอาหารของชาวจันทบุรีมาจาก ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์พื้นที่และประวัติศาสตร์อาหาร โดยในอดีตเคยเป็นแหล่งซื้อขายและกระจายเครื่องเทศที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่รุ่มรวย ทำให้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายได้ ซึ่งในปัจจุบันชุมชนก็ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรี คอลัมน์ Neighboroot ครั้งนี้ขอพาไปเดินท่องชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยมี ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นคนนำทางไปชมวิถีชีวิตในชุมชนริมน้ำจันทบูร พร้อมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในพื้นที่นี้ให้ฟัง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ชุมชนเก่าแก่ แหล่งกระจายเครื่องเทศของจันทบุรี จันทบุรีอาจเป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าไรนัก แต่เพราะว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง จึงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่ รอให้เราเข้าไปค้นหา โดยเรื่องราวเหล่านั้นเริ่มต้นพร้อมกับชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 300 ปีอย่าง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่ใช่แค่อยู่มานาน แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างในจันทบุรี “ถนนที่เรากำลังเดินอยู่นี้เป็นถนนเส้นแรกของจังหวัด เมื่อก่อนชื่อถนนเลียบนที จนมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาล” พี่หมูพาเราเดินชมชุมชนริมน้ำตลอดระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พร้อมเล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ กับการเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นทำเลที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทาง เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมของคนสมัยก่อน ทำให้มีทั้งคนไทย คนจีน […]

ชวนมาตกหลุมรัก ‘พระโขนง’ ย่านเปี่ยมมนตร์เสน่ห์ ที่น่าอยู่ น่าหลงใหล ไม่เคยเปลี่ยน

ไม่แปลกใจที่ ‘พระโขนง’ จะเป็นย่านที่ใครหลายคนตกหลุมรัก และอยากฝากชีวิตมาอยู่ในย่านแห่งนี้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระโขนงคือย่านในฝั่งสุขุมวิทที่รองรับการขยายตัวต่อมาจากย่านทองหล่อ เอกมัย เพราะเป็นย่านที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ย่านนี้จึงโดดเด่นด้วยไลฟ์สไตล์ทั้งเก่าและใหม่ที่อยู่ร่วมกันอย่างงดงาม ในห้วงเวลาที่พระโขนงยังรายล้อมด้วยเรือกสวนไร่นา แม่น้ำลำคลอง พระโขนงคือชุมชนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยอย่างเรียบง่ายกับสายน้ำ และเป็นตัวเลือกของคนเมืองที่อยากหลีกหนีความจอแจ มาใช้ชีวิตภายใต้บรรยากาศธรรมชาติอันร่มรื่น สงบเงียบ กาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป พระโขนงเปลี่ยนโฉมเป็นศูนย์กลางการค้าของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ย่านคึกคักด้วยห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ และตึกแถวที่วางเรียงรายสุดลูกหูลูกตา จนเดินหน้าสู่การเป็นย่านที่ชาวต่างชาตินิยมมาอยู่อาศัย หลั่งไหลต่อเนื่องมาจากทองหล่อและเอกมัย ซึ่งแขกบ้านแขกเมืองใหม่ๆ ก็ช่วยแต่งเติมสีสันให้กับย่านพระโขนงได้เป็นอย่างดี ถึงย่านพระโขนงจะเปลี่ยนไปตามเวลา แต่มนตร์เสน่ห์จากแต่ละยุคแต่ละสมัยยังหลงเหลือให้เห็นอย่างครบครัน ทั้งบรรยากาศอันเรียบง่ายของชุมชนริมน้ำ ตลาดสดที่พ่อค้าหอบผลผลิตสดใหม่ การตั้งแผงค้าขายตามตึกแถว และวิถีชีวิตเหล่านี้ ผสมผสานเข้ากันกับพระโขนงยุคใหม่ได้อย่างลงตัว คอลัมน์ Neighboroot เลยอยากชวนทุกคนไปลัดเลาะในย่านพระโขนง ออกไปค้นพบเสน่ห์หลากยุคสมัยของย่านที่ยังคงงดงามไม่เปลี่ยนไป จนมัดใจผู้คนเอาไว้ได้ไม่เปลี่ยนแปลง ชุมชนเกาะกลาง ชุมชนกลางเกาะกับวิถีชีวิตเรียบง่าย เคียงคู่สายน้ำ แม้เบื้องหน้าจะเป็นสะพานพระโขนงที่รถวิ่งว่อนทั้งวัน ข้างๆ คือทางด่วนที่ยกตัวสูง รถจอแจหนาแน่น แต่ในชุมชนเกาะกลาง บรรยากาศกลับเป็นไปอย่างแช่มช้า นิ่งงัน คงเป็นเพราะชุมชนตั้งอยู่บนเกาะที่ขนาบข้างด้วยสายน้ำ เป็นปราการธรรมชาติที่ลดทอนความวุ่นวายของโลกภายนอก เรารออยู่บนฝั่งใต้ทางด่วนไม่นาน ป้าอิ๋ว-จุไรรัตน์ เครือพิมาย ก็เดินออกมาต้อนรับด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม และพาเราขึ้นเรือข้ามฝั่งไปยังเกาะกลาง ชุมชนเกาะกลางเป็นชุมชนอายุหลายร้อยปีที่อยู่บนเกาะขนาดเล็กจ้อยเพียง […]

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

ชิมช้อปความอร่อยที่ ‘ตลาดตรอกหม้อ’ ฟังเรื่องราวของตลาดสดยามเช้าใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ใช่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วมุมโลกมาเยี่ยมเยือน แต่เมืองเก่าแห่งนี้เป็นเมืองที่ยังมีชีวิต ประกอบด้วยบ้านเรือนและผู้คนในย่านต่างๆ รวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านคือตลาดสด ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทุกวันเสมอมา ‘ตลาดตรอกหม้อ’ เป็นตลาดที่ซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ท่ามกลางย่านฮิตในเขตโอลด์ทาวน์ที่โอบล้อมอยู่ทั่วทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นสามแพร่ง เสาชิงช้า วังบูรพา หรือสามยอด ซึ่งวันนี้มีคาเฟ่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในอาคารเก่าจำนวนมาก ตามกระแสเที่ยวเมืองเก่าที่ทำให้ย่านเหล่านี้คลาคล่ำไปด้วยคน นอกจากความอันซีน ความพิเศษของตลาดแห่งนี้คือ เป็นตลาดสดที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด (หรือแห่งสุดท้าย) บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นที่ฝากท้องยามหิวให้กับคนท้องถิ่นและคนทำงานในหน่วยงานข้างเคียงอยู่ รวมถึงพ่อค้าร้านอาหารที่มีร้านอยู่รอบๆ ที่มาจับจ่ายซื้อหาของสดไปเป็นวัตถุดิบ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้พาไปทำความรู้จักกับตลาดตรอกหม้อ ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดในย่านเมืองเก่า แวะพูดคุยกับคนในชุมชนราชบพิธพัฒนา ถึงความอบอุ่นของเด็กตลาดในวันวานและวันนี้ที่ไม่เคยจางหายไปจากซอยเทศา ‘ตรอกหม้อ’ ตลาดสดเก่าแก่ใจกลางพระนคร นาฬิกาในโทรศัพท์ขึ้นเวลาว่าเกือบ 10 โมงแล้ว นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ควรจะเดินตลาดนัก โดยเฉพาะตลาดสดที่เริ่มเปิดแผงกันตั้งแต่แสงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาสะท้อนผิวถนน สายป่านนี้จึงเป็นชั่วโมงท้ายๆ แล้วของกิจกรรมทุกเช้าของชาวบ้านย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ขณะที่บางร้านเริ่มขนของกลับบ้าน เราเดินสวนเข้าตลาดเพราะนัดหมายกับเจ้าถิ่นที่ยินดีพาเดินและพูดคุยกับเหล่าผู้คนในตรอกหม้อ ‘พี่ริน-สุรินทร์ อมรชัชวาลกุล’ เป็นชาวตรอกหม้อแต่กำเนิด ถึงแม้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นนานหลายปีแล้ว แต่ยังมีคุณแม่และบ้านเก่าอยู่ ทำให้เขาแวะเวียนมาที่ตลาดแห่งนี้แทบทุกสัปดาห์ “แต่ก่อนตลาดไม่ถึงตรงนี้ ตลาดจริงๆ อยู่ทางนั้น” บทสนทนาเริ่มต้นบริเวณปากตรอกหม้อหรือซอยเทศาฝั่งถนนราชบพิธ พี่รินชี้นิ้วไปสุดซอยแล้วเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีพ่อค้าแม่ค้ากระจุกตัวอยู่บริเวณปากซอยฝั่งถนนบำรุงเมือง ใกล้กับตลาดเทศา ซึ่งเป็นตลาดเอกชนที่ทุบไปแล้ว ทว่าเมื่อนานวันเข้าจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

‘สะพานเหล็ก’ ตลาดค้าของเล่นในความทรงจำ

หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน ด่านแรกของร้านของเล่นนำเข้า ก่อนจะไปสำรวจย่านสะพานเหล็ก ขอพาไปฟังที่มาที่ไปของปลายทางในฝันของเด็กๆ และเหล่านักสะสมกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมธุรกิจของเล่นถึงมาลงหลักปักฐานอยู่ในย่านวังบูรพาแห่งนี้ได้ ‘เจ็กสมชัย กวางทองพานิชย์’ นักประวัติศาสตร์ของย่านเยาวราช-สำเพ็ง เป็นหนึ่งในคนที่เรานึกถึง แม้จุดหมายในวันนี้อยู่เกือบชายขอบของชุมชนคนจีนใหญ่ของพระนคร แต่คิดว่าเจ็กน่าจะสัมผัสและพอรู้เรื่องราวในฐานะคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับย่านนี้บ้าง ทว่าพอได้มานั่งคุยกับเจ็กที่ร้านในซอยวานิช 1 ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามารบกวนไม่ผิดคน เพราะนอกจากเป็นพ่อค้าและนักประวัติศาสตร์ เจ็กสมชัยในวัย 60 กว่ายังพ่วงตำแหน่งนักสะสมของเล่นตัวยงด้วย “สำเพ็งเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ของเล่นยุโรปก็มี แต่ที่เจ็กโตมาคือของเล่นญี่ปุ่นกับฮ่องกง ของเล่นยุโรปเกิดไม่ทัน แต่ทันแมตช์บ็อกซ์ของฮ่องกง และทินทอยของญี่ปุ่น” นักประวัติศาสตร์ประจำย่านเท้าความถึงจุดกำเนิดร้านของเล่น ภาพจำสะพานเหล็กฉบับออริจินัล มาพร้อมกับภาพซอยเล็กๆ เบียดเสียด เนืองแน่นไปด้วยผู้คน […]

ย่าน ‘ทรงวาด’ ในวันที่ถนนสายเครื่องเทศเปลี่ยนไปสู่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ

‘ทรงวาด’ ในอดีตคือย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความสำคัญพอๆ กับไชน่าทาวน์เยาวราชที่อยู่ถัดไปไม่ไกลกัน เป็นถนนที่เต็มไปด้วยโกดังกักเก็บสินค้า โดยเฉพาะเครื่องเทศที่ขึ้นชื่อลือชา จนได้รับการขนานนามว่า ‘ถนนสายเครื่องเทศ’ ทรงวาดในวันนี้ยังคงสถานะย่านพาณิชย์ แม้ภาพเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าจะหายไป แต่ก็แทนที่ด้วยรถราขนส่งที่วิ่งกันจอแจ ร้านค้าเก่าแก่ยังพอเปิดกิจการอยู่บ้าง ทว่าที่เพิ่มเติมมาคือร้านรวงเก๋ๆ คาเฟ่เท่ๆ และอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ มากมายที่มาเสริมเติมแต่งเมืองเก่า ใต้ชายคาของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เรียงรายอวดความงามอยู่สองฟากฝั่งถนน เบื้องหลังการคืนลมหายใจของย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่กำลังค่อยๆ ซบเซาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทั้งรุ่นใหม่และวัยเก๋าในนาม ‘Made in ทรงวาด’ ที่ช่วยกันหยิบเอาของดีของเด็ดประจำถิ่นมานำเสนอ พัฒนาย่านร่วมกันอย่างตั้งใจ จนทำให้ย่านนี้กลายเป็นอีกย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอชวนกลับไปสำรวจถนนทรงวาด เดินทะลุตรอกออกซอยต่างๆ ของถนนสายเครื่องเทศอีกครั้ง สนทนากับเหล่าคนนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในย่านนี้ ทั้งพูดคุยกับนักเขียนอิสระเจ้าของผลงานทรงวาดไกด์บุ๊ก แวะสตูดิโอออกแบบและรีไซเคิลพลาสติกของสองสาวเจ้าของคาเฟ่รุ่นบุกเบิก และปิดทริปด้วยการเยือนร้านชาของคนไต้หวันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยวานิช 1 ฟังเรื่อง ‘ทรงวาด’ ผ่านสายตาของนักเขียนทรงวาดไกด์บุ๊ก ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน Urban Creature เคยไปสำรวจทรงวาดมาแล้ว ตอนนั้นวี่แววในการเป็นทรงวาดแบบทุกวันนี้อาจไม่ชัดเจนนัก แต่พอจับสัญญาณได้จากการเริ่มมีกิจการรุ่นใหม่ๆ เปิดกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี โฮสเทล บาร์ และคาเฟ่ ไม่นานมานี้ พอ Made […]

‘Sound of Sisaket’ สร้างสรรค์เมือง ‘ศรีสะเกษ’ ให้คึกคักผ่านย่านที่มีแต่เสียงดนตรี

‘ศรีสะเกษ’ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ไม่เคยอยู่ในแผนท่องเที่ยวของเรา และเชื่อว่าใครอีกหลายคนคงคิดเห็นเช่นกัน เพราะแดนอีสานใต้แห่งนี้ถูกนิยามว่าเป็นเพียง ‘ทางผ่าน’ หรือ ‘เมืองรอง’ แต่หากเอ่ยถึงความโดดเด่นของจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำมูลแห่งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็น ‘กีฬา’ เพราะที่นี่มีสวนสาธารณะและพื้นที่ทางธรรมชาติให้ผู้คนได้ใช้ออกกำลังกาย มีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงทั้งด้านฟุตบอล มวย ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ฯลฯ และยังเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬามานับครั้งไม่ถ้วน ทว่าอีกสิ่งหนึ่งที่อาจมีทั้งคนที่รู้และไม่รู้คือ ความสร้างสรรค์ของเมืองศรีสะเกษนั้นไม่ใช่มีเพียงแค่กีฬา แต่ยังมีเรื่องของ ‘ดนตรี’ ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน และในช่วงวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2566 ที่นี่จะมีงาน ‘Sound of Sisaket (ซาวสีเกด) 2023’ ที่จะพาทุกคนไปสำรวจว่าเมืองศรีสะเกษนั้นใช้ดนตรีสร้างสรรค์เมืองได้อย่างไร ก่อนวันงานจะมาถึง คอลัมน์ Neighboroot ขอรับบทเป็นนักท่องเที่ยวพาไปรู้จักเมืองศรีสะเกษให้มากขึ้น ผ่านภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง บทสนทนาถึงความทรงจำที่ผ่านมา วิถีชีวิตปัจจุบันของจังหวัดแห่งหนึ่งในดินแดนฝั่งอีสาน และวิธีคิดในการพัฒนาเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ถ้าพร้อมแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน เมืองศรีสะเกษเมื่อวันก่อนและวันนี้ ฝนโปรยยามบ่ายพรมน้ำให้ต้นไม้และผืนนาสองข้างทางเข้าตัวเมืองศรีสะเกษเขียวชอุ่มสบายใจ เมื่อเข้าสู่เมืองสิ่งแรกที่พบเห็นคือ ‘วงเวียนแม่ศรี’ ที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง บริเวณนี้มีรูปปั้นของพระนางศรีสระเกศ รูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำที่เป็นดั่งสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่ามาถึงเมืองศรีสะเกษแล้ว ตำนานใต้ฐานรูปปั้นเล่าว่า ‘พระนางศรี’ เป็นคนสัญชาติกล่อม (ขอมแท้) […]

ลัดเลาะ ‘ท่องธน’ ผจญภัยล่าขุมทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่ใน ‘บางกอกใหญ่’

เชื่อว่านิยามคำว่า ‘ฝั่งธนฯ’ ของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ไม่ว่าอาณาเขต ‘ธนบุรี’ ในความรู้สึกนึกคิดของคุณจะกว้างใหญ่เพียงใด เพียงแค่ฟากซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ไกลจรดทะเลบางขุนเทียน หรือยาวไปถึงชายแดนกรุงเทพฯ ติดปริมณฑลอย่างบางแค-หนองแขม ก็ตามที รู้หรือไม่ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เริ่มที่ย่านบางกอกใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรี ราชธานีเก่าของเมืองไทย คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้เลยขออาศัยไกด์บุ๊กนำทางติดกระเป๋า พร้อมแอปพลิเคชันเกม ‘ท่องธน’ (Game of Thon) สวมบทนักผจญภัย โดยมีสมาชิกกลุ่มยังธนและผู้พัฒนาเกมเป็นคนนำทีม เปิดแมปฝั่งธนฯ ตะลุยบางกอกใหญ่ ในชุมชนวัดนาคกลาง หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ทั้งโบราณสถาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สัญลักษณ์เมืองไทยอย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนริมคลองมอญและร้านรวงของคนในย่านที่เป็นเสมือน Hidden Gem หากอยากลองชิมลางร่วมตี้ แค่โหลดเกมและจัดทีมก็ออกมาร่วมสนุกได้ หรือหากอยากรู้จักฝั่งธนฯ แบบทะลุปรุโปร่ง หยิบไกด์บุ๊กท่องธนใส่กระเป๋าแล้วออกย่ำเท้าไปพร้อมกัน เมื่อจบภารกิจท่องธนครั้งนี้แล้ว ไม่แน่ว่าคำนิยามและความรู้จักของคุณที่มีต่อฝั่งธนฯ อาจเปลี่ยนไป เรานั่งย้อนเขียนถึงเรื่องราวการผจญภัยนี้ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปไม่ไกลคือ ‘วังเดิม’ ศูนย์กลางการปกครองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของกรุงธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ หากอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพไป เกิดการสถาปนาเมืองแห่งใหม่ขึ้นมาไม่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ก่อนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้มีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.