ใครอยู่เขตไหน มาเช็กกัน กับที่สุดของ 10 อันดับเขตในกรุงเทพฯ

หลังจากนี้แทนที่เราจะอวดฐานะ กางไลฟ์สไตล์ให้ดูว่าใครกินหรูอยู่แพงกว่ากัน ชาวกรุงเทพฯ ลองเปลี่ยนมาบลัฟกันด้วยความน่าอยู่ของเขตที่อยู่อาศัยดีกว่าไหม เผื่อเขตไหนเขาอิจฉาจะได้ทำแบบเขตเราบ้าง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเขตไหนน่าอยู่ ปัจจัยหลักๆ ที่ส่งเสริมเขตนั้นให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัดกันตั้งแต่ความเพียงพอของสวนสาธารณะ อากาศสะอาดแค่ไหน รถเมล์กี่สายวิ่งผ่าน โรงเรียนมีจำนวนสอดคล้องกับนักเรียนหรือเปล่า ไปจนถึงเรื่องขยะ น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมด้านบริการสาธารณะ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม แม้กรุงเทพฯ จะมีถึง 50 เขต แต่เขตที่ได้คะแนนภาพรวมเขตน่าอยู่ในอันดับสูงๆ หรือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากคะแนนทั้งหมด 50 คะแนน นับแล้วมีเพียง 27 เขตเท่านั้น ยิ่งถ้าไปดูเขตที่ได้คะแนนเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ขอบอกว่าไม่มีสักเขตเลย เขตไหนน่าอยู่ต้องสะดวก สะอาด ปลอดภัยไร้กังวล ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า เกณฑ์การให้คะแนนความน่าอยู่ของแต่ละเขตมีที่มาจากอะไรบ้าง Bangkok Index คือข้อมูลเพื่อดูว่าแต่ละเขตน่าอยู่มากน้อยแค่ไหน มีปัญหาด้านใดบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน แต่ละด้านประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) ด้านบริการสาธารณะ ประกอบด้วย […]

‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน

เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]

Hakata อาณาจักรขนส่งสาธารณะที่รวมทุกการเดินทางไว้ในที่เดียว

‘ฮากาตะ’ ถ้าได้ยินชื่อนี้แล้วคิดถึงอะไรกันบ้าง กลิ่นหอมกรุ่นของราเม็งน้ำซุปกระดูกหมู ตลาด Christmas Market ย่านช้อปปิงขนาดใหญ่ที่เดินซื้อของเชื่อมต่อกันได้ไม่สะดุด หรือสถานีชื่อดังที่ถ้าอยากท่องเที่ยวในภูมิภาคคิวชูให้ครบๆ สักครั้งต้องใช้สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อ และหากใครเคยได้ยินเรื่องที่รัฐบาลไทยสนใจรวมขนส่งสาธารณะไว้ในที่เดียวเพื่อให้การเดินทางในไทยไร้รอยต่อ โมเดลที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นต้นแบบก็คือ ฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง คอลัมน์ City in Focus จึงขอชวนทุกคนมาดูย่านที่ทำให้การเดินทางด้วยรถ ราง บัสเป็นเรื่องง่าย แสนสบาย เชื่อมต่อรถ-ราง-บัส ในพื้นที่เล็กๆ ของฮากาตะแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบไปด้วยศูนย์รวมการเดินทางทั้งบัส แท็กซี่ รถไฟฟ้าใต้ดิน ชินคันเซ็น และรถไฟ JR โดยเหมาะทั้งสำหรับการเดินทางในเมืองฟุกุโอกะเอง และเดินทางออกไปต่างเมือง ไม่ว่าจะโตเกียว นาโกยา หรือไปดู World Expo ที่โอซากาก็ยังได้ นอกจากสถานีกลางนี้จะรวบรวมทุกการเดินทางเอาไว้แล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีฮากาตะยังมีความพิเศษตรงที่สถานีนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฟุกุโอกะ ในระยะที่ไปถึงพื้นที่สำคัญๆ ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด เช่น หากจะไปช้อปปิงที่แหล่งวัยรุ่นอย่างเทนจินก็ห่างเพียง 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 5 นาทีเท่านั้น หรือจะไปสนามบินก็ใช้เวลาเพียง 2 สถานีเช่นเดียวกัน โดยปกติด้วยความยิ่งใหญ่ของรถยนต์ ราง […]

ตามแม่มาวัดยังไงไม่ให้เบื่อ ออกแบบพื้นที่ภายในวัด ให้โอบรับคนรุ่นใหม่ ใกล้ชิดศาสนามากขึ้น

อีกหนึ่งปัญหาของลูกหลานชาวพุทธที่ติดสอยห้อยตามที่บ้านไปทำบุญที่วัดทุกวันสำคัญทางศาสนาคือ การไม่รู้จะเอาตัวเองไปแปะไว้ตรงไหนของวัดดี เพราะไม่ว่าจะไปบริเวณใดก็รู้สึกเกร็งๆ เหมือนไม่ใช่ที่ของเรา คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่ภายในวัดให้เฟรนด์ลีและโอบรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อทำให้การไปวัดของศาสนิกชนไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องไปไหว้พระหรือทำสังฆทาน แต่เป็นการที่เราได้ใช้เวลาภายในวัดอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกแปลกแยก แบ่งโซนพื้นที่นั่งรอออกจากพื้นที่ทำบุญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกทำอะไรไม่ถูกเวลาไปวัดคือ การต้องเจอพระพุทธรูปวางเรียงรายและพระประจำวัด โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าควรไหว้ นั่งนิ่งๆ หลบตา หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างเล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนไปด้วยได้หรือเปล่า การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำบุญออกมาเป็นจุดนั่งรอที่เหมาะสม โดยมีพระประธานเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่าการเข้าวัดไม่ใช่เรื่องยากเท่าเดิม เพราะหลังจากไหว้พระเสร็จก็ขอปลีกตัวไปทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจในอีกพื้นที่หนึ่ง คาเฟ่เล็กๆ สำหรับนั่งรอและเติมพลัง การนั่งรอเฉยๆ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า การมีคาเฟ่คอยให้บริการเครื่องดื่มและของหวานเล็กๆ น้อยๆ ให้พอชุบชูใจ น่าจะทำให้เวลาผ่านไปไวขึ้นอีกหน่อย  บริการปลั๊กและ Wi-Fi สำหรับทำงาน ต่อให้ไปวัดวันหยุด แต่ใช่ว่าหนุ่มสาววัยทำงานจะไม่ต้องทำงานสักหน่อย ทว่าปัญหาของการเปลี่ยนจาก Work from Home มาเป็น Work from Temple คือ การไม่มีพื้นที่ทำงานที่มีปลั๊กและ Wi-Fi ให้ใช้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดเพราะต้องใช้ไฟวัด จะดีกว่าไหมถ้าเราบริจาคเงินให้วัดเพื่อแลกกับการใช้ไฟฟ้าและ Wi-Fi ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากจะได้ทำงานแล้วยังไม่รู้สึกผิดด้วย เข้าคลาสทำกิจกรรม ไหนๆ […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

Emergency Go Bag ออกแบบกระเป๋าฉุกเฉินขนาดกะทัดรัดแบบไทยๆ ไว้ใช้งานในช่วงฉุกเฉิน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา ทำให้คนเมืองจำนวนไม่น้อยเริ่มวางแผนหาทางหนีทีไล่เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งหนึ่งสิ่งสำคัญในฮาวทูเอาตัวรอดคือ ‘กระเป๋าฉุกเฉิน’ ที่อัดแน่นไปด้วยไอเทมจำเป็นให้เราคว้าหมับแล้วรีบลี้ภัยทันที ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอออกแบบ Emergency Go Bag ในแบบฉบับของชาว Urban Creature ให้ไว้เป็นไอเดียของทุกคน นอกจากสิ่งของที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีไอเทมอื่นๆ ช่วยชุบชูใจผู้พกพาด้วย อาหารและขนม กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ยิ่งถ้าอ่อนเพลียยิ่งต้องมีของกินไว้รองท้องและเติมพลังในยามฉุกเฉิน ยกตัวอย่าง ลูกอม ที่มีน้ำตาลช่วยคลายเครียด ขนมปังกรอบ เนื่องจากเก็บไว้ได้นานและให้พลังงานสูง รวมถึงอาหารแห้งเล็กๆ น้อยๆ ไว้ประทังชีวิตหากสถานการณ์ย่ำแย่ลง น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตร นอกจากอาหาร น้ำก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เหตุผลที่ใช้ปริมาณ 600 มิลลิลิตร เพราะเป็นน้ำหนักที่รวมกับกระเป๋าแล้วยังไม่หนักจนเกินไป เอกสารสำคัญ (สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน) พกไว้ยืนยันตัวตนหรือที่อยู่หากบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านสูญหาย ยาสามัญประจำบ้าน หยูกยาพื้นฐานเป็นของจำเป็น เช่น ยาแก้ปวด สเปรย์แอลกอฮอล์ ปลาสเตอร์ปิดแผล หากเจ็บป่วยจะได้ใช้ปฐมพยาบาลทันท่วงที ยาดม ขาดไม่ได้กับปัจจัยที่ 5 ของคนไทย ใช้ทั้งแก้วิงเวียน […]

เปลี่ยนการเดินในเมืองให้สนุกขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบทางเท้า ที่ส่งเสริมให้คนเอนจอยกับการเดิน

เคยคิดไหมว่า ทำไมเราถึงไม่อยากใช้เวลาในวันหยุดออกไปเดินเท้าท่องแต่ละย่านของเมือง คำตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แดดร้อน ทางเท้าไม่ดี หรือเดินได้ไม่สะดวก แต่นอกเหนือจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายทั่วๆ ไปอย่างทางเท้าที่กว้างตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอของพื้นทางเท้าที่ไม่เหยียบแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างตลอดการเดิน ยังมีอีกปัจจัยสำคัญอย่างการออกแบบสนุกๆ ที่จะช่วยทำให้การเดินในเมืองของพวกเรามีสีสันมากขึ้นได้อีก คอลัมน์ Urban Sketch ขอลองออกไอเดียว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนการเดินธรรมดาๆ ให้มีชีวิตชีวาและสนุกได้ตลอดทาง 1) พื้นจอ Interactive เดินอย่างเดียว มองพื้น มองทางแล้วก็เบื่อๆ ถ้ามีจอ Interactive ที่ทำให้การเดินไม่ต้องมองแต่อะไรซ้ำๆ ก็คงดี เราเลยคิดถึงจอที่โต้ตอบได้ พร้อมใส่อะไรสนุกๆ อย่างปลาทองที่ว่ายไปว่ายมา พร้อมผืนน้ำที่เมื่อเราเหยียบแล้วมีคลื่นเกิดขึ้น กระทั่งทุ่งหญ้าที่มีกระรอกตัวเล็กๆ กระโดดดึ๋ง เวลาเหยียบจุดไหนหญ้าก็เกิดการเคลื่อนไหว 2) จุดแวะนับก้าวและเติมพลัง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหน เป็นจำนวนกี่ก้าวแล้ว หรือวันนี้เดินได้มากกว่าเมื่อวานไหม นี่เลย เราขอเสนอจุดแวะนับก้าวและเติมพลังให้ทุกคนนำ Smart Watch ไปแปะที่แท่นพร้อมขึ้นโชว์เป็นลำดับแข่งขัน และมอบรางวัลให้นักเดินคนเก่งที่สะสมจำนวนก้าวได้มากที่สุดในสัปดาห์ คู่กับบริการเช่ายืมเซตนักเดินอย่างหมวก แว่นกันแดด ร่ม หรือพัดลมจิ๋ว โดยมีค่าบริการคิดตามรายชั่วโมงและคืนได้ที่จุดแวะนับก้าวจุดต่อไป อีกส่วนสำคัญที่จุดนับก้าวนี้มีคือ ข้อความให้กำลังใจสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันเดินแชมเปียนชิป แต่ก็ต้องการกำลังใจดีๆ ให้ผ่านวันยากๆ […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

ถ้าสถานการณ์น้ำท่วมโลกใน Flow มีมนุษย์เราจะทำอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง

เมี้ยว หง่าว โฮ่งๆ บ๊อกๆ  ภาพยนตร์ไร้ไดอะล็อก ที่มีแต่เสียงสัตว์สื่อสารกันตลอด 90 นาทีอย่าง Flow (มีเหมียว มีกัน วันน้ำท่วมโลก) เจ้าของรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film) เวที Oscars 2025 พ่วงด้วยตำแหน่งงานสุดเท่ที่สร้างด้วยโปรแกรม Blender โปรแกรมฟรีเพียงโปรแกรมเดียว กำกับโดย Gints Zilbalodis และร่วมเขียนบทกับ Matīss Kaža Flow เป็นแอนิเมชันแฟนตาซีผจญภัย เรื่องราวของชีวิตสัตว์ต่างๆ หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ทั้งแมวดำ (ที่ต่อมาผู้กำกับออกมาแย้งว่าเป็นสีเทาเข้ม เพราะมีต้นแบบเป็นแมวเหมียวของเขาเอง) หมาโกลเดนรีทรีฟเวอร์ คาปิบารา ลีเมอร์ และสัตว์บนโลกนี้ต้องมาร่วมหัวจมท้าย ลงเรือลำเดียวกันเพื่อเอาชีวิตรอดจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยในเรื่องเราจะไม่ได้เห็นมนุษย์แม้แต่คนเดียว เป็นเหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้ถึงไม่มีบทพูดใดๆ ทั้งสิ้น คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอลองมาจินตนาการว่า ถ้าในเรื่อง Flow มีมนุษย์สักคน เราจะช่วยสร้างหรือออกแบบอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง สร้างบ้านลอยน้ำ ในช่วงต้นเรื่องจะเห็นฉากที่น้องแมวดำกระโดดเข้าทางหน้าต่างเพื่อนอนลงบนเตียงที่แสนนุ่มและสบาย […]

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

1 2 3 50

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.