Urban Eyes
รายละเอียดของเมืองทุกเมืองในมุมมองของคนหลังเลนส์
THE REVERIE IN SUMMER | Urban Eyes
ภาพถ่ายของครอบครัวหนึ่งกำลังพักผ่อนช่วงฤดูร้อนในยุโรป ฟิล์มสไลด์เก่าๆ ได้ข้ามเวลาและถูกพบในโกดังขายของเก่าที่จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยจิตวิญญาณของช่างภาพตัวเล็กๆ อย่างผม หากต้องทิ้งฟิล์มเหล่านี้ไว้ตามเดิมคงจะเสียใจไม่น้อย ราคาที่ต้องจ่ายถือว่าน้อยนิดมาก เมื่อเทียบกับ “ชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาพ” ยังมีภาพถ่ายอีกไม่น้อยที่กระจัดกระจายไปตามโกดังของเก่าทั่วโลก เชื่อว่า…ถ้าภาพถ่ายที่หลงทางได้กลับไปหาเจ้าของเดิมก็คงจะดีไม่น้อย และกระผมยินดีที่จะส่งกลับคืนถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
‘Dream Construction’ กาดสวนแก้ว ความฝันยุค 90 ที่ทรงจำของคนเมือง
ร.ต.ท. สุชัย เก่งการค้า ได้เนรมิตความฝันของตัวเองให้เป็นความจริง ด้วยความคิดที่จะสร้างพื้นที่การค้าและการท่องเที่ยวโดยตั้งอยู่บนฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติท้องถิ่น ควบรวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ‘อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว’ อุทยานการค้าที่ประกอบไปด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมจึงเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นที่รู้จักในนามศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ มีความทันสมัยและเป็นแหล่งรวมความบันเทิงที่หลากหลายแห่งยุค กลายเป็นจุดหมายที่ทำให้ผู้คนยุค 80 – 90 แวะเวียนเข้ามาสร้างความทรงจำร่วมกัน การได้ก้าวเข้าไปภายในส่วนของศูนย์การค้าแห่งนี้ครั้งแรกในอีกยุคสมัยหนึ่ง คือปัจจุบัน ทำให้เกิดบรรยากาศทางอารมณ์ที่หลากหลายต่อตัวฉัน การพยายามปรับปรุงพื้นที่ของกาดสวนแก้วเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเหลื่อมกันระหว่างร่องรอยของเค้าโครงสถานที่เดิม ร่องรอยของสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง และร่องรอยของสิ่งใหม่ๆ ที่อยู่ภายใต้ดินแดนแห่งนี้ ดึงดูดความสนใจให้ฉันได้ออกเดินทางสำรวจ ได้จินตนาการว่าตัวเองก้าวเข้ามาในโลกใบใหม่ ที่ในอดีตนั้นเคยเป็นหรือยังเป็นโลกใบเก่าของใครบางคน มันคือการผจญภัยที่ไม่สามารถทราบถึงจุดสิ้นสุดได้ในตอนนี้ ฉันคือตัวละครที่กำลังตามหาสิ่งที่น่าสนใจอยู่บนโลกแห่งความจริงที่คล้ายความฝัน ใช้สายตาสังเกต จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาด้วยภาพถ่าย ‘Dream Construction’ หรือ ‘ดินแดนแห่งฝัน’ ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของผู้คนที่เกิดขึ้นกว่า 30 ปี ของเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความรู้สึกของฉันที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย
Feel Just Right, Feel Like Home ตามหาบ้านที่พอดีกับหัวใจที่อณาสิริ จากแสนสิริ
“A house is made of brick and stone; a home is made of love alone.” คือประโยคที่ใช้อธิบายบริบทที่แตกต่างของสองคำศัพท์ที่แปลว่า “บ้าน” เหมือนกันได้อย่างชัดเจน – House จะหมายถึงบ้านที่เป็นตัวอาคาร สร้างจากอิฐ ส่วน Home นอกจากจะหมายถึงบ้านเป็นหลังๆ ยังหมายถึงความรู้สึกพอดี ลงตัว สบายใจ เหมือนได้อยู่ในที่ๆ เดียวกับคนที่รัก เป็นที่มาของคำกล่าวว่า เมื่อคุณจะเลือกซื้อบ้านสักหลัง ก็ควรซื้อบ้านที่เป็น Home ไม่ใช่แค่ House คือไม่ได้ดูดีแค่ภายนอก ไม่ได้สวยแค่ตาเห็น แต่ต้องให้ความรู้สึกที่ ‘ใช่’ จริงๆ โดยใช้หัวใจตัดสิน และก็ควรอย่างยิ่งที่จะพอดิบพอดีกับไลฟ์สไตล์ในแบบของคุณ ซึ่งแสนสิริ ผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก็มีความเข้าใจในไลฟ์สไตล์ของคนเมืองปัจจุบัน ที่ต้องการบาลานซ์ชีวิตส่วนตัวกับชีวิตทำงานให้ลงตัว จึงออกแบบที่อยู่อาศัยให้ตรงกับความต้องการนี้ เกิดเป็นโครงการ “อณาสิริ” บ้านและทาวน์โฮมที่พอดีกับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านในทุกด้าน ตอบโจทย์ทุกความต้องการ เป็นบ้านที่ “ใช่” จริงๆ […]
ภาพช่วงเวลา Sunday ที่ ‘มอร์ วสุพล’ ถ่ายเอง เฉื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ได้ฮีลใจตัวเอง
ทุกวันอาทิตย์ทุกคนทำอะไรกันบ้าง เราที่ปกติต้องทำงาน ออกไปเล่นคอนเสิร์ต หรือออกไปเจอใครๆ ขอขี้เกียจ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องไปกับใครสักหน่อย ขอลองนอนตื่นสายใน Sunday เหมือนเพลงที่เขียน เพื่อจะมีวันอาทิตย์ที่เอื่อยๆ ฮีลใจเหี่ยวๆ และทบทวนตัวเองด้วยการทำอาหาร มองท้องฟ้า แล้วก็วิ่ง Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการทำอาหาร ค้นพบว่า การทำอาหารสามารถทำให้ใจสงบนิ่งขึ้นได้ประมาณหนึ่งเหมือนกันนะ อร่อยด้วย เริ่มจากมื้อ Brunch Heal ใจในวันเหี่ยวๆ ออกไปซื้อกาแฟเจอแสง Cookies ธรรมชาติแบบนี้แล้วแพ้ทุกที ต้องถ่ายเก็บไว้ จานซ้ายแฟนทำให้กิน อร่อย อยากอวด ส่วนจานขวาให้กำลังใจตัวเองด้วยสเต๊ก Medium Rare ในภาพมันยังแรร์อยู่ แต่ตอนย่างแล้วสีมันไม่สวยเท่าตอนนี้ เลยอยากให้ผู้อ่านช่วยจินตนาการตามหน่อยนะครับ Sunday นี้เราทำคอนเทนต์ปีนต้นไม้ถ่ายรูป ต้นหูกระจงหลังบ้านเปรียบเสมือนพี่ชาย เขาอายุมากกว่าเราแค่ 2 ปี เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก ถ่ายรูปไปเกือบร้อยรูปตามประสาเน็ตไอดอลวอนนาบี เสร็จปุ๊บ พอกระโดดลงมา โป๊ะ ก็รับรู้ได้ถึงสังขารอันไม่จีรัง ไม่เที่ยงแท้ของคนเรา รู้สึกแพ้ รู้สึกห่วย Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการมองท้องฟ้า ชอบสีของฟ้าและแสงสีส้มที่ตกกระทบตึกข้างล่าง […]
‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ชุดภาพสะท้อนชีวิตคนก่อสร้าง
HIGH- RISE BUILDINGS, LOW- RISE BUILDERS? ที่อยู่อาศัยบนตึกสูงระฟ้าเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาทั่วกรุงเทพฯ ผู้คนมากหน้าหลายตาจับจองเป็นเจ้าของ พร้อมเข้าอยู่ อยู่ในที่ที่ไม่ได้สร้าง หากคนที่ลงมือสร้างกลับไม่ได้อยู่ ปาณศานต์ พัฒนกุลชัย ชวนมองภาพสะท้อนชีวิตและความฝันของคนสร้างผ่านชุดภาพ ‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ที่ตั้งคำถามถึงความหรูหราของที่พักอาศัย แต่คนสร้างตึกเหล่านั้นกลับเผชิญความยากลำบาก จึงเลือกใช้ Backdrop คอนโดมิเนียมเปรียบเป็นภาพในความฝันของใครหลายคน รวมถึงคนลงมือสร้าง
‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น
ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]
Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง
เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]
BALL is Waiting for…ชุดภาพถ่ายแห่งการเฝ้ารอของ บอล-ต่อพงศ์ พี่คนโตแห่ง What The Duck
รอ… เรากำลังรอบางสิ่ง ระหว่างรอเลยถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่พักของตัวเองในวันหยุด ช่วงล็อกดาวน์ด้วยคอนเซปต์ ‘Waiting for’ แต่ละรูปเลยเต็มไปด้วยความเงียบในบรรยากาศของการเฝ้ารออะไรบางอย่างให้ผ่านไป และรอความหวังใหม่ๆ ให้เข้ามาเติมเต็ม แต่ก็ยังไม่รู้ว่าต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่
Untitled ชุดภาพถ่ายทลาย Beauty Standard อ้วน ผอม มีแผลเป็น ไว้ขนรักแร้ก็สวยได้
ฉันมีร่างกายที่ผอมมาก และรู้สึกไม่มั่นใจในตนเองฉันมีแผลเป็น ที่ไม่ต้องการให้ใครได้เห็นฉันมีขนรักแร้ขึ้นตามธรรมชาติ แต่ไม่ต้องการกำจัดออกฉันมีรูปร่างที่อ้วน และไม่ได้รับการยอมรับจากใคร แม้แต่ตัวฉันเอง ไม่ว่าฉัน เธอ หรือผู้หญิงคนไหนจะเป็นแบบไหน จงมั่นใจว่าเราทุกคนล้วนมีความสวยงามในแบบของเราเอง เราทุกคนสมควรได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะการยอมรับจากตัวเราเอง เหมือนชุดภาพถ่าย Untitled ของ พชร สีอ่อน ที่อยากสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าความงามของผู้หญิงอย่างไร้รูปแบบ และฉีกกรอบค่านิยมความสวยเดิมๆ “Untitled คือศิลปนิพนธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อนของเรา ซึ่งเริ่มต้นจากการบังเอิญเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และการกำจัดขนชื่อ Billie ใน Project Body Hair ซึ่งสร้างความประทับใจให้เราเป็นอย่างมาก โดยตัวโฆษณานำเสนอภาพผู้หญิงหลายคนที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว รูปร่าง ฯลฯ แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือ ความสวยที่เปล่งประกายออกมาในแบบของตัวเอง แม้ความสวยของหลายๆ คน จะไม่เป็นไปตามค่านิยมความงามในสังคมที่เราอยู่ในตอนนั้นก็ตาม “ทำให้เราเกิดความสนใจที่จะนำเสนอความสวยงามไร้รูปแบบ ต่างจากค่านิยมเดิม ภายใต้ความคิดที่ว่า ถ้าหากในอดีต สื่อโฆษณาสามารถสร้างกรอบค่านิยมให้กับผู้บริโภคในประเทศได้ ด้วยการนำเสนอ ตอกย้ำ ผลิตความงามตามอุดมคติซ้ำๆ เพื่อขายสินค้า จนส่งผลทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดความไม่มั่นใจในรูปร่าง สีผิว และริ้วรอยตามธรรมชาติของตัวเอง ด้วยเพราะไม่เป็นไปตามรูปแบบความงามที่สื่อโฆษณาตั้งใจนำเสนอ ได้อย่างไรแล้ว “เราก็เชื่อว่าการนำเสนอความสวยงามที่หลากหลาย จากคนหลายคน […]
THE 8th CONTINENT เปิดทวีปที่ 8 ใต้มหาสมุทรทั่วโลกด้วยเลนส์กล้องของ 6 ช่างภาพใต้น้ำไทย
ทวีปที่ 8 บนดาวเคราะห์สีฟ้าที่ตั้งอยู่เป็นลำดับที่ 3 ในระบบสุริยจักรวาล ผืนดินที่เป็นพื้นที่ส่วนน้อย ของดาวดวงนี้ถูกแบ่งออกเป็นทวีปทั้ง 7 ในขณะที่ผืนน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเชื่อมต่อกัน เป็นผืนเดียวกันได้ถูกตั้งชื่อออกเป็นมหาสมุทรทั้ง 5 ผืนน้ำ ซึ่งดูเหมือนจะรกร้างว่างเปล่า นั่นคือ ‘ต้นกำเนิดของสรรพชีวิตบนโลกใบนี้’ ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมานับล้านปีก่อนที่มนุษย์คนแรกจะถือกำเนิดมา มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวมากมายจากผืนดินและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัว หากแต่ท้องทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาแห่งสรรพสิ่งนั้นคือทวีปที่หายไป เราเพิ่งเริ่มต้นทำความรู้จักกับท้องทะเล และมหาสมุทรอย่างจริงจังในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง นานแสนนานนับจากวันแรกที่มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องทะเล และวันแรกที่บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เดินทางขึ้นมาจากท้องทะเล Deep VI คือการรวมตัวของกลุ่มช่างภาพใต้น้ำที่ประกอบไปด้วย นัท สุมนเตมีย์ ผู้ที่บันทึกภาพใต้น้ำมาตั้งแต่ยุคสมัยฟิล์ม ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพและนักอนุรักษ์ผู้บันทึกภาพพะยูนมาเรียมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการอนุรักษ์ออกไปทั่วโลก ภานุพงศ์ นรเศรษฐกมล ผู้ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลในพื้นที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย ธนากิจ สุวรรณยั่งยืน และ พิพัฒน์ โกสุมลักษมี ช่างภาพมือรางวัลระดับนานาชาติ และ บารมี เต็มบุญเกียรติ ช่างภาพสัตว์ป่ามืออาชีพ พวกเราทั้ง 6 คนอยากถ่ายทอดเรื่องราวของทวีปที่ 8 ซึ่งชื่อ ใต้ทะเล ให้คุณรู้จัก และเข้าใจผ่าน THE 8th […]
บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’
บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]
City in Bloom – ปลอมในจริง
เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)