THE 8th CONTINENT เปิดทวีปที่ 8 ใต้มหาสมุทรทั่วโลกด้วยเลนส์กล้องของ 6 ช่างภาพใต้น้ำไทย

ทวีปที่ 8 บนดาวเคราะห์สีฟ้าที่ตั้งอยู่เป็นลำดับที่ 3 ในระบบสุริยจักรวาล ผืนดินที่เป็นพื้นที่ส่วนน้อย ของดาวดวงนี้ถูกแบ่งออกเป็นทวีปทั้ง 7 ในขณะที่ผืนน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเชื่อมต่อกัน เป็นผืนเดียวกันได้ถูกตั้งชื่อออกเป็นมหาสมุทรทั้ง 5 ผืนน้ำ ซึ่งดูเหมือนจะรกร้างว่างเปล่า นั่นคือ ‘ต้นกำเนิดของสรรพชีวิตบนโลกใบนี้’ ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมานับล้านปีก่อนที่มนุษย์คนแรกจะถือกำเนิดมา  มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวมากมายจากผืนดินและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัว หากแต่ท้องทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาแห่งสรรพสิ่งนั้นคือทวีปที่หายไป เราเพิ่งเริ่มต้นทำความรู้จักกับท้องทะเล และมหาสมุทรอย่างจริงจังในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง นานแสนนานนับจากวันแรกที่มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องทะเล และวันแรกที่บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เดินทางขึ้นมาจากท้องทะเล Deep VI คือการรวมตัวของกลุ่มช่างภาพใต้น้ำที่ประกอบไปด้วย นัท สุมนเตมีย์ ผู้ที่บันทึกภาพใต้น้ำมาตั้งแต่ยุคสมัยฟิล์ม ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพและนักอนุรักษ์ผู้บันทึกภาพพะยูนมาเรียมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการอนุรักษ์ออกไปทั่วโลก ภานุพงศ์ นรเศรษฐกมล ผู้ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลในพื้นที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย ธนากิจ สุวรรณยั่งยืน และ พิพัฒน์ โกสุมลักษมี ช่างภาพมือรางวัลระดับนานาชาติ และ บารมี เต็มบุญเกียรติ ช่างภาพสัตว์ป่ามืออาชีพ  พวกเราทั้ง 6 คนอยากถ่ายทอดเรื่องราวของทวีปที่ 8 ซึ่งชื่อ ใต้ทะเล ให้คุณรู้จัก และเข้าใจผ่าน THE 8th […]

บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’

บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน!  เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art)  นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]

‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2

“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย  จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว  พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่

Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

อะไรอยู่ใต้ผ้าคลุม

“ทำไมต้องกลัวหมวกด้วยล่ะ” ถ้าใครมีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง ‘เจ้าชายน้อย’ คงคุ้นเคยกับประโยคนี้และนึกถึงภาพงูเหลือมกินช้างออก ซึ่งเป็นภาพวาดหมายเลข 1 ที่เจ้าชายน้อยวาดก่อนจะยอมแพ้ให้กับพรสวรรค์ด้านศิลปะของตัวเอง เพราะผู้ใหญ่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาวาดและมักต้องการคำอธิบายอยู่เสมอ  เมื่อมองไปยังผืนผ้าใบที่ใช้คลุมบางสิ่งแล้วรูปร่างภายนอกนั้นแตกต่างกัน เรานึกถึงเรื่องราวเจ้าชายน้อยอีกครั้ง ซึ่งปกติถ้าเห็นคงใช้เวลาไม่นานในการตอบคำถามว่าอะไรอยู่ภายใต้ผ้าใบเหล่านั้น แต่หลังจากที่ลองโยนตรรกะและเหตุผลทิ้งไป แล้วมองภาพพวกนี้อีกครั้ง เรากลับพบความเป็นไปได้มากมาย ซึ่งถูกคลุมซุกซ่อนไว้ Urban Eyes ครั้งนี้เราจึงอยากชวนให้คุณค่อยๆ ใช้จินตนาการดูภาพเหล่านี้ไปพร้อมกัน แล้วลองแชร์ให้ฟังหน่อยว่าคุณเห็นอะไรอยู่ภายใต้ผืนผ้าใบบ้าง  “มินเนี่ยน” “ปีศาจ” “ภูเขาน้ำแข็ง” “หมีพูห์” “ทีวีจอแบน” “ช้าง” “แมว” “หัวฮิปโป” “ทวิตเตอร์”

‘แท่นบูชาแดง’ ความเชื่อสุดขลังของชาวไทย-จีนฮกเกี้ยน พังงา

บ้านทุกหลังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับคนหลาดเก่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนนั้น คือการไหว้ ‘เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้’ (玉皇) ผ่าน ‘เที่ยนกวนซือฮก’ (天官賜福) แท่นบูชาสีแดงที่มักติดบริเวณหน้าบ้าน เพื่อระลึกถึงเทพฟ้าดิน ระหว่างเดินเล่นที่หลาดเก่า ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เราเห็นว่าทุกบ้านจะมีเที่ยนกวนซือฮกติดอยู่ ต่างกันที่ลักษณะและจุดสำหรับติดตั้งแท่น จึงอดไม่ได้ที่จะยกกล้องเก็บภาพความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนไว้  ชาวไทยจีนฮกเกี้ยนนับถือเทพเจ้า ‘หยกหองซ่งเต้’ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘เง็กเซียนฮ่องเต้’ ประมุขแห่งทวยเทพตามความเชื่อ ซึ่งจะพบเห็นวัฒนธรรมนี้ได้ที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ซึ่งทุกคนต่างเชื่อว่าท่านคือ ‘เทพแห่งฟ้าประทานพร’ ส่วนใหญ่การตั้งเที่ยนกวนซือฮก จะถูกติดตั้งที่เสาซ้ายมือหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า ‘หงอคาขี่’ หากบ้านที่ไม่มีหงอคาขี่ ก็จะถูกติดไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าบ้านแทน ตามความเชื่อคนจีนที่ถือฝั่งซ้ายเป็นใหญ่ ธรรมเนียมการไหว้เที่ยนกวนซือฮกจะนิยมทำทุกวันตอนเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยไหว้เทพประจำบ้านและบรรพบุรุษ บางบ้านจะไหว้ในวันพระของไทย​หรือในวันพระของจีน โดยของที่ใช้ไหว้มีผลไม้ น้ำชา และขนม ตามขนาดความกว้างของเที่ยนกวนซือฮก แต่หลักๆ จะนิยมไหว้แค่น้ำชา 3 จอก จากนั้นจุดเทียน และธูปไหว้ 3 ดอก แม้รูปแบบของเที่ยนกวนซือฮกจะแตกต่างกัน แต่ความศรัทธาของชาวหลาดเก่านั้นมีหนึ่งเดียวคือ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องอยู่เสาด้านซ้ายของบ้านเสมอ

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

1 11 12 13 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.