DESIGN
บอกต่อเรื่องแวดวงศิลปะและศาสตร์การออกแบบ ตั้งแต่ตัวตนศิลปิน แนวคิด เทคนิค ไปจนถึงพื้นที่แสดงออก เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและเปลี่ยนความคิดให้ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน
Made in Charoenkrung ปลุกร้านเก่าแก่ย่านเจริญกรุงให้กลับมาคูลอีกครั้ง
Made in Charoenkrung คือโปรเจกต์ที่ดึงความสามารถของเหล่าช่างฝีมือ และทักษะความเจ๋งของร้านเก่าแก่ในย่านเจริญกรุง ให้กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยการผนึกกำลังเสริมของเหล่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ปังขึ้น
ภาพช่วงเวลา Sunday ที่ ‘มอร์ วสุพล’ ถ่ายเอง เฉื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ได้ฮีลใจตัวเอง
ทุกวันอาทิตย์ทุกคนทำอะไรกันบ้าง เราที่ปกติต้องทำงาน ออกไปเล่นคอนเสิร์ต หรือออกไปเจอใครๆ ขอขี้เกียจ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องไปกับใครสักหน่อย ขอลองนอนตื่นสายใน Sunday เหมือนเพลงที่เขียน เพื่อจะมีวันอาทิตย์ที่เอื่อยๆ ฮีลใจเหี่ยวๆ และทบทวนตัวเองด้วยการทำอาหาร มองท้องฟ้า แล้วก็วิ่ง Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการทำอาหาร ค้นพบว่า การทำอาหารสามารถทำให้ใจสงบนิ่งขึ้นได้ประมาณหนึ่งเหมือนกันนะ อร่อยด้วย เริ่มจากมื้อ Brunch Heal ใจในวันเหี่ยวๆ ออกไปซื้อกาแฟเจอแสง Cookies ธรรมชาติแบบนี้แล้วแพ้ทุกที ต้องถ่ายเก็บไว้ จานซ้ายแฟนทำให้กิน อร่อย อยากอวด ส่วนจานขวาให้กำลังใจตัวเองด้วยสเต๊ก Medium Rare ในภาพมันยังแรร์อยู่ แต่ตอนย่างแล้วสีมันไม่สวยเท่าตอนนี้ เลยอยากให้ผู้อ่านช่วยจินตนาการตามหน่อยนะครับ Sunday นี้เราทำคอนเทนต์ปีนต้นไม้ถ่ายรูป ต้นหูกระจงหลังบ้านเปรียบเสมือนพี่ชาย เขาอายุมากกว่าเราแค่ 2 ปี เห็นกันมาตั้งแต่เด็ก ถ่ายรูปไปเกือบร้อยรูปตามประสาเน็ตไอดอลวอนนาบี เสร็จปุ๊บ พอกระโดดลงมา โป๊ะ ก็รับรู้ได้ถึงสังขารอันไม่จีรัง ไม่เที่ยงแท้ของคนเรา รู้สึกแพ้ รู้สึกห่วย Sunday นี้เราฮีลตัวเองด้วยการมองท้องฟ้า ชอบสีของฟ้าและแสงสีส้มที่ตกกระทบตึกข้างล่าง […]
วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย
ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]
เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’
ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น
‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ชุดภาพสะท้อนชีวิตคนก่อสร้าง
HIGH- RISE BUILDINGS, LOW- RISE BUILDERS? ที่อยู่อาศัยบนตึกสูงระฟ้าเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาทั่วกรุงเทพฯ ผู้คนมากหน้าหลายตาจับจองเป็นเจ้าของ พร้อมเข้าอยู่ อยู่ในที่ที่ไม่ได้สร้าง หากคนที่ลงมือสร้างกลับไม่ได้อยู่ ปาณศานต์ พัฒนกุลชัย ชวนมองภาพสะท้อนชีวิตและความฝันของคนสร้างผ่านชุดภาพ ‘คนอยู่ไม่ได้สร้าง คนสร้างไม่ได้อยู่’ ที่ตั้งคำถามถึงความหรูหราของที่พักอาศัย แต่คนสร้างตึกเหล่านั้นกลับเผชิญความยากลำบาก จึงเลือกใช้ Backdrop คอนโดมิเนียมเปรียบเป็นภาพในความฝันของใครหลายคน รวมถึงคนลงมือสร้าง
บ้านเอาถ่าน! Char Co- ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ดำแต่เท่ ดูดกลิ่น ไม่เลอะมือ
จับถ่านทีมือดำปี๋ ไม่ระวังให้ดีหล่นนิดเดียวก็แตก ทำเอาหลายคนไม่อยากสัมผัสถ่าน จะหยิบก็ต้องควานหาถุงมือมาใส่กันเลอะ ความไม่อยากจับถ่านที่ใครๆ รู้สึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Char Co- แบรนด์ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ของสามนักออกแบบเอาถ่านอย่าง ปอนด์-ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล น็อต-นภดล สังวาลเพ็ชร และ แนค-วรภัทร์ เมืองรวมญาติ ที่ฉีกกฎความเป็นถ่านว่าต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น สู่การเพิ่มคุณค่าเป็นของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง “Char Co- มาจากคำว่าถ่าน แต่ตัด al ออกจากคำว่า Coal แล้วเติม – เพื่อสื่อว่า จะเอาถ่านมาสร้างความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ ผ่านการใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ ไปจนถึงการนำถ่านไปร่วมงานกับแบรนด์อื่นๆ” ซึ่งของแต่งบ้านแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ที่รองแก้ว นาฬิกา แผ่นแต่งผนัง ไปจนถึงท็อปโต๊ะนั้นไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถึงชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตามหาถ่านไม้โกงกาง ก่อนนำมาผสมเรซิน กลึง หั่น เพาะ เชื่อม แล้วขึ้นรูปเป็นของแต่งบ้านจากถ่านที่มีคุณสมบัติดูดกลิ่น ซับความชื้น กรองความสกปรก และหากวันหนึ่งเกิดแตกหักก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง หรือกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง คนเอาถ่าน เปลี่ยนมุมมองถ่านที่ประโยชน์เยอะ แต่ไม่มีใครอยากสัมผัส […]
‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น
ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]
หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง
มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]
Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง
เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]
‘อัครา นักทำนา’ ช่างภาพที่ทำนิตยสารจนโตมาเป็น CTypeMag Gallery ให้ทุกคนมีพื้นที่แขวนรูป
ช่างภาพสตรีทที่หันมาจับนิตยสารออนไลน์อย่าง CTypeMag ตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเขากระโดดจากออนไลน์มาทำแกลเลอรีเล็กๆ ชื่อ CTypeMag Gallery ในซอยภูมิจิตร ย่านพระโขนง
จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน
ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้
BALL is Waiting for…ชุดภาพถ่ายแห่งการเฝ้ารอของ บอล-ต่อพงศ์ พี่คนโตแห่ง What The Duck
รอ… เรากำลังรอบางสิ่ง ระหว่างรอเลยถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่พักของตัวเองในวันหยุด ช่วงล็อกดาวน์ด้วยคอนเซปต์ ‘Waiting for’ แต่ละรูปเลยเต็มไปด้วยความเงียบในบรรยากาศของการเฝ้ารออะไรบางอย่างให้ผ่านไป และรอความหวังใหม่ๆ ให้เข้ามาเติมเต็ม แต่ก็ยังไม่รู้ว่าต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่