เก็บตก 3 กิจกรรมผลักดันเชียงรายสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในงาน Chiangrai Sustainable Design Week 2024

อยากรู้ไหมว่าตอนนี้เมืองเจียงฮายไปไกลถึงไหนแล้ว หลังจากที่ได้ยินข่าวการพัฒนาเมืองรองแห่งนี้บ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเทศกาล ‘เชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2567’ หรือ ‘Chiangrai Sustainable Design Week 2024 (CRSDW2024)’ ที่รวมงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย แม้เทศกาลดังกล่าวจะสิ้นสุดลง แต่ Urban Creature ขอหยิบงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านคอนเซปต์การผลักดันเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ เมืองน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าท่องเที่ยว SMOG ธุลีกาศ งานออกแบบนวัตกรรม ลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าจากอุตสาหกรรมเกษตรแบบเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด หรือแม้กระทั่งอ้อยที่ถูกเผาหลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพเรามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งนับเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ปัญหาฝุ่นกลายเป็นเทศกาลประจำปีของเชียงราย CEA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือกับ FabCafe Bangkok จัดกิจกรรมโชว์เคสและเวิร์กช็อปเสนอแนวทางเปลี่ยนขยะจากการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้กิจกรรม ‘SMOG ธุลีกาศ’ กิจกรรมที่ว่าคือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเพื่อแปรรูปซากพืชเกษตรเป็นวัสดุ ผ่านการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นรูปทรงต่างๆ โดยหวังว่างานออกแบบเหล่านี้จะเพิ่มอัตราการซื้อซากพืชและช่วยลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เชียงรายกลายเป็น […]

‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน

‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]

‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน

ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

ถอดรหัสความสำเร็จจาก Haikyu!! สุดยอดมังงะกีฬาสร้างแรงบันดาลใจ สู่การฟื้นกระแสกีฬาวอลเลย์บอลในญี่ปุ่น

‘เพราะว่าเราไม่มีปีก ดังนั้นเราจึงพยายามหาวิธีที่จะบิน’ หากพูดถึงอนิเมะที่กระแสแรงที่สุดในวินาทีนี้คงหนีไม่พ้น ‘ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน’ หรือ ‘Haikyu!!’ จากกระแส #ประเทศไทยมีศึกกองขยะแล้ว ครองไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วความเฟมัสของไฮคิว!! ไม่ได้เพิ่งมีในช่วงปีนี้ เพราะที่ผ่านมาไฮคิว!! ถูกพูดถึงมาตลอดในฐานะการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ ที่ ‘ชาวไฮเคี่ยน’ มักนำโควตของตัวละครในเรื่องมาแชร์กันบ่อยครั้ง ทั้งบทสนทนาที่เปิดมุมมองการใช้ชีวิตและการทำตามความฝัน ไฮคิว!! ถือเป็นสุดยอดมังงะกีฬา ที่พูดถึงเรื่องราวของ ‘ฮินาตะ โชโย’ เด็กหนุ่มตัวเล็กที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา หลังบังเอิญได้เห็นการแข่งขันของ ‘ยักษ์จิ๋ว’ เอซ (Ace) ในตำนานของทีมคาราสึโนะ ผู้เล่นตัวเล็กที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทีมตรงข้ามที่สูงถึง 190 เซนติเมตรได้ ทำให้ฮินาตะใฝ่ฝันอยากเป็นอย่างยักษ์จิ๋ว พยายามฝึกฝนกีฬาวอลเลย์บอล เกิดเป็นเรื่องราวมิตรภาพและการแข่งขันตามมา ไฮคิว!! ถือกำเนิดจากฝีมือการเขียนของ ‘อาจารย์ฮารุอิจิ ฟุรุดาเตะ’ โดยเริ่มต้นจากการตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในปี 2555 ก่อนจะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะซีซันแรกในปี 2557 ปัจจุบันมีการรวมเล่มมังงะจนจบ 45 เล่ม อนิเมะ 4 ซีซัน โดยล่าสุดภาพยนตร์อนิเมะกำลังฉายในโรงภาพยนตร์ ในชื่อ ‘Haikyu!! The […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.