ถูกใจสายอาร์ต Van Gogh Museum เปิดให้โหลดภาพวาดฝีมือ ‘แวน โก๊ะ’ ฟรี กว่า 1,500 ชิ้น

หลังจาก ‘Van Gogh Museum’ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกาศปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เหล่าแฟนๆ งานศิลปะก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะทางพิพิธภัณฑ์ได้เปิดให้ทุกคนเพลิดเพลินกับงานศิลปะจากบ้านและดำดิ่งไปกับเรื่องราวเบื้องหลังผลงานแต่ละชิ้นได้ผ่านเว็บไซต์ www.vangoghmuseum.nl/en ผู้ที่สนใจเลือกรับชมและดาวน์โหลดผลงานภาพวาด ภาพระบายสี และภาพพิมพ์ของแวน โก๊ะ กว่า 1,500 ชิ้น ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีข้อแม้ว่าห้ามนำภาพไปใช้เพื่อการค้า และนอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ เช่น 4K Tour วิดีโอนำชมพิพิธภัณฑ์ความคมชัดสูงที่ให้คุณรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในโลกของแวน โก๊ะ หรือบทความที่จะชวนคุณหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวของศิลปินเอกคนนี้ เพราะการปิดตัวลงชั่วคราวนี้เองทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หากใครประทับใจแล้วอยากสนับสนุน ก็บริจาคได้ที่ https://bit.ly/3uOpaVO เพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ Van Gogh Museum ยังคงอยู่ต่อไปได้ 

ต่อชีวิตหอศิลป์กรุงเทพฯ ผ่าน ‘Art in Postcards’ นิทรรศการโปสต์การ์ด จาก 12 ศิลปินไทย

หอศิลป์กรุงเทพฯ หรือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สถานที่จัดแสดงงานศิลปะเจ๋งๆ ใจกลางกรุงเทพฯ ที่เปิดให้เราเข้าชมฟรีมาตลอดหลายปี เป็นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน ในเดือนสิงหาคมนี้จะเปิดให้บริการครบ 10 ปีพอดี

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา

ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]

กฟผ. จับมือเรือด่วนเจ้าพระยา เตรียมทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่าฝุ่นละอองหลายพื้นที่ในประเทศไทยกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราคุ้นกันในชื่อ PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการเผาไหม้ที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งที่เราใช้กันทุกวัน  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของอากาศโดยรวม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมยกระดับคุณภาพการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ จับมือกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ออกทดลองให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิดการประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้ได้มากที่สุด การทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้จะให้บริการเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด – พระราม 7 และท่าเรือพระราม 7 – สาทร เป็นเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามวันและเวลาที่เริ่มให้บริการได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Chao Phraya Express Boat – เรือด่วนเจ้าพระยา Sources : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3pW0Fm2กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://bit.ly/3qTGxlY

ไลฟ์สไตล์กรีน ‘ชุดชั้นในเก่าที่รีไซเคิลไม่ได้’ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน เพียงส่งไปบริษัทกำจัดขยะ N 15

หากใครต้องการทิ้งกางเกงใน ชุดชั้นใน เสื้อกล้าม หรือถุงเท้าที่มีสภาพเก่าจนบริจาคไม่ไหว สามารถนำไปบริจาคได้ที่ ‘N 15 Technology’ บริษัทกำจัดของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม

‘JOY OF GIVING’ ส่งกำลังใจผ่านงานศิลปะ

ศิลปะคือสิ่งดีๆ ที่หมุนอยู่รอบตัวเรา ซึ่งพร้อมจะช่วยเยียวยาจิตใจที่ห่อเหี่ยวและให้กำลังใจในวันที่อ่อนล้าได้เสมอ หนนี้งานอาร์ตจะช่วยให้ทุกคนผ่านเวลายากลำบากไปกับผลงานของ GONGKAN, SUNTUR และ P7 ผ่านกิจกรรม ‘JOY OF GIVING ส่งใจให้เธอ’ ที่เหล่าศิลปินออกแบบความหมายของ ‘การให้’ ออกมาเป็นเสื้อยืด 3 ลาย ที่ล้วนแต่มีสไตล์เป็นของตัวเองชนิดที่มองปราดเดียวก็รู้ว่าเป็นผลงานของใคร ขอชวนทุกคนไปดูเบื้องหลังการออกแบบ ที่เปลี่ยนผลงานศิลปะเป็นแรงใจให้กับทุกคน ผ่านแนวคิดของ 3 ศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดของไทยในช่วงนี้ Love Power เบื้องหลังพลังแห่งรัก พลังแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ Gongkan-กันตภณ เมธีกุล ศิลปินที่สร้างงานด้วยลายเส้นสุดเรียบง่าย แต่แฝงอะไรไว้ให้ผู้ชมได้คิดตาม ผ่านเอกลักษณ์หลุมดำทะลุมิติ หนนี้มากับผลงานออกแบบชื่อ ‘Love Power’ ที่ตีความคำว่ารักได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่าการให้ความรักหรือส่งต่อความหวังดี ก็เปรียบเสมือนพลังที่เปลี่ยนความเศร้าให้กลายเป็นพลังแห่งความสุขนั่นเอง GIVE AND TAKE ชีวิตกับการเดินทาง ศิลปินนักวาดภาพประกอบที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของไทยกับ SUNTUR-ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล ที่เปรียบว่าการใช้ชีวิตร่วมกันก็เหมือนกับการเดินทางกับผลงานที่ชื่อว่า ‘Give and Take’ ที่มองว่าหากคนเราจะอยู่ด้วยกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง ก็ต้องมีทั้งการรับและการให้ มีทั้งการแบ่งปันและช่วยเหลือ โดยตีความออกมาเป็นกราฟิกสุดมินิมอล ของภาพเรือสีขาวที่มีผู้โดยสารเป็นคนกับน้องหมา […]

ญี่ปุ่นสร้างปุ่มกดสาธารณะโฮโลแกรม ถอนเงิน ล้างมือ ขึ้นลิฟต์ และเปิดประตูได้ โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรค

ในหนังไซไฟ ตัวละครถอนเงินหน้าตู้เอทีเอ็มโดยไม่ต้องกดปุ่มอะไร ล้างมือในห้องน้ำสาธารณะโดยไม่ต้องจับก๊อก หรือขึ้นลิฟต์โดยไม่ต้องกดเลือกชั้น ไปจนถึงเปิดประตูโดยไม่ต้องใช้มือจับลูกบิดสักนิด เพราะมีโฮโลแกรมเด้งขึ้นมากลางอากาศให้สั่งการแทน เหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่มาวันนี้เชื่อว่าคงเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นเต้นของผู้คนไม่น้อย เพราะญี่ปุ่นเขาทำให้เกิดขึ้นจริงแล้วและล้ำมาก! ‘Floating Pictogram Technology’ คือนวัตกรรมภาพลอยโฮโลแกรมที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เฟซแบบไร้สัมผัสด้วยเซนเซอร์ ของสองบริษัทเทคโนโลยี Murakami Kaimeido และ Parity Innovations ซึ่งคำนึงถึงความเสี่ยงในการสัมผัสสิ่งของสาธารณะนอกบ้าน ที่อาจเป็นตัวการแพร่กระจายไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้ การเปลี่ยนปุ่ม แผง ก๊อก หรือลูกบิด เป็น ‘ภาพลอย’ จึงทำให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนนิ้วเหนือภาพที่ลอยอยู่โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรคเลยสักนิด ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มผลิตออกมาเป็นสินค้าตัวอย่างและทดลองใช้งานจริงแล้ว ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตจำนวนมากเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปี 2022 Source : http://bit.ly/3s642YZ 

หมดปัญหาไม่รู้จะทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหน ฝากพี่ไปรษณีย์ไทยไปทิ้งได้

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชนสูงถึง 380,000 ตัน/ปี แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ถูกนำกลับรีไซเคิลอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนที่เหลือก็จะปะปนไปกับขยะมูลฝอยอื่นๆ รอการฝังกลบ และปล่อยสารเคมีอันตรายอย่างปรอท ตะกั่ว ดีบุก สะสมต่อไปในห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น AIS และไปรษณีย์ไทยจึงจับมือกันสร้างโครงการ ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่จะช่วยให้เราจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขยะอันตรายจะถูกนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลแบบ ‘Zero Landfill’ หรือการรีไซเคิลแบบไม่มีการฝังกลบเลย ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับฝากทิ้ง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ สำหรับคนที่สนใจก็นำเจ้าพวกนี้ใส่กล่องพร้อมกับเขียนหน้ากล่องว่า ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มอบให้บุรุษไปรษณีย์ที่แวะเวียนมาส่งจดหมายแถวบ้านได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

Vaccine Passport โชว์ผลตรวจและการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดข้อจำกัดการข้ามประเทศ

ทุกวันนี้การเดินทางข้ามประเทศกลายเป็นเรื่องยากราวกับย้อนไปยุคก่อนมีเครื่องบิน เพราะฉะนั้น เพื่อสลัดข้อจำกัดการข้ามประเทศ ทำให้ ‘Vaccine Passport’ หรือพาสปอร์ตวัคซีน กลายเป็นทางออกที่ ‘คาดว่า’ จะทำให้น่านฟ้ากลับมาคึกคักอีกครั้ง

เอาใจทาสหมาทาสแมว ด้วยคอนโดฯ เปิดใหม่ใจกลางเอกมัย ที่เป็นมิตรกับคนและสัตว์เลี้ยง

ทุกครั้งที่จะย้ายบ้านหรือซื้อคอนโดฯ ใหม่ หนึ่งปัญหาใหญ่ของทาสหมาทาสแมวคือไม่มีพื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงตัวโปรดได้วิ่งเล่นอย่างอิสระ แต่เดี๋ยวนี้เดเวลอปเปอร์ด้านอสังหาริมทรัพย์หลายเจ้าก็หันมาให้ความสนใจเทรนด์ Pet Friendly มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือโครงการ MARU Ekkamai 2 จากเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ คอนโดฯ สุดชิกที่ตั้งอยู่ย่านสุดชิลอย่างเอกมัย ความโดดเด่นของ MARU Ekkamai 2 นอกจากการออกแบบที่เน้นยูนิตพิเศษ เลือกใช้วัสดุทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่ส่วนกลางหลากหลาย ที่สำคัญ ที่นี่ยังเลี้ยงสัตว์ได้ มีพื้นที่สำหรับอาบน้ำสัตว์เลี้ยงอยู่ทางด้านหลังโครงการไว้ให้บริการ ใครที่กังวลว่าเพื่อนสี่ขาของตัวเองจะไม่มีที่อยู่ก็สบายใจหายห่วง หากสนใจก็อย่ารอช้า จูงเจ้าสี่ขาไปจับจองกันได้ที่โครงการ MARU Ekkamai 2 หรือลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลโครงการได้ที่ https://bit.ly/3jF7Ptl

อาลัยรักแด่คนที่จากไป ด้วย ‘ปักกิ่งดี’ ธุรกิจหรีดต้นไม้ช่วยลดขยะพวงหรีด นำกลับบ้านไปปลูกต่อได้

ในวันที่คนสำคัญสิ้นสุดลมหายใจ ภาพงานศพเคล้าน้ำตาในวัดและพวงหรีดดอกไม้ที่วางหน้าโลงศพเป็นสิ่งที่พบง่ายเกือบทุกงานศพไทย แต่เคยตงิดใจกันบ้างไหมว่าดอกไม้แสนสวยบนพวงหรีด จบพิธีแล้วไปไหน ไปเป็นขยะหรือเปล่าหว่า จินา โอสถศิลป์ ผู้บริหารค่ายหนังอารมณ์ดี GDH เจ้าของธุรกิจต้นไม้ ‘ปักกิ่งดี’ มองเห็นปัญหาการสร้างขยะหลังงานศพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพวงหรีดดอกไม้ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะนำไปปลูกต่อไม่ได้ เธอจึงใช้ความอารมณ์ดีผสมความใจดี (ต่อโลก) ทำพวงหรีดจากต้นไม้พร้อมจัดส่งให้ถึงงานศพในชื่อ ‘หรีดต้นไม้’ หรือ Wreath for Breath โดยต้นไม้ที่เลือกใช้จะเป็นไม้กระถาง เจ้าของงานหรือแขกเรือนสามารถนำกลับไปปลูกต่อทั้งหมด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนดีๆ แทนของชำร่วยให้คนที่ยังอยู่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น นอกจากต่อลมหายใจให้คน ที่นี่ยังมีบริการรับดูแลต้นไม้ต่อในกรณีที่เจ้าภาพบางคนแบกกลับบ้านไม่ไหว โดยรายได้ 5% จากการขายหรีดต้นไม้ยังมอบให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อนำไปปลูกป่าเพื่อต่อลมหายใจให้ผืนป่าอยู่กับเราไปนานๆ อีกด้วย ป.ล. สำหรับแฟนเพจ Urban Creature เพียงแจ้งปักกิ่งดีว่าตามมาจากเพจเรา รับส่วนลดไปเลย 10% ทุกรายการ ตลอดเดือนมีนาคม ปี 2564 รายละเอียดเพิ่มเติม : www.packkingdee.com

1 165 166 167 168 169 185

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.