หลังจาก ‘Van Gogh Museum’ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกาศปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เหล่าแฟนๆ งานศิลปะก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะทางพิพิธภัณฑ์ได้เปิดให้ทุกคนเพลิดเพลินกับงานศิลปะจากบ้านและดำดิ่งไปกับเรื่องราวเบื้องหลังผลงานแต่ละชิ้นได้ผ่านเว็บไซต์ www.vangoghmuseum.nl/en
ผู้ที่สนใจเลือกรับชมและดาวน์โหลดผลงานภาพวาด ภาพระบายสี และภาพพิมพ์ของแวน โก๊ะ กว่า 1,500 ชิ้น ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีข้อแม้ว่าห้ามนำภาพไปใช้เพื่อการค้า และนอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ เช่น 4K Tour วิดีโอนำชมพิพิธภัณฑ์ความคมชัดสูงที่ให้คุณรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในโลกของแวน โก๊ะ หรือบทความที่จะชวนคุณหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวของศิลปินเอกคนนี้
เพราะการปิดตัวลงชั่วคราวนี้เองทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หากใครประทับใจแล้วอยากสนับสนุน ก็บริจาคได้ที่ https://bit.ly/3uOpaVO เพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ Van Gogh Museum ยังคงอยู่ต่อไปได้
RELATED POSTS
ออกแบบศูนย์ส่งด่วน เตรียมความพร้อม ให้เหล่า Porter ในเกม Death Stranding
เรื่อง
อธิพัฒน์ พูนสินบูรณะกุล
ในอนาคตปรากฏการณ์ ‘Death Stranding’ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงกับสังคมมนุษย์ เมื่อวิญญาณของมนุษย์ไม่สามารถผ่านไปสู่ภพแห่งความตายได้ เนื่องจากติดอยู่บริเวณพื้นที่กึ่งกลางระหว่างความตายที่เรียกว่า ‘The Beach’ เหล่าวิญญาณที่ยังติดอยู่และพยายามกลับมาในโลกของคนเป็นจะถูกเรียกว่า ‘BT’ (Beached Thing) ซึ่งถ้า BT สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่หรือ ‘Voidout’ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้มนุษย์ต้องกระจายตัวกันอยู่ ไม่สามารถอยู่รวมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ ส่งผลให้สังคมมนุษย์ขาดการเชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้ ‘United Cities of America (UCA)’ นำโดยองค์กร ‘Bridges’ ได้มีความพยายามรวบรวมอเมริกาให้เป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง โดยใช้โครงข่าย Chiral Network เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ในอเมริกาได้สำเร็จ เป็นเวลา 11 เดือนต่อมาหลังจาก Bridges เชื่อมต่อ UCA ได้แล้ว พวกเขามีแผนเชื่อมต่อพื้นที่ไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างเม็กซิโก และใช้ ‘Plate Gate’ ในการเดินทางข้ามซีกโลกไปยังทวีปออสเตรเลีย ดินแดนรกร้างที่ยังไม่ถูกเชื่อมต่อ นี่จึงกลายเป็นหน้าที่ของเหล่า ‘Porter’ ที่จะออกเดินทางไปยังดินแดนแห่งใหม่นี้ และเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน ในโลกที่มนุษย์ต้องแยกกันอยู่ Porter หรือคนส่งของกลายเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเดินทางในดินแดนรกร้างเป็นเรื่องอันตราย ทั้งจากสภาพแวดล้อม […]
หมดกังวลเรื่องเสียงและฝุ่นจากการก่อสร้าง จีนติดตั้งนวัตกรรมโดมลมยักษ์คลุมพื้นที่ก่อสร้างในเมืองจี่หนาน จัดการมลพิษทางเสียงและอากาศในเมือง
เรื่อง
Urban Creature
เป็นที่รู้กันว่า การก่อสร้างเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษ ทั้งมลพิษทางเสียงจากเครื่องจักรหรือกระบวนการก่อสร้าง และมลพิษทางอากาศที่มาจากเศษอิฐหินดินปูนซึ่งทำให้เกิดฝุ่นละออง หลายคนอาจเคยเห็นผ้าใบ สแลน สังกะสี หรือกำแพงไซต์ก่อสร้างรูปแบบต่างๆ ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แม้จะมีการกั้นขอบเขตที่ชัดเจนแล้วแต่มลพิษที่เกิดจากการก่อสร้างไม่เพียงกักกันอยู่ในเส้นเขตนั้น แต่ยังกระจายตัวสู่พื้นที่โดยรอบและมีผลกระทบต่อผู้คนละแวกนั้นไปโดยปริยาย ล่าสุดรัฐบาลจีนได้ติดตั้ง ‘โดมลมยักษ์’ (Inflatable Construction Dome) ความสูง 50 เมตร ครอบคลุมเขตพื้นที่การก่อสร้าง 20,000 ตารางเมตรในเมืองจี่หนาน ประเทศจีน หวังเป็นนวัตกรรมจัดการมลพิษ และทำให้การก่อสร้างอยู่ร่วมกับเมืองได้อย่างยั่งยืน ตัวโดมทำจากพอลิเอสเตอร์เคลือบ PVDF ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ออกแบบให้โปร่งใสรับแสงธรรมชาติ มีการใช้ระบบแรงดันลม ไม่จำเป็นต้องใช้โครงค้ำยัน ที่สำคัญคือมีระบบควบคุมการหมุนเวียนอากาศและระบบกรองอากาศ ซึ่งสามารถดักจับฝุ่นละอองภายในโดมได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งโดมยักษ์นี้ยังทำหน้าที่เป็นกำแพงสกัดกั้นเสียงจากการก่อสร้างไปในตัว ด้วยการตัดเสียงรบกวนได้สูงสุดถึง 40 เดซิเบล เปรียบเทียบคือ เปลี่ยนจากเสียงเจาะถนนที่ดังสนั่นให้กลายเป็นเสียงหึ่งเบาๆ ของตู้เย็นได้ นวัตกรรมนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากสาธารณชนอย่างล้นหลาม เพราะอากาศดีขึ้นและเสียงรบกวนที่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นก้าวสำคัญของแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ที่ทางรัฐบาลจีนมองเห็นปัญหาและมีความพยายามที่จะแก้ไขเพื่อยกระดับชีวิตผู้คนในเมือง รวมถึงใส่ใจสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน Source : The Civil Studies | tinyurl.com/yxv5dzud
‘ให้ซีนกับความสงสัย’ ส่อง 5 สิ่งพิมพ์ที่ชวนตั้งคำถามต่อรายละเอียดเล็กๆ ในเมือง โดยกลุ่ม inw collective
เรื่อง
Urban Creature
เมืองคือการรวมตัวของหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งสิ่งไร้ชีวิตอย่างอาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ หรือสิ่งมีชีวิตอย่างผู้คน วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ ทว่าทั้งหมดนี้ล้วนทำให้เราได้เห็นชิ้นส่วนหรือการออกแบบแปลกๆ ที่เกิดจากการดัดแปลงแก้ไขปรับเปลี่ยน นำมาสู่การตั้งคำถามต่องานดีไซน์เฉพาะกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นความสงสัยที่มีต่อสิ่งของบนท้องถนน ท่อฟ้า เหล็กดัด ป้ายหมูกระทะ ไปจนถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนเมือง อย่างที่กลุ่ม inw collective สนใจและเฝ้ามองมาเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นซีน 5 เล่ม 5 รูปแบบที่จัดแสดงในนิทรรศการ IT’S NICE TO WONDER แม้วันนี้ (13 กรกฎาคม 2568) จะเป็นวันสุดท้ายของนิทรรศการแล้ว แต่ซีนทั้งหมดของเหล่าเทพจะยังคงวางจำหน่ายที่ร้าน Neighbourmart อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก แวะไปเปิดดูสร้างความเอ๊ะๆ ให้สายตา หรืออุดหนุนพวกเขาก็ได้ ที่นี่เปิดทุกวันยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 10.30 – 19.00 น. ความสงสัยต่อสิ่งของบนท้องถนนกรุงเทพฯ : 10101 – 101 pieces of 1 […]
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
เรื่อง
มณิสร วรรณศิริกุล
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]