‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

The Goodcery ร้านโชห่วยแบบ Selected Shop ที่อยากให้คนเชียงใหม่ได้ชิมของกิ๋นดีๆ จากท้องถิ่นไทย

ถึงคุณจะไม่ใช่คนที่เดินเข้าร้านขายของชำบ่อยๆ หรือเข้าไปทีก็ไม่ได้ใช้เวลาอ้อยอิ่งอยู่ในร้านนานๆ แต่ถ้าได้รู้จัก ‘The Goodcery’ คุณอาจจะเปลี่ยนใจ ไม่ใช่แค่เพราะร้านขายของชำเชียงใหม่ร้านนี้ออกแบบร้านให้ช้อปสนุก เห็นอะไรก็อยากกินอยากซื้อไปเสียหมด แต่ The Goodcery ทลายกรอบของร้านขายของชำเดิมๆ ไปแบบไม่เหลือเค้า ตั้งแต่ชื่อร้าน The Goodcery ที่มาจากคำว่า Grocery Store หรือ ‘ร้านโชห่วย’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าห่วยในภาษาไทย ร้านจึงหยิบคำที่มีความหมายตรงข้ามคือ ‘ดี’ หรือ Good ที่พ้องเสียงกับคำว่า Goods (สินค้า) อีกทีมาตั้งเสียเลย ถ้าถามว่าร้านมี ‘ดี’ อะไรบ้าง อย่างแรกคงเป็นสินค้าภายในร้านที่ไม่เหมือนกับร้านขายของชำร้านไหน เพราะ ‘น้ำตาล-ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทร์ดร’ หนึ่งในหุ้นส่วนเลือกเองกับมือ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้หลวมๆ ว่าจะต้องเป็นของโลคอลจากฝีมือชาวบ้านตัวเล็กๆ ในท้องถิ่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ที่สำคัญคือไม่ใช่สินค้าที่เราเห็นได้ตามห้างฯ ใหญ่ ดีอย่างที่สอง คงยกให้ไวบ์สของร้านที่ก้าวเข้ามาแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ในร้านขายของชำเลย แต่เป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟ ขนมปัง อาหารพร้อมเสิร์ฟ แถมยังนั่งทำงานได้ตลอดทั้งวัน (ซึ่งเราทำแบบนั้นได้จริงๆ) The Goodcery สร้าง ‘ดี’ […]

จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day

เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]

ไบรอัน ตัน อินฟลูฯ สายลักซูฯ ที่จัดเวทีเพื่อความเท่าเทียมและทำเพลงเพื่อสานฝันวัยเด็ก

บ่ายวันที่เรานัดคุยกับ พลากร แซ่ตัน หรือ ไบรอัน ตัน เขาปล่อยซิงเกิลล่าสุดอย่าง ‘ต๊าช (Touch)’ มาแล้วหนึ่งสัปดาห์ สารภาพตามตรงว่า ทุกวันในสัปดาห์นั้นที่เรารอจะคุยกับเขาด้วยใจจดจ่อ ไม่มีวันไหนที่เราจะไม่นึกถึงภาพของไบรอันก้าวลงจากรถด้วยท่าทางหัวรัดฟัดเหวี่ยง พอดนตรีขึ้นก็เดินสับๆ ประหนึ่งฟุตพาทที่ย่ำอยู่คือรันเวย์ ยิ้มแบบลักซูฯ (นิยามการยิ้มแบบไบรอันที่ชาวเน็ตตั้งให้) ให้กล้องสลับกับร้องอย่างมั่นใจ  รู้ตัวอีกที เราก็กดฟัง ‘ต๊าช’ ซ้ำๆ จนถึงวันที่ได้คุยกัน ไบรอันบนหน้าจอปรากฏตัวด้วยชุดสบายๆ ต่างจากคนในยูทูบอย่างชัดเจน แต่เมื่อบทสนทนาดำเนินไป จริต อินเนอร์ น้ำเสียง และคำตอบของคนตรงหน้าก็ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย นี่แหละคือหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ตัวท็อปของแวดวงนางงาม โฮสต์ของเรียลลิตี้ประกวดนางงาม Miss Fabulous Thailand ที่เป็นไวรัลไปทั่วอินเตอร์ เจ้าของประโยค ‘เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์’ ที่ถูกนำมาต่อยอดเป็นซิงเกิลฮิต ในขณะเดียวกัน บางช่วงของบทสนทนานี้ ไบรอันก็เล่าเรื่องชีวิต ความฝัน และมุมมองต่อการงานที่เรามั่นใจว่าหลายคนไม่เคยได้ยินจากที่ไหน ชาวเน็ตหลายคนบอกว่าชอบคุณเพราะจริตแบบลักซูฯ คำว่าจริตแบบลักซูฯ ในความหมายของไบรอันเป็นยังไง ตามความหมายแล้วจริตลักซูฯ มันแปลว่าจริตของการเป็นคนรวยถูกไหม ซึ่งเราน่าจะได้มาจากเวลาเราขายสินค้าแบรนด์เนมและเครื่องประดับ เราต้องพรีเซนต์สินค้าเหล่านั้นออกมาให้คนซื้อ […]

กานเวลา คราฟต์ช็อกโกแลตจากเชียงใหม่ที่พาผลผลิตของเกษตรกรไทยไปชนะรางวัลระดับโลก

แคบหมู-ไส้อั่วที่ขายในกาดเจ๊า (ตลาดเช้า) ขนมจีนสันป่าข่อย อาหารเหนือที่ร้านเจริญสวนแอก ถ้าเป็นของหวานก็ขนมหวานช่างม่อย เฉาก๊วยข้างหอประชุม มช. หรือพายมะพร้าวของร้านบ้านเปี่ยมสุข ในฐานะคนเชียงใหม่ ถ้าถามว่ามาเชียงใหม่แล้วต้องกินอะไร ‘ของดี’ ที่ฉันพอจะนึกออกอาจเป็นชื่อเหล่านี้ และว่ากันตามตรง ก่อนหน้านี้คงไม่มีคำว่า ‘คราฟต์ช็อกโกแลต’ หลุดออกจากปากฉันแน่ๆ แต่คำตอบนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อฉันได้ลิ้มรสช็อกโกแลตของ KanVela แบรนด์คราฟต์ช็อกโกแลตที่ปลุกปั้นโดยสองพี่น้องคนเจียงใหม่แต๊ๆ อย่าง ธนา คุณารักษ์วงศ์ และ นิรมล คุณารักษ์วงศ์ ชื่อของร้านนี้ก็มาอยู่ในลิสต์ ‘มาเชียงใหม่ต้องไปนะ’ ของฉันทันที แน่นอนว่ากานเวลาไม่ใช่แบรนด์แรกในเชียงใหม่ กระบวนการในการทำก็ไม่ได้ต่างจากวิธีทำคราฟต์ช็อกโกแลตทั่วไปที่เน้นความเป็นโฮมเมด ดูแลกันตั้งแต่ขั้นตอนเลี้ยงต้นโกโก้ ไหนจะโปรดักต์สุดท้ายที่มีรสชาติหวาน ขม เปรี้ยว มีหลายมิติแบบคราฟต์ช็อกโกแลตที่ดีควรเป็น ถึงอย่างนั้น สิ่งที่กานเวลาโดดเด่นไม่แพ้แบรนด์ไหนๆ คือความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมนูอันหลากหลายและน่าตื่นเต้น เช่น เจ้า ‘บงบง’ ช็อกโกแลตก้อนกลมสีสดใสที่มีรสแปลกใหม่แต่น่าลองอย่างฝรั่งจิ้มเกลือ ตะโก้เผือก สังขยาใบเตยมะพร้าวคั่ว และอีกสารพัด อร่อยหรือไม่-คงแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่ช็อกโกแลตกานเวลาต้องมีดีอะไรสักอย่าง เพราะล่าสุดเจ้าบงบงและช็อกโกแลตบาร์ ‘คลองลอย’ ก็ถูกเสิร์ฟในชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจของสายการบินไทย หนำซ้ำยังชนะรางวัลจากสองเวทีช็อกโกแลตระดับโลกอย่าง Academy of Chocolate […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.