Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

Rare Finds Bookstore and Cafe ร้านหนังสือ คาเฟ่ และช็อปไลฟ์สไตล์ ที่อยากผลักดันวัฒนธรรมการอ่านในเชียงใหม่

‘Rare Finds Bookstore and Cafe’ ไม่ได้เป็นร้านหนังสือที่ตั้งอยู่ในโลเคชันหายาก และไม่ได้เป็นร้านที่ขายหนังสือหายากอย่างที่หลายคนเข้าใจ อันที่จริงร้านหนังสือบรรยากาศโฮมมี่ของ ‘เอิร์ธ-อธิษฐ์ อนุชปรีดา’ ตั้งชื่อตามท่อนหนึ่งในเพลง Time Has Told Me ของ Nick Drake ศิลปินอังกฤษที่เขาชื่นชอบ แต่ถึงจะไม่ใช่ร้านลับหรือร้านขายหนังสือหายาก ที่นี่ก็ยังถูกลิสต์เป็นหมุดหมายที่คนในท้องที่และนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนรักการอ่านอยากมาให้ได้สักครั้ง เพราะนอกจากจะมีหนังสือหลากหลายแบบให้เลือกสรร ที่นี่ยังมีกาแฟหอมกรุ่นจากจังหวัดตาก มีบอร์ดเกมให้เล่น มีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีงานอาร์ต เสื้อผ้า และของกระจุกกระจิกฝีมือศิลปินเชียงใหม่ให้ช้อป ที่สำคัญ (อย่างน้อยก็สำหรับเรา) คือ มีแมว 3 ตัวที่เดินป้วนเปี้ยนในร้านให้ทาสแมวได้เกาคอเล่น มากกว่านั้น Rare Finds Bookstore and Cafe ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันศิลปะและวัฒนธรรมการอ่านเชียงใหม่ให้เฟื่องฟู วันดีคืนดี คนที่เข้ามาอาจเห็นร้านแปลงเป็น Creative Space จัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดึงดูดผู้คนที่สนใจเข้ามารวมกลุ่มกัน บ่ายวันที่เชียงใหม่อากาศเย็นสบาย Urban Guide รอบนี้ขอพาคุณมาบุกเชียงใหม่ ส่องหาวรรณกรรมเล่มที่ใช่ และเอ้อระเหยกับเหล่าแมวที่ Rare […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

The Goodcery ร้านโชห่วยแบบ Selected Shop ที่อยากให้คนเชียงใหม่ได้ชิมของกิ๋นดีๆ จากท้องถิ่นไทย

ถึงคุณจะไม่ใช่คนที่เดินเข้าร้านขายของชำบ่อยๆ หรือเข้าไปทีก็ไม่ได้ใช้เวลาอ้อยอิ่งอยู่ในร้านนานๆ แต่ถ้าได้รู้จัก ‘The Goodcery’ คุณอาจจะเปลี่ยนใจ ไม่ใช่แค่เพราะร้านขายของชำเชียงใหม่ร้านนี้ออกแบบร้านให้ช้อปสนุก เห็นอะไรก็อยากกินอยากซื้อไปเสียหมด แต่ The Goodcery ทลายกรอบของร้านขายของชำเดิมๆ ไปแบบไม่เหลือเค้า ตั้งแต่ชื่อร้าน The Goodcery ที่มาจากคำว่า Grocery Store หรือ ‘ร้านโชห่วย’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าห่วยในภาษาไทย ร้านจึงหยิบคำที่มีความหมายตรงข้ามคือ ‘ดี’ หรือ Good ที่พ้องเสียงกับคำว่า Goods (สินค้า) อีกทีมาตั้งเสียเลย ถ้าถามว่าร้านมี ‘ดี’ อะไรบ้าง อย่างแรกคงเป็นสินค้าภายในร้านที่ไม่เหมือนกับร้านขายของชำร้านไหน เพราะ ‘น้ำตาล-ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทร์ดร’ หนึ่งในหุ้นส่วนเลือกเองกับมือ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้หลวมๆ ว่าจะต้องเป็นของโลคอลจากฝีมือชาวบ้านตัวเล็กๆ ในท้องถิ่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ที่สำคัญคือไม่ใช่สินค้าที่เราเห็นได้ตามห้างฯ ใหญ่ ดีอย่างที่สอง คงยกให้ไวบ์สของร้านที่ก้าวเข้ามาแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ในร้านขายของชำเลย แต่เป็นคาเฟ่ที่มีกาแฟ ขนมปัง อาหารพร้อมเสิร์ฟ แถมยังนั่งทำงานได้ตลอดทั้งวัน (ซึ่งเราทำแบบนั้นได้จริงๆ) The Goodcery สร้าง ‘ดี’ […]

จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day

เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]

ไบรอัน ตัน อินฟลูฯ สายลักซูฯ ที่จัดเวทีเพื่อความเท่าเทียมและทำเพลงเพื่อสานฝันวัยเด็ก

บ่ายวันที่เรานัดคุยกับ พลากร แซ่ตัน หรือ ไบรอัน ตัน เขาปล่อยซิงเกิลล่าสุดอย่าง ‘ต๊าช (Touch)’ มาแล้วหนึ่งสัปดาห์ สารภาพตามตรงว่า ทุกวันในสัปดาห์นั้นที่เรารอจะคุยกับเขาด้วยใจจดจ่อ ไม่มีวันไหนที่เราจะไม่นึกถึงภาพของไบรอันก้าวลงจากรถด้วยท่าทางหัวรัดฟัดเหวี่ยง พอดนตรีขึ้นก็เดินสับๆ ประหนึ่งฟุตพาทที่ย่ำอยู่คือรันเวย์ ยิ้มแบบลักซูฯ (นิยามการยิ้มแบบไบรอันที่ชาวเน็ตตั้งให้) ให้กล้องสลับกับร้องอย่างมั่นใจ  รู้ตัวอีกที เราก็กดฟัง ‘ต๊าช’ ซ้ำๆ จนถึงวันที่ได้คุยกัน ไบรอันบนหน้าจอปรากฏตัวด้วยชุดสบายๆ ต่างจากคนในยูทูบอย่างชัดเจน แต่เมื่อบทสนทนาดำเนินไป จริต อินเนอร์ น้ำเสียง และคำตอบของคนตรงหน้าก็ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย นี่แหละคือหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ตัวท็อปของแวดวงนางงาม โฮสต์ของเรียลลิตี้ประกวดนางงาม Miss Fabulous Thailand ที่เป็นไวรัลไปทั่วอินเตอร์ เจ้าของประโยค ‘เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์’ ที่ถูกนำมาต่อยอดเป็นซิงเกิลฮิต ในขณะเดียวกัน บางช่วงของบทสนทนานี้ ไบรอันก็เล่าเรื่องชีวิต ความฝัน และมุมมองต่อการงานที่เรามั่นใจว่าหลายคนไม่เคยได้ยินจากที่ไหน ชาวเน็ตหลายคนบอกว่าชอบคุณเพราะจริตแบบลักซูฯ คำว่าจริตแบบลักซูฯ ในความหมายของไบรอันเป็นยังไง ตามความหมายแล้วจริตลักซูฯ มันแปลว่าจริตของการเป็นคนรวยถูกไหม ซึ่งเราน่าจะได้มาจากเวลาเราขายสินค้าแบรนด์เนมและเครื่องประดับ เราต้องพรีเซนต์สินค้าเหล่านั้นออกมาให้คนซื้อ […]

กานเวลา คราฟต์ช็อกโกแลตจากเชียงใหม่ที่พาผลผลิตของเกษตรกรไทยไปชนะรางวัลระดับโลก

แคบหมู-ไส้อั่วที่ขายในกาดเจ๊า (ตลาดเช้า) ขนมจีนสันป่าข่อย อาหารเหนือที่ร้านเจริญสวนแอก ถ้าเป็นของหวานก็ขนมหวานช่างม่อย เฉาก๊วยข้างหอประชุม มช. หรือพายมะพร้าวของร้านบ้านเปี่ยมสุข ในฐานะคนเชียงใหม่ ถ้าถามว่ามาเชียงใหม่แล้วต้องกินอะไร ‘ของดี’ ที่ฉันพอจะนึกออกอาจเป็นชื่อเหล่านี้ และว่ากันตามตรง ก่อนหน้านี้คงไม่มีคำว่า ‘คราฟต์ช็อกโกแลต’ หลุดออกจากปากฉันแน่ๆ แต่คำตอบนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อฉันได้ลิ้มรสช็อกโกแลตของ KanVela แบรนด์คราฟต์ช็อกโกแลตที่ปลุกปั้นโดยสองพี่น้องคนเจียงใหม่แต๊ๆ อย่าง ธนา คุณารักษ์วงศ์ และ นิรมล คุณารักษ์วงศ์ ชื่อของร้านนี้ก็มาอยู่ในลิสต์ ‘มาเชียงใหม่ต้องไปนะ’ ของฉันทันที แน่นอนว่ากานเวลาไม่ใช่แบรนด์แรกในเชียงใหม่ กระบวนการในการทำก็ไม่ได้ต่างจากวิธีทำคราฟต์ช็อกโกแลตทั่วไปที่เน้นความเป็นโฮมเมด ดูแลกันตั้งแต่ขั้นตอนเลี้ยงต้นโกโก้ ไหนจะโปรดักต์สุดท้ายที่มีรสชาติหวาน ขม เปรี้ยว มีหลายมิติแบบคราฟต์ช็อกโกแลตที่ดีควรเป็น ถึงอย่างนั้น สิ่งที่กานเวลาโดดเด่นไม่แพ้แบรนด์ไหนๆ คือความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมนูอันหลากหลายและน่าตื่นเต้น เช่น เจ้า ‘บงบง’ ช็อกโกแลตก้อนกลมสีสดใสที่มีรสแปลกใหม่แต่น่าลองอย่างฝรั่งจิ้มเกลือ ตะโก้เผือก สังขยาใบเตยมะพร้าวคั่ว และอีกสารพัด อร่อยหรือไม่-คงแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่ช็อกโกแลตกานเวลาต้องมีดีอะไรสักอย่าง เพราะล่าสุดเจ้าบงบงและช็อกโกแลตบาร์ ‘คลองลอย’ ก็ถูกเสิร์ฟในชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจของสายการบินไทย หนำซ้ำยังชนะรางวัลจากสองเวทีช็อกโกแลตระดับโลกอย่าง Academy of Chocolate […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.