ตามแม่มาวัดยังไงไม่ให้เบื่อ ออกแบบพื้นที่ภายในวัด ให้โอบรับคนรุ่นใหม่ ใกล้ชิดศาสนามากขึ้น

อีกหนึ่งปัญหาของลูกหลานชาวพุทธที่ติดสอยห้อยตามที่บ้านไปทำบุญที่วัดทุกวันสำคัญทางศาสนาคือ การไม่รู้จะเอาตัวเองไปแปะไว้ตรงไหนของวัดดี เพราะไม่ว่าจะไปบริเวณใดก็รู้สึกเกร็งๆ เหมือนไม่ใช่ที่ของเรา คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่ภายในวัดให้เฟรนด์ลีและโอบรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เพื่อทำให้การไปวัดของศาสนิกชนไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องไปไหว้พระหรือทำสังฆทาน แต่เป็นการที่เราได้ใช้เวลาภายในวัดอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกแปลกแยก แบ่งโซนพื้นที่นั่งรอออกจากพื้นที่ทำบุญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกทำอะไรไม่ถูกเวลาไปวัดคือ การต้องเจอพระพุทธรูปวางเรียงรายและพระประจำวัด โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าควรไหว้ นั่งนิ่งๆ หลบตา หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างเล่นโทรศัพท์ อ่านการ์ตูนไปด้วยได้หรือเปล่า การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำบุญออกมาเป็นจุดนั่งรอที่เหมาะสม โดยมีพระประธานเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่าการเข้าวัดไม่ใช่เรื่องยากเท่าเดิม เพราะหลังจากไหว้พระเสร็จก็ขอปลีกตัวไปทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจในอีกพื้นที่หนึ่ง คาเฟ่เล็กๆ สำหรับนั่งรอและเติมพลัง การนั่งรอเฉยๆ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า การมีคาเฟ่คอยให้บริการเครื่องดื่มและของหวานเล็กๆ น้อยๆ ให้พอชุบชูใจ น่าจะทำให้เวลาผ่านไปไวขึ้นอีกหน่อย  บริการปลั๊กและ Wi-Fi สำหรับทำงาน ต่อให้ไปวัดวันหยุด แต่ใช่ว่าหนุ่มสาววัยทำงานจะไม่ต้องทำงานสักหน่อย ทว่าปัญหาของการเปลี่ยนจาก Work from Home มาเป็น Work from Temple คือ การไม่มีพื้นที่ทำงานที่มีปลั๊กและ Wi-Fi ให้ใช้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดเพราะต้องใช้ไฟวัด จะดีกว่าไหมถ้าเราบริจาคเงินให้วัดเพื่อแลกกับการใช้ไฟฟ้าและ Wi-Fi ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากจะได้ทำงานแล้วยังไม่รู้สึกผิดด้วย เข้าคลาสทำกิจกรรม ไหนๆ […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

ชวนปั่นจักรยาน 3 เส้นทางกลางเมือง ที่กลุ่มคนปั่นจักรยาน BUCA แนะนำ

อยากชมเมืองแบบชิลๆ ซึมซับบรรยากาศข้างทาง แต่จะเดินก็เหนื่อยเกินไป จะนั่งรถก็ไม่ได้ฟีลอีก งั้นลองปั่นจักรยานดูสิ แม้ว่าการปั่นจักรยานอาจยังไม่ใช่ตัวเลือกเดินทางที่นิยมในกรุงเทพฯ แต่นี่คือวิธีที่จะทำให้เราชมเมืองได้โดยไม่ต้องเดินจนเมื่อย ไม่ต้องพบเจอรถติด และยังปั่นเข้าตรอกซอกซอยไปชมวิถีชีวิตที่เราอาจไม่มีโอกาสเห็นบนท้องถนน คอลัมน์ Urban’s Pick อยากชวนทุกคนออกไปปั่นจักรยานผ่าน 3 เส้นทางกลางกรุงที่จะใช้ผ่อนคลายก็ดี จะปั่นเพื่อเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าก็ทำได้ แนะนำโดยภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ หรือ BUCA แต่ถ้าใครไม่มีจักรยานเป็นของตัวเอง จะถือโอกาสนี้ลองใช้งาน Bike Sharing ก็ได้นะ 01 | ปั่นทะลุซอย ชมชุมชนเจริญกรุง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ BUCA เคยใช้ปั่นในงาน Bike Bus และพบว่าสะดวกที่สุด โดยเริ่มเส้นทางได้ตั้งแต่ลงมาจาก BTS สถานีสะพานตากสิน ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและย่านน่าสนใจ ตั้งแต่สี่พระยา ตลาดน้อย ทรงวาด สำเพ็ง จนออกมาที่พาหุรัด ปากคลองตลาด และสิ้นสุดที่ MRT สถานีสนามไชย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางจักรยานที่นับว่าปลอดภัยมากพอสมควร เพราะเส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นการปั่นผ่านซอยเล็กๆ ซึ่งไม่ค่อยมีรถยนต์ผ่านได้ มีเพียงแค่บางจุดเท่านั้นที่ต้องออกมาปั่นบนถนนเจริญกรุง ข้อควรระวัง : เนื่องจากถนนทรงวาดเป็นถนนเดินรถทางเดียว […]

‘พี่ๆ ขอรูตเดินฉบับคนไม่ชอบเดินหน่อย’ รวม 5 รูตจากคนไม่เดิน ที่เดินแล้วไม่เหนื่อยอย่างที่คิด

ไม่ชอบเดินแต่อยากเดิน ควรเริ่มจากตรงไหนดี จริงๆ อาจไม่ต้องคิดเยอะหรือต้องตั้งเป้าหมายให้ยาก เพราะการเดินไม่ใช่เรื่องยากเท่าที่คิด ขอเพียงแค่ในระหว่างทางมีจุดให้แวะบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของกิน ช้อปปิง หรือเข้าไปในโซนที่มีแอร์เย็นๆ ปะทะหน้า แค่นี้ก็ทำให้การเดินกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาแล้ว และแม้ว่าชาว Urban Creature ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกชมรมนักเดิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนที่ไม่ชอบเดินสักหน่อย คอลัมน์ Urban’s Pick วันนี้เลยขอนำ 5 รูตที่คนไม่ชอบเดินมาฝากทุกคนกัน เชื่อเถอะว่าถ้าเราเดินได้ ทุกคนก็ต้องเดินได้ ไม่แน่นะ บางรูตในนี้หลายคนอาจใช้เป็นรูตเดินประจำอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว 1) เดินสั้นๆ แบบเท้าไม่แตะพื้น (เริ่ม BTS สถานีสยาม จบ BTS สถานีสนามกีฬาฯ) รูตเดินขั้นเบสิกของคนมาเที่ยวสยามที่แวะเติมพลังระหว่างทางด้วยแอร์เย็นๆ จากทั้ง Siam Paragon ต่อไปยัง Siam Center ทะลุ Siam Discovery ออกทางเชื่อมแยกปทุมวัน แวะเข้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก่อนเดินทางกลับด้วย BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ระยะทางเพียง 640 เมตรเท่านั้น เดินกำลังดี […]

‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ถังดักไขมันพกพาร้านรถเข็น แก้ปัญหาแบบ 2 in 1 ทั้งลดท่ออุดตันและได้ทางเท้าคืน

ปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำและการกีดขวางทางเดินของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ด คือสองปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ไม่ว่าจะจัดการเท่าไหร่ก็ไม่หมดไปสักที จะเป็นยังไงถ้าสองปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่เป็นได้ทั้งถังดักไขมันและอุปกรณ์สำหรับเทินล้อร้านรถเข็นให้สามารถจอดคร่อมระหว่างทางต่างระดับ คอลัมน์ Debut ขอดึงตัว ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect Design Studio เจ้าของโปรเจกต์ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากอีเวนต์ Bangkok Design Week 2025 ที่เพิ่งจบไป มาพูดคุยเจาะลึกถึง ‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ออกแบบนวัตกรรมถังดักไขมันแบบพกพา ที่โดนเทน้ำมันใส่ยังไงก็ไม่เล็ดลอดลงสู่ท่อระบายน้ำ แถมยังได้พื้นที่ทางเดินคืนมาให้คนเดินเท้าด้วย จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง สู่การออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาจริง ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ คงต้องย้อนไปถึงหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชวาลเขียนขึ้น โดยมีแกนหลักคือการบันทึกภาพสเก็ตช์และเรื่องราวสั้นๆ ของข้าวของรอบตัวที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทางจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ “เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นร้านรถเข็นมีปัญหาเรื่องฟุตพาททางเท้า เขาเลยมักจะเอาอิฐมวลเบาแถวนั้นมาเทินล้อ เป็นการแก้ปัญหาแบบเมืองๆ” เจ้าของโปรเจกต์เล่าถึงไอเดียตั้งต้น ก่อนจะนำมารวมกับปัญหาที่พ่อค้าแม่ขายมักเทน้ำเสียจากการประกอบอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันลงท่อระบายน้ำของเมืองโดยตรง ‘ตัวโดนเท’ ถือเป็นโปรเจกต์ในลักษณะ Product Design ตัวแรกของทาง Everyday Architect Design Studio ที่ชัชวาลออกแบบร่วมกับ ‘รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา’ และนักศึกษาฝึกงาน ‘มยุรฉัตร […]

HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025 สำรวจชีวิตคนในย่าน ตามไปมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในหัวลำโพง

แม้จะผ่านมาเกือบครึ่งทาง แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีอีกหลายย่านใน Bangkok Design Week 2025 ที่ยังไม่ได้ย่างเท้าเข้าไปเยือนกัน เพราะครั้งนี้เทศกาลฯ จัดขึ้นในหลายย่านของกรุงเทพฯ แถมยังมีระยะเวลาจัดงานที่แตกต่างกัน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเร่งรีบเก็บให้ครบทุกย่านเหมือนปีก่อนๆ วันนี้คอลัมน์ Events ขอพามาโฟกัสกันที่ย่านหัวลำโพงกับ ‘HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025’ ที่ปีนี้จัดขึ้นเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8 – 9, 15 – 16, 22 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่ซอยพระยาสิงหเสนี, ชุมชนตรอกสลักหิน, ซอยสุนทรพิมล ไปจนถึงถนนรองเมือง โดยมี Co-Host ย่านเจ้าเดิมคือริทัศน์บางกอก (RTUS-Bangkok) นอกจากไฮไลต์ที่เราเลือกมาให้ทุกคนจับมือจูงแขนพาเพื่อนสนิทหรือคนรู้ใจไปเดินเที่ยววีกเอนด์นี้ ใครที่อยากรู้ว่าในหัวลำโพงมีกิจกรรมอะไรอีก เข้าไปดูได้ที่ t.ly/oiwM_ เพราะครั้งนี้หัวลำโพงจัดเต็มกับ 12 นิทรรศการ 1 เวิร์กช็อป 4 อีเวนต์ 1 เสวนา และ […]

หนึ่งวันกับ ‘นาเกลือ’  ย่านเก่าแก่กว่า 100 ปี ใจกลางพัทยา พื้นที่ประมงเชิงอนุรักษ์ และชุมชนวิถีชีวิตคนจีน

ทะเล เมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองที่เต็มไปด้วยสีสันความบันเทิง และภาพชาวต่างชาติที่นั่งอยู่เต็มหาด พร้อมสถานที่ท่องเที่ยวเก๋ๆ มากมาย คือภาพจำของ ‘พัทยา’ ที่ถามร้อยคนก็คงตอบทำนองนี้เกือบร้อยคน แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ท่ามกลางความเจริญในพัทยาแห่งนี้ จะมี ‘ชุมชนนาเกลือ’ ชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตซ่อนตัวอยู่ที่นี่ด้วย คอลัมน์ One Day With… ขอพักปอด หนีฝุ่นในเมืองไปสูดกลิ่นทะเลที่ชุมชนนาเกลือ ชุมชนชาวจีนเก่าแก่ใจกลางพัทยากับกิจกรรม ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ ที่จะพาทุกคนมาร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาเกลือตั้งแต่การกิน การอยู่ ไปจนถึงการมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในชุมชน ผ่านการนำชมของ ‘ไกด์คุณป้า’ ที่เกิดและเติบโตในชุมชน การันตีว่าเราจะได้รู้ทุกซอกทุกมุมที่น่าสนใจของชุมชน แถมการมาเที่ยวที่นี่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนให้ชุมชนนาเกลือแห่งนี้กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วย ‘เดินศึกษาย่านเก่านาเกลือ’ เป็นกิจกรรมจากกลุ่มปั้นเมืองที่ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมืองพัทยา และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนาเกลือ ในการขับเคลื่อนแผนงานให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ‘นาเกลือย่านเก่าสร้างสรรค์ (Na Kluea-Creative Old Town)’ เพื่อฟื้นฟูย่านนาเกลือ รักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้ย่านนาเกลือแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เหล่าไกด์คุณป้าที่เกิดและเติบโตมาเป็นอย่างดีในชุมชนนาเกลือ เป็นผู้ที่จะพาเราเดินทางในกิจกรรมวันนี้ การเดินสำรวจชุมชนนาเกลือเริ่มต้นด้วยการสักการะ ‘องค์เซียนซือ’ องค์ประธานของ ‘มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน’ และเป็นเทพเจ้าที่ชาวบ้านในย่านนี้นับถือ เนื่องจากเป็นเทพเจ้าแห่งการกุศลและช่วยเหลือคน “ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของทุกเดือนจะมีพิธีทรงเจ้า คนส่วนใหญ่มักมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์และเอารถมาให้คนทรงช่วยเจิมให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต” […]

รวมธุรกิจแบบจีนๆ ในย่านตลาดน้อยที่รวมอายุได้กว่า 500 ปี ส่วนผสมไทย-จีน ที่จะทำให้เข้าใจธุรกิจของครอบครัวจีนมากขึ้น

แม้จะมาช้าไปสักหน่อย แต่ช่วงตรุษจีนแบบนี้ นอกจากจะร้อง ‘ต้าชั่วเท่อชั่ว ปู๋ย่าวหลาย อู๋หลู่หว่อเตอเหม่ย’ กันแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คน โดยเฉพาะลูกหลานเชื้อสายจีนก็คงนึกถึงโปรดักต์ อาหาร หรือสิ่งละอันพันละน้อยที่บ่งบอกถึงความเป็นจีนขึ้นมา ในฐานะที่เราก็เป็นลูกหลานคนจีนคนหนึ่ง จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 4 ธุรกิจของชาวจีนในย่านตลาดน้อยที่อยู่กันมากว่าศตวรรษ รวมถึง 1 พิพิธภัณฑ์ และ 1 ธุรกิจบ้านใกล้เรือนเคียงที่กำลังจัดนิทรรศการอยู่ใกล้ๆ เพื่อฉายภาพให้เห็นว่าในวันที่ย่านนี้กลายเป็นย่านสุดฮิตที่นักท่องเที่ยวแวะมาเที่ยว มาถ่ายรูป ภายในย่านเองยังมีธุรกิจที่พยายามปรับตัวและดำเนินมาอย่างยาวนานรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งด้วย ร้านขายยาเอี๊ยะแซ | อนามัยประจำย่าน ต้นตำรับยาดมกระปุกพกมือ ถ้าตั้งต้นจาก MRT สถานีหัวลำโพง ‘ร้านขายยาเอี๊ยะแซ’ คือร้านแรกในย่านตลาดน้อยที่เราจะพาไปเยี่ยมเยียนวันนี้ บอกเลยว่าแค่เดินเข้าไปใกล้ๆ ก็ได้กลิ่นสมุนไพรจีนชวนให้รู้สึกผ่อนคลายแล้ว “สมัยก่อนตรงนี้เป็นชุมชนจีน ร้านสมุนไพรจีนเลยเป็นเหมือนอนามัยของชุมชน เป็นที่พึ่งของชุมชน มีอะไรเขาจะวิ่งหา” ‘แตงโม-นพรัตน์ เฉลิมชัยกิจ’ ทายาทรุ่นที่ 4 ของตระกูลเฉลิมชัยกิจ และรุ่นที่ 3 ของร้านขายยาเอี๊ยะแซบอกกับเรา ที่ตัวเลขไม่ตรงกันแบบนี้ นพรัตน์บอกกับเราว่า เพราะในความเป็นจริงก่อนจะมาเป็นร้านขายยาเอี๊ยะแซในย่านตลาดน้อยแบบปัจจุบัน ร้านยาแรกของเหล่ากงตั้งอยู่ที่ชลบุรี ชื่อว่า ‘เอี๊ยะซิ่ว’ ส่วนเอี๊ยะแซตั้งต้นจากอากงเห็นทำเลตรงนี้ […]

การศึกษาไทยกับ 490 โรงเรียนที่หายไปในรอบ 5 ปี

วันครูปีนี้ คอลัมน์ City by Numbers อยากชวนมาดูสถิติที่ทำงานของคุณครูหรือก็คือ ‘โรงเรียน’ ในไทยที่มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จนน่ากังวลใจ อย่างที่รู้กันว่า ปัจจุบันจำนวนเด็กเกิดในประเทศไทยลดลงเป็นจำนวนมาก มากเสียจนในปี 2567 มีจำนวนเด็กเกิดเพียง 461,421 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดไม่ถึง 5 แสนคนต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อหลายคนเห็นข่าวการปิดตัวของโรงเรียนในหลายปีที่ผ่านมาจะอุปมาไปว่าเป็นเพราะจำนวนเด็กที่ลดลง ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นการลดลงของนักเรียนไม่ได้น้อยลงขนาดจะทำให้การยุบหรือปิดตัวของโรงเรียนเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร เพราะจากรายงานพิเศษ กสศ. ในปี 2567 ชี้ให้เห็นว่า มีเด็กและเยาวชนอายุ 3 – 18 ปี กว่า 1.02 ล้านคน หรือร้อยละ 8.41 หลุดออกนอกระบบการศึกษา เท่ากับว่าในความเป็นจริงแล้ว โรงเรียนที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อเด็กในประเทศด้วยซ้ำไป สถิติโรงเรียนไทยที่หายไป ขณะเดียวกัน ถ้าย้อนดูตัวเลขย้อนหลังจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไป 5 ปี จะพบว่าตัวเลขโรงเรียนในประเทศไทยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ทุกปี ดังนี้ – ปี 2563 มีจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 29,642 […]

‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด

‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]

‘ร้านหนังสือริมขอบฟ้า’ กับบ้านหลังใหม่ในย่านบางพลัด ที่พร้อมเปิดรับคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจเรื่องเมืองไทยมากขึ้น

“กำลังหาหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยเหรอ ไปร้านหนังสือริมขอบฟ้าสิ” คำบอกเล่าแบบปากต่อปากของเหล่าหนอนหนังสือ ทำให้ร้านหนังสือเล็กๆ ชั้นเดียวบนหัวมุมถนนดินสอ วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลายเป็นร้านหนังสืออิสระชื่อแรกที่ปรากฏขึ้นมาเสมอเมื่อมีคีย์เวิร์ดคำว่า ‘หนังสือ’ และ ‘ประเทศไทย’ แม้ปัจจุบันร้านหนังสือริมขอบฟ้าจะย้ายตัวเองเข้าสู่บ้านหลังใหม่ในย่านบางพลัด ก็ไม่ได้ทำให้ร้านหนังสืออิสระแห่งนี้ซบเซาลงแต่อย่างใด กลับเนืองแน่นไปด้วยผู้คน ทั้งที่สนใจเรื่องประเทศไทย และกลุ่มคนใหม่ๆ ที่ถูกดึงดูดด้วยความน่าสนใจของตัวร้าน ว่าแต่ร้านหนังสืออิสระที่ขายหนังสือเฉพาะทางที่มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มแบบนี้สามารถดำรงอยู่มาจนถึงปีที่ 21 ได้อย่างไร วันนี้คอลัมน์ Urban Guide พามาบุกบ้านหลังใหม่ พร้อมพูดคุยกับ ‘จำนงค์ ศรีนวล’ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด ที่ควบตำแหน่งผู้ดูแลร้านหนังสือริมขอบฟ้า สำนักพิมพ์เมืองโบราณ และนิตยสารสารคดี ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น “ริมขอบฟ้าที่ซึ่งฟ้าบรรจบดินเส้นที่ไม่มีอยู่จริงแต่มองเห็นได้พ่อบอกลูกให้มองออกไปไกลไกลมองไปที่ริมขอบฟ้าสู่ความฝันและจินตนาการของมนุษย์” คำกล่าวจาก บันทึกความคิด ของ ‘เล็ก วิริยะพันธุ์’ ผู้ก่อตั้งเมืองโบราณและเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษางานด้านปรัชญา ที่ควบตำแหน่งคุณตาอันเป็นที่รักของหลานผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ ‘กันธร วิริยะพันธุ์’ คือที่มาของชื่อ ‘ร้านหนังสือริมขอบฟ้า’ จุดหมายปลายทางของคนรักหนังสือ ปัจจุบันร้านได้โยกย้ายมาอยู่บ้านหลังใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมบนถนนจรัญสนิทวงศ์ ย่านบางพลัด ซึ่งห่างจาก MRT สถานีสิรินธร ทางออก 3 มาไม่ไกล “แต่เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นอาคารที่ทำการเก่าของบริษัท […]

พาไปล่าท้า 6 สถานที่ที่มี ‘ผี’ เป็นมาสคอต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงคนมาเที่ยวด้วยสตอรีหลอนๆ

เรื่องผีมักผูกติดกับสถานที่ ยิ่งเรื่องผีแมสเท่าไหร่ สถานที่ที่เกิดเหตุก็มีคนไปตามรอยเยอะเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นหลายสถานที่ที่โด่งดังจากเรื่องขนหัวลุก และหยิบจับเอาสตอรีเหล่านั้นมาเป็นจุดขาย ดึงดูดคนให้เข้ามาท่องเที่ยวจนเกิดเป็นธุรกิจแบบใหม่ที่มี ‘ผี’ เป็นมาสคอตการท่องเที่ยว วันฮาโลวีนแบบนี้ Urban Creature ขอเอาใจคนชอบล่าท้าผีด้วยการพาไปรู้จัก 6 สถานที่ที่ใช้ผีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงคนมาเที่ยวด้วยสตอรีหลอนๆ ก่อนต่อยอดเป็นแลนด์มาร์กที่ห้ามพลาด สัมผัสวิญญาณเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงหอคอยแห่งลอนดอน อังกฤษ หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) สร้างขึ้นโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี 1078 ถือเป็นสถานที่ผีดุติดอันดับต้นๆ ของทุกโพล เนื่องจากประวัติของตัวสถานที่ที่ในอดีตถูกใช้เป็นป้อม พระราชวัง และคุกหลวงสำหรับขังนักโทษยศสูง ที่ภายในมีการทรมานและประหารชีวิตด้วยการตัดหัวหรือแขวนคออยู่บ่อยครั้ง วิญญาณที่คนว่ากันว่ามักเห็นอยู่บ่อยๆ คือ ‘พระนางแอนน์ โบลีน’ มเหสีองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่มักมาปรากฏตัวแบบไม่มีหัว ‘Princes in the Tower’ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และเจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์ก สองพี่น้องใส่ชุดนอนสีขาว ยืนจับมือกันนิ่งๆ ก่อนจะเลือนหายเข้าไปในผนัง รวมไปถึงวิญญาณชนชั้นสูงอีกมากมายที่มักมาปรากฏตัวให้เห็นอยู่บ่อยๆ […]

1 2 3 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.