‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซใจกลางเอกมัย ที่อยากให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

“เราอยากให้คนที่มารู้สึกว่าทุกช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่คือ Kind Moment ทั้งกับตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ‘แพม-เปรมมิกา ศรีชวาลา’ ผู้ก่อตั้ง ‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซสีเขียวเล็กๆ ภายในซอยเอกมัย 6 บอกกับเราถึงสิ่งที่อยากส่งต่อไปยังผู้เข้าใช้บริการ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายในใจกลางย่านเอกมัยยังมีสถานที่หนึ่งที่เป็นเหมือนโอเอซิสสำหรับคนรักสุขภาพให้ได้มาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน โดยชื่อของ EKM6 ถูกตั้งขึ้นให้ล้อไปกับสถานที่ตั้งของตัวโครงการอย่าง ‘ซอยเอกมัย 6’ และคำว่า ‘E(very) K(ind) M(oment)’ ยังเป็นการย้ำเตือนว่าที่นี่จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Plant-based จากผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศไทย จนทุกช่วงเวลากลายเป็น Every Kind Moment E(verything) has a beginning. “เราไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจตั้งแต่ต้น แต่มันเริ่มมาจากลูกแพ้นมและไข่ แล้วเขาอยากกินไอศกรีม เราเลยลองหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตมาทำ จนกลายเป็นไอเดียเล็กๆ ที่ผุดมาจากลูกชายว่าทำไมไม่ลองทำขายดู” แพมเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเข้าสู่วงการแพลนต์เบสด์อย่างเป็นทางการ ก่อนเริ่มขยับขยายมาเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกอีเวนต์ขายไอศกรีมแพลนต์เบสด์ในชื่อ Beyond Pops และได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เมืองไทยไม่ค่อยมีคอมมูนิตี้ของคนชื่นชอบอาหารแพลนต์เบสด์ให้รวมตัวกัน บวกกับแพมเองก็เห็นช่องว่างว่าบ้านเรายังไม่มีพื้นที่ที่รวมธุรกิจเหล่านี้ไว้และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรองานอีเวนต์ นั่นจึงทำให้เธอตัดสินใจสร้างสถานที่แบบนั้นขึ้นมาด้วยตนเอง “เรารู้สึกว่าคนที่มาอีเวนต์เกี่ยวกับแพลนต์เบสด์ มันมีตั้งแต่คนที่ให้ความสนใจแพลนต์เบสด์อยู่แล้วไปจนถึงคนทั่วไปที่เขาสงสัยว่าอาหารประเภทนี้คืออะไร เราเลยคิดเล่นๆ […]

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

Super Seniors ผู้สูงวัยเยอะ สวัสดิการน้อย คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

ถ้าเด็กในวันนั้นคือผู้ใหญ่ในวันนี้ ดังนั้นผู้ใหญ่ในวันนี้ก็คือ ‘ผู้สูงอายุ’ ในวันหน้าแบบที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเดียวกัน ยิ่งในทุกวันนี้ที่สภาพคล่องทางการเงินของคนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไหนจะภาวะเงินเฟ้อที่สูงสวนทางกับรายได้ ทำให้เราหลายคนต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน หรือบางเดือนอาจไม่พอเลยด้วยซ้ำ แบบนี้จะเก็บเงินก้อนไว้ใช้ชีวิตในช่วงสูงวัยได้ยังไงกันฃ และปัญหาเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้วัยรุ่นหลายคนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายของตัวเองกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะดูเหมือนปัจจัยและบริบทต่างๆ ในสังคมไทยจะไม่ค่อยส่งเสริมให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีกันสักเท่าไหร่ คอลัมน์ Overview ประจำเดือนสิงหาคมนี้ ขอพาทุกคนไปสำรวจสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ไปจนถึงสิทธิและสวัสดิการที่คนเหล่านี้จะได้รับจากภาครัฐ และมองหาบ้านพักหลังสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราที่ผกผันไปตามเม็ดเงินในกระเป๋าในบั้นปลายชีวิตไปพร้อมๆ กัน 01 | ไทยเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หลายคนอาจจะได้ยินกันมาตลอดว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่กับเหตุการณ์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ ‘กำลัง’ แต่ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้ามายืนในสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว เพราะจากการสำรวจประชากรในประเทศไทยปี 2023 พบว่า ประเทศของเรามีประชากรทั้งสิ้น 71,801,279 คน และในจำนวนนี้มีกลุ่มคนที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ผู้สูงอายุ’ หรือกล่าวคือ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย มากถึง 16,405,119 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 7,297,175 คน และเพศหญิง 9,107,944 คน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะพบว่า จำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีสัดส่วนจากประชากรทั้งหมดมากถึง 22.85 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไทยเราได้เข้าสู่ ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ […]

ครั้งแรกของปักษ์ใต้กับงาน ‘Pakk Taii Design Week 2023’ พาคน ‘หลบเริน แล้วผลิบาน’ ในฤดูกาลแห่งความหวัง

หลังจากที่กรุงเทพฯ มีเทศกาลงานออกแบบ (Bangkok Design Week) กันมาหลายต่อหลายครั้ง คราวนี้มาถึงคิวของปักษ์ใต้บ้านเราบ้างแล้ว กับงาน ‘Pakk Taii Design Week 2023’ ที่จัดปีนี้เป็นครั้งแรกภายใต้ธีม ‘The Next Spring หลบเริน แล้วผลิบาน’ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เจ้าเดิม งานนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจในการสร้าง ‘ฤดูกาลแห่งความหวัง’ และความเป็นไปได้ครั้งใหม่ ผ่านการชักชวนชาวใต้ให้เดินทางกลับบ้าน เพื่อมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการทำให้ปักษ์ใต้เป็นเมืองน่าอยู่ ส่งต่อคุณค่าที่เคยเบ่งบานสู่ยุคสมัยใหม่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ Pakk Taii Design Week 2023 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ตรัง และปัตตานี กับ 79 โปรแกรม 66 โชว์ และ 57 กิจกรรมสร้างสรรค์ ใน 39 พื้นที่จัดงาน และร้านค้ากว่า 120 […]

เจ้าของพื้นที่รู้ ผู้อยู่สบายใจ ตึกสูงแบบไหนถูกกฎหมายควบคุมอาคาร

‘กฎหมายควบคุมอาคาร’ อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน ชนิดที่ว่าถ้าไม่ได้กำลังจะซื้อที่ดินสำหรับปลูกสิ่งก่อสร้างหรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ไหนสักแห่ง เราคงไม่มีทางหยิบตัวบทกฎหมายนี้ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงๆ จังๆ แต่จากหลากหลายเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เราเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสนใจตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างกันมากขึ้น เพราะเริ่มร้อนๆ หนาวๆ ว่าตึกสูงที่เรากำลังใช้ชีวิตกันอยู่ มีส่วนไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เขียนไว้ในข้อกฎหมายบ้างหรือไม่ วันนี้ Urban Creature ขออาสาขมวดย่อกฎหมายควบคุมอาคารในหมวด 1 ที่ว่าด้วยลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างภายนอกอาคารและแนวอาคารออกมาให้ทุกคนทำความเข้าใจกันได้ง่ายขึ้น เผื่อเป็นเช็กลิสต์คร่าวๆ สำหรับคนที่กำลังจะเช่าหรือซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงช่วงนี้ เข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า ‘พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร’ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันจนติดปากว่า ‘กฎหมายอาคาร’ คืออะไร พ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของอาคาร เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร ถ้าพูดถึงอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในตัวกฎหมายจะใช้วิธีการแบ่งจากขนาดพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร และกรณีพื้นที่อาคารเกิน 30,000 ตารางเมตร ดูอาคารยังไง ออกแบบแบบไหนไม่ผิดกฎหมาย ใน 2 กรณีที่ว่านี้มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ที่ขนาดของถนนสาธารณะที่ติดกับตัวพื้นที่ โดยกรณีพื้นที่อาคารไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเช่นกัน […]

‘The new form of imprisonment’ ธีสิสทัณฑสถานเปิดในแนวตั้ง ที่อยากให้นักโทษและคนทั่วไปใช้พื้นที่ร่วมกัน

จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่หนึ่งที่เปิดให้ ‘นักโทษ’ และ ‘บุคคลทั่วไป’ ได้ทำกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักโทษปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก ก่อนที่จะถูกปล่อยตัวตามกำหนดเวลา เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีเต็มๆ ที่ ‘บีม-ธัญลักษณ์ ตัณฑรัตน์’ อดีตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ปลุกปั้นธีสิสจบของตัวเองในชื่อ ‘การคุมขังรูปแบบใหม่ของทัณฑสถานไทย (The new form of imprisonment)’ จุดประสงค์คือต้องการทำให้คนในสังคมเข้าใจและเปิดใจให้นักโทษที่กำลังจะพ้นโทษมากขึ้น ผ่านสถาปัตยกรรมที่จะมาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาว่าระบบของเรือนจำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขังอย่างไร และการกักขังแบบไหนที่จะทำให้นักโทษได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ไม่ถูกลืมจากคนภายนอก และไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำเมื่อพ้นโทษ คอลัมน์ Debut ชวนไปดูจุดตั้งต้นของธีสิสนี้ และค้นหาพร้อมกันว่า การออกแบบสถาปัตยกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมและช่วยเหลือผู้ต้องขังให้ได้ทดลองใช้ชีวิตก่อนออกสู่สังคมภายนอกได้อย่างไร ทัณฑสถานไทยไม่เอื้อต่อการกลับตัว “ธีสิสนี้เป็นการออกแบบเรือนจำให้เหมาะกับนักโทษที่เตรียมการก่อนปล่อยตัวออกสู่สังคม เพราะจากการหาข้อมูลเราพบว่า สาเหตุหนึ่งที่นักโทษกลับไปทำผิดซ้ำๆ เนื่องจากหลังการพ้นโทษผู้ต้องขังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนไปได้” บีมเล่าให้เราฟังว่า ก่อนหน้าที่จะทำธีสิสนี้ เธอมีความสนใจเกี่ยวกับสถาปัตย์และการออกแบบที่สามารถเข้ามากำหนดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อยู่แล้ว และเพื่อทำให้ฟังก์ชันของการออกแบบที่ช่วยควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เห็นภาพได้ชัดขึ้น เธอจึงเลือกทำธีสิสในรูปแบบของ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘เรือนจำ’ หลังจากพบว่าในปี 2562 มีปริมาณนักโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำภายใน 1 ปีมากที่สุดถึง 21,187 คน […]

O’right แบรนด์ความงามจากไต้หวันที่มีส่วนช่วยดูแลโลก จนได้การรับรอง Zero Carbon เป็นแบรนด์แรก

ปัจจุบันองค์ประกอบของการมองหาผลิตภัณฑ์ความงามสักแบรนด์ แค่ใช้แล้วผิวรอดผมสวยคงไม่พอ แต่ต้องพาโลกของเรารอดไปพร้อมๆ กันด้วย ทุกวันนี้คนไทยอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘Zero Carbon’ ที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์กันมากขึ้นผ่านงานประชุมใหญ่อย่าง COP26 และ COP27 ที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า คำว่า Zero Carbon ที่พูดถึงกันไม่ใช่แค่ภาพใหญ่ที่ขับเคลื่อนเฉพาะภายในภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะสำหรับวงการผลิตภัณฑ์ความงามเองก็มีหลากหลายแบรนด์ที่พยายามทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยโลกของเรา คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักกับ ‘O’right’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามจากประเทศไต้หวันที่มีส่วนผสมเป็นออร์แกนิกและวีแกนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับการรับรองว่าเป็นแบรนด์แรกที่ Zero Carbon ตั้งแต่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงกิจกรรม CSR แนวคิด ‘สีเขียว’ O’right เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและความงามสัญชาติไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้คน และดีต่อสุขภาพของโลกไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี ‘Steven Ko’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง O’right มีความตั้งใจในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น โดยเขามองว่าสิ่งที่จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้คือ การมุ่งไปสู่การเป็น Zero Carbon นั่นเอง ปณิธานนี้สะท้อนตั้งแต่ในโลโก้ของแบรนด์ O’right […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย

‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

ร้านไหนเปิดถูกกฎหมาย ร้านไหนทุนจีน ดูได้จากการออกใบเสร็จ

หลังจากเกิดกระแสร้านชาบูหม่าล่าหม้อไฟและสายพานฮิตขึ้นมาแบบฉุดไม่อยู่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ร้านหม้อไฟสไตล์จีนหลากหลายรูปแบบเต็มเมืองไปหมด โดยเฉพาะบริเวณห้วยขวางและถนนบรรทัดทองที่มีร้านอาหารทั้งที่เปิดแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายจากกลุ่มทุนจีนปะปนกันอยู่ตลอดสองฝั่งถนน จนบางคนถึงกับตั้งฉายาใหม่ให้เป็นไชนาทาวน์แห่งที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแห่งที่ 4 5 หรือ 6 ตามมาในอนาคตอันใกล้ หากรัฐไม่มีมาตรการการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ในอนาคตพื้นที่เหล่านี้อาจเต็มไปด้วยร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายในการลักลอบเปิด และทำให้ลูกค้าหลงเข้าไปใช้บริการโดยไม่รู้ตัว เห็นปัญหาแบบนี้แล้ว ถ้าเราอยากกินหม่าล่าขึ้นมา แต่ไม่อยากสนับสนุนร้านอาหารทุนจีนผิดกฎหมาย ต้องทำอย่างไรดี วันนี้ Urban Creature ขอแนะนำวิธีง่ายๆ ในการดูว่าร้านไหนเป็นร้านค้าปลีกที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมสรรพากรผ่านบิลใบเสร็จที่เราจะได้รับหลังจากชำระค่าบริการ 🧾 ร้านแบบไหนต้องออกใบเสร็จให้ลูกค้าบ้าง ปกติแล้วบิลใบเสร็จที่เราได้มาทุกครั้งหลังซื้อของหรือกินอาหาร จะถูกเรียกชื่อเต็มๆ ว่า ‘ใบกำกับภาษีอย่างย่อ’ เป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ โดยกิจการที่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในที่นี้คือกิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะ ‘ขายปลีก’ เช่น ร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงกิจการที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม และกิจการประเภทซ่อมแซมทุกชนิดนั่นเอง ซึ่งใบกำกับภาษีอย่างย่อจะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ประกอบกิจการยื่น ‘จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ และ ‘ยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษี’ ต่อ ‘กรมสรรพากร’ เท่านั้น 🧾 ใบเสร็จที่ถูกกฎหมายต้องเป็นอย่างไร แต่การที่ผู้ประกอบกิจการจะออกใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับเราได้ ลำพังเพียงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีต่อกรมสรรพากรคงไม่พอ […]

1 2 3 4 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.