ไม่ใช่ทุกคนที่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะภาระที่ล้นตัว ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากเติบโต

“เป็นผู้ใหญ่ ทำไมยากจัง” นี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดได้ยินคนไข้บ่นให้ฟังบ่อยๆ ในชั่วโมงบำบัด ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อนที่มากขึ้นของความสัมพันธ์ การบริหารการเงิน กระทั่งการผ่านพ้นดราม่าในครอบครัว และในวันนี้ เรื่องที่ผู้เขียนอยากชวนคุยเป็นพิเศษคือ ความยากในการเติบโตด้านอาชีพการงาน ถ้ามาพิจารณาดูมุมมองที่คนแต่ละรุ่นให้ความหมายและคุณค่าแก่การทำงาน ก็ต้องบอกว่า จากบทความของ PubMed Central ได้พูดถึงชาว Gen Z หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงกลางยุค 90 ไปจนถึงต้นยุค 2010 ไว้อย่างน่าสนใจ คุณลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือ มีความมั่นใจในตัวเองและมุ่งมั่นกับงานที่ทำสูง ต้องการจะพุ่งไปถึงงานในฝันให้ได้ และโหยหาโอกาสที่จะเพิ่มทักษะในสายงานที่ตัวเองรัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป สุขภาพจิตพวกเขาต้องไหว เพราะชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงานก็สำคัญมากสำหรับพวกเขาเช่นเดียวกัน ถ้าคนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่เมื่อไหร่ พวกเขาจะเปลี่ยนงานทันที สรุปโดยรวมคือ เป็นกลุ่มคนที่ทุ่มเทให้อาชีพในฝันสุดๆ แต่ก็ชัดเจนในจุดยืนมากเหมือนกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางหรือไม่ใช่ที่ของตนแล้ว ก็พร้อมจะเดินจากไปเพื่อตามหาเส้นทางใหม่ที่คู่ควร แต่ในยุคก่อนหน้าชาว Gen Z ที่เป็นคนวัยผู้เขียน หลายคนมักรู้สึกว่า พวกเราคือรุ่นคาบเกี่ยว คือใจหนึ่งก็อยากวิ่งตามฝัน สร้างคุณค่าในงานที่อยากแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น แต่อีกใจหนึ่งก็เป็นเดอะแบกซะเหลือเกิน บางคนแบกภาระของครอบครัวในฐานะคนดูแลหลัก ส่วนบางคนแบก ‘ความหวังหรือความกดดัน’ ที่ครอบครัวโยนมาให้เราโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือกระทั่งเรานั่นแหละที่โยนให้ตัวเอง จะเห็นว่าผู้คนรุ่นพวกเรามากมายที่ตั้งใจทำงานจนในที่สุดก็เหมือนจะเดินมาสู่ทางแยก ระหว่างเดินต่อไปให้สุด […]

เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย

‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]

ในโลกอันแสนโหดร้ายที่ใครๆ ให้ค่าแต่ความสำเร็จ เราจะปล่อยวางยังไง ไม่ให้ปล่อยปละละเลย

ขณะที่โลกแห่งการตื่นรู้เรื่องสุขภาพจิตได้พร่ำบอกทุกคนถึงความสำคัญของการ Slow Down หรือค่อยๆ ทำอะไรให้ช้าลง แต่โลกแห่งความจริงที่หลายคนต้องตรากตรำทำทุกอย่างให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การปั้นชีวิตให้สวยดั่งที่ฝัน หรือความสัมพันธ์ ฯลฯ เราก็ไม่สามารถปรับโหมดเป็น ‘ปล่อยมันไป’ กันได้ง่ายๆ และจะยิ่งกระตุ้นความโมโหทุกครั้ง เวลาได้ยินใครบอกให้ ‘อย่าไปคิดมากกับชีวิตนักเลย’ การเข้าถึงสุขภาวะจิต ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ฝั่ง ‘Worry-free’ ไร้ซึ่งความกังวลเสมอไป แต่คือการขับเคลื่อนชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ รับรู้ถึงทุกอารมณ์ และปล่อยบางอย่างที่ขุ่นมัวหัวใจออกไป ไม่ให้มันมาทำลายเราได้ แล้วเรื่องอะไรบ้างเล่าที่เราควรปล่อยวาง ชวนมาสำรวจพร้อมๆ กันในบทความนี้ โลกไม่ได้จ้องแต่จะทำร้ายเรา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการจัดการตนเอง นิสัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การมองว่าตัวเองคือ ‘เหยื่อ’ ในทุกเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับเรา  สิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่คือการปล่อยปละละเลยแน่นอน เพราะเราไม่ได้รู้สึกสบายใจขึ้นหลังจากมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อ อีกทั้งยังกลับทำให้เราไม่อยากพยายามลองหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตให้เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขกับตัวเอง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในส่วนหนึ่งก็จริง มีหลายสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราทุกคนมีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้นหรือสุขขึ้นได้เสมอ เช่น ถ้าเราโดนไล่ออกจากงานที่รักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เราโมโหโวยวายกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นมันก็อยู่ในอำนาจของเราเช่นกัน ที่จะเลือกเดินต่อไปในชีวิตยังไง จะพยายามหางานใหม่ ที่แม้ไม่ได้เป็นงานที่รักเหมือนเดิมแต่ก็พอเลี้ยงตัวเองอยู่รอด หรือจะจมอยู่ที่เดิม ยอมแพ้กับชีวิต และเอาแต่จ้องจับข้อเสียของโลกใบนี้ที่เกิดกับเรา เพื่อนำมาเป็นบทสรุปให้ชีวิตตัวเองว่า […]

‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

อากาศร้อนเปรี้ยง ระเบิดอารมณ์ปัง! รับมืออารมณ์ของเราในหน้าร้อนอย่างไร ไม่ให้ต้องเสียใจภายหลัง

อากาศที่ร้อนจนเราหงุดหงิด เดือดปุดๆ ดั่งลาวาที่พร้อมปะทุ กระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้ออกมา นำไปสู่อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ เช่น รู้สึกรำคาญทุกอย่างไปหมด เหนื่อยล้าเหมือนไม่เคยได้พักอย่างเต็มที่ อ่อนไหวง่ายกว่าเดิม โกรธง่าย หมดความอดทน และโอกาสที่เพิ่มสูงขึ้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจ วาจา หรือร่างกาย ในงานวิจัยที่ Psych Central ได้รวบรวมมาบอกว่า ‘Heat (and extreme rain) brings out the worst in people.’ นั่นคือ ไม่ใช่แค่อากาศที่ ‘ร้อน’ มากๆ เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ที่สุดของตัวเองออกมา แต่ในอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักด้วยเหมือนกัน คีย์เวิร์ดสำคัญดูจะอยู่ที่ ‘ความสุดโต่ง’ หรือความ Extreme ของสภาพอากาศข้างนอก ที่จะดึงเอาอารมณ์ข้างในที่สุดโต่งหรือผิดแปลกออกไปจากอารมณ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาปกติของเราออกมา คอลัมน์ Mental Help ประจำเดือนนี้ ผู้เขียนเลยขอเขียนบทความนี้เป็นคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นฮาวทูช่วยดักจับอารมณ์ที่ร้อนระอุ และเปลี่ยนให้ไม่กลายเป็นพฤติกรรมที่เราอาจเสียใจในอนาคต หัดไม่มองอะไรเป็นขาว-ดำ เมื่อรำคาญคนรอบตัวไปเรื่อยอย่างไม่มีเหตุผล อากาศร้อนทำให้ความสามารถในการคัดกรองพฤติกรรมที่แสดงออกไปลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งหนึ่งในอารมณ์ไม่พึงประสงค์คือ ความโกรธที่เกิดจากอคติเป็นทุนเดิม เช่น ฉันไม่ชอบคนนี้อยู่แล้ว […]

ฝึกเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเองทุกวัน เพื่อบอกว่า ‘ในวันที่โลกไม่น่ารัก ยังมีเราที่น่ารัก’

สมัยเป็นวัยรุ่นมัธยมฯ ผู้เขียนเชื่อว่า หลายคนคงเคยมีความทรงจำปั๊ปปี้เลิฟ เขียนจดหมายรักหารุ่นพี่หรือรุ่นน้องที่แอบชอบกันมาบ้าง กระทั่งบางคนอาจมีประสบการณ์เขียนจดหมายหารายการวิทยุหรือโทรทัศน์ หวังจะได้คุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ คิดถึงตอนนั้นแล้วก็ภูมิใจในความใจใหญ่ของตัวเอง แน่นอนแหละ มันคงไม่ถึงกับคำว่า ‘รักอย่างไม่มีเงื่อนไข’ เพราะเราก็คงแอบหวังให้คนที่ชอบเขาชอบเรากลับ หรือศิลปินคนโปรดได้รับรู้ถึงความปลาบปลื้มที่เรามีให้มานานบ้างไม่มากก็น้อย แต่คำว่า ‘ใจใหญ่’ ที่เราหมายถึงคือ การกล้าได้มากกว่าเสีย การที่ความสุขอัดแน่นจนหัวใจขยาย แล้วเรื่องน่ากลัวต่างๆ เช่น กลัวเสียฟอร์ม กลัวเขาไม่สนใจ กลัวเขาเห็นว่าเราเด๋อ ฯลฯ หดลดลง จะเป็นอย่างไรถ้าความรักที่เคยส่งต่อให้ใคร จะส่งกลับมาที่เราบ้าง ‘เอลิซาเบธ กิลเบิร์ต’ (Elizabeth Gilbert) นักเขียนชื่อดัง เจ้าของงานเขียน Eat, Pray, Love ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เธอออกมาเล่าถึงกิจกรรมปลอบประโลมหัวใจตัวเองที่ทำมานานหลายปีแล้ว นั่นคือ การเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเอง สิ่งนี้ช่วยพยุงเธอขึ้นจากจิตใจที่อ่อนล้ามาหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เธออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก เธอเล่าว่า มีคนมากมายเคยทั้งเขียนจดหมายและเข้ามาคุยมาชมเธอ แต่มันก็ยังไม่ใช่ถ้อยคำที่เธอต้องการ เอลิซาเบธจึงเริ่มเขียน ‘จดหมายรัก’ ผ่านถ้อยคำจากความรักที่เธอเคยหวังว่าอยากให้มีใครสักคนมาพูดแบบนี้กับเธอ ‘คนอื่นเขาไม่สามารถอยู่กับเราตลอดเวลาได้ ถ้าเราไม่อยู่กับตัวเองในช่วงที่มืดหม่นที่สุดในชีวิต แล้วใครจะไปอยู่ตรงนั้นเพื่อเรา’ ความรักของเราหน้าตาเป็นแบบไหน ก่อนจะมีใครมาบอกว่าต้องทำยังไงถึงคู่ควรกับการได้รับความรัก “การเกลียดชังตัวเองเป็นเหมือนไวรัส” เอลิซาเบธพูดไว้ และบอกให้ผู้ฟังลองถามตัวเองว่า […]

เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

อย่าไปกลัวปีชง! ถ้าเราประคองใจให้มั่นคง จะกี่ปีชงก็ทำอะไรเราไม่ได้

แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ มาจากการที่ผู้เขียนเลื่อนเจอสเตตัสของรุ่นพี่คนหนึ่ง เล่าถึงความ ‘กระวนกระวายใจ’ ทุกครั้งที่เห็นคอนเทนต์ปีชง เพราะมันทำให้เขากลัว เนื่องจากไม่อยากให้ชีวิตโชคร้ายกว่าที่ผ่านมาอีกแล้ว เวลาเข้าโซเชียลมีเดีย รุ่นพี่ต้องเลื่อนฟีดผ่านเร็วๆ เพราะไม่อยากอ่านให้มันผ่านเข้ามาในใจ อีกอย่าง ทุกวันนี้เราเปิดรับข่าวสารที่ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเศร้าและน่ากลัวทุกวัน จนเรื่องร้ายต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่เราเผลอคาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้น ไม่กับเรา ก็กับสังคม ทีนี้พอมีเรื่องปีชงเข้ามา บวกกับพื้นฐานข่าวสารที่ได้รับ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจิตตก กังวลมากขึ้น ต่อให้เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ว่าปีนี้จะเป็นปีชงของเราหรือไม่ แต่ในทางสุขภาพจิตแล้ว ผู้เขียนในฐานะคนทำงานด้านจิตบำบัดก็อยากเสนอแนะวิธีช่วยประคับประคองจิตใจให้ผ่านด่านสนามทดสอบเรื่องโชคลางไปได้อย่างไม่วุ่นวายใจมากนัก 1) หมั่นสังเกตว่าตัวเองกำลังคาดหวังสิ่งที่ไม่ชอบให้เป็นจริงอยู่หรือเปล่า มีทฤษฎีหนึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-fulfilling Prophecy ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความเชื่อหรือความคาดหวังบางอย่างที่ทำให้เรายึดมั่นในสิ่งนั้นมากๆ จนส่งผลต่อการกระทำของเรา และทำให้ความเชื่อหรือความคาดหวังของเรานั้นเป็นจริง ยกตัวอย่าง เราเข้าทำงานที่ใหม่วันแรก เห็นผู้หญิงคนหนึ่งดูหน้าบึ้งตึงเป็นพิเศษ ​เราคิดไปเองว่าเธอคนนี้จะต้องไม่ชอบเราแน่ๆ เลยไม่อยากเข้าไปชวนคุยเพราะกลัวเธอจะยิ่งรำคาญ แถมเธอเองก็ไม่ได้สนใจเรา พร้อมกับเดินผ่านหน้าไปอีก ทำให้เราเชื่อว่า เธอคนนี้ต้องไม่ชอบหน้าเราแน่ๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วเธออาจจะโมโหหิวเฉยๆ ก็ได้ พอเชื่อแบบนี้ ก็อาจทำให้เราพูดจาหรือแสดงท่าทีที่เฉยเมย ไม่เป็นมิตรออกไป จนทำให้อีกฝั่งรู้สึกได้ถึงบรรยากาศลบๆ และไม่อยากยุ่งกับเรา สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การไม่ชอบกันจริงๆ ก็เป็นได้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งเราเชื่อในสิ่งไหนมากๆ นั่นไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นจริงเสมอไป แต่มันมีส่วนสูงมากที่ทำให้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น […]

‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’

กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.