‘ปล่อยวางเขา แล้วเอางานกับตัวเองให้รอดก่อน’ เมื่อภาวะทางใจคนที่ทำงานมากระทบใจเรา

ชาวออฟฟิศหลายคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในชีวิตหนึ่งสัปดาห์ ใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้านเสียอีก ยิ่งช่วงไหนที่ประชุมบ่อย งานด่วน โปรเจกต์ใหม่ใกล้เปิดตัว ฯลฯ บ้านเราจริงๆ ก็มีไว้แค่กลับไปอาบน้ำนอนเท่านั้นแหละ ‘การมี ‘Work BFF’ หรือเพื่อนรักในออฟฟิศคือลาภอันประเสริฐ’ จึงเป็นคำกล่าวที่จริงมาก เพราะสมัยก่อนตอนเราทำงานออฟฟิศ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือความขัดแย้งกับเจ้านาย ก็ได้เพื่อนสนิทที่นั่งโต๊ะข้างๆ กันนี่แหละคอยแชร์ความเข้าใจ ความห่วงใย กอดคอรอดไปพร้อมๆ กัน แต่ความเจ็บปวดอีกระดับที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อคนที่ควรเป็นที่พึ่งและความอุ่นใจของเรา ดันกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยแทนซะแล้ว อาจเพราะด้วย ‘ภาวะทางใจ’ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออาการทางจิตใจต่างๆ ที่กระทบเขาอย่างรุนแรง จนห้วงอารมณ์และความเป็นตัวตนของเขาเปลี่ยนไป จนทำให้เราแทบจำเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ส่งผลให้การทำงานของเขาและเรายากขึ้นตามไปด้วย แล้วชีวิตการทำงานของเราจะรอดได้ยังไง หากต้องรับมือเหตุการณ์หนักๆ นี้ไปทุกวัน ‘มันคืออาการหรือโรคที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าทุกอย่างปกติ เขาจะไม่ทำกับเราแบบนี้’ เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพจิตใจเผชิญเรื่องราวหนักหนาจนตั้งรับไม่ไหว สภาพร่างกายและอารมณ์ก็จะแสดงความสุดโต่งต่างๆ ออกมา เช่น เกรี้ยวกราด ด่าทอ เฉยชา หงุดหงิดง่าย ฯลฯ สิ่งนี้เรียกว่าระบบป้องกันตัวในยามที่สภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในช่วงฉุกเฉิน คนคนนั้นจำเป็นต้องสร้างตัวตนอื่นมาตั้งรับกับสภาวะแปลกใหม่ที่เขากำลังเจออยู่ และแน่นอน ‘นั่นไม่ใช่การรับมือแบบปกติทั่วไป’ เช่น ถ้าเพื่อนของเราเพิ่งสูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เพื่อนคนนี้เครียดมาก ปล่อยวางไม่ได้ […]

‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

‘คบคนในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องน่ากลัว’ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน และไม่มีกฎตายตัว

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ออกจะดูไปในแนวคำขู่ ถึงอันตรายของการคบกับคนที่ทำงานในที่เดียวกัน ต้องเจอหน้ากันทุกวัน และอาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายหากรักไปไม่รอด เนื่องในเดือนแห่งความรักนี้ ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องราวที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง แต่ทำให้ใจฟูกันบ้าง นั่นคือ ‘ความรักที่เกิดในที่ทำงาน แล้วมันเวิร์ก สวยงาม และยาวนานยั่งยืน’ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับชายหนุ่มวัย 30 กลางๆ ขอเรียกเขาว่า ‘พี่บี’ แล้วกัน ตั้งแต่รู้จักกับเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ก็สัมผัสถึงความหอมหวานอบอุ่นของความรักระหว่างเขาและแฟน ซึ่งปัจจุบันคือภรรยาของเขา ที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด จากบทสนทนาในครั้งนี้ บอกเลยว่าเราได้อะไรกลับไปมากกว่าแค่เคล็ดลับการทะนุถนอมความรักในที่ทำงานเยอะเลย ถ้าความรักดี การได้อยู่กับคนรักเพิ่มขึ้นเท่ากับได้เวลาที่ดีเพิ่มขึ้น “ความรักในที่ทำงาน มันคือตัวคูณ ถ้ามันดี มันจะมีความสุขแบบทวีคูณ แต่ถ้ามันแย่ มันก็พังเป็นเท่าตัวด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มาเป็นเส้นแบ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ความรักหลงเดินไปในทางที่แย่คือ วุฒิภาวะของทั้งคู่” พี่บีเริ่มต้นบทสนทนาไว้อย่างนี้ และอธิบายเพิ่มว่า ในประเทศไทย เวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานนับเป็นประมาณ 40 กว่าชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้ามันดี ก็เท่ากับได้เวลาที่ดีที่ได้อยู่กับคนรักตั้ง 40 กว่าชั่วโมง แต่ถ้ามันแย่ เต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ น้อยใจ วุ่นวายใจ ฯลฯ แปลว่า 40 กว่าชั่วโมงนั้นจะเกิดการฝ่าฟันทรหดอยู่พอตัว “แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวเลย ว่าคบคนที่ทำงานต่างที่กันจะดีเสมอไป หรือคบคนที่ทำงานที่เดียวกันแล้วจะแย่เสมอไป” […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

รับมือหัวใจอันบอบบาง กับความเหงาในเมืองใหญ่

“คนเราต้องได้รับการกอดถึงสี่ครั้งต่อวัน เพื่อการมีชีวิตรอด” เวอร์จีเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir) นักจิตบำบัดครอบครัวชื่อดังคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ “และพวกเราก็ยังจำเป็นต้องได้รับการกอดถึงแปดครั้ง เพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ และการกอดถึงสิบสองครั้ง เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของเรา” โห…คุณเวอร์จีเนีย เอาแค่เบสิกการกอด 4 ครั้งของคุณยังยากเลย เพราะวันๆ นี้ แค่ทำงานให้ทันเดดไลน์เอย เตือนตัวเองให้หยุดทำงานแล้วมาทานข้าวบ้างเอย นั่งเฉาอยู่ในรถที่ติดหนึบเป็นชั่วโมงๆ เอย หลายชีวิตในเมืองกรุงแทบไม่มีเวลาหรือกะจิตกะใจจะมานั่งนับ ‘การกอด’ ในหนึ่งวันกันหรอก ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่เขาว่า ก็ไม่น่าแปลกใจที่ถึงหลายคนจะอยู่ในเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่านมากมายขนาดไหน ในใจลึกๆ ก็โดนแทรกซึมไปด้วยพลังแห่งความเหงาอยู่ดี ก่อนกลับมากรุงเทพฯ เมืองแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ฉันเคยอยู่ก็ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ หากใครเคยดูหนังเรื่อง LA LA LAND เมื่อหลายปีที่แล้ว คงเห็นว่าใครต่อใครจากเมืองหรือประเทศอื่น มักใฝ่ฝันอยากมาตามล่าหาฝันกันในเมืองแห่งนี้ เมืองที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเชื้อชาติ หลากศาสนา หลายความสามารถ ฯลฯ โดยเฉพาะอาชีพที่ดื่มด่ำอยู่ในแสงสีเสียงของวงการมายา ต่างก็มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ ฟังดูเหมือนเป็นเมืองแห่งความสนุกสนาน รื่นเริงในทุกหย่อมหญ้า แต่ภาพที่ฉันจำได้แม่นเลยคือ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ก็มักสัมผัสกลิ่นอายความเหงาจากใครบางคนที่นั่งอยู่ ไม่ว่าจะคนเดียวหรือกับเพื่อนฝูงเสมอ Connection-สายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง เมื่อนึกถึงเด็กๆ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.