10 พาวิลเลียน ใน Expo 2025 Osaka มหกรรมที่มุ่งนำเสนอแนวคิด การสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและดีกว่าเดิม

ปีหน้าเมืองโอซากาจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2025 มหกรรมระดับโลกที่รวบรวมผู้คนจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองวัฒนธรรม นวัตกรรม และความก้าวหน้าของประเทศต่างๆ รวมถึงเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆ หวังช่วยกันแก้ปัญหาระดับโลกที่สังคมของเรากำลังเผชิญอยู่ ไฮไลต์คือการจัดแสดงพาวิลเลียนของนานาประเทศ ซึ่งปีนี้มาในธีม ‘Designing Future Society for Our Lives’ หรือ ‘การออกแบบสังคมแห่งอนาคตสำหรับชีวิตของเรา’ โดยงานจะจัดขึ้นบนเกาะเทียม ‘ยูเมะชิมะ’ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโอซากา ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ไปจนถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2568 ก่อนอีเวนต์ใหญ่ด้านนวัตกรรมและการออกแบบระดับโลกจะเริ่มต้นขึ้น Urban Creature ได้รวบรวม 10 พาวิลเลียน จาก 10 ประเทศ ที่โดดเด่นและน่าสนใจมาฝากกัน ตั้งแต่การจัดแสดงที่พาเราไปสำรวจเรื่องใกล้ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ ไปจนถึงพาวิลเลียนที่นำเสนอนวัตกรรมและทางออกเพื่อโลกที่ยั่งยืนในอนาคต สวิตเซอร์แลนด์ธรรมชาติและโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ ‘Swiss Pavilion’ คือพาวิลเลียนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งออกแบบโดย Manuel Herz Architekten, NUSSLI และ Bellprat Partner โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับธีมของงานที่พูดถึงชีวิตและโลกแห่งอนาคต […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีส ได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น

‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

GREY NATION ไทยชราเป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ เวทีทอล์กจากงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023’

‘สังคมสูงวัย’ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับคนวัยเกษียณเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายที่คนทุกเจเนอเรชันต้องเผชิญและอาจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากเราไม่เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 Urban Creature ได้เข้าร่วมงานมนุษย์ต่างวัย Talk 2023 ‘Out of the Box Aging’ ที่รวบรวมกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมสูงวัย ไม่ว่าจะเป็นเวทีทอล์ก เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิต ไปจนถึงโซน Market & Space ที่ชวนคนรุ่นใหญ่มองเห็นโอกาสในการทำงาน พบปะเพื่อนใหม่ และสร้างคุณค่าให้ตัวเอง แต่กิจกรรมที่เรามองว่าสะท้อนภาพใหญ่และทำให้ผู้ฟังมองเห็นปัญหาของสังคมสูงวัยได้ครอบคลุมที่สุดคือเวทีทอล์กในหัวข้อ ‘Grey Nation จากเจนฯ B – เจนฯ Z : ไทยชรา เป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ’ บรรยายโดย ‘รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ดูแลงานนโยบายสาธารณะให้กับวงการสื่อสารมวลชน มิติเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยต้องกังวลมีอะไรบ้าง และทำไมคนทุกเจนฯ ถึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ คอลัมน์ Events ชวนไปสำรวจปรากฏการณ์นี้พร้อมกัน สังคมสูงวัยคือเรื่องของคนทุกเจนฯ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ เปิดเวทีทอล์กด้วยการโยนคำถามว่า […]

FYI

I Love Urban Life แคมเปญส่งต่อพลังบวกจาก Ananda ที่อยากทำให้ชีวิตคนเมืองมีความสุขและดีขึ้นทุกวัน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเลือกที่จะออกแบบเมืองและกำหนดนโยบายที่เน้นการส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เมืองอยู่เสมอ โดยอาจไม่จำเป็นต้องลงมือทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ และช่วยให้การใช้ชีวิตของคนอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆ ดีขึ้นตามไปด้วย ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘อนันดา’ (Ananda) หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แบรนด์อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ของประเทศไทย ที่เชื่อว่า ถ้าทุกคนอยู่ให้ถูกที่ ใช้ชีวิตได้แบบไม่มีข้อจำกัด และใส่ทุกพลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เราก็จะช่วยกันทำให้เมืองนี้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวแคมเปญ ‘I Love Urban Life’ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองให้เกิดความสะดวกสบาย และเอื้อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีเวลาออกไปใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง​ แคมเปญนี้ไม่เพียงส่งต่อพลังบวกให้คนเมืองทุกวันและทุกเวลาเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมุมมองของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุขและสนุกไปกับการใช้ชีวิตในเมืองที่แสนวุ่นวายแห่งนี้ I Love Urban Life ชีวิตเมือง ชีวิตเรา แน่นอนว่าการที่เราจะดูแลอะไรสักอย่างให้ดี เราต้องผูกพันและเห็นความสำคัญของมันก่อน อนันดาเชื่อว่าการเปลี่ยนวิธีคิดและลองใช้ชีวิตให้มีสีสันมากขึ้น จะทำให้คนเมืองทุกคนมีความสุขได้ทุกๆ วันและทุกๆ ช่วงเวลา จึงเป็นที่มาของแคมเปญ I Love Urban Life ที่ต้องการเปลี่ยนมายด์เซตและส่งเสริมไลฟ์สไตล์ของคนเมืองผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) I […]

‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

Sustainable Tourism Goals เปลี่ยนการท่องเที่ยวไทยให้สนุกและยั่งยืน กับแคมเปญ ‘STGs เที่ยว 4 ดี’

การท่องเที่ยวของคนยุคนี้ไม่ได้นึกถึงแค่ความสนุกและความสวยงามของจุดหมายปลายทางเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะการพักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกของเราด้วย ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ปี 2023 เปิดเผยว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ช่วยยืนยันว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ (Sustainable Tourism) ได้กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การรณรงค์การท่องเที่ยวที่แคร์สิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอันดับต้นๆ ของโลกให้ได้ นี่คือเหตุผลที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดเป้าหมายที่จะยกระดับและสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ‘Sustainable Tourism Goals: STGs’ และจัดทำโครงการ ‘STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา’ ขึ้นมา แคมเปญนี้จะช่วยสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร คอลัมน์ Green Insight ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยแนวคิด STGs การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษให้กับโลกของเราไม่น้อย เพราะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ราว 8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก โดยปริมาณหลักๆ มาจากการเดินทาง การบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งรวมถึงอาหารและที่พัก เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.