ร้านน้องท่าพระจันทร์ เซฟโซนของคนฟังเพลง l Somebody Ordinary

ทำไมร้านน้องท่าพระจันทร์ถึงเป็นที่รักของเหล่าศิลปินคนทำเพลงและคนธรรมดาอย่างเราๆ มานานกว่า 43 ปี วันนี้ Somebody Ordinary ขอพาทุกท่านเดินทางไปกับโลกของเสียงดนตรี ที่กาลเวลาไม่อาจพลากความสุขนี้ไปจากใจเราได้ ร้านน้องท่าพระจันทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หากคุณต้องการแผ่นเสียง ไม่ว่าจะเพลงแนวไหนร้านน้องก็หาให้คุณได้หมด ‘เพียงแค่คุณเปิดใจ’  และที่นี่ถึงแม้จะเป็นเพียงร้านเล็กๆ แต่พี่นก-อนุชา นาคน้อย ยังเปิดให้เป็นพื้นที่สำหรับเหล่าศิลปินน้องใหม่ในวงการได้มีสเปชในการแสดงดนตรีสด พบปะแฟนเพลงของตนเอง ความน่ารักของร้านน้องท่าพระจันทร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่แจ้งเกิดให้เหล่าศิลปินมากมาย และเราหวังว่าสักวันจะมีหน่วยงานรัฐเล็งเห็นถึงการสนับสนุนให้เกิดสเปซแบบนี้ขึ้นอีกหลายๆ แห่งในประเทศไทย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีนักดนตรีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย จากการที่พื้นที่ในการโชว์ของเฉกเช่นร้านน้องท่าพระจันทร์ก็ได้นะ

Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

ราชบุตร สเตอริโอ ค่ายเพลงหมอลำยุค 70 ที่อยากทำให้ดนตรีอีสานกลับมาคึกคัก

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เติบโตในจังหวัดอุบลราชธานียุค 1990 – 2000 จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับ ‘ราชบุตร’ ร้านเช่าซีดีและดีวีดีที่มีอยู่หลายสาขาทั่วเมืองอุบลฯ เราเองก็คุ้นเคยกับที่นี่ดี เพราะในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีอย่างจำกัด การเช่าซีรีส์หรือหนังกลับไปดูที่บ้านจึงเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงไม่กี่ประเภทที่คอยหล่อเลี้ยงจิตใจ และเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้างให้เด็กต่างจังหวัดสมัยนั้น นอกจากธุรกิจร้านเช่าซีดีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนหน้านั้นราชบุตรเคยทำ ‘ค่ายเพลงหมอลำ’ อย่างเต็มตัวนานถึง 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า ‘ราชบุตร สเตอริโอ’ ราชบุตร สเตอริโอ เคยเป็นค่ายเพลงที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเคยอัดเพลงให้ศิลปินแห่งชาติหลายคน เช่น เคน ดาเหลา, บานเย็น รากแก่น, ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม, ทองใส ทับถนน, บุญเพ็ง ไฝผิวชัย, และฉวีวรรณ ดำเนิน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่ายเพลงราชบุตร สเตอริโอ หยุดดำเนินการอย่างถาวรแล้ว เนื่องจากธุรกิจซบเซาลงตามความนิยมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปิดฉากตำนานการอัดเพลงและการผลิตเพลงหมอลำยุค ‘แอนะล็อก’ ลงอย่างสิ้นเชิง  ขณะเดียวกัน ราชบุตร สเตอริโอ กำลังเปลี่ยนถ่ายตัวเองเข้าสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีโอกาสกลับอุบลฯ เพื่อพบกับ […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

Urban Foraging BKK ทริปตามหา ‘พืชกินได้’ สารพัดประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองกรุง

รู้หรือไม่ว่า ‘วัชพืช’ และ ‘สมุนไพร’ นานาชนิดที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูแสนอร่อยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และอาจช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองได้ด้วยนะ 23 เมษายน 2565 เรามีโอกาสไปร่วมทริป ‘Urban Foraging BKK’ ที่จัดโดย สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกิจกรรมเที่ยววันเดียว ‘ครั้งแรก’ ที่สวนผักคนเมืองพาคนเมืองอย่างเราไปลัดเลาะตามหาและทำความรู้จักพืชที่ซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อทริปว่า ‘พืชกินได้นอกสายตา’ เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ เพราะจริงแล้วๆ รอบตัวของเรารายล้อมไปด้วย ‘พืชอาหาร (Edible Plants)’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงผักที่ปลูกในแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัชพืชและสมุนไพรริมทางที่เราอาจคุ้นตา แต่อาจไม่รู้จักชื่อ หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์สารพัด ทริป Urban Foraging BKK จึงอยากแนะนำพืชอาหารที่เติบโตตามธรรมชาติให้เรารู้จัก เพราะไม่แน่ว่าพืชที่เคยแปลกหน้าเหล่านี้อาจมาปรากฏตัวบนโต๊ะอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้ ที่สำคัญ ทริปนี้ยังมีเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ด้านอาหารใหม่ๆ ที่อาจช่วยพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นด้วย  คอลัมน์ Experimentrip จึงอยากพาทุกคนไปติดตามภารกิจตามหาพืชอาหารว่าจะพบพืชชนิดใดบ้าง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชแต่ละชนิดคืออะไร และคนเมืองอย่างเราจะรู้สึกเซอร์ไพรส์กับพืชกินได้ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมขนาดไหน ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาออกเดินทางสู่การเรียนรู้ครั้งใหม่พร้อมกันเลย! ล่องเรือมุ่งหน้าสู่ […]

People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง

สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย  การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]

Art is a Way of Life 5 สารคดีเบื้องหลังศิลปะที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาสุดเพอร์เฟกต์สำหรับคนที่อยากพักผ่อนหรือนอนดู Netflix อยู่บ้านแบบชิลๆ จะได้อยู่กับตัวเองและชาร์จพลังอย่างเต็มที่ ส่วนใครอยากหาแรงบันดาลใจและจุดประกายไอเดียใหม่ ไปพร้อมๆ กับการพักกายพักใจโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน ก็ทำได้เช่นกัน  เราอยากชวนทุกคนเปิดโลกแห่งไอเดียสร้างสรรค์ไปกับ 5 สารคดีแห่งจินตนาการและความคิดสุดบรรเจิด ที่จะพาทุกคนสำรวจความจริงและเบื้องหลังของศิลปะแขนงต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เช่น การออกแบบ การทำอาหาร การถ่ายภาพ ดนตรี ไปจนถึงผลงานจากดอกไม้ไฟขนาดมหึมา ผ่านเรื่องราวน่าประทับใจและจังหวะการเล่าเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดและชีวิตของเหล่าศิลปินแบบถึงแก่น ต้องบอกก่อนเลยว่าสารคดีที่เราคัดสรรมาไม่น่าเบื่อจนชวนหลับอย่างที่หลายคนคิด แต่เต็มไปด้วยซีนสนุกๆ และน่าตื่นเต้นไม่ต่างจากหนังหรือซีรีส์ดีๆ สักเรื่องเลย เราเชื่อว่าหลังดูจบหลายคนจะมีไอเดียสร้างสรรค์พลุ่งพล่าน พร้อมกลับไปทำงานและลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ หลังวันหยุดยาวแน่นอน 01 | Abstract: The Art of Design ซึมซับดีไซน์ล้ำสมัยจากเหล่านักออกแบบระดับโลก หากสังเกตดีๆ ทุกคนจะเห็นว่ารอบตัวของเราล้วนโอบล้อมไปด้วยผลผลิตของ ‘การออกแบบ’ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ดีไซน์รถยนต์ บรรจุภัณฑ์ ภาพวาดประกอบ ปกนิตยสาร ตัวอักษร ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้าที่เราสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ากว่าผลงานและสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตสู่สายตาชาวโลก พวกมันต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบที่ละเอียดถี่ถ้วนขนาดไหน และเบื้องหลังของผลงานแต่ละชิ้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ช่วงวันหยุดยาวทั้งที เราจึงอยากชวนทุกคนดู ‘Abstract: The Art of […]

ไปเที่ยว ‘ราชเทวี’ สำรวจศิลปวัฒนธรรมโบราณและร่วมสมัยใจกลางกรุงเทพฯ

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยมาเยือนกรุงเทพฯ หรืออาศัยอยู่ในเมืองนี้ คงรู้จักและเคยได้ยินชื่อเขต ‘ราชเทวี’ ย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่คั่นกลางระหว่างสองจุดหมายปลายทางสำคัญอย่าง ‘พญาไท’ และ ‘สยาม’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพราะเป็นทั้งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และที่ตั้งของศูนย์การค้าทันสมัยมากมาย ราชเทวีจึงกลายเป็นโลเคชันโดดเด่นและน่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ทว่า ราชเทวีไม่ได้เป็นแค่ ‘ทำเลทอง’ กลางเมืองเท่านั้น แต่งานสร้างสรรค์โลกสมัยใหม่หลายรูปแบบก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ในย่านริมคลองแสนแสบแห่งนี้เช่นกัน  วันนี้ Urban Creature ขออาสาเป็นไกด์พาทุกคนไปทัวร์ย่านนี้ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการสำรวจ Art & Culture ที่แฝงตัวอยู่ในอณูของย่าน อย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นที่โอบล้อมสวนสาธารณะสีเขียวใจกลางเมือง และอาร์ตสตูดิโอที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจและเชื่อมโยงคนในสังคมเข้าหากัน เป็นศิลปะยุคใหม่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากแกลเลอรี และมาเสพงานสร้างสรรค์กลางแจ้ง รวมไปถึงคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่จากการลงมือทำศิลปะด้วยตัวเอง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไป ราชเทวีถือเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนาน ใต้ภาพความเป็นเมือง แหล่งสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่นี่คือที่ตั้งของชุมชนมุสลิมแขกจามอายุกว่า 230 ปี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องภูมิปัญญาการทอผ้าคุณภาพดีมายาวนาน และยังมีมัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของชุมชนแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ควรค่าแก่การไปเยือน และอนุรักษ์ไว้ ราชเทวีในสายตาของเราจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นย่านหนึ่ง ที่ศิลปวัฒนธรรมของโลกเก่าเดินทางข้ามกาลเวลามาบรรจบกับงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ข้อดีของราชเทวีก็คือโลเคชันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คนทุกเพศทุกวัยเดินทางมาได้โดยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ แถมยังเดินได้ยาวๆ หมดห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวน่าสนใจ […]

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

“ทำไมคุณต้องอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง ที่ต้องอ้อนวอนร้องขอกับราชการ ทั้งที่เงินนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน” ประโยคสนนทนาที่แทงใจ จากการที่เราพูดคุยกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’หรือที่หลายคนรู้จักจากฉายา ดาวเด่นสภา วันนี้เขาเดินทางอีกหนึ่งบทบาทในฐานะ  1 ในผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีปัญหามากมาย แต่ในสายตาวิโรจน์ เชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ถึงเวลาแก้ไขกรุงเทพฯ แบบตรงไปตรงมาในแบบฉบับวิโรจน์ จะเป็นอย่างไรนั้น ร่วมพูดคุยไปพร้อมกับเราในคลิปนี้เลย!

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.