เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

เปลี่ยนการเดินในเมืองให้สนุกขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบทางเท้า ที่ส่งเสริมให้คนเอนจอยกับการเดิน

เคยคิดไหมว่า ทำไมเราถึงไม่อยากใช้เวลาในวันหยุดออกไปเดินเท้าท่องแต่ละย่านของเมือง คำตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แดดร้อน ทางเท้าไม่ดี หรือเดินได้ไม่สะดวก แต่นอกเหนือจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายทั่วๆ ไปอย่างทางเท้าที่กว้างตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอของพื้นทางเท้าที่ไม่เหยียบแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างตลอดการเดิน ยังมีอีกปัจจัยสำคัญอย่างการออกแบบสนุกๆ ที่จะช่วยทำให้การเดินในเมืองของพวกเรามีสีสันมากขึ้นได้อีก คอลัมน์ Urban Sketch ขอลองออกไอเดียว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนการเดินธรรมดาๆ ให้มีชีวิตชีวาและสนุกได้ตลอดทาง 1) พื้นจอ Interactive เดินอย่างเดียว มองพื้น มองทางแล้วก็เบื่อๆ ถ้ามีจอ Interactive ที่ทำให้การเดินไม่ต้องมองแต่อะไรซ้ำๆ ก็คงดี เราเลยคิดถึงจอที่โต้ตอบได้ พร้อมใส่อะไรสนุกๆ อย่างปลาทองที่ว่ายไปว่ายมา พร้อมผืนน้ำที่เมื่อเราเหยียบแล้วมีคลื่นเกิดขึ้น กระทั่งทุ่งหญ้าที่มีกระรอกตัวเล็กๆ กระโดดดึ๋ง เวลาเหยียบจุดไหนหญ้าก็เกิดการเคลื่อนไหว 2) จุดแวะนับก้าวและเติมพลัง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหน เป็นจำนวนกี่ก้าวแล้ว หรือวันนี้เดินได้มากกว่าเมื่อวานไหม นี่เลย เราขอเสนอจุดแวะนับก้าวและเติมพลังให้ทุกคนนำ Smart Watch ไปแปะที่แท่นพร้อมขึ้นโชว์เป็นลำดับแข่งขัน และมอบรางวัลให้นักเดินคนเก่งที่สะสมจำนวนก้าวได้มากที่สุดในสัปดาห์ คู่กับบริการเช่ายืมเซตนักเดินอย่างหมวก แว่นกันแดด ร่ม หรือพัดลมจิ๋ว โดยมีค่าบริการคิดตามรายชั่วโมงและคืนได้ที่จุดแวะนับก้าวจุดต่อไป อีกส่วนสำคัญที่จุดนับก้าวนี้มีคือ ข้อความให้กำลังใจสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันเดินแชมเปียนชิป แต่ก็ต้องการกำลังใจดีๆ ให้ผ่านวันยากๆ […]

ถ้าสถานการณ์น้ำท่วมโลกใน Flow มีมนุษย์เราจะทำอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง

เมี้ยว หง่าว โฮ่งๆ บ๊อกๆ  ภาพยนตร์ไร้ไดอะล็อก ที่มีแต่เสียงสัตว์สื่อสารกันตลอด 90 นาทีอย่าง Flow (มีเหมียว มีกัน วันน้ำท่วมโลก) เจ้าของรางวัลภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film) เวที Oscars 2025 พ่วงด้วยตำแหน่งงานสุดเท่ที่สร้างด้วยโปรแกรม Blender โปรแกรมฟรีเพียงโปรแกรมเดียว กำกับโดย Gints Zilbalodis และร่วมเขียนบทกับ Matīss Kaža Flow เป็นแอนิเมชันแฟนตาซีผจญภัย เรื่องราวของชีวิตสัตว์ต่างๆ หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ทั้งแมวดำ (ที่ต่อมาผู้กำกับออกมาแย้งว่าเป็นสีเทาเข้ม เพราะมีต้นแบบเป็นแมวเหมียวของเขาเอง) หมาโกลเดนรีทรีฟเวอร์ คาปิบารา ลีเมอร์ และสัตว์บนโลกนี้ต้องมาร่วมหัวจมท้าย ลงเรือลำเดียวกันเพื่อเอาชีวิตรอดจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยในเรื่องเราจะไม่ได้เห็นมนุษย์แม้แต่คนเดียว เป็นเหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้ถึงไม่มีบทพูดใดๆ ทั้งสิ้น คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอลองมาจินตนาการว่า ถ้าในเรื่อง Flow มีมนุษย์สักคน เราจะช่วยสร้างหรือออกแบบอะไรเพื่อช่วยน้องๆ สัตว์ในเรื่องได้บ้าง สร้างบ้านลอยน้ำ ในช่วงต้นเรื่องจะเห็นฉากที่น้องแมวดำกระโดดเข้าทางหน้าต่างเพื่อนอนลงบนเตียงที่แสนนุ่มและสบาย […]

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

‘แฟลตเกิร์ล’ มองปัญหาเรื้อรังของการไม่มีบ้านและโอกาสที่ไม่มีอยู่จริงของคนจนเมืองผ่านที่อยู่อาศัยในภาพยนตร์

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์* เมื่อการมีบ้านเป็นฝันที่เกินเอื้อมทั้งสำหรับคนเมืองและอาชีพอย่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์  สนามแบดฯ สภาพเสื่อมโทรม ไฟติดบ้างไม่ติดบ้าง กับเสาที่ถูกพ่นลาย และหลากหลายเรื่องราวของผู้คนในห้องขนาดเล็กจิ๋วของแฟลตตำรวจ สวนทางกับจำนวนคนในห้อง ทั้งภรรยา ลูกคนที่หนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม พานจะมีคนที่สี่ ต้องอัดกันอยู่ในห้องที่ไม่มีสัดส่วน ผนังและฝ้าจะถล่มลงมาได้ตลอด ภาพบรรยากาศนี้ถูกเล่าผ่าน ‘แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ ร า’ ภาพยนตร์ของ แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน กับเรื่องราวของพี่น้องต่างสายเลือดอย่าง เจน และ แอน แต่กลับมีจุดร่วมอย่างการมีพ่อเป็นตำรวจและอาศัยอยู่ในแฟลตเดียวกัน จนเติบโตและสนิทสนมเป็นความสัมพันธ์ที่แล้วแต่จะนิยาม ชีวิตที่สนุกแสนสุขสงบในแฟลต ช่วงต้นของภาพยนตร์เป็นความพยายามเล่า ‘ความสุข’ ของเหล่าเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในแฟลต ทั้งภาพของเจนที่ออกมายืนกินไอศกรีมรอแอนกลับบ้านพร้อมกัน นักเรียนกลุ่มใหญ่ที่พากันออกไปเรียกตุ๊กตุ๊กหน้าโรงเรียน และถึงแม้จะเรียกตุ๊กตุ๊กในราคาเดิมไม่สำเร็จก็ยังมีรถตำรวจที่พาไปส่งถึงแฟลตได้ หลังเลิกเรียนก็มาใช้เวลาว่างด้วยกัน ตีแบดฯ นอนเล่น กินขนม ไปจนถึงแอบทำอะไรป่วนๆ อย่างการลักลอบเข้าห้องของตำรวจที่ไม่ค่อยอยู่เพื่อเข้าไปดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ฟรีๆ เสมือนชีวิตนี้ไม่มีปัญหาและได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นกับเพื่อนที่ตนสนิทใจ แต่เราจะรู้สึกเอะใจตั้งแต่ภาพความสุขนั้นถูกฉายด้วยพื้นหลังของสภาพตึก ห้อง หรือบรรยากาศที่ดูเสียดสีอย่างสุดซึ้ง ก่อนภาพยนตร์จะพาเราไปเจอความเป็นจริงว่าชีวิตของเด็กแฟลตมันไม่ได้สนุกและสวยงามเท่าไรนัก ด้วยปัญหาคุณภาพชีวิตราคาถูกสวนทางกับค่าครองชีพราคาแพงที่ไม่ว่าใครในแฟลตแห่งนี้ก็ไม่สามารถจ่ายมันได้ ชีวิตที่แตกต่างจากระยะห่างของชั้นในแฟลต ผสมปนเปไปกับ ‘ความห่างระหว่างชั้น’ ของเจนและแอน สองพี่น้องที่สนิทและรักกันปานจะกลืนกิน แต่ความเป็นจริงนั้น […]

วันวานยังหวานอยู่ส่อง 5 ย่านในกรุงเทพฯ จากหนังรักเก่าไทยที่อยากชวนทุกคนไปตามรอยในเดือนแห่งความรัก

ป่านนี้เหมยลี่จะได้แต่งงานหรือยังนะ… สวัสดีวันวาเลนไทน์ Urban Creature ขอชวนย้อนเวลาไปหา 5 ภาพยนตร์รักไทยที่ถ่ายทำในแต่ละย่านของกรุงเทพมหานคร ชวนให้คิดถึงเหล่าตัวละครในเรื่องที่เมื่อเวลาผ่านไปขนาดนี้ โต้งกับมิวก็คงโตจนทำงาน หรือเหมยลี่อาจจะได้แต่งงานมีลูกไปแล้วหรือเปล่า นอกจากตัวละครในเรื่องจะโตไปตามกาลเวลา เราอยากชี้ชวนให้สำรวจความเปลี่ยนแปลงของย่านที่ฉากต่างๆ ในภาพยนตร์ได้บันทึกความทรงจำของพื้นที่นั้นไว้ สยาม : รักแห่งสยาม  ย้อนเวลากลับไป 18 ปีกับ ‘รักแห่งสยาม’ ภาพยนตร์รักตลอดกาลที่พาผู้ชมไปสำรวจวัยมัธยมฯ Puppy Love และเรื่องราวของโต้งกับมิว จนเพลง ‘กันและกัน’ ติดหูมาโดยตลอด  ไม่เพียงแต่ความรักและเรื่องราวชีวิตวัยมัธยมฯ ชวนคิดถึง พื้นที่อย่างสยามก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้การเล่าความรักครั้งนี้สมบูรณ์แบบ ด้วยความเป็นวัยรุ่นตลอดกาลของสถานที่แห่งนี้ แน่นอนว่าถ้านึกถึงรักแห่งสยามก็ต้องมี ‘เปี๊ยก ดีเจสยาม’ ตามมาด้วย แต่ปัจจุบันร้านนี้ได้ปิดตัวไปและกลายเป็นพื้นที่ของร้านชานมไข่มุกแทน หรือฉากในความทรงจำอย่างฉากที่โต้งบอกเลิกโดนัทกลางลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยท์ ตอนนี้ก็เป็นพื้นที่โล่งๆ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์พอยท์, ดิจิตอล เกตเวย์ หรือห้างฯ ข้างสยามสแควร์วัน ตามแต่ชื่อที่ใครจะอยากเรียก และเพียงแค่เอ่ยคำว่าลานน้ำพุเซ็นเตอร์พอยท์ ก็เหมือนจะกลายเป็นมุกดักแก่กันไปเสียแล้ว  แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ต้องยอมรับว่าสถานที่นี้เคยเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นและความทรงจำเรื่องรักใคร่ในวัยเยาว์ ยิ่งเมื่อมีกระแสการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ใช้งานได้อย่างหลากหลายเข้ามาผสมรวม พลวัตการเปลี่ยนแปลงของสยามจึงโตตามเหล่าตัวละครในเรื่องและเราหลายๆ คนเช่นกัน นอกจากนั้น หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ของสยามเมื่อปี 2565 พื้นที่แห่งนี้ถูกปรับปรุงทัศนียภาพและการใช้สอยขนานใหญ่ […]

Flowerrarium ร้านจัดดอกไม้และสวนขวดย่านเมืองเก่าของอดีตผู้แทนยาที่อยากให้ทุกคนมอบดอกไม้แก่กันได้โดยไม่ต้องรอโอกาสพิเศษ

จำได้ไหมว่าได้รับดอกไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาเห็นใครสักคนถือช่อดอกไม้ หรือเดินผ่านร้านดอกไม้ ก็มักจะชวนให้นึกถึงโอกาสพิเศษอย่างวันเกิด วาเลนไทน์ คริสต์มาส หรือวันครบรอบ แถมยังต้องเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษพอจะมอบดอกไม้ให้กันอีกด้วย แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วโอกาสในการให้ดอกไม้ไม่จำเป็นต้องจำกัดไว้เพียงแค่วันบางวันหรือบางช่วงเวลา แต่เราให้ดอกไม้กันได้ทุกวัน เพราะมันเป็นของที่เพียงได้รับก็รู้สึกดีแล้ว หรือการให้ดอกไม้ขอบคุณตัวเองที่ผ่านวันทั้งดีและแย่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร พอพูดถึงเรื่องดอกไม้ คอลัมน์ Urban Guide เลยขอพาไปรู้จักกับ ‘เยีย-อารยา ภู่ผึ้ง’ เจ้าของ Flowerrarium ร้านต้นไม้-ดอกไม้ใจกลางย่านเมืองเก่าอย่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เขตการค้าเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่เพิ่งรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นตึกสีขาวเหลืองตัดสีเขียวสวยเด่น เราเดินเข้าไปในชุมชนเลื่อนฤทธิ์จนสุดซอย ก่อนเจอเข้ากับเหล่าต้นไม้ ดอกไม้ วางประดับสวยงามอยู่หน้าร้าน พร้อมป้ายสีเขียวเข้มของร้านดูสบายตา สดชื่น ต้อนรับวันใหม่ จากผู้แทนยาสู่เจ้าของร้านดอกไม้ “เยียทำงานเป็นผู้แทนยามาสิบกว่าปี จนรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัว เลยเริ่มมองหาแพสชันใหม่ๆ ลองเวิร์กช็อปไปเรื่อยๆ จนได้มาเจอว่าเราชอบดอกไม้กับสวนขวด รวมถึงตัวเราที่ชื่อเยียก็มาจากดอกเยียบีรา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ ก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องดอกไม้มาเรื่อยๆ” หลังส่งตัวเองศึกษาการจัดต้นไม้-ดอกไม้มาสักพัก ก็ถึงเวลาเปิดร้านที่เยียใช้คำว่า เปิดขึ้นได้ด้วย ‘จังหวะ’ จังหวะที่อยากจัดดอกไม้ จังหวะที่บังเอิญมาเจอชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จังหวะที่ชอบตึกเก่าในย่านสงบ และจังหวะที่อยากให้คนได้รับดอกไม้ที่ตรงใจ ตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่เยียเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในความสนใจเรื่องดอกไม้ของคนไทย […]

‘โซล เกาหลีใต้’ เมืองที่เชื่อว่าฝุ่นจะหมด ฟ้าจะใสในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยนโยบาย Clearer Seoul 2030

ท้องฟ้ามัวๆ สีเทาอมเหลืองกลายเป็นภาพที่ชินตาของประชาชนชาวเกาหลีใต้ ถึงขนาดกลายเป็นมุกตลกว่า เหตุผลที่คนเกาหลีใต้ชอบสวมเสื้อผ้าสีดำก็เพราะว่าถ้าใส่เสื้อผ้าสีอ่อนหรือสีขาวออกจากบ้านไป กลับบ้านมาจะได้เสื้อสีเทาเพราะฝุ่นแทน แต่วันนี้มุกตลกเหล่านั้นอาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา (2025) อินสตาแกรมทางการของรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ลงประกาศเฉลิมฉลองวันที่เกาหลีใต้มีอากาศสะอาด ฝุ่นลดลงสูงสุดในรอบหลายปี ด้วยหลากหลายนโยบายและความพยายามของชาวเกาหลีใต้ โดยนโยบายที่โดดเด่นที่สุดก็คือ Clearer Seoul 2030 ที่สืบเนื่องมาจากนโยบาย Clear Seoul ในปี 2007 ซึ่งเป็นความพยายามสร้างอากาศสะอาดให้ชาวแทฮันมินกุกได้หายใจกันอย่างเต็มปอดยาวนานกว่า 20 ปี เปลี่ยนรถบนท้องถนนเพื่อลดฝุ่น หลังพบว่า 28 เปอร์เซ็นต์ของสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 เกิดจากรถยนต์ดีเซล รัฐบาลเกาหลีใต้จึงออกแผนเปลี่ยนรถยนต์ดีเซลทั่วเมืองให้กลายเป็นรถที่ปล่อยมลพิษต่ำ โดยเฉพาะรถที่ต้องวิ่งระยะใกล้เข้าตัวเมือง ซอยบ้านเรือนและเขตที่พักอาศัยบ่อยๆ อย่างรถขนส่งพัสดุ รถบัสเข้าเมือง (Town Bus) หรือแม้กระทั่งรถทำความสะอาด รวมถึงมอเตอร์ไซค์ส่งอาหาร เนื่องจากวัฒนธรรมการสั่งอาหารเดลิเวอรีที่เติบโตมากในเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบอาหารคุ้นหน้าคุ้นตาอย่างต็อกโบกี ไก่ทอด หรือเบอร์เกอร์ง่ายๆ สำหรับมื้อดึก อีกทั้งวัฒนธรรม ‘ฮนจก’ หรือวัฒนธรรมการชอบอยู่คนเดียวของคนเกาหลีใต้ ขัดกับร้านอาหารที่มักเสิร์ฟเป็นมื้อใหญ่และบางร้านไม่รับลูกค้าเพียงคนเดียวสำหรับการเปิดโต๊ะ ความนิยมสั่งข้าวมากินที่บ้านจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มอเตอร์ไซค์ส่งอาหารต้องวิ่งวนอยู่ในเขตเมืองตลอดทั้งวันทั้งคืน มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ถูกสั่งให้เปลี่ยนเป็นยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมด เพราะจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในต้นตอปัญหาที่ปล่อยมลพิษสูง นอกจากนั้น […]

ช่วงกึ่งกลางระหว่างความเป็นและความตาย กับหลากหลายความสัมพันธ์ที่บรรจบกัน ณ ร้านโคมไฟใน Light Shop

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* ค่ำคืนนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ในซอยเปลี่ยวที่มืดมิด ฝนตกพรำ พื้นเต็มไปด้วยน้ำขังและความสกปรก กลางซอยมีร้านขายโคมไฟขนาดคูหากว่าๆ ที่เปิดไฟสว่างไสวทั้งคืน ทันทีที่ประตูเปิดออก เสียงกระดิ่งประตูดังขึ้นเบาๆ พร้อมด้วยชายหนุ่มสวมแว่นสีชาที่ยืนขึ้นต้อนรับกับคำถามว่า “มีอะไรให้ช่วยครับ” นี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งซีรีส์ในจักรวาลซีรีส์ชื่อดังอย่าง Moving ซึ่งดัดแปลงจากเว็บตูนของนักเขียน ‘คังฟูล’ มาสู่ซีรีส์ความยาว 8 ตอน เรื่อง ‘Light Shop’ ที่เส้นแบ่งระหว่างคนเป็นกับคนตายมาบรรจบกันที่ร้านโคมไฟ ด้วยฉากเปิดเรื่องที่ชายหนุ่มเดินลงมาจากรถเมล์ในเส้นทางกลับบ้าน ที่ป้ายรถเมล์นั้นเขาได้เจอกับหญิงสาวใส่ชุดสีขาว ผมยาวสีดำปิดหน้าปิดตา นั่งรออยู่พร้อมกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ทุกวัน ควบคู่กับช่วงต้นของเรื่องที่เหล่าตัวละครเหมือนจะมีความสามารถในการมองเห็นผีได้ คล้ายจะพาเราเข้าไปอยู่ในโลกหลังความตายเหมือนซีรีส์ขนหัวลุกทั่วๆ ไป ก่อนเรื่องราวจะตัดสลับระหว่างโลกกึ่งความเป็นความตายและห้องพักผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยโคม่า ที่มีเหล่าพยาบาลสาวคอยดูแล จนผู้ชมหลายคนถึงกับเอ่ยปากว่า ช่วง 4 ตอนแรกกับ 4 ตอนหลังของซีรีส์เหมือนกำลังเล่าคนละเรื่องกันอยู่ แล้วจึงนำมาสู่ครึ่งหลังของ Light Shop ที่เฉลยถึงจุดร่วมของเหล่าตัวละครซึ่งประสบอุบัติเหตุบนรถเมล์คันเดียวกันจนอยู่ในภาวะกึ่งเป็นกึ่งตาย คล้ายกำลังใช้วันเวลาวนลูปในซอยเปลี่ยวที่หนีออกไปไม่ได้ พร้อมประเด็นสำคัญว่ามนุษย์ทุกคนมีหลอดไฟเป็นของตัวเองคนละหนึ่งหลอด เมื่อเราอยู่ในช่วงระหว่างความเป็นและความตาย เรามีหน้าที่พาตัวเองไปยังร้านโคมไฟและหาหลอดไฟของตนเองให้เจอจึงจะกลับไปยังโลกมนุษย์ได้ แต่ถ้าหากเราหาร้านโคมไฟไม่เจอ หรือตัดสินใจทิ้งหลอดไฟอันริบหรี่ของตนเองไปนั้น เราก็จะจากโลกนี้ไปเหมือนคนตายคนอื่นๆ ความยากลำบากขณะมีชีวิตของคนชายขอบ ความพิการ “ทำไมจำฉันไม่ได้สักที” กลายเป็นคำถามที่ทำให้ ‘จียอง’ หรือผีสาวชุดขาวคอยตามติด ‘ฮยอนมิน’ […]

‘Bloom for New Gen’ โปรเจกต์ออกแบบ E-Book และ AR ที่อยากชวนคนรุ่นใหม่มารดน้ำพรวนดินให้ปากคลองตลาดผลิบานกว่าที่เคย

กลิ่นกรุ่นดอกดาวเรือง เฟื่องฟุ้งด้วยไฮเดรนเยีย แม้นเช้าแสนงัวเงีย ทานตะวันกลับพร้อมรับแสง อีกเดซี่ฤากล้วยไม้ จัดวางไว้เป็นช่อดอก ม่วงขาวสวยไม่หลอก มีทุกตรอกบานไม่รู้โรย พร้อมรักแลมะลิ แสนปีติคู่มาลัย กุหลาบหอมลอยกลิ่นไกล เรียงข้างไว้ใกล้ดอกบัว ปัจจุบัน ‘ปากคลองตลาด’ กลายเป็นพื้นที่เช็กอินยอดฮิตด้วยดอกไม้สวยๆ สักช่อกับวิวสะพานพุทธฯ ก่อนพระอาทิตย์ตก แต่รู้หรือไม่ว่า 10 ดอกไม้ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเหล่าดอกไม้อัตลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ “ตอนนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาเที่ยวปากคลองตลาดเยอะมาก แต่เขายังไม่รู้ว่าที่นี่มีอะไรบ้างนอกจากขายดอกไม้ เพราะที่นี่ไม่มีป้ายบอกทาง ร้านอาหาร คาเฟ่อะไรก็เข้าถึงยาก ไม่รู้ต้องไปที่ไหน” ถ้อยคำบอกเล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ Bloom for New Gen ที่ ‘ชะเอม-ปัณรสี ศะศินิล’ นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับเพื่อนๆ นักออกแบบ WHITE HAT. Team ตั้งใจจัดทำ Guidebook ในรูปแบบ E-Book และ AR สำหรับพื้นที่ปากคลองตลาดขึ้นมา “เราเป็นนักวาดดอกไม้ […]

“เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัว” ข้อบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ กทม. กับปัญหาสัตว์เลี้ยงล้นเมือง

เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัวกัน ช่วงนี้เทรนด์ Pet Parenting คนหันมาเลี้ยงสัตว์แทนลูกกันมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดที่น้อยกว่า รวมถึงสภาพสังคมไทยที่ไม่เอื้อกับการเลี้ยงมนุษย์สักคนขึ้นมา การมีหมาแมวตัวน้อยคอยชุบชูจิตใจในวันเหนื่อยล้า เป็นครอบครัวเดียวกัน และมีเพื่อนในวันเหงาๆ เจ้าสัตว์น้อยสี่ขา (หรืออาจจะน้อยกว่า) จึงเป็นทางเลือกของคนส่วนมากในยุคนี้ สัตว์ล้นบ้าน เจ้าสี่ขาล้นเมือง ทว่าในระหว่างการเลี้ยงดูที่คนให้ความสนใจกับสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น ปรากฏว่าเรากลับเห็นข่าวเกี่ยวกับจำนวนสัตว์เลี้ยงที่มากเกินขนาดพื้นที่ จนกลายเป็นเหตุรบกวนเพื่อนบ้านและบริเวณโดยรอบ หรือเมื่อมีจำนวนมากเกินกว่าที่บ้านหลังหนึ่งจะรับดูแลไหว ก็กลายเป็นว่าเจ้าของกลับทิ้งน้อง ปล่อยกลายเป็นสัตว์จรจัดเสียอย่างนั้น อย่างช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีข่าวการร้องเรียนเพื่อนบ้านที่เลี้ยงแมวจำนวนมากถึง 50 ตัวในพื้นที่บ้าน ในหมู่บ้านย่านรามอินทรา ซึ่งเป็นเหตุให้ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านตลอดเวลา ร่วมกับความเป็นห่วงต่อสุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ของแมวเหล่านั้น จากการต้องอัดกันอยู่ในพื้นที่ขนาดไม่เหมาะสมกับปริมาณ ประกอบกับข้อมูลของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 67 แห่งในกรุงเทพฯ พบว่า ปี 2567 กรุงเทพมหานครมีจำนวนสุนัขและแมวมากถึง 198,688 ตัว โดยแบ่งเป็นสุนัขที่มีเจ้าของ 53,991 ตัว จรจัด 8,945 ตัว รวม 62,936 ตัว และแมวที่มีเจ้าของ 115,827 ตัว จรจัด 19,925 ตัว รวม […]

เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท

ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ  2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.