ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

11 ลาย 11 อัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าท้องถิ่น จากกางเกงช้าง สู่ ‘กางเกงลายประจำจังหวัด’

ในช่วงที่ผ่านมา ‘กางเกงช้าง’ กลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนทำให้กางเกงช้างในรูปแบบผ้าสกรีนลาย สวมใส่สบาย กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และจากกระแสความนิยมในกางเกงช้างนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหลายแห่ง เกิดไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้จังหวัดของตัวเองผ่าน ‘กางเกงประจำจังหวัด’ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบของกางเกงช้างเดิมมาเปลี่ยนลวดลายใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงของดีประจำถิ่นของตัวเองเข้าไป ว่าแต่กางเกงประจำจังหวัดที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้จะมีหน้าตาอย่างไร และมีของจังหวัดอะไรบ้าง Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปดู 11 ลายกางเกงประจำจังหวัดกัน กางเกงแมว (โคราช) ‘กางเกงแมว’ เป็นหนึ่งในผลงานจากผู้เข้าประกวดโครงการ KORAT Monogram ที่ต้องการผลักดัน Soft Power ภายในจังหวัด จนออกมาเป็นกางเกงลายโมโนแกรมที่รวมอัตลักษณ์เด่นๆ ของโคราช ทั้งสัตว์ประจำจังหวัดอย่าง ‘แมวสีสวาด’ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ในพื้นที่ว่าแมวโคราช เจ้าเหมียวสีเทาเงางามที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก รวมถึงดอกสาธร ปราสาทหิน ผัดหมี่โคราช และประตูชุมพล สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อที่ : แมวโคราช กางเกงปล้าง (PLA.PLA TOO.TOO สมุทรสงคราม) ‘กางเกงปล้าง’ เกิดจากการรวมคำระหว่าง ‘กางเกงลายช้าง’ และ ‘กางเกงลายปลา’ เข้าด้วยกัน เป็นผลงานการออกแบบของ ‘ปาป้า-ทูทู่ สตูดิโอ’ […]

แวะคาเฟ่ เดินดูฝาท่อ ตะลุยตลาด นั่งเรือไฟฟ้าคลองผดุงฯ ชมวิถีชีวิตย่านเก่า แวะท่องเที่ยวเลียบคลองแบบ Low Carbon

การเดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ นับว่าสะดวกสบายเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับต่างจังหวัด เพราะนอกจากขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้าที่พาเราไปยังสถานที่ต่างๆ แล้ว ก็ยังมีขนส่งสาธารณะอีกประเภทที่พาเราเดินทางบนผิวน้ำลำคลองอย่าง ‘เรือ’ ด้วย เรือขนส่งในกรุงเทพฯ มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือหางยาว เรือเจ้าพระยา หรือแม้กระทั่ง ‘เรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์’ ที่ ‘คลองผดุงกรุงเกษม’ ก็มีให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง ชวนให้ชาวเมืองได้ออกไปสนุกกับการสัมผัสวิถีชีวิต ‘เลียบคลองผดุงกรุงเกษม’ ผ่านการท่องเที่ยวแบบลดการปล่อยมลพิษทางน้ำและอากาศ สุดสัปดาห์นี้ ใครกำลังมองหาที่เที่ยวอยู่แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนไปล่องเรือไฟฟ้าแบบ Low Carbon ที่คลองผดุงกรุงเกษม เปิดรูต One Day Trip พร้อมแวะพักผ่อนท่องเที่ยวชิลๆ กับ 3 ตลาด 3 คาเฟ่ตลอดทั้งเส้นทางล่องเรือกัน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เลียบคลองผดุงกรุงเกษม มีต้นสายที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่ท่าเรือตลาดเทวราช รวมทั้งสิ้น 11 ท่าเรือ ประกอบด้วยท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง, ท่าเรือหัวลำโพง, ท่าเรือนพวงศ์, ท่าเรือยศเส, ท่าเรือกระทรวงพลังงาน, ท่าเรือแยกหลานหลวง, ท่าเรือนครสวรรค์, ท่าเรือราชดำเนินนอก, ท่าเรือประชาธิปไตย, ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือตลาดเทวราช ในระยะทาง […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

จับรถไปเดินชม Bangkok Design Week 2024 กับกิจกรรมไฮไลต์ 4 ย่านในหนึ่งวัน

สองวันสุดท้ายกับ ‘Bangkok Design Week 2024’ เทศกาลงานออกแบบประจำปีของชาวกรุงเทพฯ ที่ชวนให้เราได้ออกจากบ้านไปเดินชมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง ภายใต้คอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ปีนี้ Bangkok Design Week ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, เยาวราช, หัวลำโพง, อารีย์-ประดิพัทธ์, บางโพ-เกียกกาย, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู, เกษตรฯ-บางบัว, พร้อมพงษ์, สยาม-ราชเทวี, บางกอกใหญ่-วังเดิม, พระโขนง-บางนา, บางมด และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ กับ 500 โปรแกรมที่ต่างหยิบยกของดีประจำย่านมานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะไปจอยน์งานนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้ง แต่ใครที่ยังอยากไปอีก หรือใครที่กำลังเล็งว่าจะไปย่านไหนดี Urban Creature ขออาสานำเส้นทางเดินเที่ยวงาน BKKDW 2024 ในหนึ่งวัน พร้อมกับกิจกรรมไฮไลต์ที่ห้ามพลาดจาก 4 ย่านยอดฮิตอย่างเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, ปากคลองตลาด […]

My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก

ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]

ชวนคนเจ้าอารมณ์มาสาดความโกรธ เศร้า เหงา สุข กับ 5 โซนสนามอารมณ์ในงาน ‘GOOD MOOD’ ที่โกดังเสริมสุข

หากมีสักพื้นที่ให้เราได้ปลดปล่อยความคิด ระเบิดอารมณ์ และระบายสิ่งที่อัดอั้นมาทั้งปีก็คงจะดีไม่น้อย เพราะในแต่ละวันเราต่างเจอเรื่องราวมากมายที่ก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโกรธ เศร้า เหงา หรือสุข สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งถ้าเราเอาแต่เก็บความรู้สึกเหล่านี้ไว้ คงไม่ดีต่อสุขภาพใจในอนาคตแน่ๆ จึงเกิดเป็นงาน ‘GOOD MOOD’ กิจกรรมส่งท้ายปีที่เกิดจากความร่วมมือของ ‘Eyedropper Fill’ บริษัทออกแบบสร้างสรรค์ที่ใช้สื่อผสมผสานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สร้างสรรค์กิจกรรม ‘พาใจกลับบ้าน’ จนคว้ารางวัลจากงาน Adman Awards 2023 ไปครอง และ ‘Good Hood Services’ เทศกาลดนตรีพร้อมร้านอาหารที่จัดกันเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้เป็นการชวนคนเจ้าอารมณ์มาสานสัมพันธ์กันที่ ‘โกดังเสริมสุข’ เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ผ่านคำถามชวนคิดและกิจกรรมอินเตอร์แอ็กทีฟที่รับบทเป็น ‘สนามอารมณ์’ รองรับ 5 อารมณ์ ผ่าน 5 โซนกิจกรรมที่เปิดให้ทุกคนได้สาดอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน GOOD RAGE : เตะกระสอบทราย ระบายความโกรธ เริ่มต้นกันที่โซนแรกที่เต็มไปด้วยสีแดงซึ่งแสดงถึงอารมณ์โกรธอย่าง ‘GOOD RAGE’ ที่มากับคอนเซปต์ ‘รักห่วย ป่วยการเมือง เคืองเจ้านาย ไม่พอใจตัวเอง’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.