ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์จากบ้านญี่ปุ่น 80 ปี ที่ช่วยเพิ่มการท่องเที่ยวและลดจำนวนบ้านร้างในประเทศ

บ้านที่ถูกทิ้งร้างเป็นปัญหาใหญ่ของหลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลต้องมองหาวิธีแก้ไขเพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของบ้านร้างในประเทศ ซึ่งในเมืองโยบุโกะ จังหวัดซากะ ก็มีบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอายุกว่า 80 ปีถูกทิ้งร้างเอาไว้เหมือนกัน สถาปนิกจาก ‘CASE-REAL’ จึงได้ออกแบบและเปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็น ‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมือง โดยเมืองโยบุโกะนั้นเป็นที่รู้จักในเรื่องการล่าวาฬในสมัยเอโดะ และมีชื่อเสียงในเรื่องการตกหมึก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จำนวนประชากรในย่านนี้ก็ลดน้อยลงเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้มีบ้านถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการนำบ้านว่างหลังนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังว่าจะช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าเดิม บ้านที่ CASE-REAL เลือกนั้นตั้งอยู่ริมถนนโยบุโกะ ถนนที่เต็มไปด้วยอาหารทะเลท้องถิ่นและมีแผงขายสินค้าตั้งอยู่ทุกเช้า และแม้ว่าบ้านหลังนี้จะทรุดโทรมและมีปัญหาด้านโครงสร้างอยู่บ้าง แต่ CASE-REAL ได้สำรวจและเลือกจุดแข็งของบ้านมาปรับปรุงให้เป็นโครงสร้างและฟังก์ชันที่เหมาะสมกับการทำโรงเบียร์ โดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตเบียร์ในห้องโถงแบบเปิด ส่วนด้านหน้าเป็นกระจกทั้งสองชั้นเพื่อให้ด้านในมองเห็นถนนด้านนอก ส่วนด้านนอกก็สามารถมองเข้ามาเห็นบรรยากาศในโรงเบียร์ที่ประกอบด้วยโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนำสเตนเลสมาใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์และที่จับ เพื่อสะท้อนถึงอุปกรณ์ในการต้มเบียร์ด้วย Sources :CASE-REAL | tinyurl.com/wymyf2f6Designboom | tinyurl.com/4dekx5d4

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]

‘Dream Stadium สนามของเด็กมีฝัน’ โปรเจกต์ฟื้นฟูสนามฟุตบอลทรุดโทรมด้วยลายกัปตันซึบาสะและนักบอลไทย

ไอดอลที่เรายกให้เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตไม่ได้มีแค่คนที่มีอยู่จริงเท่านั้น แต่อาจเป็นตัวละครจากหนังสือ หนัง การ์ตูน หรือสื่อบันเทิงต่างๆ ที่เป็นตัวจุดประกายทำให้เกิดแรงบันดาลใจและสร้างความฝันให้ใครหลายคน ‘กัปตันซึบาสะ’ มังงะฟุตบอลชื่อดังก็ถือว่าเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่าคนรักกีฬาฟุตบอล และถูกนำมาใช้เป็นไอเดียโปรเจกต์ ‘Dream Stadium…สนามของเด็กมีฝัน’ เพื่อต่อยอดความหวัง ความฝัน และความมุ่งมั่นในเส้นทางฟุตบอลของเด็กไทย ‘Dream Stadium…สนามของเด็กมีฝัน’ เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่าง Think Curve – คิดไซด์โค้ง, บิ๊กวัน กรุ๊ป (Big One Group), แกรนด์สปอร์ต และสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในการฟื้นฟูสนามฟุตบอลที่ทรุดโทรมทั่วกรุงเทพฯ ให้กลับมาสวยงาม ด้วยการนำเอาป็อปคัลเจอร์และกีฬามาดึงดูดให้คนในชุมชนกลับมาเล่นฟุตบอลกันอีกครั้ง ผ่านการแต่งเติมภาพ ‘กัปตันซึบาสะ’ มังงะฟุตบอลชื่อดังผลงานของ ‘อ.โยอิจิ ทาคาฮาชิ’ ลงบนสนาม ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปี 2564 หลายคนอาจเคยเห็น ‘กัปตันซึบาสะ’ ที่สนามฟุตบอลใน ‘สวนเฉลิมหล้า เขตราชเทวี’ ซึ่งเป็นการโปรโมตการแข่งขันเจลีกมาบ้างแล้ว แต่คราวนี้กัปตันซึบาสะมาปรากฏตัวที่สนามฟุตบอลในชุมชนแฟลตห้วยขวาง พร้อมกับ ‘บุนนาค สิงห์ประเสริฐ’ กัปตันทีมชาติไทย และ ‘สามพี่น้องกรสวัสดิ์ ฟ้าลั่น-สกุล-ชนะ’ […]

Komae-yu โรงอาบน้ำสาธารณะในญี่ปุ่น พื้นที่แห่งความสะอาดและสดชื่นของชุมชน

ถ้าพูดถึงเรื่องการอาบน้ำร่วมกัน ประเทศที่เราต้องคิดถึงอันดับแรกเลยคือ ‘ญี่ปุ่น’ เพราะว่าโรงอาบน้ำสาธารณะและออนเซ็นนับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในวัฒนธรรมการอาบน้ำของผู้คนในแดนปลาดิบ ยิ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดโรงอาบน้ำสาธารณะขึ้นหลายแห่งเพื่อปรับปรุงสุขอนามัยสาธารณะ และโรงอาบน้ำยังทำหน้าที่เป็นสถานที่นัดหมายพบปะของผู้คนด้วย กว่าครึ่งศตวรรษต่อมา โรงอาบน้ำสาธารณะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยเนื่องจากทุกครัวเรือนมีห้องและอ่างอาบน้ำเป็นของตัวเอง ทำให้การอาบน้ำกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ส่งผลให้โรงอาบน้ำหายไปจากเมืองในชั่วพริบตาเดียว เพื่อสืบทอดให้โรงอาบน้ำสาธารณะยังเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มอบความสดชื่นให้กับชาวบ้านชาวเมือง แผนฟื้นฟูโรงอาบน้ำจึงเกิดขึ้นโดยสตูดิโอสถาปนิกอย่าง Schemata ที่เคยรีโนเวต Koganeyu ซึ่งเป็นเซนโตท้องถิ่นแห่งหนึ่งในโตเกียวที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนกลายเป็นโรงอาบน้ำหลังเก่าที่มีหน้าตาสวยงามและน่าใช้ มาคราวนี้ Schemata ได้ออกแบบโรงอาบน้ำสาธารณะแห่งที่สองอย่าง ‘Komae-yu’ ซึ่งเป็นโรงอาบน้ำสาธารณะแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีพื้นที่ใช้สอยชั้นบน และมี ‘Bandai’ หรือเคาน์เตอร์ที่มีไว้ต้อนรับผู้ใช้บริการ จะจิบเบียร์ ดื่มนม หรือรับประทานอาหารก็ทำได้ ทั้งยังได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับวิวภูเขาไฟฟูจิบนผนังกระเบื้องได้ด้วย และเนื่องจากสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในชานเมืองของโคมาเอะซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางและมีธรรมชาติที่ชุ่มฉ่ำ ทางเจ้าของและสถาปนิกจึงได้ออกแบบโรงอาบน้ำสาธารณะด้วยการผสมผสานความสดชื่นของสีเขียวเข้ากับห้องซาวน่าแสนสบาย เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัว นอกเหนือจากสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องของการอาบน้ำ สถานที่แห่งนี้ยังตั้งอยู่ในชุมชนและอยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟ ความสะดวกทั้งเรื่องการใช้งานและการเดินทางนับตั้งแต่เปิดให้บริการ ทำให้โรงอาบน้ำแห่งนี้ค่อยๆ กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยแท้จริง Source : ArchDaily | bit.ly/3O3jWjr

Tutiru Café คาเฟ่และร้านดอกไม้จากมือเกษตรกรญี่ปุ่น ที่อยากให้ดอกเบญจมาศไม่ถูกใช้แค่ในงานศพและงานแต่ง

สำหรับคนไทย ดอกไม้ในตระกูลเบญจมาศ (Chrysanthemum) ถือเป็นดอกไม้ทั่วไปที่เห็นบ่อยครั้งในการจัดช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้ตระกูลนี้กลับถูกใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานแต่งงานและงานศพเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกับดอกเบญจมาศในชีวิตประจำวันมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศในเมือง Marugame จังหวัด Kagawa ประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจเปิด ‘Tutiru Café’ คาเฟ่ที่มีการขายดอกเบญจมาศร่วมด้วย ภายใต้การออกแบบของสตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘Fathom’ ที่แบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมแห่งนี้ออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรก นักออกแบบได้เปลี่ยนโกดังเก่าในฟาร์มให้เป็นบริเวณที่รวมร้านดอกไม้และคาเฟ่เข้าไว้ด้วยกัน และตกแต่งด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้มีความหมายซ่อนอยู่ เส้นตรงในแนวนอนสื่อถึงผืนดินอันกว้างใหญ่ ส่วนเส้นตรงในแนวตั้งแทนการเจริญเติบโตของดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ สำหรับพื้นที่อีกส่วนที่แยกตัวออกมาจะถูกใช้เป็นโกดังเก็บดอกเบญจมาศโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับดอกไม้เหล่านี้ นอกจากนี้ ภายในคาเฟ่ Tutiru Café ยังมีโต๊ะแบบเคาน์เตอร์บาร์ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นโกดังและโต๊ะสำหรับทำเวิร์กช็อปจัดดอกไม้ ตามความตั้งใจเดิมของเจ้าของร้านและ Fathom ที่ต้องการให้ดอกเบญจมาศกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำวันของผู้เข้าใช้บริการได้ Sources : ArchDaily | t.ly/G-XfFathom | t.ly/5QOW

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]

โรงเรียนอนุบาลใต้ทางรถไฟยกระดับในโตเกียว บรรยากาศอบอุ่น มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้ง ไอเดียเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์และปลอดภัย

ในความหนาแน่นของเมืองและผู้คน การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยคือหนึ่งในโจทย์สำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกยังคงหาทางออกอยู่เสมอ วันนี้เราอยากพาไปดูหนึ่งไอเดียสำหรับการออกแบบพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สถานที่แห่งนี้คือ ‘โรงเรียนอนุบาล’ ที่ตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับในมาจิยะ ใจกลางเมืองโตเกียว ทางรถไฟที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อมีการเกิดขึ้นของทางรถไฟยกระดับแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือมีร้านค้าและบ้านเรือนถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ทางด้านล่าง ก่อเกิดเป็นภูมิทัศน์ใจกลางเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย  ในเวลาต่อมา ชาวเมืองถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับการเสริมโครงสร้างยกระดับจากแผ่นดินไหว สถานที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างให้ว่างเปล่าเป็นเวลานาน และได้เริ่มต้นนำกลับมาใช้ใหม่โดยปรับปรุงพื้นที่ด้วยการสร้างโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เมืองกำลังขาดแคลนเพราะไม่มีที่ทางจะสร้างนั่นเอง โดยโครงสร้างทางยกระดับที่ตัดผ่านตัวเมืองแห่งนี้มีคานที่สูงประมาณ 3.9 เมตร และมีระยะความกว้างระหว่างเสาประมาณ 6 เมตร ซึ่งกว้างขวางพอเหมาะมากสำหรับการสร้างพื้นที่ห้องเรียนหรือห้องอเนกประสงค์ต่างๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และทางสถาปนิกก็ยังทำการออกแบบหลังคาขนาดใหญ่ยาว 70 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกันระหว่างขนาดของโครงสร้างยกระดับและขนาดของสถาปัตยกรรม รวมถึงยังทำผนังของโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ให้ปลอดภัยและห่างไกลอันตรายจากความเร่งรีบของการจราจรบนท้องถนน ภายใต้สะพานยกระดับซึ่งเป็นหลังคาขนาดใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้งที่ไม่เหมือนใคร สร้างขึ้นจากการซ้อนทับของโครงสร้าง และโครงสร้างที่สูงก็กลายเป็นหลังคาช่วยปกป้องสนามเด็กเล่นจากแดดจ้า ฝนชุ่มช่ำ และทำให้แสงยังสอดส่องได้อย่างเพียงพอ นอกจากเครื่องเล่นแล้ว โรงเรียนอนุบาลยังมีลานซักล้างและลานจอดจักรยานด้วย จากพื้นที่ที่คนเมืองรู้สึกอันตรายอย่างใต้ชายคาทางยกระดับ ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยและกลายเป็นอีกสถานที่ในเมืองที่ทำให้ผู้คนได้เพลิดเพลินไปกับดอกไม้และต้นไม้ที่ปลูกบริเวณโรงเรียน และเมื่อมีการสัญจรผ่านไปบนท้องถนนก็จะทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นชีวิตประจำวันของเด็กๆ เป็นเสมือนฉากการเติบโตขึ้นของอนาคตประชากรของเมืองที่เลื่อนเปลี่ยนผ่านไปในทุกวัน Source :ArchDaily | t.ly/Oq4jd

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.