ประเทศญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย มักมีของเล่นใหม่ๆ มาให้เราตื่นเต้นเสมอ ล่าสุดบริษัทสตาร์ทอัป Zip Infrastructure คิดแก้ไขปัญหารถติดในเมืองโตเกียว ด้วยการพัฒนาระบบการเดินทางรูปแบบใหม่ในชื่อ ‘Zippar’ ซึ่งดูละม้ายคล้ายกระเช้าลอยฟ้าโรปเวย์ที่เรานั่งกัน
Zippar นอกจากจะมาพร้อมหน้าตาสุดเท่แล้ว มันเป็นกระเช้าไร้คนขับที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แถมงบประมาณในการสร้างนั้นก็อยู่แค่เพียง 1 ใน 5 เท่าของรถไฟโมโนเรล ซึ่ง 1 กระเช้าจุผู้โดยสารได้ราว 12 คน และจะขนส่งคนได้ถึง 3,000 คนใน 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ Zippar ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบระบบที่เมืองโอดาวาระ จังหวัดคานางาวะ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น โดยทีมผู้พัฒนาตั้งเป้าว่า เจ้ากระเช้าลอยฟ้านี้จะใช้งานได้จริงในปี 2025
RELATED POSTS
Hakata อาณาจักรขนส่งสาธารณะที่รวมทุกการเดินทางไว้ในที่เดียว
เรื่อง
ปณิตา พิชิตหฤทัย
‘ฮากาตะ’ ถ้าได้ยินชื่อนี้แล้วคิดถึงอะไรกันบ้าง กลิ่นหอมกรุ่นของราเม็งน้ำซุปกระดูกหมู ตลาด Christmas Market ย่านช้อปปิงขนาดใหญ่ที่เดินซื้อของเชื่อมต่อกันได้ไม่สะดุด หรือสถานีชื่อดังที่ถ้าอยากท่องเที่ยวในภูมิภาคคิวชูให้ครบๆ สักครั้งต้องใช้สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อ และหากใครเคยได้ยินเรื่องที่รัฐบาลไทยสนใจรวมขนส่งสาธารณะไว้ในที่เดียวเพื่อให้การเดินทางในไทยไร้รอยต่อ โมเดลที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นต้นแบบก็คือ ฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง คอลัมน์ City in Focus จึงขอชวนทุกคนมาดูย่านที่ทำให้การเดินทางด้วยรถ ราง บัสเป็นเรื่องง่าย แสนสบาย เชื่อมต่อรถ-ราง-บัส ในพื้นที่เล็กๆ ของฮากาตะแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบไปด้วยศูนย์รวมการเดินทางทั้งบัส แท็กซี่ รถไฟฟ้าใต้ดิน ชินคันเซ็น และรถไฟ JR โดยเหมาะทั้งสำหรับการเดินทางในเมืองฟุกุโอกะเอง และเดินทางออกไปต่างเมือง ไม่ว่าจะโตเกียว นาโกยา หรือไปดู World Expo ที่โอซากาก็ยังได้ นอกจากสถานีกลางนี้จะรวบรวมทุกการเดินทางเอาไว้แล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีฮากาตะยังมีความพิเศษตรงที่สถานีนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฟุกุโอกะ ในระยะที่ไปถึงพื้นที่สำคัญๆ ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด เช่น หากจะไปช้อปปิงที่แหล่งวัยรุ่นอย่างเทนจินก็ห่างเพียง 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 5 นาทีเท่านั้น หรือจะไปสนามบินก็ใช้เวลาเพียง 2 สถานีเช่นเดียวกัน โดยปกติด้วยความยิ่งใหญ่ของรถยนต์ ราง […]
เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง
เรื่อง
ณิชกมล บุญประเสริฐ
อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]
ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง
เรื่อง
Urban Creature
‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]
‘Offline Love’ เรียลลิตี้หาคู่จากญี่ปุ่น ที่ให้พรหมลิขิตทำงานคู่กับแผนที่ ผ่านการเดินเมืองแบบไม่พึ่งพาสมาร์ตโฟน
เรื่อง
Urban Creature
การติดตามเรื่องราวความรักในมุมมองของคนที่สามกลายเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง จนทำให้มีรายการแนวหาคู่ออกมาให้เราได้เห็นอยู่เรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Offline Love’ รายการเรียลลิตี้ญี่ปุ่นจาก Netflix ที่จะพาคนดูอย่างเราไปลุ้นเรื่องราวความรักระหว่างคนแปลกหน้ากัน แต่จะให้เดตกันเฉยๆ ก็ธรรมดาไป แทนที่จะเป็นการจับมารวมกลุ่มเพื่อหาคู่รักที่เคมีเข้ากันที่สุด รายการนี้กลับไม่ให้ผู้เข้าร่วมรายการใช้สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ออนไลน์ใดๆ และเลือกให้หนังสือนำเที่ยวพร้อมแผนที่ เพื่อให้แต่ละคนออกไปผจญความแปลกใหม่ของเมืองที่ไม่รู้จัก เพราะรายการนี้แม้จะเป็นของญี่ปุ่น แต่สถานที่ถ่ายทำคือเมือง ‘Nice’ ประเทศฝรั่งเศส พูดให้โรแมนติกคือ รายการนำไอเดียเรื่องของพรหมลิขิตและการตกหลุมรักในสมัยก่อนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนมาใช้ หวังให้แต่ละคนพบเจอกันด้วยความบังเอิญจากการเดินตามท้องถนน แล้วสังเกตมือที่ถือหนังสือนำเที่ยวกับแผนที่ของกันและกัน ดังนั้นนอกจากจะได้ลุ้นว่าใครจะเจอกับใคร และคู่ไหนจะตกหลุมรักกันแล้ว การผจญภัยในเมือง Nice ของผู้เข้าร่วมรายการทั้งสิบคนยังทำให้เราได้เห็นถึงความสวยงามของบรรยากาศรอบตัว ความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการเดินเมืองที่สะดวกสบายและเอื้อต่อการตกหลุมรักกันอีกด้วย ติดตามเส้นทางพรหมลิขิตใน Offline Love ทั้ง 10 ตอนได้ทาง Netflix หรือชมตัวอย่างที่ tinyurl.com/4yzt8r4t