การให้เมืองและพื้นที่สีเขียวอยู่รวมกันอาจฟังดูเป็นเรื่องยากที่จะให้ทั้ง 2 อย่างเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน แต่คงไม่เกินความสามารถของประเทศเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพอย่างสิงคโปร์แน่นอน
‘Singapore Green Plan 2030’ คือแผนพัฒนาเมืองสิงคโปร์ให้อยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มกว่า 1 ล้านต้น ขยายพื้นที่ปั่นจักรยานให้มากขึ้น แบนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลให้ได้ภายในปี 2025 ลดปริมาณขยะฝังกลบต่อครัวเรือนลง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วหันมาพัฒนาโครงสร้างการรีไซเคิลขยะแทน ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อขยะที่พวกเขาสร้าง รวมไปถึงเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น 5 เท่า นอกจากนี้ ตึกที่สร้างภายในปี 2030 จะต้องใช้พลังงานต่ำสุดตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด
ด้วยแผนนี้เอง สิงคโปร์จะกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก พื้นที่ 1 ใน 3 ของเมืองจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดมลพิษแล้ว ยังนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย
RELATED POSTS
สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด
เรื่อง
พัชรพล สมพื้น
จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]
‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน
เรื่อง
พัชรพล สมพื้น
‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]
‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก
เรื่อง
ณิชกมล บุญประเสริฐ
เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดย […]
สัมผัส ‘สิงคโปร์’ มุมใหม่กับ ‘Made in Singapore’ เดินสำรวจย่านและสัมผัสธรรมชาติในพื้นที่เมือง
เรื่อง
ณิชกมล บุญประเสริฐ
‘สิงคโปร์’ ประเทศขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างธรรมชาติให้อยู่ร่วมกับชีวิตในเมืองได้อย่างสมดุล แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อพูดถึงสิงคโปร์และสถานที่ท่องเที่ยว หลายครั้งเราก็มักจะคิดถึงแต่จุดท่องเที่ยวแบบเดิมหรือแลนด์มาร์กที่ไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ต้องแวะไปเยี่ยมชมทุกครั้ง แม้จะคลาสสิกแต่กลับทำให้การท่องเที่ยวนั้นไม่แปลกใหม่ขึ้นเลย เพราะเหตุนี้ แคมเปญ ‘Made in Singapore’ โดย ‘การท่องเที่ยวสิงคโปร์’ (Singapore Tourism Board : STB) จึงเกิดขึ้นเพื่อชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ในสิงคโปร์ได้อย่างเต็มที่และต่างไปจากเดิม ผ่านจุดท่องเที่ยวธรรมชาติต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ในทุกที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมอยู่ในเกาะแห่งนี้ ดังนั้นหากใครมีแพลนจะไปท่องเที่ยวสิงคโปร์เร็วๆ นี้ และยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง คอลัมน์ Urban Guide ขอแนะนำ ‘4 สถานที่’ และ ‘2 กิจกรรม’ ที่จะเปลี่ยนการเที่ยวสิงคโปร์แบบธรรมดาให้พิเศษมากกว่าเดิม รับรองว่าต่อให้เป็นการกลับไปเที่ยวซ้ำอีกครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อหรือจำเจแน่นอน Jewel Changi สัมผัสธรรมชาติกลางศูนย์การค้าในสนามบิน ไปถึงสิงคโปร์ทั้งทีไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กแห่งใหม่อย่าง ‘Jewel Changi’ ที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารโดมกระจก มาพร้อม ‘น้ำตก’ ความสูงกว่า 40 เมตร รายล้อมด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ จนแทบไม่เชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าภายในสนามบิน โดมขนาดใหญ่ที่เห็นประกอบด้วยกระจกกว่า 9,000 […]