‘Cultural Pavilion’ ฮอลล์คอนเสิร์ตเคลื่อนที่ในออสเตรีย ที่รื้อถอน ประกอบใหม่ และขยายได้ตามต้องการ

คอนเสิร์ตและงานเทศกาลต่างๆ มักถูกเพ่งเล็งว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ที่ประเทศออสเตรีย มีฮอลล์คอนเสิร์ตที่เน้นเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย ‘Cultural Pavilion’ คือฮอลล์คอนเสิร์ตเคลื่อนที่แห่งใหม่ในเมือง Semmering ที่สร้างโดยบริษัทสถาปนิก ‘Vienna-based Mostlikely Architecture’ โดยออกแบบมาเพื่อให้มีความผสมผสานและกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของภูเขา Semmering เพื่อความกลมกลืนกับป่าด้านข้าง การก่อสร้าง Pavilion เลือกใช้ไม้สนที่ผ่านการรับรองในท้องถิ่นเท่านั้น โดยมีการแปรรูปต้นสนทั้งหมดประมาณ 75 ตันในการสร้าง ส่วนระบบปรับอากาศก็ใช้การระบายอากาศโดยธรรมชาติอย่างเหมาะสม และซัปพอร์ตด้วยหลักการ ‘ชิมนีย์เอฟเฟกต์’ (Chimney Effect) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานสูงของระบบทางเทคนิคที่อาจส่งผลต่อกระทบสิ่งแวดล้อมรอบด้าน นอกจากนี้ Cultural Pavilion ยังใช้วิธีการออกแบบกึ่งสำเร็จรูป ที่ถอดและประกอบตัวสิ่งก่อสร้างใหม่ได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และหากในอนาคตจะมีเทศกาลขนาดใหญ่มาใช้พื้นที่แห่งนี้ ตัว Pavilion ก็สามารถดัดแปลงและขยายพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละงานได้เช่นกัน Cultural Pavilion ถูกออกแบบมาอย่างเรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วยเส้นและความลาดเอียงในการตกแต่งภายใน ทั้งม่าน องค์ประกอบทางเทคนิค และแสงที่ส่องเข้ามา รวมถึงตัวอาคารที่มีหน้าต่างแบบพาโนรามาขนาดใหญ่ มองเห็นทิวทัศน์ของป่าได้ไกลเกือบถึงเวียนนา ทำให้ผู้เข้าร่วมงานในเทศกาลต่างๆ ได้ชมวิวโดยรอบในระหว่างที่ดื่มด่ำกับงานแสดงภายในไปพร้อมๆ กัน Sources :Designboom | bit.ly/3Vy5RxZMostlikely | bit.ly/44w0gwj

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

buildbetternow.co นิทรรศการจาก COP26 รวม 17 แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่เล่าเรื่องผ่านภาพ เสียง และวิดีโอจากทั่วโลก

นอกจากการแสดงวิสัยทัศน์เรื่องสิ่งแวดล้อมของบรรดาผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties) ในปีนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์ ‘Build Better Now’ ที่เปิดให้ผู้ชมทางบ้านจากทั่วมุมโลกเข้าชมได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.buildbetternow.co  Build Better Now เป็นนิทรรศการออนไลน์แบบ 360 องศาที่จัดแสดงไอเดียและโปรเจกต์ที่ออกแบบเกี่ยวกับ ‘Built Environment’ หรือแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับปัญหา Climate Change โดยมีแนวคิดว่าการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นตึกสูง อาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์จะพบกับโครงการสถาปัตยกรรมต้นแบบจากทั่วโลกกว่า 17 โครงการที่คัดสรรโดย UK Green Building Council (UKGBC) เช่น Favela […]

โรงละครอังกฤษเตรียมสร้าง Croquet Pavilion ศาลาที่ทำจากจุกแชมเปญและเปลือกหอย

ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ย่อมมีขยะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีนโยบายกำจัดขยะต่างกันออกไป สิ่งที่เราจะช่วยกันได้ง่ายที่สุด ก็คงจะเป็นการนำขยะบางส่วนที่ยังพอใช้ได้มารีไซเคิลเพื่อลดขยะ สตูดิโอออกแบบ BakerBrown จึงปิ้งไอเดียสร้างอาคารจากขยะและวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพวกเขาดีไซน์ศาลาในสวนให้โรงโอเปร่า ‘Glyndebourne’ ของประเทศอังกฤษ โดยการนำขยะจากงานเลี้ยงที่จัดในโรงละครมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น นำ ‘จุกแชมเปญ’ มาใช้แทนปูนปลาสเตอร์ นำ ‘เปลือกหอยนางรม’ และ ‘เศษแก้ว’ มาทำกระเบื้องมุงหลังคาแทนการใช้คอนกรีต รวมถึง ‘ไม้แอช’ พืชท้องถิ่นมาทำเป็นโครงสร้างหลักของตัวศาลา  ไม่เพียงเท่านั้น ศาลาแห่งนี้ยังถูกออกแบบให้แยกโครงสร้างออกจากกันได้ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับอาคารอื่นๆ ในอนาคต แถมยังมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการก่อสร้างอีกด้วย ศาลารักษ์โลกนี้มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2021 หลังรวบรวมขยะจากเทศกาลโอเปร่าที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.