โปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ไอศกรีมจากพลาสติกรีไซเคิล ทางเลือกการกำจัดขยะในอนาคต

ดูเหมือนว่าขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไม่ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีกระบวนการรีไซเคิลที่ช่วยลดขยะพลาสติกได้ แต่งานรีไซเคิลในปัจจุบันก็มักเข้าสู่กระบวนการออกแบบขึ้นมาใหม่พร้อมกับเรซินหรือวัสดุอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกครั้ง จากปัญหานี้ทำให้ ‘Eleonora Ortolani’ นักศึกษาปริญญาโทจาก Central Saint Martins ได้แรงบันดาลใจในการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายของเธอ เนื่องจากมองว่าการรีไซเคิลอาจไม่ได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกที่แท้จริง เธอจึงตั้งข้อสงสัยว่า มีวิธีไหนที่ทำให้คนกำจัดพลาสติกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการ ‘กิน’ ได้บ้าง หลังจากคิดค้นมานาน ในที่สุดก็เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ซึ่งเธอได้ ‘Hamid Ghoddusi’ หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัย London Metropolitan และ ‘Joanna Sadler’ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Edinburgh ที่ใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสังเคราะห์ ‘วานิลลิน’ จากพลาสติกมาร่วมงานด้วยกัน วานิลลินคือสารให้กลิ่นสังเคราะห์คล้ายกลิ่นวานิลลาที่เป็นทางเลือกที่ราคาถูกกว่าวานิลลาธรรมชาติ และมักผลิตจากน้ำมันดิบที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เลือกโมเลกุลของสารชนิดนี้มาใช้ในการทดลอง ในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบเอนไซม์ที่สามารถสลายพันธะที่แข็งแกร่งระหว่างโมเลกุลในโครงสร้างของพลาสติก เพื่อให้เอนไซม์อีกตัวสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่เชื่อมโยงเหล่านี้ให้เป็นวานิลลิน Ortolani อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเอนไซม์ตัวแรกทำลายโครงสร้างลง มันจะไม่เป็นพลาสติกอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครที่ได้ลองชิมสารชนิดนี้ เพราะถือเป็นสารสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์จะไม่อนุญาตให้ชิมจนกว่าจะมั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อร่างกายจริงๆ ตอนนี้ Guilty Flavours เป็นไอศกรีมที่แช่อยู่ในตู้เย็น และแสดงอยู่ในนิทรรศการ CSM […]

‘CATUP’ สตาร์ทอัพที่อยากช่วยลดขยะบนโลก ด้วยการรีไซเคิลพลาสติกให้เป็นโดมแมวและปากกา

ปัจจุบันนี้ผู้คนตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น จึงหันมาใส่ใจกับการแยกขยะเพื่อความสะดวกต่อการคัดแยกและเข้าสู่กระบวนการทำลายอย่างถูกวิธี ซึ่งบางคนอาจเลือกเก็บขยะพลาสติกไว้ขาย แต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าจะส่งต่อให้ใครและจะนำไปทำอะไรได้บ้าง Urban Creature ขอแนะนำให้รู้จักกับสตาร์ทอัพ ‘CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ’ ที่เกิดขึ้นโดย ‘นคร แขฉายแสง’ วิศวกรผู้อยากเปลี่ยนขยะให้เป็นของที่มีคุณค่ามากขึ้น นครบอกกับเราว่า จุดเริ่มต้นของ CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ นี้เกิดจากความชอบในงานประดิษฐ์ บวกกับตัวเขาสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกอยู่แล้ว และเป็นช่วงว่างหลังจากที่เพิ่งออกจากงานพอดี ทำให้เขาอยากสร้างสรรค์สินค้าที่มาจากกระบวนการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก แรกเริ่มนั้นเขาซื้อฝาพลาสติกบางส่วนจาก ‘Precious Plastic Bangkok’ องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการรับบริจาคขยะรีไซเคิล และแบ่งซื้อฝาขวดน้ำบางส่วนจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัสดุในการผลิตสินค้า โดยสินค้าจากขยะพลาสติกของ CATUP มีทั้งหมดสองประเภท คือ โดมแมวและปากกา นครอธิบายต่ออีกว่า ทีแรกเขาตั้งใจจะทำเพียงโดมแมวเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม จึงขยายไปสู่การผลิตปากกาจากฝาขวดน้ำเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง “กระบวนการผลิตสินค้าทั้งสองอย่างนั้น ทาง CATUP ทำขึ้นเองทั้งหมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการแยกสีฝาขวดน้ำ ทำความสะอาด ย่อยขยะ หรือแม้แต่การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยความที่เป็นวิศวกรมาก่อน เราก็ประดิษฐ์เครื่องจักรและทำแม่พิมพ์สำหรับสินค้าทั้งสองอย่างนี้ด้วยตัวเอง “ทาง CATUP ยังมองถึงการผลิตสิ่งของที่ต้องใช้ขยะปริมาณมากๆ ด้วย เพราะปากกาหนึ่งแท่งที่เราทำนั้นมาจากฝาขวดน้ำเพียงเจ็ดฝา ส่วนโดมแมวหนึ่งหลังใช้ขยะพลาสติกที่เป็นขวดน้ำยาซักผ้าปริมาณห้าลิตรเพียงสองขวดเท่านั้น ทำให้เราอาจยังกำจัดขยะไปได้ไม่มากนัก” […]

‘Recycoex’ แพลตฟอร์มออนไลน์ไทย สำหรับซื้อขายและเข้ารับขยะรีไซเคิล หมดปัญหาแยกขยะแล้วไปไหน

หลายครอบครัวอาจกำลังประสบปัญหา ‘การสะสมขยะที่รีไซเคิลได้’ เพื่อนำไปขายต่อ หรือถ้าจะให้ขนขยะออกไปขายด้วยตัวเอง หลายคนก็อาจไม่รู้แหล่งที่ขยะของเราจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก ‘Recycoex’ แพลตฟอร์มที่จะมารับขยะถึงที่และนำขยะเหล่านี้ไปแปลงโฉมใหม่อีกครั้ง Recycoex เป็นแพลตฟอร์มของไทยสำหรับรับซื้อและขายขยะรีไซเคิล โดยขยะรีไซเคิลที่รับซื้อมีทั้งหมด 9 ประเภท คือ ขวดน้ำ PET, กระป๋อง, พลาสติกยืด/อ่อน, กล่องเครื่องดื่ม/แก้วกระดาษ, ถุงขนม/ซองกาแฟ, ขวดแก้ว, พลาสติก HDPE, กระดาษ และเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่นต่างๆ ก่อนหน้านี้ กรรมการของบริษัท Recycoex เป็นสถาปนิกที่ทำธุรกิจก่อสร้างที่ผลิตและจำหน่ายไม้เทียม ซึ่งไม้เทียมนี้ส่วนหนึ่งทำมาจากพลาสติก HDPE โดยเป็นการอัปไซเคิลจากขยะรีไซเคิล จึงมีแนวความคิดที่จะรวบรวมขยะรีไซเคิลอย่างไรให้ได้มากที่สุด จึงเกิดเป็น Recycoex สำหรับซื้อขายขยะรีไซเคิลขึ้นมา โดย Recycoex ตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยจัดการขยะในประเทศไทยผ่านแพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ประโยชน์และเส้นทางของขยะทุกประเภท เพราะก่อนหน้านี้ ขยะประเภทพลาสติกยืด กล่องนม ถุงขนม เป็นขยะกำพร้าที่รถซาเล้งไม่ค่อยรับซื้อ หรือเป็นขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ แต่ทาง Recycoex เลือกที่จะรับซื้อขยะกำพร้าเหล่านี้โดยเฉพาะกล่องนม ก่อนจะนำไปทำเป็นอิฐบล็อกในขั้นตอนต่อๆ ไป เพื่อนำขยะเหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง สำหรับการทำงานของแพลตฟอร์มนี้ […]

ที่พักชั่วคราวของผู้ลี้ภัยและคนไร้บ้าน Maawa X บ้านกระดาษแข็งพับง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก และรีไซเคิลได้

ที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญกับชีวิต หากใครไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง การมีเต็นท์สักหลังที่สามารถใช้หลับนอนและพกพาไปไหนก็ได้ก็คงจะเพียงพอ แต่เต็นท์ก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก รวมไปถึงขั้นตอนการประกอบที่ยุ่งยากจนอาจทำให้เสียเวลา ‘Maawa’ บริษัทสตาร์ทอัปจากสหราชอาณาจักร จึงได้ออกแบบและผลิต ‘Maawa X’ บ้านป็อปอัปที่สามารถพับเก็บใส่กระเป๋าเดินทางและพกพาไปได้ทุกที่ด้วยน้ำหนักเพียง 13.6 กิโลกรัม สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน สถานการณ์ผู้ลี้ภัย หรือแม้แต่ค่ายของกลุ่มคนไร้บ้านที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่แข็งแรง  ตัวบ้านกระดาษสามารถกางออกและใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยประกอบ เมื่อกางออกมาแล้ว บ้านจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ผู้ใหญ่เข้าไปนอนได้ 1 – 2 คน ส่วนวัสดุทำขึ้นจากกระดาษแข็งที่กันน้ำได้ ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเต็นท์ เพราะย่อยสลายทางชีวภาพหรือนำไปรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ บ้านกระดาษยังรองรับพลังงานแสงอาทิตย์ ภายในบ้านจึงมีแผงควบคุมอัจฉริยะที่ควบคุมพื้นที่ต่างๆ ของบ้าน และช่วยให้องค์กรต่างๆ ติดตามการใช้งานในสถานที่ของผู้ลี้ภัยได้ด้วย  ปัจจุบัน Maawa X ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการจดสิทธิบัตร โดย Maawa ตั้งเป้าไว้ว่า บ้านป็อปอัปนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวสำหรับบรรดาผู้ลี้ภัยและกลุ่มคนไร้บ้านในพื้นที่ต่างๆ ได้ Sources :DesignTAXI | bit.ly/3LPcWYhMaawa | maawa.coYanko Design | bit.ly/42BEMx5

เครื่องอัดขยะขนาดครัวเรือน ช่วยเปลี่ยนขยะพลาสติกแบบบาง ให้เป็นก้อนอิฐที่ง่ายต่อการรีไซเคิล

ปกติแล้วผู้คนมักเก็บ ‘ถุงพลาสติก’ ที่ได้จากการซื้อของไว้เพื่อการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป ถึงแม้ว่าถุงประเภทนี้จะนำกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง แต่ความแข็งแรงอาจจะไม่คงทน ยิ่งถ้าเก็บไว้นานๆ ก็อาจจะแห้งกรอบจนใช้งานไม่ได้อีกเลย ก่อนจะเปลี่ยนสภาพเป็นขยะที่ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีกว่าจะย่อยสลายได้ เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นบ้าน สตาร์ทอัปสัญชาติอเมริกันอย่าง Clear Drop จึงได้ออกแบบ ‘เครื่องอัดพลาสติกแบบอ่อน (Soft Plastic Compactor : SPC)’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการพลาสติกในครัวเรือนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย ถ้าดูผ่านๆ เจ้าเครื่องอัดพลาสติกนี้มีขนาดและหน้าตาคล้ายกับถังขยะในครัวเรือนทั่วไป เหมาะที่จะตั้งไว้ใช้งานตามมุมต่างๆ ของบ้าน ส่วนการทำงานของ SPC ก็ง่ายมากๆ แค่นำพลาสติกประเภทอ่อน เช่น ถุงพลาสติกหรือฟิล์มบรรจุภัณฑ์ ใส่เข้าไป ตัวเครื่องจะอัดขยะเหล่านั้นจนกลายเป็นลูกบาศก์แข็ง จากนั้นจะได้ก้อนอิฐที่สามารถนำไปใช้งานต่อ หรือจะทิ้งในขยะรีไซเคิลเพื่อส่งไปยังโรงงานคัดแยกขยะต่อไปก็ได้ มากไปกว่านั้น เครื่องอัดพลาสติกประเภทนี้ยังปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม เพราะมันปล่อยควันในระดับที่กฎอนามัยและความปลอดภัยกำหนดไว้ เครื่อง SPC จะเปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าในเดือนมกราคม 2566 ทาง bit.ly/3VXTpXM หากใครที่กำลังมองหาวิธีเปลี่ยนขยะพลาสติกในบ้านให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็อาจลองสั่งเจ้าเครื่องนี้มาใช้ดูได้นะ ดูวิธีใช้งานเครื่องอัดขยะพลาสติกได้ที่ shorturl.at/fQX34 Source : DesignTAXI | bit.ly/3uOuFFj 

Nespresso จับมือกับไปรษณีย์ไทยลดขยะ ชวนคอกาแฟส่งคืนแคปซูลกลับมารีไซเคิล ส่งฟรีที่ไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ

รู้ไหมว่าแคปซูล Nespresso ส่งคืนกลับไปรีไซเคิลได้ และตัวแคปซูลเองก็ผลิตมาจากวัสดุรีไซเคิลเช่นกัน  หลายคนให้ความสำคัญกับเรื่องจัดการขยะ อาจจะกังวลว่าการดื่มกาแฟแคปซูลจะเป็นการสร้างขยะในทุกๆ วันหรือเปล่า เพราะโดยปกติแล้วคนที่ชอบดื่มกาแฟ ก็จะดื่มอยู่ที่วันละ 1 – 2 แก้ว แต่ละเดือนคงมีขยะแคปซูลไม่ต่ำกว่า 30 ชิ้นแน่นอน  ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคเท่านั้นที่เห็นปัญหานี้ แต่ทาง Nespresso เองก็คิดเช่นกันว่าการสร้างขยะจำนวนมหาศาลต่อวันไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลดีกับโลกเลย การรักษ์โลกจึงไม่ควรจะเป็นแค่เทรนด์เท่านั้น แต่ควรเป็นสิ่งที่แบรนด์และผู้บริโภคทำไปพร้อมๆ กันได้  ในฐานะที่ Nespresso เป็นแบรนด์ที่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงออกแบบให้ ​ทุกจุดสัมผัสที่ลูกค้าเผชิญแฝงไปด้วยการสื่อสารด้านความยั่งยืนทุกมิติและทุกขั้นตอน แม้แต่ตัวแคปซูลเองก็ใช้วัสดุ ‘อะลูมิเนียม’ เพื่อให้สามารถรีไซเคิลไปทำแคปซูลกาแฟได้ใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และยังคงรณรงค์ให้ลูกค้านำแคปซูลกลับมาส่งเสมอ  เพื่อความสะดวกในการส่งคืนแคปซูลรีไซเคิล ปัจจุบัน Nespresso ได้เปิดช่องทางในการส่งคืนแคปซูลหลากหลายมากขึ้น อาทิ ส่งคืนที่เนสเพรสโซบูติก ทุกสาขาใกล้บ้าน ส่งคืนที่พนักงานส่งของ ผ่านบริการรับส่งถึงบ้าน และล่าสุด ทาง Nespresso ยังได้จับมือกับไปรษณีย์ไทย เปิดบริการ Recycle by Post ให้ลูกค้าสามารถนำแคปซูลใช้แล้วมาคืนได้ ‘ฟรี’ ที่ออฟฟิศไปรษณีย์กว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องใส่ถุงสีดำของ […]

Bruk ดีไซน์กล่องนมรีไซเคิลง่าย เพียงฉีกตรงกลาง ก็ลดขั้นตอนแยกขยะ

ขยะกล่องนมเป็นขยะที่มีปริมาณมหาศาลมากในแต่ละวัน ซึ่งการจัดการขยะประเภทนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘บรรจุภัณฑ์กระดาษ’ จริงๆ แล้วมีทั้งพลาสติกและอะลูมิเนียมเคลือบอยู่ข้างใน ซึ่งไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลง่ายอย่างที่คิดเลย  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยพยายามจะแยกขยะกล่องนมด้วยตัวเอง คงรู้ว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายไม่ใช่ง่ายๆ ถ้าจะให้กล่องนมรีไซเคิลได้หลังจากดื่มแล้วต้องนำไปล้าง ตาก และลอกพลาสติกออก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คนไม่อยากแยกขยะ และทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไม่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างที่เคลมไว้ Pushan Panda ดีไซเนอร์จากซานฟรานซิสโกผู้เป็นเจ้าของดีไซน์เจ้ากล่อง Bruk มองเห็นปัญหานี้ จึงอยากหาวิธีในการช่วยลดขั้นตอนการแยกขยะก่อนนำไปรีไซเคิล ด้วยการออกแบบกล่องนมขึ้นมาใหม่ ที่ใช้แค่นิ้วฉีกตรงกลางกล่องก็แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกันได้ง่ายๆ แค่นำพลาสติกข้างในไปล้าง แล้วทิ้งลงถังแยกขยะก็นำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายขึ้น  หลายคนอาจจะคิดว่ากล่องบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้ยังไงก็เป็นกระดาษอยู่แล้ว ต้องรีไซเคิลได้สิ แต่จริงๆ แล้วกล่องนม น้ำผลไม้ ซอสมะเขือเทศ แม้จะทำจากกระดาษเป็นหลักแต่ภายในกล่องจะมีชั้นบางๆ ของพลาสติกหรืออะลูมิเนียมอยู่ ต่างจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว โลหะ หรือพลาสติกที่รีไซเคิลง่ายกว่ามาก เพราะไม่ต้องแยกส่วนประกอบหลายชั้น  Panda เล่าว่า “กระบวนการรีไซเคิลที่แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกัน เป็นกระบวนการพิเศษที่ทั้งแพงและหายาก ทำให้กล่องเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกาถูกรีไซเคิลไปแค่ 16% เท่านั้น ส่วนในยุโรปมีเพียง 49% ดีไซน์กล่อง Bruk จึงออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาต้องรีไซเคิล ผู้บริโภคเพียงแค่ฉีกรอยประระหว่างฝาขวดนม HDPE ออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้แยกกระดาษแข็งออกจากพลาสติกได้” นอกจากจะรีไซเคิลง่ายแล้ว Panda […]

ไปรษณีย์ไทยเปิดไดรฟ์ทรู 18 จุดทั่วประเทศ รับบริจาคกล่องและซองพัสดุไม่ใช้แล้ว ผลิตชุดโต๊ะ-เก้าอี้ให้โรงเรียน ตชด.

สายช้อปปิงออนไลน์คงคุ้นเคยกับปัญหาบ้านรกและเต็มไปด้วยกล่อง ลัง และซองพัสดุหลายขนาด จะทิ้งก็เสียดายเพราะสภาพยังดีอยู่ แต่จะใช้ประโยชน์ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคน ส่งต่อกล่องและซองไม่ใช้แล้วร่วมแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX #3’ เพื่อรีไซเคิลเป็นโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไปรษณีย์ reBOX #3 คือโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของไปรษณีย์ไทย และ SCGP ภายใต้แนวคิด ‘reBOX to School’ เพื่อรับบริจาคกล่องและซองพัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของอะไรก็ได้ ไม่จำกัดยี่ห้อ หลังจากนั้นจะนำไปผลิตเป็นชุดโต๊ะและเก้าอี้กระดาษ และส่งมอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในช่วงปลายปีนี้ ความพิเศษของปีนี้ ไปรษณีย์ไทยเผยมิติใหม่ของการบริจาค เปิดตัวจุด Drive & Drop ที่ทำการไปรษณีย์ 18 แห่งทั่วไทย เพื่อเอื้อให้การบริจาคง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู สามเสนใน  2) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู หลักสี่  3) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลาดพร้าว  4) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลำลูกกา  5) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู มีนบุรี  6) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู บางพลี                         […]

GREEN ROAD รับบริจาคถุงอาหารแมว เปลี่ยนขยะเป็นบล็อกแมวรักษ์โลก

‘บล็อกแมวรักษ์โลก’ ไอเดียรีไซเคิลขยะพลาสติกสุดน่ารัก ที่เปลี่ยนถุงอาหารแมวให้เป็นบล็อกปูพื้นจากโครงการ GREEN ROAD (กรีนโรด) ถุงอาหารแมวคือขยะพลาสติกประจำบ้านของทาสแมวที่ต้องจัดการทุกๆ เดือน ยิ่งบ้านไหนเลี้ยงแมวเยอะ ก็ยิ่งมีถุงอาหารเยอะตามไปด้วย การจะเอาถุงเหล่านี้ไปรียูสด้วยตัวเองคงไม่ใช่เรื่องง่าย สุดท้ายจึงมักจะทิ้งลงถังขยะไปเฉยๆ  โครงการ GREEN ROAD จึงเปิดรับบริจาคถุงอาหารแมว เพื่อทำบล็อกแมวรักษ์โลก หรือบล็อกที่ผลิตจากถุงอาหารแมวรีไซเคิล 100% โดยไม่ใช้ขยะพลาสติกประเภทอื่นผสมเลย เป็นขยะจากแมวและผลิตออกมาเพื่อทาสแมวโดยเฉพาะ ซึ่งบล็อกแมวรักษ์โลก 1 ตัว สามารถมากำจัดขยะพลาสติกได้ 4.4 กก. (ใช้ถุงอาหารแมว 44 ถุง) หากต้องการต่อให้ได้ 1 ตร.ม. จะต้องใช้ถุงอาหารแมวถึง 44 กก. ตอนนี้สามารถบริจาคได้เรื่อยๆ จนกว่าแมวจะหมดโลก! วิธีทำบล็อกแมวรักษ์โลก 1. ทางโครงการจะนำถุงอาหารแมวที่ได้รับบริจาคทั้งหมดมาบดย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2.5 ซม.  2. นำถุงที่ย่อยแล้วเทลงในเครื่องหลอมขยะพลาสติก (Extruder Machine) ที่อุณหภูมิ 200 – 220 ºC  3. เมื่อถุงพลาสติกหลอมละลายดีแล้ว […]

REX เก้าอี้รีไซเคิลจากขยะ ที่ขายคืนได้หลังไม่ใช้งานแล้ว

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยซื้อเก้าอี้สักตัวมาด้วยความคิดว่าจะใช้ไปนานๆ แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป เก้าอี้ตัวนั้นอาจหมดความหมาย ถูกทิ้งขว้างกลายเป็นขยะชิ้นโตในบ้าน ครั้นจะนำไปทิ้งก็เสียดาย จะขายต่อก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะยึดมั่นในแนวคิดการใช้โปรดักต์อย่างยั่งยืน Ineke Hans ดีไซเนอร์แห่ง Circuform แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติดัตช์ จึงคิดและออกแบบ REX เก้าอี้รีไซเคิลที่ลูกค้าสามารถนำมาขายคืนหลังใช้งานแล้วเป็นเวลานานได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก Hans ต้องการออกแบบเก้าอี้ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผ่านการคิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่จุดกำเนิดไปจนถึงจุดสิ้นสุดของวงจรชีวิตโปรดักต์ เพื่อใช้งานมันให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด REX เป็นเก้าอี้ที่ทำด้วยพลาสติกรีไซเคิลจากอวนจับปลา แปรงสีฟัน ส่วนประกอบเก้าอี้สำนักงาน และขยะอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งแบรนด์จะคืนเงินมัดจำที่รวมในราคาขาย 20 ยูโรให้ลูกค้าเมื่อส่งคืนเก้าอี้หลังไม่ใช้งานแล้ว โดยจะนำมาซ่อมแซมเพื่อใช้งานอีกครั้ง หรือกระทั่งนำมารีไซเคิลเพื่อสร้างเก้าอี้ตัวใหม่ “มันเป็นเก้าอี้ที่จะอยู่ต่อไปอีกนาน แต่ความจริงแล้วผู้คนไม่ได้ใช้งานมันนานเช่นนั้น บางครั้งพวกเขาอยากใช้งานแค่หกเดือน อย่างงานที่จัดขึ้นชั่วคราวหรืออีเวนต์ต่างๆ” Hans อธิบายและเสริมอีกว่าเธออยากเห็นโลกที่บริหารจัดการกับของมือสองอื่นๆ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เก้าอี้ที่เธอออกแบบประกอบด้วยสองส่วนหลัก นั่นคือ ส่วนเบาะนั่งกับขา และพนักพิงแขนที่แยกออกมาโดยสามารถเสียบเข้ากับช่องว่างด้านหลังเบาะ แถมยังเพิ่มที่พักแขนได้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับทุกคน ขณะเดียวกันตัวบริษัทผู้ผลิตเองก็จัดตั้งสถานีรับคืนเก้าอี้ไว้หลายแห่งทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการคืนโปรดักต์ให้ลูกค้า ไม่ใช่แค่ออกแบบแล้ววาดฝันกระบวนการขึ้นมาลอยๆ เท่านั้น เรียกว่าคิดมาครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำจริงๆ Source : dezeen | https://bit.ly/3nLGnNd

ยกระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Starbucks สาขาใหม่ในเซี่ยงไฮ้ ใช้เฉพาะแก้วรียูส และแต่งร้านด้วยวัสดุรีไซเคิล

หลังจากก่อนหน้านี้เคยเปลี่ยนจากหลอดพลาสติกเป็นหลอดกระดาษเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ล่าสุด Starbucks สาขาใหม่ในเซี่ยงไฮ้ จะเลิกเสิร์ฟกาแฟในแก้วกระดาษ และเปลี่ยนแก้วทุกใบในร้านให้เป็นประเภทที่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้เท่านั้น  ไม่เพียงแต่ภาชนะ เพราะการตกแต่งภายในของสาขานี้มีการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้งานมากถึงครึ่งหนึ่งของร้าน รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ เช่นบันได หรือประตูก็ถูกนำมาจากสตาร์บัคส์สาขาอื่นในเมืองที่กำลังอยู่ระหว่างการรีโนเวต พร้อมออกแบบเคาน์เตอร์บาร์ให้แยกชิ้นส่วน และประกอบเข้าด้วยกันใหม่ได้ง่าย เพื่อความสามารถในการเคลื่อนย้ายในอนาคต ร้านกาแฟที่อยากเป็นบ้านหลังที่สามสำหรับทุกคนในสาขานี้ยังมีอีกหลายกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่นำกากกาแฟทั้งหมดไปหมักหรือรีไซเคิล ใช้ใบเสร็จและเมนูแบบดิจิทัลแทนกระดาษ ให้บาริสต้าใส่ผ้ากันเปื้อนที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล และพื้นที่ของร้านจะเปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์ท้องถิ่นนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลกมาจำหน่ายภายใต้แนวคิดการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) ซึ่งเป็นคอนเซปต์เดียวกันกับร้านนี้ด้วย คาเฟ่แห่งนี้ยังใช้หลักการ Greener Store ที่กำหนดมาตรฐานความยั่งยืนต่างๆ เช่นการควบคุมอุณหภูมิ การลดคาร์บอนฟุตพรินต์ การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือการประหยัดน้ำซึ่งถูกนำไปใช้แล้วกับสตาร์บัคส์ 2,000 สาขา ในอเมริกาและแคนาดา ซึ่งสตาร์บัคส์วางแผนจะสร้างหรือปรับปรุงร้านกาแฟอีก 10,000 สาขา ทั่วโลกให้ได้มาตรฐานเดียวกันนี้ในอีก 4 ปีข้างหน้า 

บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน

ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือ​​ขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้  จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.