ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ย่อมมีขยะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีนโยบายกำจัดขยะต่างกันออกไป สิ่งที่เราจะช่วยกันได้ง่ายที่สุด ก็คงจะเป็นการนำขยะบางส่วนที่ยังพอใช้ได้มารีไซเคิลเพื่อลดขยะ
สตูดิโอออกแบบ BakerBrown จึงปิ้งไอเดียสร้างอาคารจากขยะและวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพวกเขาดีไซน์ศาลาในสวนให้โรงโอเปร่า ‘Glyndebourne’ ของประเทศอังกฤษ โดยการนำขยะจากงานเลี้ยงที่จัดในโรงละครมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น นำ ‘จุกแชมเปญ’ มาใช้แทนปูนปลาสเตอร์ นำ ‘เปลือกหอยนางรม’ และ ‘เศษแก้ว’ มาทำกระเบื้องมุงหลังคาแทนการใช้คอนกรีต รวมถึง ‘ไม้แอช’ พืชท้องถิ่นมาทำเป็นโครงสร้างหลักของตัวศาลา
ไม่เพียงเท่านั้น ศาลาแห่งนี้ยังถูกออกแบบให้แยกโครงสร้างออกจากกันได้ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับอาคารอื่นๆ ในอนาคต แถมยังมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการก่อสร้างอีกด้วย
ศาลารักษ์โลกนี้มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2021 หลังรวบรวมขยะจากเทศกาลโอเปร่าที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
RELATED POSTS
ขยะพลาสติกก็เปลี่ยนเป็นงานศิลปะได้ ชมผลงานที่น่าสนใจจากพลาสติกรีไซเคิลได้ที่งาน ‘คาโอ 60 ปี Saving Future Smiles’ มาพร้อมกับนวัตกรรมที่ใส่ใจโลก ใส่ใจคุณ
เรื่อง
Urban Creature
ในมุมมองของการรักษาสิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในการทำลายระบบต่างๆ ไปจนถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ แต่หากได้ทำความเข้าใจเรื่องของขยะพลาสติก จะเห็นได้ว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสร้างคุณค่าและให้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้ เช่นการนำมารีไซเคิลในรูปแบบใหม่ อย่างการเปลี่ยนให้เป็นผลงานศิลปะดีไซน์สวยจากเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงการสร้างคุณค่าให้พลาสติกและตระหนักถึงการสร้างความรู้ในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีศิลปะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและส่งต่อความเข้าใจออกไปให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้ด้วย เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ‘คาโอ’ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในสังคม จากการดำเนินงานตามหลัก ESG (Environment, Society และ Governance) ที่แบรนด์ยึดถือมาโดยตลอด และพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืนทั้งการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ร่วมด้วยกับ 5 ศิลปิน ได้แก่ ‘Melt District’, ‘Benzilla’, ‘Shortbutveryverycute’ และ ‘Asazak’ ที่จะมาช่วยลดขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเครื่องใช้ที่มีดีไซน์ร่วมสมัย โดยทุกคนสามารถไปทำความเข้าใจพร้อมต่อยอดความรู้ และชมงานศิลปะจากขยะพลาสติกกันได้ในนิทรรศการ คาโอ ‘Saving Future Smiles’ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคมนี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์ แต่หากใครอยากรู้เรื่องราวความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คาโอ ก่อนจะไปชมงานนิทรรศการแบบเต็มๆ คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปดูกันว่า คาโอ ดำเนินงานตามหลัก ESG […]
จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง
Urban Creature
เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5
นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ
เรื่อง
Urban Creature
น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4
‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล
เรื่อง
Urban Creature
ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]