หนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตของคนยุคใหม่ คือการออกไปนั่งทำงานตามร้านกาแฟบรรยากาศดีๆ มีเสียงเพลงคลอเบาๆ เคล้ากลิ่นกาแฟหอมๆ แต่เพราะการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้น อาจทำให้เดือนสองเดือนต่อจากนี้เราไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตข้างนอกเต็มที่เหมือนเคย
เราจึงอยากแนะนำเว็บน่ารักๆ ที่ชื่อว่า ‘I Miss My Cafe’ เว็บไซต์ที่จะช่วยแก้เซ็งให้คนที่คิดถึงบรรยากาศคาเฟ่ เมื่อกดเข้าไปทุกคนจะได้เจอกับเสียงจำลองภายในร้านกาแฟ เช่น เสียงเครื่องทำกาแฟ เสียงคนคุยกัน โดยที่ปรับระดับความดังได้ นอกจากนี้ ยังมีเพลงจากในเว็บให้เราเลือกเปิดคลอตามไปด้วยเช่นกัน หรือจะเลือกเพลงโปรดจาก Spotify ก็ได้
วันไหนเหงาๆ ลองเปิดเว็บนี้ขึ้นมา แล้วจำลองบรรยากาศบ้านตัวเองให้เป็นเหมือนคาเฟ่ อาจจะช่วยทำให้เรารู้สึกเบื่อบ้านน้อยลงก็ได้นะ
RELATED POSTS
แวะไปนั่งอ่านหนังสือที่ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ ร้านหนังสือและห้องสมุดเล็กๆ ที่ซ่อนตัวในคาเฟ่ ซอยเจริญกรุง 50
เรื่อง
Urban Creature
นอกจากเจริญกรุงจะเป็นย่านเก่าสุดชิกที่เต็มไปด้วยร้านค้าและคาเฟ่น่าสนใจแล้ว ในซอยเจริญกรุง 50 บนตึกแถวชั้น 3 ของร้านเสื้อผ้ามือสอง Bad County ยังมี ‘Early Day Cafe’ คาเฟ่เล็กๆ ที่เป็นที่ซ่อนตัวของร้านหนังสือและห้องสมุดสุดจิ๋วในชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ อยู่ด้วย ฮ่งนั่งเล่น คือร้านหนังสืออิสระออนไลน์หน้าใหม่ ที่จุดประกายจากการที่เจ้าของร้านอย่าง ‘ป๊อปจัง’ พบห้องสมุดสาธารณะเมืองและร้านหนังสือหลายแห่งในช่วงที่เธอเรียนคอร์สระยะสั้นที่ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อครั้งไปออกงาน Comitia ที่ประเทศญี่ปุ่น ภาพที่เห็นทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจ อยากสร้างร้านหนังสือและห้องสมุดที่ไม่ได้มีแต่หนังสือตัวอักษรหรือคอมิก แต่เป็นพื้นที่ที่รวบรวมสิ่งพิมพ์สนุกๆ ตั้งแต่อาร์ตบุ๊ก ซีน ใบแผ่นพับแจกฟรี ไปจนถึงสูจิบัตรแกลเลอรีที่จัดไปแล้ว เพื่อให้คนที่มาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งพิมพ์เหล่านี้ อีกทั้งที่นี่ยังเปิดโอกาสให้นักวาด นักเขียน และสำนักพิมพ์เล็กๆ ได้มีที่วางขายผลงาน โดยมีฮ่งนั่งเล่นเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนองานของศิลปินทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น เพื่อช่วยผลักดันวงการนี้ในทางหนึ่ง ส่วนชื่อ ‘ฮ่งนั่งเล่น’ มาจากคำว่า ‘本’ (hon) ที่อ่านออกเสียงว่า ‘ฮ่น’ หรือ ‘ฮ่ง’ แปลว่าหนังสือในภาษาญี่ปุ่น บวกกับคำว่า ‘นั่งเล่น’ ด้วยความตั้งใจที่อยากทำให้คนที่เข้ามาในพื้นที่รู้สึกเหมือนมานั่งอ่านหนังสือในห้องนั่งเล่นของตัวเอง อีกทั้งคำว่า ฮ่ง ยังออกเสียงคล้ายเสียงเห่าของสุนัข ทำให้เธอปิ๊งไอเดีย […]
ชวนเดินลัดตรอกเลาะซอยกับสถานที่ใหม่น่าตามไปเช็กอิน ในย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ ฉบับอัปเดต
เรื่อง
นภัสสร ศรีโภคา
สุดสัปดาห์นี้ลองชวนคนที่รักไปเดินเล่นที่ย่าน ‘เจริญกรุง-บางรัก’ กัน เจริญกรุง-บางรัก ในความทรงจำของหลายคนคงจะมีสถานที่หรือร้านรวงเก่าแก่ ไอคอนิกประจำย่านที่ไม่ว่าใครมีโอกาสไปเยือนแถวนั้นก็ต้องแวะเช็กอินกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC’ พื้นที่แห่งงานสร้างสรรค์และคลังความรู้คู่เจริญกรุง, ‘โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา’ โรงฉายหนังเก่าแก่ที่ผลัดเปลี่ยนเป็นโรงแรมใจกลางย่าน, ‘ประจักษ์เป็ดย่าง’ ร้านบะหมี่เป็ดเก่าแก่กว่า 100 ปี หรือร้าน ‘น้ำขม โหมงหวอ’ ที่จำหน่ายน้ำสมุนไพรโบราณในบางรักร่วม 80 ปี แต่หลังจากที่เราได้ลองกลับไปเดินเล่นในย่านนี้อีกครั้ง ก็พบว่าปัจจุบันย่านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ในอดีต หรือที่ตั้งของเหล่าร้านรวงเก่าแก่ที่เป็นตำนานอีกต่อไป แต่เริ่มมีธุรกิจและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของย่าน และกระจายตัวกันอยู่ตามตรอกซอกซอยมากขึ้น ครั้งนี้คอลัมน์ Urban Guide ขอแวะมาอัปเดตสถานที่ใหม่น่าแวะในย่านเจริญกรุง-บางรัก ที่จะทำให้การเดินเที่ยวเล่นในย่านนี้สนุกและแตกต่างไปจากเดิม เตรียมจดพิกัดและไปเดินด้วยกันได้เลย! 01 | Central Department Store Bangrak เริ่มต้นเดินกันจาก BTS สถานีสะพานตากสิน จะพบกับสถานที่แรกที่พลิกโฉมด้วยการอาบน้ำแต่งตัวใหม่ เปลี่ยนจาก ‘โรบินสัน บางรัก’ เป็น ‘เซ็นทรัล บางรัก’ ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเดียวบนถนนเจริญกรุง ด้วยเหตุผลที่ต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัยและสดใสขึ้นตามยุคปัจจุบัน รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ภายในห้างฯ […]
Piccolo Vicolo สาขาวังบูรพา-สามยอด สเปซพบปะสังสรรค์แห่งใหม่ เติมพื้นที่สีเขียวและรสชาติกาแฟดีๆ ให้ย่านเมืองเก่า
เรื่อง
Urban Creature
ถ้าใครเคยผ่านไปแถวราชเทวี หรือแวะเวียนไปที่ GalileOasis สเปซสีเขียวใจกลางเมือง คงต้องคุ้นชื่อร้านกาแฟ ‘Piccolo Vicolo’ อย่างแน่นอน ด้วยการตกแต่งตึกแนวลอฟต์ ธรรมชาติๆ ผสมกับเหล่าต้นไม้จนกลายเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางกรุง วันนี้ร้านกาแฟร้านโปรดของใครหลายคนได้เปิดสาขาใหม่ที่ย่านเมืองเก่า ในพื้นที่วังบูรพา-สามยอด ภายใต้คอนเซปต์สถาปัตยกรรมที่รีโนเวตตึกเก่าที่เก็บเครื่องจักรริมคลองโอ่งอ่างด้วยแนวคิด ‘Discovery and Treasuring’ ซึ่งยังคงเก็บรักษาโครงสร้างเดิมไว้บางส่วน และมีอะไรให้เราได้ค้นหาอีกมากมาย พร้อมคงบรรยากาศความธรรมชาติเหมือนสาขาแรกเอาไว้ สาขาใหม่นี้เป็นอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 – 3 เป็นพื้นที่ของคาเฟ่ โดยชั้น 1 เป็นโซนเคาน์เตอร์กาแฟและขนม มีพื้นที่ทั้ง Indoor และ Outdoor ชั้น 2 เป็นเสมือนห้องสมุด หรือ Co-working Space ที่ทุกคนเข้ามาใช้พูดคุยหรือนั่งทำงานได้ และชั้น 3 เป็นระเบียง เปิดโล่งให้ชมบรรยากาศของเมือง และนั่งสบายๆ ท่ามกลางต้นไม้ที่ร้านดูแลอย่างดี ส่วนชั้น 4 เป็น Poco House หรือห้องพักแบบ Private […]
‘ถนนบริพัตร’ เดินเมืองไปตามย่านสารพัดช่างในเขตเมืองเก่าที่กำลังรอวันพัฒนา
เรื่อง
พณิช ตั้งวิชิตฤกษ์
ในเกาะรัตนโกสินทร์และเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีถนนหลายสายตัดกันไปมาเป็นโครงข่าย หลายสายถูกมองข้าม และหลายสายคนไม่รู้จัก เช่นกันกับ ‘ถนนบริพัตร’ หากเอ่ยเพียงแค่ชื่ออาจไม่คุ้นว่าถนนสายนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วเส้นทางสายยาวเลียบไปตามคลองรอบกรุงนี้มีถนนอีกหลายสายตัดผ่าน แถมติดกับย่านสำคัญอีกหลายแห่ง ทั้งสำราญราษฎร์-ประตูผี สามยอด วรจักร คลองถม จนถึงเยาวราช เชื่อว่าต้องมีบางคนบ้างละที่เคยเดินหรือนั่งรถผ่านโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่าถนนสายนี้เป็นเส้นตรงยาวอยู่พอตัว เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับถนนเยาวราช เชิงสะพานภาณุพันธุ์ ใกล้กับเวิ้งนาครเขษม โดยตลอดสองฟากฝั่งถนนมีอาคารพาณิชย์รุ่นเก่าวางตัวเรียงกันอย่างสวยงาม คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้อยากชวนออกแรงเดินเมืองสักนิด เหลียวซ้ายแลขวาโซนอื่นๆ ของถนนสายประวัติศาสตร์นี้ ดูกิจการร้านรวงที่สืบทอดมาแต่อดีต รวมถึงเปิดบทสนทนากับผู้คนดั้งเดิมและสมาชิกใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาทำให้ย่านนี้เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาจากที่เคยเห็น ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกัน! ถนนสายประวัติศาสตร์และตลาดใหญ่ในความทรงจำ เขตเมืองเก่ามีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามพระนามของเหล่าเจ้านายพระองค์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตัดใหม่ที่กระจายจากใจกลางเมืองออกสู่ชานพระนครในสมัยนั้น ถือเป็นพยานของการพัฒนาเมืองเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยปัจจุบันหลายแห่งกลายเป็นย่านการค้าที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ที่มาของชื่อถนนสายนี้คงเกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงพัฒนาพื้นที่ย่านนี้โดยตั้งใจให้เป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ดังชื่อที่ตั้งว่า ‘นาครเขษม’ โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าขายสรรพสินค้านานาชนิด ตั้งแต่เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรี ข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงของเก่าของสะสม หลายฝน หลายหนาว รอบข้างของถนนสายนี้เปลี่ยนแปลงไปหลายหน้าตา ผู้คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปมา กระทั่งเร็วๆ […]