Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

‘Such A Small World’ Co-Playing Cafe ย่านตลาดน้อย แหล่งแฮงเอาต์ความบันเทิงสารพัดรูปแบบในที่เดียว

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ‘Vibal Corp’ หนึ่งในบริษัทที่กำลังผลักดันเรื่อง Creative Economy ได้เปิดตัว ‘Such A Small World’ แหล่งแฮงเอาต์ใหม่บนถนนเจริญกรุง ย่านตลาดน้อย ใจกลางกรุงเทพฯ ที่มัดรวมทุกความบันเทิงไว้ในสถานที่เดียว Vibal Corp เรียกพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตรที่ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของ ‘The Corner House Bangkok’ หรือที่เรารู้จักในชื่อตึกส้ม (อาคารชัยพัฒนสิน) อาคารเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีนี้ว่าเป็น ‘Co-Playing Cafe’ สำหรับสายเอนเตอร์เทน ที่เปรียบเสมือนห้องนั่งเล่นในฝันขนาดใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเกม ทีวีจอใหญ่ หนังสือหายาก บอร์ดเกม และงานศิลปะ ‘พอล สิริสันต์’ ผู้ก่อตั้งบริษัท Vibal Corp จำกัดความแรงบันดาลใจของการสร้างพื้นที่แห่งนี้ว่า Such A Small World […]

ป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาด 100% ต้นแบบธุรกิจร่วมผลักดัน Net Zero เปิดวันนี้ – 24 กันยายน 66 ที่สวนเบญฯ

ท่ามกลางสถานการณ์ ‘ภาวะโลกเดือด’ ที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ หลายหน่วยงานโดยเฉพาะภาคธุรกิจก็กำลังเร่งปรับตัวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับวิกฤตที่เกิดขึ้น หนึ่งในเคสตัวอย่างที่ Urban Creature อยากชวนไปดูคือ ‘Infinite Cafe Powered by Banpu NEXT’ หรือ ‘ป็อปอัปคาเฟ่พลังงานสะอาด 100%’ แห่งแรกของไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนเบญจกิติป็อปอัปคาเฟ่ที่ว่านี้เกิดจากการจับมือกันของ ‘บ้านปู เน็กซ์’ (Banpu NEXT) ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กับ ‘Roots’ แบรนด์กาแฟสัญชาติไทยที่ใส่ใจตั้งแต่การปลูกถึงในแก้ว เพื่อร่วมผลักดันสังคมไร้คาร์บอนภายใต้แนวคิด A Cup to Net-Zero ผ่านกิจวัตรการดื่มกาแฟ เพราะปัจจุบันคนไทยดื่มกาแฟเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 300 แก้วต่อคนต่อปี บวกกับเทรนด์ด้านความยั่งยืนในปี 2565 ที่พบว่า คนไทยค้นหาข้อมูลเรื่อง Net-Zero เพิ่มขึ้นถึง 330 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง กิมมิกที่น่าสนใจคือ ในแต่ละเมนูเครื่องดื่มที่สั่ง ผู้ดื่มจะได้รู้ว่าตัวเองช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปแค่ไหน เช่น หากเราสั่ง Sugarcane Cold […]

Marimekko Kafé ไลฟ์สไตล์สเปซ ที่เสิร์ฟประสบการณ์และอาหารไทย-ฟินนิช บริเวณชั้น 1 ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม

ใครๆ ล้วนรู้จัก ‘Marimekko’ (มารีเมกโกะ) ในฐานะแบรนด์ไลฟ์สไตล์สัญชาติฟินแลนด์ ที่เป็นที่จดจำจากสีสันสดใสกับลวดลายดอกไม้ แต่หลังจากครองใจผู้คนมานานกว่า 8 ปี ทางแบรนด์ก็ฉลองความสำเร็จด้วยการเปิดตัว ‘Marimekko Kafé’ (มารีเมกโกะ คาเฟ่) ไลฟ์สไตล์สเปซที่จะมาเชื่อมต่อแรงบันดาลใจ ผ่านการครีเอตพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบฉบับมารีเมกโกะ มารีเมกโกะ คาเฟ่ เตรียมพร้อมเสิร์ฟประสบการณ์คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์โฮมมี่ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Comfort Food, Clean & True with Essential Ingredients’ ที่ผสมผสานกลิ่นอายไทย-ฟินนิช พร้อมสมดุลทางโภชนาการอย่างลงตัว และศิลปะบนโต๊ะอาหารจาก Home Collection ของมารีเมกโกะ นอกจากบรรยากาศสเปซที่ทางมารีเมกโกะพยายามดีไซน์ให้อบอุ่นเหมือนมานั่งทานข้าวบ้านเพื่อน และสร้างแรงบันดาลใจผ่านศิลปะการตกแต่ง ที่นี่ยังมีห้องสมุดขนาดเล็ก กับมุมสำหรับเวิร์กช็อปย่อมๆ ที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายแต่แฝงความสนุกเหมือนทุกคนเข้ามาอยู่ใน Witty Girl’s Home Studio ด้วย อีกจุดเด่นของที่นี่คือ การนำเสนอบรรยากาศและไลฟ์สไตล์ภายใต้คอนเซปต์ ‘Witty Girl Playground’ โดย ‘พลอย จริยะเวช’ ผู้เชี่ยวชาญด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านคอนเซปต์ โดยหยิบเอาแบรนด์มารีเมกโกะมาตีความสร้างสรรค์ Marimekko […]

Day/DM Cafe คาเฟ่ย่านเยาวราช โดยคู่รักนักเพศวิทยาที่อยากให้คนกล้าคุยเรื่องเพศตอนกลางวัน

ตอนที่เดินไปยังสถานที่นัดหมาย ทุกตึกบนถนนเส้นนั้นหน้าตาดูเหมือนกันไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าประตูบานนี้เป็นของร้าน Day/DM Cafe แน่นอนคือ ธงสีรุ้งและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศที่ประดับประดาอยู่ รวมถึงโลเคชันที่อยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวตามคำบอกเล่าของเจ้าของร้าน พอเดินเข้าไปในร้าน ความรู้สึกที่ค่อยๆ เข้ามาเกาะในใจเราคือ บรรยากาศอบอุ่นที่เหมือนกับเรามาเที่ยวบ้านเพื่อน อาจจะเป็นเพราะการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ กลิ่นหอมจากเมล็ดกาแฟ รวมถึงเจ้าของร้านทั้งสองที่ชวนคุยอย่างสนิทสนม ‘เอช-ประติมา รักษาชนม์’ และ ‘แต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี’ คือคู่รักนักเพศวิทยาเจ้าของที่นี่ ผู้ร่วมกันสร้างคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน พื้นที่ปลอดภัยที่ว่าคือ พื้นที่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงหัวข้อยากๆ ที่ไม่รู้จะไปคุยกับใครอย่างเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ ต่อให้เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศ ประจำเดือนไม่มา เคยมีอะไรกับแฟนแล้วไม่อยากมี อยากลองเล่น Sex Toy ฯลฯ ทั้งสองคนก็พร้อมให้คำปรึกษาจากองค์ความรู้ด้านนี้ที่ร่ำเรียนมา คาเฟ่ที่เกิดจากความสนใจเรื่องเพศ ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่ เอชและแต๋มเรียนจบในคณะที่ตัวเองวาดหวังไว้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นเส้นทางของทั้งคู่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เอชที่เรียนคณะครุศาสตร์ เอกศิลปะ ต้องประสบกับปัญหาเงินๆ ทองๆ จนต้องทำงานส่งตัวเองเรียน บวกกับเคยถูกบุลลี่เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาไม่ตรงตามมาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ แถมพอจบออกมาทำงานในสำนักพิมพ์ก็ถูกกดเงินเดือน ส่วนแต๋มที่เรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ต้องไปเผชิญสังคมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสผู้หญิง ทั้งที่เธอมีความสามารถ อยากลองทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่แค่เพราะ ‘เพศ’ ที่เป็นเหมือนเพดานแก้วบางๆ ทำให้หญิงสาวไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ ชีวิตของทั้งสองคนพบเจออะไรหลายๆ […]

Tutiru Café คาเฟ่และร้านดอกไม้จากมือเกษตรกรญี่ปุ่น ที่อยากให้ดอกเบญจมาศไม่ถูกใช้แค่ในงานศพและงานแต่ง

สำหรับคนไทย ดอกไม้ในตระกูลเบญจมาศ (Chrysanthemum) ถือเป็นดอกไม้ทั่วไปที่เห็นบ่อยครั้งในการจัดช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้ตระกูลนี้กลับถูกใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานแต่งงานและงานศพเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนญี่ปุ่นคุ้นเคยกับดอกเบญจมาศในชีวิตประจำวันมากขึ้น เกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศในเมือง Marugame จังหวัด Kagawa ประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจเปิด ‘Tutiru Café’ คาเฟ่ที่มีการขายดอกเบญจมาศร่วมด้วย ภายใต้การออกแบบของสตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง ‘Fathom’ ที่แบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมแห่งนี้ออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรก นักออกแบบได้เปลี่ยนโกดังเก่าในฟาร์มให้เป็นบริเวณที่รวมร้านดอกไม้และคาเฟ่เข้าไว้ด้วยกัน และตกแต่งด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งการออกแบบลักษณะนี้มีความหมายซ่อนอยู่ เส้นตรงในแนวนอนสื่อถึงผืนดินอันกว้างใหญ่ ส่วนเส้นตรงในแนวตั้งแทนการเจริญเติบโตของดอกเบญจมาศ ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ สำหรับพื้นที่อีกส่วนที่แยกตัวออกมาจะถูกใช้เป็นโกดังเก็บดอกเบญจมาศโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับดอกไม้เหล่านี้ นอกจากนี้ ภายในคาเฟ่ Tutiru Café ยังมีโต๊ะแบบเคาน์เตอร์บาร์ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นโกดังและโต๊ะสำหรับทำเวิร์กช็อปจัดดอกไม้ ตามความตั้งใจเดิมของเจ้าของร้านและ Fathom ที่ต้องการให้ดอกเบญจมาศกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำวันของผู้เข้าใช้บริการได้ Sources : ArchDaily | t.ly/G-XfFathom | t.ly/5QOW

NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่สีอิฐกลางทุ่งนาสีเขียว จังหวัดอยุธยา เชื่อมผู้คนเข้ากับบริบทชุมชนเกษตรกรรมวัดสะแก

ร้อนๆ แบบนี้ เห็นแล้วอยากหนีร้อนจากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวจังหวัดข้างเคียงอย่าง ‘พระนครศรีอยุธยา’ กับเขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทริปไหว้พระ สัมผัสประวัติศาสตร์ หรือไปที่ไหนก็ได้ แต่อย่าลืมแวะมาจิบกาแฟรับลมชิลๆ ที่ ‘NAYA Cafe Ayutthaya’ เพราะที่นี่คือคาเฟ่สีอิฐที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาเขียวชอุ่ม บนพื้นที่ดินเดิมที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากครอบครัว ใกล้กับวัดสะแก (หลวงปู่ดู่) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกข้าวของชาวอยุธยา NAYA Cafe Ayutthaya เป็นผลงานการออกแบบของ ‘BodinChapa Architects’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติไทย ที่ออกแบบกำแพงภายนอกคาเฟ่โดยใช้รูปร่างโค้งรีที่ให้ความรู้สึกคล้ายรูปทรงเมล็ดข้าวอันใหญ่ใจกลางท้องทุ่ง ซึ่งลูกค้าจะได้สัมผัสกับวิวธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม และวิวธรรมชาติของทุ่งนานี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการทำเกษตรกรรมในแต่ละช่วงปี ตั้งแต่เริ่มเตรียมพื้นที่ทำการเกษตร ช่วงเวลาต้นกล้าเจริญเติบโต จนออกมาเป็นรวงข้าวสีทองอร่ามพร้อมเก็บเกี่ยว ตลอดจนฤดูน้ำหลากในบางครั้ง เสริมให้ NAYA Cafe Ayutthaya น่าค้นหายิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางเดินยาวและผนังที่ก่อขึ้นด้วยอิฐแดงซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นในจังหวัด ยังทำให้ NAYA Cafe Ayutthaya กลมกลืนไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว โดยมีการไล่ระดับอิฐสูงต่ำต่างกันแบบลาดเอียงเพื่อเปิดพื้นที่ให้สายตาของผู้ใช้บริการพบกับมุมมองตัวทุ่งนา รวมไปถึงถนนหลักด้านหน้าอาคาร ทั้งยังเลือกก่ออิฐสูงในส่วนของหมู่บ้านและถนนใกล้เคียงเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คนในบริเวณนั้น ในการออกแบบครั้งนี้ NAYA Cafe Ayutthaya และ BodinChapa […]

Read Cafe คาเฟ่ห้องสมุดในประเทศจีนที่ผสมผสานสารพัดเครื่องดื่มเข้ากับชั้นหนังสือ

ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดิจิทัลเข้ามาเขย่าโลก ส่งผลให้พฤติกรรมหรือการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการคง ‘การอ่านหนังสือเล่ม’ ให้อยู่คู่กาลเวลาที่ไหลไปข้างหน้า ‘Read Cafe’ ในประเทศจีน จึงถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ครบวงจรสำหรับการอ่าน การศึกษาหาความรู้ และเติมเต็มสุนทรียะแห่งการดื่ม มองจากภายนอก คาเฟ่สองชั้นแห่งนี้มีทางเข้าเป็นบล็อกสไตล์มินิมอลสีขาวบริสุทธิ์ ประดับด้วยโลโก้สีแดงเด่นคล้ายตราประทับที่อยู่ส่วนท้ายของปกหนังสือ ทว่าเมื่อเปิดประตูเข้าไป เราจะพบกับโลกของหนังสือมากมายที่จัดเรียงอยู่บนชั้นให้ได้หยิบอ่าน บรรยากาศในคาเฟ่แห่งนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมกรุ่นของสารพัดเครื่องดื่ม ที่ช่วยให้ผู้มาเยือนรู้สึกมีสมาธิและกระปรี้กระเปร่า ทั้งยังตกแต่งด้วยชั้นวางหนังสือสูงตระหง่านที่ล้อมรอบทั่วร้านในโทนสีเนื้อไม้ แซมด้วยความสุขุมของผนังสีเทา ผสมผสานกับความมั่นคงของเฟอร์นิเจอร์สเตนเลส ที่ช่วยให้การนั่งพักจิบเครื่องดื่มอร่อยๆ หรือละเลียดอ่านหนังสือเป็นได้ด้วยความสงบเรียบง่าย นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้ง Read Cafe ยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของหนังสือ ซึ่งเป็นความรู้สึกและวัฒนธรรมแบบเก่าที่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถทดแทนได้ Source :ArchDaily | bit.ly/3IyU0dH

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.