ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้
ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’
นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่
นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน
นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้
RELATED POSTS
‘North Boulder Library’ ห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชน ให้ความรู้พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อพื้นที่
เรื่อง
Urban Creature
ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หน้าที่ของห้องสมุดที่ทุกคนรู้จักคือพื้นที่สำหรับให้บริการการอ่าน รวมถึงให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ แต่ในปัจจุบันหลายๆ ห้องสมุดเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว หนึ่งในนั้นคือ ‘North Boulder’ ห้องสมุดในรัฐ Colorado ที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนเลยก็ได้ North Boulder เป็นห้องสมุดที่ชุมชนรอคอยมานาน ด้วยเหตุนี้ ‘WORKac’ สตูดิโอออกแบบจากนิวยอร์กที่ยึดหลักคิดเรื่องความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงออกแบบให้ห้องสมุดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์อเนกประสงค์ของชุมชนด้วย เพราะโครงการนี้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ส่งผลให้มีโซน Boulder Reads ที่สนับสนุนผลักดันให้ผู้ใหญ่และเด็กมีทักษะในการอ่าน รวมถึงโซน Maker Kitchen ที่มาจากความสนใจของชุมชนในเรื่องพื้นที่เรียนรู้ความสร้างสรรค์และครัวส่วนกลาง ภายในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้กับผู้ใหญ่ และพื้นที่สำหรับเด็กที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการอ่าน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้พร้อมเล่นสนุกด้วยองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปีนผาหรือสไลเดอร์ แถมยังมีกระจกบานใหญ่ที่มองวิวภูเขาด้านหน้าได้ มากไปกว่านั้น ส่วน Maker Kitchen ยังเชื่อมต่อออกไปยังสวนกินได้และสนามเด็กเล่นด้านนอก ส่วนโซนด้านนอกมีพื้นทางลาดที่เชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นสองของห้องสมุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับชุมชนที่มีบางโปรแกรมเปิดให้เข้าในช่วงกลางคืน เช่น ห้องเรียน ESL (English as a Second Language) ซึ่งผู้เข้าเรียนสามารถใช้ทางลาดนี้ขึ้นไปยังชั้นสองโดยไม่ต้องผ่านห้องสมุดชั้นล่างที่ปิดอยู่ ปิดท้ายด้วยการออกแบบในด้านความยั่งยืน ที่มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้องสมุดเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี Rain Garden หรือสวนซับน้ำฝน ที่ช่วยรับน้ำฝน […]
ลัดเข้าวัด เลาะเข้าศาลเจ้า แวะเข้าโบสถ์ ทริปเดินสำรวจชุมชน ความเชื่อ และศรัทธาในพื้นที่สามย่านกับ TedxChula
เรื่อง
Urban Creature
เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึงสามย่าน หลายคนคงคิดถึงบรรทัดทอง หมาล่า หรือเขตอาหารที่คึกคักตลอดคืน แต่จริงๆ พื้นที่ตรงนี้ได้ชื่อ ‘สามย่าน’ จากจุดตัดถนน 3 สาย คือ ถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ซึ่งไม่เพียงแต่จุดตัดของถนนสามสาย ที่นี่ยังมีสามความเชื่อ สามรูปแบบความศรัทธาที่ปรากฏตั้งแต่อดีตกาลยาวนานมา ยามบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา TEDXChulalongkornU ได้ชวน Urban Creature ไปเดินสำรวจหลากหลายความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่สามย่าน ในธีม How to train your jargon ที่มีไกด์ทัวร์ท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาดำเนินกิจกรรม ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า สถานที่แห่งความศรัทธาที่ไม่อาจรักษาสัญญา “เขาขอเข้ามาปรับปรุง มีแพลนมาให้ดูว่าจะสร้างนู่นสร้างนี่ ย้ายเรามาตรงนี้ให้มีพื้นที่มากขึ้น สะดวกขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่บอก” เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าเล่าให้ฟัง สถานที่นี้คือศาลเจ้าที่เดิมเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของเทพทีกงและทีม่า ที่เล่าขานกันว่า ในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้โดยรอบ ถึงแม้ศาลเจ้านี้สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแต่พวกเป็ดไก่ที่วิ่งพากันเข้ามาหลบไฟในศาลเจ้ากลับมีชีวิตรอดกันทั้งหมด แต่ตอนนี้ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าได้ย้ายเข้ามาตั้งอยู่ภายในโครงการ Dragon Town ซึ่งเป็นโครงการที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ด้วยข้อต่อรองในการปรับปรุงพื้นที่ โดยสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป […]
‘House of Lucie Samui & Samui Art Center’ พัฒนาพื้นที่และสร้างแรงบันดาลใจด้วยศิลปะ บนแลนด์มาร์กทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของสมุย
เรื่อง
Urban Creature
หมุดหมายแห่งใหม่ของการไปเที่ยวเกาะสมุยอาจไม่ได้มีเพียงชายหาดอีกต่อไป แต่ยังมี ‘House of Lucie Samui & Samui Art Center’ อาคารจัดแสดงผลงานศิลปะ 3 ชั้นที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเมืองร้อน จัดตั้งขึ้นเพื่อมอบโอกาสให้ศิลปินท้องถิ่นทุกแขนงเข้ามาติดต่อใช้พื้นที่ในการแสดงผลงานได้ฟรี ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด งานปั้น หรืองานแกะสลักก็ตาม นอกจากนี้ยังจัดให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ทั้งการจัดเวิร์กช็อปและงานเสวนาเกี่ยวกับศิลปะในแง่ต่างๆ อีกทั้งยังมีกิจกรรม One Shot-One Minute ที่ผู้เข้าร่วมงานต่างๆ ที่จัดขึ้นภายใต้อาร์ตเซ็นเตอร์แห่งนี้สามารถเข้ามาแบ่งปันภาพถ่ายและพูดคุยถึงความรู้สึกในภาพนั้นๆ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวของศิลปะได้มากขึ้นด้วย โดยตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนของชั้นที่ 1 และ 2 เป็นบริเวณของหอศิลปะสมุยที่จะจัดแสดงงานศิลปะท้องถิ่นในรูปแบบของภาพวาด งานปั้น และงานแกะสลัก ส่วนด้านบนชั้น 3 เป็นบริเวณของ ‘House of Lucie’ ที่ใช้จัดแสดงผลงานภาพถ่ายโดยเฉพาะ ในแต่ละครั้งนิทรรศการจะจัดแสดงนานถึง 1 – 2 เดือน เพื่อหวังว่าจะช่วยเสริมกำลังใจแก่ศิลปิน และเปิดโอกาสในการสร้างรายได้จากศิลปะของพวกเขาให้มากขึ้น พื้นที่ทางวัฒนธรรมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของ ‘ฮอสเซน ฟาร์มานี’ […]
House of Lucie Samui & Samui Art Center ศูนย์ศิลปะ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ในเกาะสมุย ที่จะเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงผู้คนผ่านงานศิลปะ
เรื่อง
Urban Creature
เกาะสมุยคือปลายทางหนึ่งที่นักท่องเที่ยวหมายปองอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีทะเลและหาดทรายที่สวยงามแล้ว ยังมี Art Gallery ให้ดื่มด่ำงานศิลป์อีกหลายแห่ง รวมไปถึง ‘House of Lucie Samui & Samui Art Center’ แลนด์มาร์กงานศิลปะแห่งใหม่ในเกาะสมุยที่กำลังจะเปิดตัวในวันที่ 25 มกราคมนี้ ที่นี่เป็นทั้งสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะ และศูนย์ศิลปะที่ใช้งานอาร์ตเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้คน โดยมีการออกแบบให้พื้นที่เปิดโล่ง มองเห็นบ่อบัวอันเงียบสงบด้านหลัง มากไปกว่านั้นยังมีพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยจุดประกายการสร้างสรรค์งาน และช่วยเหลือ สนับสนุน เชื่อมโยงศิลปินท้องถิ่น ผู้คนในชุมชน เข้ากับศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ตัวพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นล่างเป็นศูนย์ศิลปะสำหรับจัดกิจกรรม ทั้งเวิร์กช็อป การบรรยาย ไปจนถึงการจัดแสดงผลงาน และมีการนำเสนอผลงานของ ‘กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย’ ศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียงในการสร้างสรรค์งานพิมพ์ ภาพเขียน และสื่อผสม ส่วนชั้นที่ 2 คือ House of Lucie แกลเลอรีภาพถ่ายระดับโลกที่มีสาขาอยู่ใน 7 ประเทศรวมถึงประเทศไทย โดยจะเปิดตัวพร้อมกับ ‘ISLAND’ นิทรรศการภาพถ่ายที่ถ่ายทอดความงดงาม […]