กว่า 1 ปีที่ COVID-19 ระบาดและสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก ทำให้หลายประเทศรวมถึง ‘อังกฤษ’ ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากถึง 2.65 ล้านคน รวมไปถึงธุรกิจรายย่อยอื่นๆ ที่ต้องเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ทำให้กลางปีที่แล้ว ‘Burger King’ อังกฤษ ออกแคมเปญเชิญชวนให้ผู้บริโภคช่วยกันสั่งซื้ออาหารจาก McDonald’s และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดรายอื่นๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจร้านอาหาร และพนักงานหลายพันชีวิตให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน
ไม่เพียงแค่นี้ Burger King อังกฤษ ยังออกมาประกาศช่วยธุรกิจรายย่อยมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้ทุกคน ด้วยการยกพื้นที่ Instagram ตัวเองที่มีผู้ติดตามกว่า 35,700 Followers ให้ร้านอาหารขนาดเล็กนำไปใช้โฆษณาเมนูอาหารของร้านแบบฟรีๆ
เพียงแค่ถ่ายรูปเมนูลง Instagram ส่วนตัวและใส่ #WhopperAndFriends และเดี๋ยว Burger King จะไปเลือกรูปเหล่านั้นมารีโพสต์ให้เอง!
RELATED POSTS
เจอเพื่อนใหม่ผ่านเส้นทางแบบไร้ไกด์กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ โดย ILI.U ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ 11 – 12 ก.พ. 66
เรื่อง
Urban Creature
โอกาสเจอเพื่อนใหม่ในยุคนี้ช่างแสนยาก ส่วนเพื่อนเก่าที่มีก็นัดเจอลำบากเหลือเกิน เราจึงอยากชวนทุกคนไปเดินสำรวจเมืองกับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้’ ที่จะสุ่มให้ทั้งเส้นทางเดิน เพื่อนใหม่ และภารกิจที่มาพร้อมประสบการณ์สุดพิเศษ มิตรสหายรักเมืองของเรา ‘ไอแอลไอยู’ จับมือกับ ‘Bangkok Design Week 2023’ จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อพาคนที่ชอบและอยากลองท่องเที่ยวในเมืองไปซอกแซกเข้าซอยนู้นโผล่ซอยนี้ใน ‘ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน ความแปลกใหม่ของการเดินทางครั้งนี้คือ ทางไอแอลไอยูจะทำหน้าที่สุ่มเพื่อนร่วมเดินทาง และออกแบบวิธีเที่ยวให้คุณทดลองใช้ชีวิตหนึ่งวันกับเพื่อนใหม่ พร้อมกับทำความรู้จักย่านนี้ในมุมใหม่ๆ ไปด้วยกัน การ ‘สุ่มเพื่อน’ ที่ว่าคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งกลุ่มเล็กๆ ผ่านการเดินเที่ยวย่าน แวะชิมของอร่อย ลัดเลาะเข้าร้านต่างๆ หรือต่อให้จบทัวร์แล้วจะไปเที่ยวกันยาวๆ อีกก็ยังได้ ส่วนการ ‘สุ่มทาง’ คือ แต่ละกลุ่มจะได้รับเส้นทางแบบสุ่มที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้ใน ‘Self-Guided Tour Manual คู่มือเดินทัวร์แบบสุ่มสี่สุ่มให้ ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์’ ภายในเล่มประกอบด้วยเส้นทางที่ออกแบบมาให้ผู้ร่วมทัวร์ได้สุ่มทำความรู้จักย่าน ผ่านประวัติศาสตร์ฉบับย่อโดยไม่ต้องมีไกด์ พร้อมภารกิจสนุกๆ ที่จะสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้เฉพาะผู้ร่วมทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้เท่านั้น ทัวร์มีให้เลือก 2 วัน ได้แก่ วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 […]
‘ฟรีแลนซ์’ เทรนด์การทำงานยุคใหม่ของคนเมือง กับ Fastwork | Unlock the City EP.19
เรื่อง
Urban Creature
ค่านิยมการทำงานสมัยนี้ไม่ได้ผูกติดกับการทำงานในบริษัทใหญ่หรือทำราชการ มีสวัสดิการดีๆ เงินเดือนสูงๆ หรือการทำงานที่ใดที่หนึ่งเป็นสิบๆ ปีอีกต่อไปแล้ว เห็นได้จากเทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ลาออกจากงานประจำแล้วผันตัวไปเป็นฟรีแลนซ์มากขึ้น เผลอๆ บางคนยังไม่เคยเข้าระบบงานประจำในบริษัทตั้งแต่เรียนจบเลยด้วยซ้ำ อะไรที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ แล้วผู้เกี่ยวข้องอย่างผู้ประกอบการและเมืองควรปรับตัวอย่างไรถ้าในอนาคตคนเลือกที่จะเดินสายทำงานอิสระกันมากขึ้น ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองชวน ‘ซีเค เจิง’ ผู้บริหารแพลตฟอร์มรวมฟรีแลนซ์ Fastwork ที่ศึกษาเทรนด์การทำงานนี้อย่างยาวนาน มาพูดคุยกันถึงพัฒนาการของวิถีการทำงานในปัจจุบัน ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/PpxEzTroSvo Spotify : http://bit.ly/3Hr15eP Apple Podcasts : http://bit.ly/3Jsfk61 Podbean : http://bit.ly/3XXoSKK
‘ข้อมูลดี ทำเกษตรดี’ ช่องทางความรู้จากสยามคูโบต้า ที่อยากเป็นเพื่อนคู่เกษตรกรยุคใหม่
เรื่อง
Urban Creature
เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกษตรกรในประเทศไทยมีเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยส่งเสริมให้กรรมวิธีต่างๆ ตั้งแต่การไถนา หว่านเมล็ด ลงปุ๋ย เก็บเกี่ยว ฯลฯ กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ทั้งยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ประหยัดต้นทุน และควบคุมจัดการพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกแต่ละครั้งให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมพอดีได้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่อยากลงมือทำการเกษตรสามารถเข้าถึงอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ไม่ยากลำบากเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกัน ต่อให้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน การทำเกษตรก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง และหลายครั้งก็ต้องใช้วิชาความรู้จากทั้งการศึกษาจากแหล่งต่างๆ และได้รับจากการบอกเล่าส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ‘SiamKubota’ (สยามคูโบต้า) ที่มองเห็นความสำคัญเช่นนี้ จึงตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อหวังสร้างมาตรฐานการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพ หวังผลได้ คอลัมน์ FYI ขออาสาพาชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรหน้าใหม่ หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจเริ่มต้นทำการเกษตร ไปดูความก้าวหน้าของการเกษตรในยุคสมัยใหม่ ผ่านการทำความรู้จักกับช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จากทางสยามคูโบต้าที่คอยส่งมอบเรื่องราวดีๆ เพื่อชาวเกษตรกรเสมอมา นวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต ในเว็บไซต์ของสยามคูโบต้า www.siamkubota.co.th มีหลากหลายองค์ความรู้ให้เราเลือกดูได้แบบที่เรียกว่า ครบจบในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นทุกเรื่องรายละเอียดของสินค้านวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคตจากทางแบรนด์ ออนไลน์โชว์รูมให้เราเลือกชมสินค้าได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา รวมถึงข้อมูลข่าวสารน่ารู้ งานประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมเพื่อสังคม ที่สำคัญ ภายในเว็บไซต์ยังมีวารสารออนไลน์ ‘เพื่อนเกษตร’ ให้ได้อ่านเป็นประจำ และองค์ความรู้อย่าง KUBOTA (Agri) Solutions ที่เป็นตัวช่วยให้เกษตรกรทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกพืชผลตามแบบฉบับของสยามคูโบต้า นอกจากนี้ยังมี […]
Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป
เรื่อง
เจนวิทย์ สุธนะสิริชัย
ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]