TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

ไม่ต้องทนแสบจมูกอีกต่อไป! อเมริกาอนุมัติใช้เครื่องตรวจโควิด-19 ด้วยลมหายใจ รู้ผลภายใน 3 นาที

หลังจากโควิด-19 แพร่ระบาดมานานกว่า 2 ปี การตรวจหาเชื้อไวรัสจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ทั้งการตรวจประเภท RT-PCR และการตรวจด้วย Antigen Test Kit (ATK) โดยทั้งสองประเภทมักใช้วิธี ‘การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูก’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘การแหย่จมูก’ ข้อเสียของมันก็คือทำให้ระคายเคือง แสบจมูก และอาจทำให้บาดเจ็บในกรณีที่ตรวจผิดวิธีได้ด้วย แต่ความกังวลเหล่านี้กำลังจะหายไป เพราะล่าสุดองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติใช้นวัตกรรม ‘เครื่องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ผ่านลมหายใจ’ สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินเป็นครั้งแรก  เครื่องตรวจประเภทนี้มีชื่อว่า ‘InspectIR COVID-19 Breathalyzer’ ที่มีไซซ์พกพาได้ขนาดเท่ากับกระเป๋าถือขึ้นเครื่องบิน (Carry-on Luggage) เหมาะสำหรับการใช้งานภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานพยาบาล โรงพยาบาล และศูนย์ตรวจหาเชื้อเคลื่อนที่ สำหรับวิธีตรวจหาเชื้อด้วยเครื่อง Breathalyzer ทำได้ง่ายมาก ผู้ใช้งานเพียงเป่าลมผ่านท่อที่เชื่อมโดยตรงกับเครื่อง จากนั้นเครื่องจะใช้เทคโนโลยี Gas Chromatography-mass Spectrometry (GC-MS) เพื่อแยกและตรวจจับ 5 สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds) ที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อติดเชื้อโควิด-19 สุดท้ายเครื่องจะวิเคราะห์ข้อมูล […]

รวม 5 ประเด็นสังคมหลังสงกรานต์ที่เดือดกว่าหน้าร้อนเมืองไทย!

ช่วงสงกรานต์นี้คงเป็นเวลาที่หลายคนได้หยุดพักผ่อน เดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเล่นน้ำสงกรานต์กัน ไม่ต่างจากกระแสทางสังคมที่อาจมีเพียงคลื่นกระเพื่อมเบาๆ หรือค่อนข้างเงียบสงบ แต่ใครเล่าจะรู้ มันอาจเป็นความเงียบสงบเหมือนทะเลก่อนคลื่นลมใหญ่จะมาเยือนก็เป็นได้ เมื่อลองเช็กปฏิทินทางการเมืองและหมุดหมายเหตุการณ์สำคัญในสังคมแล้วล่ะก็ เราเชื่อแน่ๆ ว่าเทศกาลสงกรานต์เหมือนเป็นใจให้เราได้พักหายใจกับสิ่งที่เจอมาเกือบ 3 เดือนหลังจากเข้าปีใหม่ แต่หลังจากนี้ล่ะ…เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองและสังคมจะประดังประดาเข้ามา รับรองว่าเดือดกว่าแดดหน้าร้อนเมืองไทยแน่! ก่อนที่ทุกคนต้องบอกลาวันหยุดเพื่อกลับไปทำงาน เราอยากชวนดูว่าหลังจากนี้ประเทศไทยจะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมอะไรที่น่าติดตามบ้าง ทิศทางของบ้านเมืองจะเดินหน้าหรือถอยหลังอีก ไปดูกันเลย 01 22 พฤษภาคม เปลี่ยนกรุงเทพฯ และพัทยาที่คูหาเลือกตั้ง อย่างแรกคงเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก ‘การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา’ ในวันที่ 22 พฤษภาคมที่จะถึงนี้นั่นเอง ห่างหายจากการเลือกตั้งในสองพื้นที่มากว่า 9 ปี ในที่สุดชาวกรุงเทพฯ จะได้เลือกผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพฯ รวมถึงชาวเมืองพัทยาที่จะได้เลือกนายกเมืองพัทยาและสภาเมืองกันเสียที ความดุเดือดไม่แพ้แดดหน้าร้อนของการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งที่รอมาอย่างยาวนานอย่างที่บอกแล้ว ยังเป็นครั้งที่มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งดุเดือดเป็นประวัติการณ์ ในส่วนของผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ท้าชิงถึง 31 คน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในหน้าประวัติศาสตร์ จากเมืองหลวงมาที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีก็เข้มข้นไม่แพ้กัน ครั้งนี้จำนวนผู้ลงสมัครท้าชิงตำแหน่งนายกเมืองพัทยานั้นมีทั้งหมด 4 คน แม้จำนวนการแข่งขันจะไม่เท่ากับกรุงเทพฯ แต่ที่น่าสนใจคือมีการประกาศท้าชิงตัวแทนจาก ‘บ้านใหญ่’ […]

เจ้านายอ้วนขึ้น! ผลสำรวจในอังกฤษและอเมริกาบอกตรงกัน แมว-หมาน้ำหนักขึ้นช่วงโควิด

การพักผ่อนหย่อนใจของหลายคนในช่วงโควิด-19 อาจเป็นการดูคลิปวิดีโอเจ้าเหมียว เจ้าหมา หรือแม้แต่การมีเพื่อนสี่ขาอยู่ข้างกายอาจจะช่วยให้ไม่รู้สึกเปลี่ยวเหงา หรือช่วยเยียวยาจิตใจหลายคนได้เลย แน่นอนว่ามนุษย์อย่างเราๆ ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจจากโควิด-19 แต่ไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้น สัตว์เลี้ยงสี่ขาคู่กายหลายๆ คนก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วยเหมือนกัน! ผลสำรวจจากองค์กรที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาฉายให้เห็นข้อมูลตรงกันว่า พบแนวโน้มสำคัญว่าสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา  ผลสำรวจของโรงพยาบาลสัตว์แบนฟิลด์ (Banfield Pet Hospital) ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2020 ปีแรกของโควิด-19 ที่เกิดการล็อกดาวน์แทบทุกประเทศในโลกนั้นพบว่า แมวกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และสุนัขเกือบ 35 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และองค์กรอาสาด้านสัตว์เลี้ยงในประเทศอังกฤษที่ชื่อ PDSA ได้ออกรายงานประจำปี 2021 และเปิดเผยผลสำรวจจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า เจ้าของสุนัขกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ในอังกฤษเห็นว่าเจ้าสี่ขาของตนมีน้ำหนักมากขึ้น และเจ้าของแมวกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ก็ให้ข้อมูลในทางเดียวกัน จริงอยู่ว่าเมื่อมองภายนอกสัตว์เลี้ยงที่อ้วนตุ้บป่องอาจจะดูน่ารักน่ากอด แต่จากน้ำหนักที่มากนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ นั่นคือโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคอ้วน กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จนถึงอายุขัยที่สั้นกว่าสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักตัวพอดี แน่นอนว่าปัญหาสัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมานั้นพบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ  ปรากฏการณ์นี้อาจหาเหตุผลจากมุมมองเชิงจิตวิทยาสัตว์ที่ว่า สัตว์เลี้ยงนั้นรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของ ถ้าพวกเรารู้สึกอย่างไร พวกเขาก็รับรู้ไปด้วย หรือหากทาสหมา ทาสแมวต้องเก็บตัวอยู่ในพื้นที่จำกัดเพราะล็อกดาวน์หรือต้องกักตัว เจ้านายก็อาจจะเกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่ ‘การกินอาหารเพราะความเครียด […]

FYI

เมื่อชีวิตเปราะบาง หากต้องเลือกระหว่างเงิน กับออกไปใช้ชีวิตคุ้มๆ คุณจะเลือกอะไร

เราอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดกันมามากกว่า 2 ปี เป็นเวลาที่นานพอให้ได้รู้ซึ้งถึงความจริงที่ว่า ชีวิตเรานั้นแสนเปราะบาง และไม่มั่นคงเอาเสียเลย โรคระบาดพรากอะไรหลายๆ อย่างไปจากเรา ไม่ว่าจะชีวิต ครอบครัว สังคม หรือแม้กระทั่งการเงิน ที่หามาได้ก็หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล เศรษฐกิจก็ซบเซา หลายร้านปิดกิจการ หลายคนตกงาน หลายความฝันที่เคยวาดไว้สวยหรูก็ต้องพับเก็บไว้ก่อน ต้นปี 2564 นิตยสาร The Economist คำนวณออกมาว่าโลกสูญเงินจากโรคระบาดในปี 63 – 64 สูงถึง 10.3 ล้านล้านเหรียญฯ ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงปลายปีจากอัตราการฉีดวัคซีนที่มากขึ้นของทั่วโลก ทั้งนี้ ไทยเราก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวช้า เพราะหวังพึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวไว้สูง ทำให้เศรษฐกิจเมื่อถึงช่วงสิ้นปี ขยายตัวเพียง 1.9% ส่วนสถิติที่ใกล้ตัวเรากว่าอย่างเรื่องอัตราการว่างงาน ก็พบว่าคนไทยตกงานเพิ่มขึ้นถึง 2.25% หรือ 8.7 แสนคน แถมหนี้ครัวเรือนก็เพิ่มเป็น 5% รวมถึงคดีอาญา ลักทรัพย์ และคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด ก็เพิ่มขึ้นถึง 10.3% ยังไม่นับข่าวการปิดตัวของร้านอาหาร ผับบาร์ โรงแรม โรงงาน ตลาด สถาบันกวดวิชา และอีกหลายๆ […]

‘IM Project’ โครงการจากนิสิตจุฬาฯ ที่ช่วยร้านอาหารชุมชนให้อยู่ได้ในวิกฤตโควิด-19

เชื่อว่าไม่น้อยเลยที่จะเห็นร้านอาหารเล็กๆ ที่คุ้นเคยบริเวณชุมชนหรือที่พักปิดตัวไปเพราะภาระทางเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดเป็นต้นมา บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็คล้ายกับพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ที่บริเวณภายในและรอบๆ เต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาและคนทำงานที่แวะเวียนมาในพื้นที่ แต่วันนี้ผู้คนกลับลดจำนวนลงมากเพราะมาตรการเรียนออนไลน์ นั่นทำให้ร้านอาหารรายเล็กบริเวณนั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่รายรับลดฮวบ เมื่อนิสิตกลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารที่ร้านในพื้นที่ชุมชนสามย่านและได้รับฟังปัญหาที่ร้านต้องเจอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘IM Project’ หรือ ‘อิ่มโปรเจกต์’ โครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่มนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตั้งใจช่วยเหลือร้านอาหารชุมชนให้อยู่รอดได้ในช่วงวิกฤต เพราะกว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างจะกลับไปเป็นปกติ ร้านอาหารที่เรารักและเคยผูกพันอาจจะล้มหายตายจากไปจากย่านนี้เสียก่อน ‘อนวัช มีเพียร’ หนึ่งในทีมงานของ ‘อิ่ม’ เล่าให้เราฟังว่าร้านอาหารแรกที่โครงการช่วยเหลือคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวตี๋ใหญ่ต้มยำ’ ที่ซอยจุฬาฯ 48 ร้านเปิดขายในพื้นที่สามย่านมากว่า 14 ปี และเรียกติดปากจากผู้คนบริเวณนั้นว่า ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ ทว่าทางร้านไม่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นตัวเงินโดยตรงแต่เป็นการรับทำอาหารแทน ดังนั้นสิ่งที่อิ่มโปรเจกต์ทำคือจับคู่ร้านอาหารเข้ากับสถานที่ องค์กร หรือมูลนิธิที่ต้องการสั่งข้าวกล่อง และเปิดรับบริจาคจากผู้ที่พร้อมสนับสนุน  สำหรับอนาคตว่าจะอยู่หรือไปของ ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ อนวัชบอกว่าสิ้นเดือนมกราคมนี้เป็นเส้นตายที่ต้องช่วยทางร้านจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนที่ต้องจ่าย หากไม่ครบตามเป้าทางร้านก็ต้องโยกย้ายไปพื้นที่ใหม่สำหรับประกอบการ  นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากอีกหลายร้านที่พบความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ ทาง ‘อิ่ม’ มองเห็นปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ “เราอยากพัฒนาโครงการที่ยั่งยืนและช่วยร้านค้าในวงกว้างขึ้นและได้ผลประโยชน์ทุกร้านอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้ร้านโลคอลที่ไม่ได้มีใครซัปพอร์ต เป็นพ่อค้าแม่ค้าหาเช้ากินค่ำให้อยู่รอดได้ด้วยตัวเองในพื้นที่สามย่าน” อนวัชทิ้งท้ายกับเรา สำหรับใครที่อยากช่วย #saveก๋วยเตี๋ยวกัญชา ติดตาม ‘IM […]

โบสถ์ในเวลส์จัดงานรำลึกผู้เสียชีวิตโควิด-19 เพื่อส่งต่อความหวังหลังการระบาดใหญ่

5,015,400 คน คือตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มระบาดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการเสียชีวิตอย่างกะทันหันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาที่จะบอกลาหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้เหมือนการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น และเป็นช่วงเวลาที่เศร้าโศกของผู้คนทั่วโลกที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้  โบสถ์ Saint Giles ประจำเขตแพริชในเมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้จัด ‘Festival of Angels’ ตกแต่งโบสถ์ด้วยทูตสวรรค์ทำด้วยมือกว่า 6,000 องค์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในเวลส์ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2021 ไปจนถึงช่วงปีใหม่  Revd Dr Jason Bray บาทหลวงของโบสถ์ Saint Giles กล่าวว่า “สำหรับคริสเตียนหลายคน ทูตสวรรค์เป็นตัวแทนของความหวังและแสงสว่าง ตอนนี้คือช่วงเวลาที่เราโผล่ออกมาจากวันที่มืดมนที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แล้ว Festival of Angels จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่เราควรจะส่งต่อและแบ่งปันความหวังของคริสเตียนให้กับโลก” การจัดแสดงทูตสวรรค์เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากทูตสวรรค์ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 15 ที่แกะสลักไว้บนหลังคาไม้ของโบสถ์ ซึ่งทูตสวรรค์กว่า 6,000 องค์เหล่านี้เป็นตัวแทนของจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งหมด 6,150 คน ในเวลส์นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ จากรายงานล่าสุดของสาธารณสุขของเวลส์  ทูตสวรรค์เหล่านี้เป็นงานทำมือจากกระดาษ […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

LA สร้างหมู่บ้านหลังเล็กสีสดใส เพื่อลดวิกฤตคนไร้บ้านช่วงโควิด-19

การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกทำให้คนไร้บ้านเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เปราะบางยิ่งกว่าเดิม เพราะพวกเขาต้องสูญเสียทั้งงาน บ้าน และรายได้จากวิกฤตในครั้งนี้ รัฐจึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในสถานการณ์นี้  คนไร้บ้านในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่ไร้บ้านอีกต่อไป เมื่อรัฐได้สร้าง Chandler Boulevard Bridge Home Village หมู่บ้านขนาดกะทัดรัด สีสันสดใสสำหรับคนไร้บ้านขึ้นมา หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในย่าน North Hollywood ของเมืองลอสแอนเจลิส ที่นี่คือโครงการนำร่องชั่วคราวเพื่อสร้างบ้านให้ประชาชน ที่ไม่มีที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง ที่สำคัญโครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินของทางการลอสแอนเจลิส ในการแก้ไขวิกฤตคนไร้บ้านที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด  รายงานของ Los Angeles Homeless Services Authority เปิดเผยว่า ในปี 2020 เมืองลอสแอนเจลิสมีคนไร้บ้านกว่า 41,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2019 กว่า 16%  ที่นี่คือชุมชนบ้านหลังเล็กแห่งแรกของลอสแอนเจลิส ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไข ปัญหาคนไร้บ้านแล้ว การดำเนินการสร้างก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผู้รับผิดชอบการออกแบบและก่อสร้างหมู่บ้านแห่งนี้ ได้แก่ Lehrer Architects และ Bureau of […]

ฝึกอาชีพกับ ‘Young ออนไลน์’ โครงการช่วยเด็กไทยไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา

การระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไทยมีโอกาสที่จะหลุดจากระบบการศึกษามากที่สุดในประวัติศาสตร์ มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่อยากเรียนต่อแต่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ในสถานการณ์นี้ หลายคนจึงต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำงานเต็มเวลา ทั้งๆ ที่การศึกษาควรเป็นเครื่องมือที่พาชีวิตของเด็กไทยไปได้ไกลกว่านี้  หากคุณมีนักเรียน เพื่อน และคนรอบตัวที่มีความเสี่ยงต้องออกจากโรงเรียนเพราะขาดแคลนทุนการศึกษาอยู่ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับโครงการ ‘Young ออนไลน์’ โครงการที่ให้น้องๆ ที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ฝึกทักษะอาชีพที่นำไปใช้ได้จริง และไม่มีสอนในหลักสูตรของโรงเรียน เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตลาดออนไลน์ และทักษะการผลิตสื่อ รวมไปถึงทักษะชีวิต เช่น การตระหนักรู้ในตนเอง การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เยาวชนสามารถสร้างรายได้แก่ตนเอง ลดความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะพร้อมใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21  คุณสมบัติผู้สมัคร1. เป็นนักเรียนชั้น ม.3 – 6 ที่เสี่ยงหรือมีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาด้วยปัญหาด้านทุนทรัพย์2. มีความตั้งใจ และต้องการจะอยู่ในระบบการศึกษาต่อ3. มีความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานที่มีคนมอบหมายให้4. ถ้ามีความสนใจเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์และสินค้าในชุมชน ยิ่งดี! เมื่อฝึกทักษะจบแล้ว เยาวชนจะเข้าทำงานกับผู้ประกอบการในพื้นที่ในการยกระดับช่องทางการขายสู่ช่องทางออนไลน์ ทั้งการวิเคราะห์ลูกค้า ออกแบบสื่อ และช่วยสื่อสารในการขาย ซึ่งรายได้จากการขายสินค้าจากการประชาสัมพันธ์และช่วยงานของเยาวชน จะกลายเป็นรายได้และทุนทรัพย์ทางการศึกษาของเยาวชนต่อไป  ระยะเวลาโครงการจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนธันวาคม 2564 สมัครได้แล้ววันนี้ – 18 กันยายน 2564 ลงทะเบียนได้ที่นี่ https://bit.ly/3jT0qbHป.ล. […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวสวนสัตว์สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้หมี เฟอร์เร็ต เสือ สิงโต ฯลฯ แม้ยังไม่ติดโควิด-19 แต่กันไว้ก่อน

ได้ฉีดวัคซีนว่ายากแล้ว ได้วัคซีนดีๆ นั้นคงต้องรอปาฏิหาริย์ แต่สำหรับเหล่าสัตว์ในสวนสัตว์โอ๊คแลนด์ สหรัฐอเมริกาแค่อยู่เฉยๆ ก็มีคนมาฉีดวัคซีนให้ถึงที่! เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาสวนสัตว์ซานดิเอโกได้เริ่มฉีดวัคซีนในสัตว์จำพวกลิง (Primates) หลังเชื้อโควิด-19 ระบาดในฝูงกอริลรา สัปดาห์นี้สวนสัตว์โอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอเนียร์ จึงเร่งฉีดวัคซีนให้สัตว์ในสวนสัตว์เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ให้อยู่ต่อไป โดยเริ่มจากเจ้าเสือสองตัว จินเจอร์และมอลลี่ และสัตว์อื่นๆ ตามมาอย่างหมีกริซลี สิงโตภูเขา เฟอร์เร็ต ลิง และหมู  วัคซีนนี้ได้รับบริจาคมาสำหรับทดลองใช้งาน จากบริษัทโซเอทิส ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ บริษัทผลิตและพัฒนายาสำหรับสัตว์โดยเฉพาะ บริษัทนี้ได้บริจาควัคซีนกว่า 11,000 โดสให้กับสวนสัตว์ในสหรัฐฯ รวม 70 แห่ง และบริจาคให้ศูนย์อนุรักษ์ ศูนย์พิทักษ์สัตว์ สถาบันการศึกษา และองค์กรของภาครัฐหลายแห่งใน 27 รัฐอีกด้วย แม้สัตว์เหล่านี้จะยังไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะทางสวนสัตว์มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ระหว่างเจ้าหน้าที่และสัตว์ และให้เจ้าหน้าที่ดูแลสวมชุดป้องกันอย่างดีเมื่อเข้าใกล้สัตว์ที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายเช่น สัตว์จำพวกลิงไม่มีหาง (Apes) และสัตว์ในวงศ์เสือและแมว (Felines) การฉีดวัคซีนครั้งนี้จึงเป็นเพียงการ ‘ป้องกันไว้ก่อน’ ไม่ใช่แค่สัตว์ในสวนสัตว์เท่านั้นที่เสี่ยงติดเชื้อหรือติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข หรือแมวก็ติดเชื้อโควิด-19 ได้เช่นกัน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.