ความเสี่ยงและโรคภัย ที่มาพร้อมวิถีชีวิตคนเมือง กับหมอภัทรภณ | Unlock the City EP.09
ไทยคือหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตในช่วงวัย 30 – 60 ปี หรือที่เรียกว่า ‘ตายก่อนวัยอันควร’ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น เราสามารถออกแบบนโยบายสุขภาพหรือแม้กระทั่งออกแบบผังเมือง เพื่อป้องกันการเกิดโรคในคนกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อแก่ตัวไป พวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เจ็บป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและเมือง
Unlock the City เอพิโสดนี้ ชวนฟังบทสนทนาของ ‘ภัทรภณ อติเมธิน’ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มาแลกเปลี่ยนถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเมือง ที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทวีความรุนแรง เนื่องจากวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้แข่งขัน ภายใต้ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทุ่นแรง ซึ่งอีกแง่หนึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ ‘เนือยนิ่ง’ ในหมู่คนรุ่นใหม่
ยังไม่นับเปอร์เซ็นต์ของโรคติดต่อ-โรคไม่ติดต่อ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามกลุ่มการพัฒนาของประเทศทั่วโลก เพราะหากลงลึกถึงปัญหาจริงๆ แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน อาหารการกิน การคมนาคมขนส่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ไม่มากก็น้อย
ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง
YouTube : https://youtu.be/zXOicJq9-5Q
Spotify : https://spoti.fi/3qg5kSi
Apple Podcasts : https://apple.co/3etflcu
Podbean : https://bit.ly/3RpW22j