‘No Worries If Not’ สำรวจความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้หญิงผ่านบอร์ดเกมที่จำลองจากสถานการณ์จริง

จุดร่วมของผู้หญิงทั่วโลกคือ การรู้สึกว่าสังคมออกจะกดดันการใช้ชีวิตของพวกเธอมากเกินไป ต้องผจญกับอุปสรรค ต่อสู้กับกรอบความคิดต่างๆ ราวกับอยู่ในเกมที่ไม่ได้อยากเล่น แต่ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงก็อยากลองเอาชนะกับสิ่งที่ต้องพบเจอดูบ้าง ทางสตูดิโอออกแบบ ‘Little Troop’ และ ‘Billie’ แบรนด์ความงามจากสหรัฐอเมริกา จึงร่วมมือกันนำปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องเจอมาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมที่มีชื่อว่า ‘No Worries If Not’ เพื่อพาผู้เล่นไปสำรวจความคาดหวังและความกดดันจากสังคมที่ผู้หญิงต้องเจอ ‘Georgina Gooley’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Billie กล่าวถึงไอเดียของเกมว่า ได้มาจากแนวคิดการใช้ชีวิตในฐานะผู้หญิงในปัจจุบัน ที่ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกมที่ไม่สามารถควบคุมและทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ได้เลย จึงตัดสินใจนำความคิดเหล่านี้มารวมเข้ากับบอร์ดเกม No Worries If Not ถึงแม้ว่าตัวเกมจะสดใส สนุกสนาน ดูเหมือนมองโลกในแง่ดี แต่ Little Troop เลือกที่จะสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้เล่นด้วยอุปสรรคที่นำมาจากปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เช่น การขอโทษมากเกินไป การที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ หรือแม้แต่คำพูดว่าคิดมากไป เพราะทางสตูดิโออยากให้บอร์ดเกมนี้เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้หญิงได้เล่นและควบคุมชีวิตตัวเองเพื่อลองเป็นผู้ชนะบ้าง โดยเนื้อหาที่นำมาใช้บนตัวเกมนั้นอ้างอิงมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มหญิงสาวถึงความคาดหวังทางเพศและความท้าทายที่ต้องเจอในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ส่วนวิธีการเล่นก็เหมือนกับบอร์ดเกมทั่วไป ที่ผู้เล่นต้องทอยลูกเต๋าเพื่อพาตัวเกมของตนเดินตามจำนวนที่ทอยได้ โดยระหว่างทางจะเจอกับหลุมพรางต่างๆ บนกระดาน เช่น The Wage Gap (ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง), Smile […]

Linghokkalom นักวาดภาพสาว ผู้หยิบ 10 หญิงไทยที่ขับเคลื่อนสังคมมาสื่อสารให้คนรู้จักกันดีมากขึ้น

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีคือ ‘วันสตรีสากล’ เป็นวันสำคัญที่ซัปพอร์ตขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของผู้หญิงทั่วโลก บ้างใช้เพื่อเป็นโอกาสในการเฉลิมฉลอง หรือบ้างก็ใช้เพื่อเป็นวาระของการขับเคลื่อนให้ผู้หญิงมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกกีดกันด้วยอคติเพราะเหตุแห่งเพศนานาประการอีกต่อไป ไม่ต่างจาก เนอส–วิศัลย์ศยา ลอยไสว นักวาดภาพประกอบอิสระเจ้าของนามปากกา Linghokkalom ที่มองเห็นคุณค่าความสำคัญของผู้หญิงทุกๆ คน เธอตัดสินใจนำภาพวาดผลงานที่ตัวเองเคยสร้างสรรค์เอาไว้ในโปรเจกต์ The Hundred Women เมื่อปี 2021 มาเผยแพร่บนเพจ Visansaya L. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา  The Hundred Women Project เป็นโปรเจกต์ที่นำเสนอภาพวาดผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลจากทั่วทุกมุมโลกผ่านสายตาและฝีมือของนักวาดภาพประกอบหญิงที่เป็นตัวแทนจากแต่ละประเทศ ตั้งแต่อินเดีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา โรมาเนีย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี เวียดนาม และ แน่นอนประเทศไทยเรา มีเนอส หรือ Linghokkalom เป็นตัวแทน Illustrator ที่เข้าร่วมโปรเจกต์  เนอสเล่าว่า เธอได้เลือกนำเสนอผู้หญิงไทยจำนวน 10 คน […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

Museum of First Time พิพิธภัณฑ์จำลองที่ทำให้เห็นปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวครบทุกมิติ

รู้หรือไม่ว่ากรณีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายส่วนใหญ่เกิดจากคนในครอบครัว และ 100% ของเคสเหล่านี้ ‘ไม่ได้จบที่ครั้งแรก’ ‘มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล’ ร่วมกับ เอเจนซีโฆษณา ‘Wunderman Thompson Thailand’ ได้เปิดตัว ‘Museum of First Time’ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสและรับรู้เรื่องราว ‘ครั้งแรก’ ของเหยื่อผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัวและส่งสารให้ผู้หญิงและเหยื่อความรุนแรงว่า #ให้มันจบที่ครั้งแรก Museum of First Time เป็นพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) ที่สร้างจากเรื่องจริงของเหยื่อที่ถูกทำร้ายร่างกาย คุณจะได้เปิดประสบการณ์แบบเสมือนจริง (Immersive Experience) เพราะเป็นการจำลองบรรยากาศจากเรื่องจริงของเหยื่อ ที่มาพร้อมเสียงและภาพที่มองได้แบบ 360 องศา  ตั้งแต่เปิดประตูบ้าน พิพิธภัณฑ์ค่อยๆ ถ่ายทอดเรื่องราวความรักช่วงแรกที่โรแมนติกหอมหวานผ่านสิ่งของต่างๆ อย่างเช่น รูปคู่รูปแรกและของขวัญชิ้นแรก หลังจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงความรักที่ขื่นขม ความรุนแรงครั้งแรก ไปจนถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น การกักขังหน่วงเหนี่ยวและการทำร้ายร่างกายจนเลือดตกยางออก และยังปิดท้ายด้วยวิดีโอของคนต้นเรื่อง ที่จะทำให้คุณตระหนักถึงความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น และรู้สึกใกล้ตัวเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า แคมเปญนี้ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นจริงว่า ครั้งแรกของผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงเป็นอย่างไรบ้าง […]

ไม่ต้องโป๊ก็ลงแข่งได้ สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติยอมเปลี่ยนกฎ ให้นักกีฬาหญิงใส่กางเกงขาสั้นแทนบิกินี

‘บิกินี’ ซึ่งเป็นยูนิฟอร์มของนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 หลังจากสหพันธ์แฮนด์บอลยุโรป (EHF) สั่งปรับทีมนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงนอร์เวย์เป็นเงิน 1,500 ยูโร (ราว 58,000 บาท) เนื่องจากพวกเธอสวมกางเกงขาสั้นแนบเนื้อแทนบิกินีในการแข่งขันแฮนด์บอลชายหาดชิงแชมป์ยุโรปปี 2021 โดยทาง EHF อ้างว่า พวกเธอ ‘แต่งกายไม่เหมาะสม’  กรณีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความจำเป็นที่นักกีฬาหญิงต้องสวมชุดบิกินีระหว่างลงแข่งขัน นอกจากนั้น การลงโทษครั้งนั้นยังถูกตีตราว่าเป็น ‘การแบ่งแยกทางเพศ’ หรือ ‘การเหยียดเพศ’ จนนำไปสู่การเรียกร้องและกดดันให้มีการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวด้วย โดยในเดือนกันยายน 2021 รัฐมนตรีกีฬาของเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ได้เรียกร้องให้สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF) ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของนักกีฬาหญิงใหม่ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ กระแสต่อต้านชุดบิกินีที่ยืดเยื้อส่งผลให้ IHF ตัดสินใจเปลี่ยนระเบียบการแต่งกายสำหรับนักกีฬาในที่สุด โดยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2021 IHF ได้ออกกฎใหม่ที่ไม่กำหนดให้นักกีฬาหญิงสวมบิกินีระหว่างลงแข่งขัน แต่ระบุว่า นักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสามารถสวมใส่ ‘เสื้อกล้ามที่พอดีตัว’ และ ‘กางเกงขาสั้นแนบเนื้อ’ (จากเดิมที่กำหนดให้ใส่เสื้อครอปแขนกุดและกางเกงทรงบิกินี) ส่วนนักกีฬาชายสามารถสวมกางเกงขาสั้นที่ไม่หลวมจนเกินไป แต่กางเกงต้องอยู่เหนือเข่าราว 10 […]

#หญิงเองก็ลำบาก ฟังเสียงผู้หญิงทั่วโลกที่ต้องการมีชีวิตที่เท่าเทียมและปลอดภัย

ข้อใดต่อไปนี้ คือเหตุการณ์ที่คุณเคยเจอในชีวิตก. เดินห่อไหล่เพราะกลัวโดนมองหน้าอกข. ถ่ายทะเบียนรถให้เพื่อนหรือครอบครัว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินค. โดนคนแปลกหน้าแซว อย่าง ‘ไปไหนจ๊ะ’ ‘คนสวย’ ‘อยู่แถวไหน’ง. เจียดเงินซื้อข้าวเพราะต้องซื้อผ้าอนามัยจ. ถูกทุกข้อ คำถามข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงจำนวนนับไม่ถ้วนต้องพบเจอในแต่ละวัน หรืออาจต้องเผชิญมาทั้งชีวิต ถึงแม้บางคนอาจมองว่าเป็น ‘เรื่องเล็ก’ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งเหล่านี้สร้างความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต และความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการออกมาส่งเสียงจากการโดนกดทับของสังคม ซึ่งพวกเธอไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ตัวเองมีสิทธิเหนือคนอื่น แต่ต้องการใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียม และไม่ให้ลูกหลานต้องเผชิญกับสิ่งที่พวกเธอเคยเจอ Where Is My Name? – ผู้หญิงอัฟกันไร้สิทธิในการมีตัวตนในสังคม ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานไม่มีสิทธิ์เปิดเผยชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ไร้ชื่อพวกเธอ เพราะข้อห้ามอันคร่ำครึของชาวอัฟกันที่เมื่อใครพูดชื่อพี่สาว น้องสาว ภรรยา และแม่ในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ จนผู้หญิงต้องใช้นามสมมติเวลาไปพบคนแปลกหน้า รวมถึงการไปพบแพทย์ด้วย อีกทั้งกฎหมายอัฟกานิสถานอนุญาตให้มีชื่อแค่ ‘พ่อ’ ในใบแจ้งเกิดเท่านั้น ทำให้ผู้หญิงอัฟกันกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำแคมเปญออนไลน์ที่ชื่อว่า #WhereIsMyName เพื่อทวงคืนสิทธิในการมีตัวตนของพวกเธอกลับคืนมา #FreePeriods #Saveผ้าอนามัย – ราคาที่ต้องจ่ายเพียงเพราะ ‘มีประจำเดือน’ ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนต้องควักเงินจ่ายทุกเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ทำให้ต้องใช้ผ้าอนามัยซ้ำๆ หรือใช้วัสดุทดแทน ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย หลายประเทศจึงมีการเรียกร้องให้ผ้าอนามัยเป็นรัฐสวัสดิการ […]

คุยกับไรเดอร์หญิงจาก foodpanda ในวันที่เพศไม่ได้จำกัดการทำงานอีกต่อไป

ในยุคที่ความเท่าเทียมทางเพศถูกพูดถึงในวงกว้าง เรามองเห็นองค์กรหลายแห่งพยายามปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคม จากโลกการทำงานที่ผู้ชายเคยปกครอง บางองค์กรนั้นเพิ่มสัดส่วนให้มีผู้หญิงและเพศหลากหลายได้เข้าไปเป็นระดับหัวหน้า บ้างมีการให้วันลากับพนักงานข้ามเพศที่ต้องเข้ากระบวนการทรานสิชัน หรืออย่างน้อยที่สุด คือการเปิดรับพนักงานหญิงและเพศหลากหลายให้เข้ามาแสดงศักยภาพในงานที่เคยถูกมองว่าเป็น ‘งานผู้ชาย’ หนึ่งในองค์กรนั้นที่เราพูดถึงคือ foodpanda แอปพลิเคชันหมีสีชมพูที่เราคุ้นตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า เที่ยง หรือเย็นที่หลายคนกำลังมองหาเมนูอร่อยสักเมนู คอลัมน์ Rights Now คราวนี้ ขอเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากล ด้วยบทสนทนากับ ‘หมิว’ ตัวแทนของไรเดอร์หญิงซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นหน้ากันในคลิปวิดีโอจาก foodpanda พูดคุยถึงการฝ่าฟันกว่าจะมาเป็นไรเดอร์หญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของ foodpanda ผ่าน 3 เมนูที่สะท้อนให้เห็นชีวิต การทำงาน และความเท่าเทียมในสายตาของเธอ นี่คือถ้อยคำที่ทำให้เราเห็นความสำคัญของคำว่าโอกาส และการให้คุณค่ากับคำว่าศักยภาพ โดยไม่มีคำว่าเพศมาเป็นอุปสรรคอีกต่อไป เมนูที่ชอบตั้งแต่เด็ก : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและซีเรียล “เป็นเมนูทานง่าย สะดวก รวดเร็ว บ่งบอกว่าเราเป็นคนง่ายๆ ไม่ยึดติดอะไรมาก เราชอบมาตั้งแต่เด็กๆ เล็กๆ เพราะคุณแม่ชอบซื้อมาตุนไว้ให้ ทุกวันนี้เราก็ยังทานอยู่ อาจจะไม่ใช่ทานตอนเช้าเหมือนเมื่อก่อนแต่เป็นช่วงหลังเลิกงาน “เราเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ครอบครัวมีลูกสามคน เราเป็นลูกคนกลาง อยู่กับแม่มาตลอดเพราะพ่อแม่แยกทางกัน ช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยเป็นคนเกเร แต่พอโตขึ้นถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่าต้องทำงานได้แล้ว ก็เลยแยกออกมาจากที่บ้านแล้วมาใช้ชีวิตของตัวเอง” เมนูแรกในฐานะไรเดอร์ของ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.