หาสมดุล มนุษย์กับธรรมชาติ The Terrarium – Redressing the Im/balance

นิทรรศการ “The Terrarium–Redressing the Im/balance” ถูกจัดขึ้นบนพื้นที่ของตึกแถว The Shophouse 1527 สามย่าน ซึ่งข้างล่างเป็นร้านกาแฟให้นั่งดื่มชิลๆ ระหว่างรอคิวขึ้นนิทรรศการ แต่ก่อนอื่นเลยขอท้าวความก่อนว่างานครั้งนี้คนจัดต้องการจะสื่อให้คนที่มารับรู้ถึงความสมดุลของสภาวะแวดล้อม ทั้งในโลกปัจจุบันและอนาคต ที่มนุษย์นั้นมักจะโหยหา เพื่อสร้างเกาะป้องกันจากโรคระบาดที่เกิดมากขึ้นกับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอากาศ หรือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ แต่อีกมุมหนึ่งมนุษย์กลับกลายเป็นโรคระบาดที่มีผลต่อธรรมชาติ เนื่องจากการเติบโตของเมือง แล้วแบบนี้จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลอยู่ไหม ? เราตั้งคำถามในใจ ขณะนั่งรอชมนิทรรศการ | ดินกรวดสีแดงพื้นที่หวงห้าม ขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ แทนที่จะเห็นต้นไม้เป็นสิ่งดึงดูดใจมากที่สุด กลับเป็นกรวดหินสีแดง ที่โรยไปตลอดทั้งทางเดินระหว่างดูนิทรรศการ เสียงที่ได้ยินจากผู้ชมคนอื่นๆ คือ “เอ้ย กรวดสีสวยแต่ไม่เข้ากับสีเขียวของต้นไม้เอาซะเลย” “ทำไมต้องเป็นสีนี้ด้วย ?” นั่นสิทำไมต้องเป็นสีนี้ เรามีโอกาสได้คุยกับคนจัดนิทรรศการ พี่เขาเล่าให้ฟังว่า พื้นที่ตรงนี้จำลองเหมือนการปลูกต้นไม้ในขวดหรือสวนขวด และกรวดเป็นส่วนหนึ่งที่มักจะใช้จัดสวนขวด การเดินเข้ามาในนิทรรศการเสมือนให้ทุกคนเข้ามาในสวนขวด แต่ที่ตั้งใจให้เจอกับกรวดสีแดงก่อนนั้น เพื่อจะบอกว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นเขตหวงห้าม จริงๆ ไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้เหล่านั้นมากเกินไป ไม่ควรไปเหยียบหรือจับให้มันบอบช้ำ พูดง่ายๆ คืออยากให้ความสำคัญกับต้นไม้มากขึ้น หรือมองอีกแบบคือไม่ควรขยายพื้นที่สีแดงนี้เพิ่ม เพราะอาจจะลุกล้ำพื้นที่สีเขียวเพิ่มไปอีก  | กระจกสะท้อนความสมดุล และไม่สมดุลในเวลาเดียวกัน  มุมสุดฮอตที่ใครต่อใครมาก็ต้องถ่ายรูปกันตรงนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ […]

สมดุล | คน | ธรรมชาติ ผ่านงานภูมิสถาปัตยกรรม

“เราอยากอยู่ในเมืองที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี จึงเลือกที่จะเรียน ‘ภูมิสถาปัตยกรรม’ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้” ส่องโลกทำงานของผู้สร้างสิ่งแวดล้อมให้ร่มรื่นอย่าง ‘ภูมิสถาปนิก’ ตัวกลางที่ เชื่อมธรรมชาติและมนุษย์ให้อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่พื้นที่สวนใน บ้าน สวนสาธารณะ ไปจนถึงทัศนียภาพของเมือง ซึ่งกว่าจะออกมาสำเร็จแต่ละ โปรเจกต์ต้องผ่านกระบวนการมากมาย พร้อมตัวช่วยสำคัญที่จะสร้างสรรค์ผล งานออกมาได้อย่างราบรื่นรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/2Y2Qz89 #UrbanCreature #AsusTH #ProArtStudioBook #ProArtStudioBookProX #W730

‘ครูบนดอย’ ความหวังของเด็กในพื้นที่ห่างไกล

“เรื่องความห่างไกล ความเหลื่อมล้ำของที่นี่เป็นสิ่งที่ชัดเจนมาก มันกลายเป็นเรื่องโชคของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เด็กบางคนอยู่ อ.อมก๋อย แต่ต้องเดินทางประมาณ 5 – 6 ชั่วโมงมาที่แม่วินเพียงเพื่อจะได้มีโอกาสในการเรียนเหมือนเด็กคนอื่นๆ เพราะที่นี่คือโรงเรียนที่ใกล้ที่สุดสำหรับเขาแล้ว”
.
ปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนมาเป็นออนไลน์ หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีเด็กอีกหลายพันชีวิตที่แม้แต่การศึกษาขึ้นพื้นฐานยังเข้าไปไม่ถึง เราจึงพาทุกคนเดินทางขึ้นเหนือไปที่โรงเรียนแม่วินสามัคคี จ.เชียงใหม่ เพื่อไปพูดคุยกับ ‘นายนพดล บุตรสาทร’ หรือ ‘ครูเปา’ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 5 จากมูลนิธิ Teach For Thailand เพื่อเข้าใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กนักเรียนบนดอย

ส่องนวัตกรรมสู้โควิด-19 กับ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

‘ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ หรือ ‘พี่เอ้’ ที่เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นอธิการบดีมาเป็นผู้นําในสังคมเพื่อช่วยเหลือประชาชน

3 ท่า 3 นาที ออกกำลังกายด้วยท่ารำพื้นบ้าน

คุณพอมีเวลาว่างสัก 3 นาทีไหม? สำหรับใครที่อยู่บ้านเหงาๆ หรือต้องกลับไปนั่งออฟฟิศเปื่อยๆ ลองมาออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายกันสักหน่อย กับเวลาไม่ถึง 5 นาที ด้วยการหยิบท่ารำกลองยาวพื้นบ้านมาผสมผสานให้กลายเป็นการออกกำลังร่วมสมัย จาก ‘Thai Fit Studio’ ที่จะทำให้ช่วงเวลาอัปแอนด์ดาวน์ของเราไม่น่าเบื่ออีกต่อไป!

รถเมล์ไทยหลังโควิด-19

แม้เครื่องบินจะหยุดชะงักเมื่อโรคระบาดมา แต่เชื่อว่าคนไทยเองยังจำเป็นต้องเดินทางอยู่ ดังนั้นรถสาธารณะอย่าง ‘รถเมล์’ ยังคงขายดีอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการจะคำนึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นความสะอาด และความปลอดภัย เราเลยลองจินตการดีไซน์รถเมล์ไทยหลังโควิด-19 มาให้ดูกัน แล้วเพื่อนๆ ล่ะ อยากให้รถเมล์ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบไหนกันบ้าง

ทำนายการเปลี่ยนแปลงวงการช่างภาพกับ ‘โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’

เปิดคำทำนายจากช่างภาพมือฉมัง ‘โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’ ว่าช่างภาพสายไหนจะรอดหรือใครจะร่วงหลังจากสถานการณ์ COVID-19 จบลง แล้วเหล่าช่างภาพจะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อให้อยู่รอดในวันที่การการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ และสู้กันยิบตา จนตอนนี้อาชีพช่างภาพที่หลายคนฝัน อาจไม่ได้หอมหวานอย่างที่ใครๆ มองอีกต่อไป

หน้ากากอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย

ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย

ปรับตัวเพื่ออยู่รอดในยุค ‘Digital Disruption’ คุยกับ ‘ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา’

นี่คือยุค digital disruption ที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ทุกอย่าง ถึงเวลาต้องเลือกระหว่าง ให้โลกกำหนดคุณ หรือ คุณจะชิงปรับตัวเองก่อนที่ใครจะมาแซงหน้า ?

‘โอ๊ต – ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’ ช่างภาพผู้เอาตัวรอดในยุค COVID-19

“บางครั้งในวิกฤตอาจมีโอกาส แต่ในตอนนี้มันไม่ใช่แล้วในวิกฤตมีวิกฤต”เมื่อช่างภาพมืออาชีพ ‘โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’ ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 การทำหน้าที่เก็บบันทึกช่วงเวลาแห่งความสุขกำลังหายไป และคาดการณ์ไม่ได้ว่าอาชีพช่างภาพจะกลับมาปกติอีกครั้งเมื่อไหร่ แต่เขากลับตั้งสติ หาวิธี เพื่อเอาตัวรอด และเตรียมตัวให้พร้อมด้วยแนวคิดที่ว่า “เมื่อทุกอย่างกลับสู่สถานการณ์ปกติแล้ว สำหรับคนที่เคยล้มลงหากเตรียมพร้อมอยู่เสมอ คุณจะกลับมาวิ่งได้ก่อนใครแน่นอน”

สลัดคราบตุ๊กตุ๊กพาเที่ยว เป็น ‘TukTuk X’ บริการส่งพัสดุทั่วเมือง

วินาทีนี้หลายธุรกิจจำเป็นต้องกระโดดจากอาชีพเดิม เพื่อหาช่องทางทำมาค้าขายในรูปแบบอื่น เพื่อให้เงินนั้นคล่องตัวมากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับบริษัททัวร์อย่าง ‘Smiling Tuk Tuk’ ที่แต่ก่อนเคยให้บริการขับรถตุ๊กตุ๊ก พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แต่พอปิดน่านฟ้าช่วงโควิด-19 แบบนี้ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนสู่ ‘TukTuk X’ โดยให้พี่ๆ คนขับทั้งหลาย ปรับอาชีพมาเป็นพนักงานรับส่งพัสดุแทน นับว่าเป็นไอเดียที่ช่วยทั้งผู้ประกอบ ลูกจ้าง และยังช่วยคนขายของช่วงนี้ ให้มีตัวเลือกสำหรับส่งของมากยิ่งขึ้น | เพราะรายได้จากการทำทัวร์เป็นศูนย์จึงต้องปรับตัว  คุณกิติชัย ศิรประภานุรัตน์ กรรมการผู้จัดการ Smiling Tuk Tuk เล่าให้เราฟังว่า ตั้งแต่บริษัททำธุรกิจทัวร์มากว่า 9 ปี ฝ่าวิกฤตต่างๆ มาค่อนข้างเยอะ แต่สุดท้ายแล้ววิกฤตมหากาฬต้องยกให้ไวรัสโควิด-19 เพราะรายได้กลายเป็นศูนย์ อีกทั้งยังมีสัญญาณเศรษฐกิจไม่สู้ดีนักตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว คงไม่ต้องรอให้ฟ้าหลังฝนมันสวยงามเสมอ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และคิดว่าในวิกฤตยังคงมีโอกาส เพื่อไม่ให้ลูกจ้างตกงานตามๆ กัน คุณกิติชัยจึงประชุมครั้งใหญ่ เพื่อกระจายความเสี่ยง ทำให้หันหัวเรือมาจับธุรกิจ Urban Tree ขายต้นไม้ฟอกอากาศในบ้านเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบรับดีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะช่วงนี้คนอยู่บ้านและตามหาต้นไม้เพื่อตกแต่งมุมห้อง อย่างไรก็ตามก็มีปัญหาด้านขนส่ง ที่ลูกค้ามักแจ้งว่าใบหักเสียหายบางจุด เป็นแบบนี้ซ้ำๆ จึงคิดว่าการขนส่งแบบไหนจะตอบโจทย์ที่สุด […]

โควิด-19 ทำพิษเศรษฐกิจไทย หรือเราถดถอยมานานแล้ว ?

เจ้าโควิดถูกเอ่ยถึงบ่อยๆ และตกเป็นจำเลยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยนั้นต้องหยุดชะงักกันเป็นแถว อยากให้หลายๆ คนมองกันเสียใหม่ ว่าก่อนจะเกิดไวรัสตัวปัญหานี้ขึ้น แท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยนั้นเริ่มถดถอยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ร่วมพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัตน์ สุขกําเนิด’

1 18 19 20 21 22 24

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.