หน้ากากอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย
ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย
ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย
นี่คือยุค digital disruption ที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ทุกอย่าง ถึงเวลาต้องเลือกระหว่าง ให้โลกกำหนดคุณ หรือ คุณจะชิงปรับตัวเองก่อนที่ใครจะมาแซงหน้า ?
“บางครั้งในวิกฤตอาจมีโอกาส แต่ในตอนนี้มันไม่ใช่แล้วในวิกฤตมีวิกฤต”เมื่อช่างภาพมืออาชีพ ‘โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’ ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 การทำหน้าที่เก็บบันทึกช่วงเวลาแห่งความสุขกำลังหายไป และคาดการณ์ไม่ได้ว่าอาชีพช่างภาพจะกลับมาปกติอีกครั้งเมื่อไหร่ แต่เขากลับตั้งสติ หาวิธี เพื่อเอาตัวรอด และเตรียมตัวให้พร้อมด้วยแนวคิดที่ว่า “เมื่อทุกอย่างกลับสู่สถานการณ์ปกติแล้ว สำหรับคนที่เคยล้มลงหากเตรียมพร้อมอยู่เสมอ คุณจะกลับมาวิ่งได้ก่อนใครแน่นอน”
วินาทีนี้หลายธุรกิจจำเป็นต้องกระโดดจากอาชีพเดิม เพื่อหาช่องทางทำมาค้าขายในรูปแบบอื่น เพื่อให้เงินนั้นคล่องตัวมากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับบริษัททัวร์อย่าง ‘Smiling Tuk Tuk’ ที่แต่ก่อนเคยให้บริการขับรถตุ๊กตุ๊ก พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แต่พอปิดน่านฟ้าช่วงโควิด-19 แบบนี้ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนสู่ ‘TukTuk X’ โดยให้พี่ๆ คนขับทั้งหลาย ปรับอาชีพมาเป็นพนักงานรับส่งพัสดุแทน นับว่าเป็นไอเดียที่ช่วยทั้งผู้ประกอบ ลูกจ้าง และยังช่วยคนขายของช่วงนี้ ให้มีตัวเลือกสำหรับส่งของมากยิ่งขึ้น | เพราะรายได้จากการทำทัวร์เป็นศูนย์จึงต้องปรับตัว คุณกิติชัย ศิรประภานุรัตน์ กรรมการผู้จัดการ Smiling Tuk Tuk เล่าให้เราฟังว่า ตั้งแต่บริษัททำธุรกิจทัวร์มากว่า 9 ปี ฝ่าวิกฤตต่างๆ มาค่อนข้างเยอะ แต่สุดท้ายแล้ววิกฤตมหากาฬต้องยกให้ไวรัสโควิด-19 เพราะรายได้กลายเป็นศูนย์ อีกทั้งยังมีสัญญาณเศรษฐกิจไม่สู้ดีนักตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว คงไม่ต้องรอให้ฟ้าหลังฝนมันสวยงามเสมอ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และคิดว่าในวิกฤตยังคงมีโอกาส เพื่อไม่ให้ลูกจ้างตกงานตามๆ กัน คุณกิติชัยจึงประชุมครั้งใหญ่ เพื่อกระจายความเสี่ยง ทำให้หันหัวเรือมาจับธุรกิจ Urban Tree ขายต้นไม้ฟอกอากาศในบ้านเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบรับดีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะช่วงนี้คนอยู่บ้านและตามหาต้นไม้เพื่อตกแต่งมุมห้อง อย่างไรก็ตามก็มีปัญหาด้านขนส่ง ที่ลูกค้ามักแจ้งว่าใบหักเสียหายบางจุด เป็นแบบนี้ซ้ำๆ จึงคิดว่าการขนส่งแบบไหนจะตอบโจทย์ที่สุด […]
เจ้าโควิดถูกเอ่ยถึงบ่อยๆ และตกเป็นจำเลยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยนั้นต้องหยุดชะงักกันเป็นแถว อยากให้หลายๆ คนมองกันเสียใหม่ ว่าก่อนจะเกิดไวรัสตัวปัญหานี้ขึ้น แท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยนั้นเริ่มถดถอยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ร่วมพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัตน์ สุขกําเนิด’
ชวนทุกคนมาฟังจิตแพทย์ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’ คุยเรื่องวิธีการรับมือกับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วง COVID-19 ไปได้ และข้อคิดที่ช่วยให้เรามองโลกนี้อย่างมีความสุขมากกว่าเคย
วิกฤตไวรัสโควิด-19 ทำเอาหลายธุรกิจต้องปรับตัวกันยกใหญ่ รวมถึงโฮสเทลเองที่ไม่มีแม้แต่คนจะเข้าพัก ทำให้ ‘ส้ม-อติพร สังข์เจริญ’ เจ้าของ The Yard Hostel ย่านอารีย์ หันมาจับธุรกิจ ‘รถพุ่มพวง’ ในชื่อ ‘The Yard Grocery’ หรือ ‘บ้านญาติร้านชำ’ ที่ขอพาเหล่าวัตถุดิบออร์แกนิกจากเกษตรกร ขนใส่รถพุ่มพวงสีส้มแดงสุดฮิป แล้วเหยียบกริ่งเรียกลูกค้า พร้อมบริการถึงหน้าบ้านทั่วทั้งซอยอารีย์
Urban Creature ของอาสาพาทุกคนเข้าป่า ผจญไพรผ่านตัวหนังสือไปพร้อมกับ ‘พี่วุธ-ประสิทธิ์ คำอุด’ ช่างภาพและผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ เจ้าของเพจ ‘อาเฌอ’ ที่จะขอเป็นเจ้าถิ่นบอกเล่าเรื่องราวในวันที่ป่าไร้ผู้คน พร้อมฝากภาพถ่ายแทนความห่วงใย จากเหล่าสรรพสัตว์ให้คนเมืองได้หายคิดถึง | เมื่อชีวิตโหยหาธรรมชาติการเดินทางจึงเริ่มต้นอีกครั้ง บ่ายวันหนึ่งกลางเดือนเมษายนที่แสนจะร้อนอบอ้าว แต่ก็เทียบไม่ได้กับความร้อนรุ่มที่มันสุมอยู่ในใจ เมื่อคนที่หลงใหลการเดินทางอย่างเราต้องติดเเหง็กออกไปไหนไม่ได้ ใช้ชีวิตอยู่แต่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ กับกิจวัตรประจำวันเพียงไม่กี่อย่าง ไม่ว่าจะ กิน นอน ทำงาน เป็นอย่างนี้มาตลอดทั้งเดือน ทำให้เราเบื่อหน่าย จนชีวิตแทบหมดไฟ… เมื่อออกไปไหนไม่ได้ทางเดียวที่เราสามารถเข้าใกล้ธรรมชาติได้มากที่สุด คือการท่องเที่ยวผ่านโลกออนไลน์ ขับเคลื่อนด้วยเมาส์ เลี้ยวซ้ายแลขวาดูธรรมชาติผ่านภาพถ่ายของคนโน้นที คนนี้ที จนวันหนึ่งเราไปสะดุดตากับโพสต์ของช่างภาพคนหนึ่ง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการโดนกักตัวอยู่ในป่า พร้อมกับเหล่าสิงสาราสัตว์ผ่านเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า ‘อาเฌอ’ | ‘อาเฌอ’ ผู้ใช้ภาพถ่ายเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ ทันทีที่ปลายสายกดรับโทรศัพท์ สิ่งแรกที่เราได้ยินกลับมาไม่ใช่เสียงของพี่เขา แต่เป็นเสียงของนกน้อยใหญ่นานาชนิดเซ็งแซ่ทักทายเข้ามาก่อนที่เราจะเริ่มต้นบทสนทนาเสียอีก ในที่สุดก็ได้คุยกับ ‘พี่วุธ – ประสิทธิ์ คำอุด’ นักสื่อความหมายธรรมชาติ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นช่างภาพผู้หลงใหลการถ่ายภาพสัตว์ป่าเป็นชีวิตจิตใจ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘อาเฌอ’ ที่คอยถ่ายทอดเรื่องราวของสัตว์ป่าผ่านภาพถ่ายมากว่า […]
ยามที่เราต้องห่างกันมากเป็นพิเศษ เพลงบางเพลงทำให้เราคิดถึงใครบางคน ‘พี่แสตมป์’ จึงขอเปิดช่วงไลฟ์บนเฟซบุ๊ก ‘ห่างกันวันละเพลง’ มาช่วยคลายเหงาและความคิดถึงบนโลกโซเชียล เราชวนพี่แสตมป์คุยเรื่องความสัมพันธ์ของผู้คนในช่วงนี้ ที่ความห่างไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่กลับทำให้ได้ทบทวนว่า “ความสัมพันธ์ของเรามันสําคัญยังไง” #UrbanCreature #UrbanPeople #COVID19 #โควิด19 #ห่างกันวันละเพลง
เพราะไม่ต้องการให้มรดกที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี ของ “เครื่องปั้นดินเผา” เกาะเกร็ด ต้องกลายเป็นเพียงของที่ตั้งโชว์อยู่แค่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ‘พงษ์พันธุ์ ไชยนิล’ หรือ ‘พี่จ๊อด’ ทายาทช่างศิลป์รุ่นที่ 5 แห่งบ้านดินมอญ จึงเกิดไอเดียทำเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ภายใต้แบรนด์ ‘Panchanil’ ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้เครื่องปั้นดินเผา หยิบยกเทคนิคมากมายมาสร้างความงามและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร จนทำให้เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตออกมาซ้ำๆ กลายเป็นของที่มีชิ้นเดียวในโลก จากเดิมมีราคาแค่ไม่กี่สิบบาท เพิ่มมูลค่าจนมีราคาเป็นหลักแสนในที่สุด
เมื่อครั้งหนึ่งในชีวิตของ ‘บอล-นเรศร นันทสุทธิวารี’ แบ็คแพ็คเกอร์จากเพจ ‘บอลพาเที่ยว’ ที่หิ้วกระเป๋าอยาก ไปพิชิตเส้นทางในเนปาล แต่กลับต้องจบทริปกระทันหัน เพราะการประกาศล็อคดาวน์ของประเทศเนปาล เพื่อ ยับยั้งไวรัสโควิด-19 ให้อยู่หมัด ทำให้สถานะ ‘นักท่องเที่ยว’ ของบอล ต้องกลายเป็นผู้ติดค้างอยู่ในเมืองกาฐ มาณฑุ ทันที !
ว่ากันว่า ‘ดนตรีคือโลกไร้พรมแดน’ จนบางครั้งขีดจำกัดของเพลงอาจไม่มี ชวนเจาะลึกวงการดนตรีกับตัวพ่อแห่งยุค ‘ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม’ ผู้ที่คลุกคลีกับเสียงเพลง จนมองเห็นการเปลี่ยนผ่านของศิลปินไปจนถึงคนฟัง “เพราะคนฟังเพลงง่ายขึ้น ถ้าคุณจะทําเพลง คู่แข่งของคุณก็คือคนทั้งโลก” ป๋าเต็ดยังมองเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมดนตรีที่ตอนนี้คล้ายกับว่าเส้นแบ่งแนวเพลงเริ่มไม่มีอยู่ ไม่เพียงแค่ป๋าที่เห็น แต่เชื่อว่าหลายคนรวมถึงเราก็รู้สึกได้ การพูดคุยครั้งนี้จึงมีครบรสตั้งแต่ยุคแรกแย้มของเสียงเพลง ก้าวใหม่ของวงการดนตรี ไปจนถึงคำถามที่ว่า “จริงๆ แล้วตอนนี้ ดนตรียังมีขีดจำกัดเหลืออยู่หรือเปล่า ?”