หลังม่าน ‘เรื่องเล่าจากหิ่งห้อย’ ละครเวทีที่ไม่ต้องใช้ตาดู แต่รับรู้ด้วยใจ

‘เรื่องเล่าจากหิ่งห้อย’ คือละครเวที 6 มิติที่ตั้งใจพาบทละครและนักแสดงมาเปิดประสบการณ์ให้คนดู ร่วมค้นหาสิ่งล้ำค่าที่ซ่อนอยู่ในความมืด ผ่าน รส กลิ่น เสียง สัมผัส เวลา และสถานที่

อนุรักษ์ ‘อาคาร 2465’ สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าของโรงงานมักกะสัน

ในอดีตหากพูดถึง ‘โรงงานมักกะสัน’ (Makkasan Workshop) ภาพของความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองคงมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะสมัยก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นโรงงานซ่อมรถไฟแห่งเดียวในอาเซียนที่สามารถทำการซ่อมและผลิตรถโดยสารได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน บทบาทที่เคยเกรียงไกรก็ลดลงเหลือเพียงงานซ่อมหนักรถจักรดีเซล ซ่อมรถดีเซล รางรถโดยสาร ซ่อมดัดแปลงล้อ และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงสนับสนุนงานซ่อมบำรุงในส่วนภูมิภาคเท่านั้น  ท่ามกลางโรงงานและอาคารหลายหลังในที่ดินหลายร้อยไร่ของโรงงานมักกะสัน ได้ซุกซ่อนสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้นับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นคือ ‘อาคาร 2465’  หรือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นอาคารพัสดุ | ย้อนเวลาไปหาสถาปัตยกรรมล้ำค่า ‘อาคาร 2465’ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกระเบิดหล่นลงบริเวณโรงงานมักกะสันและพื้นที่โดยรอบเป็นว่าเล่น จนอาคารภายในโรงงานพังทลายเสียหายไปเกือบหมด มีเพียงไม่กี่หลังที่อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดของโรงงาน ‘โรงซ่อมรถโดยสาร’ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2465 มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐโชว์แนวทั้งหลัง ส่วนข้างบนเป็นโครงหลังคาเหล็ก ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ตรงหน้าบันมีตัวเลขไทยระบุปีที่สร้าง คือ ๒๔๖๕ และอักษรย่อ ร.ฟ.ผ. หรือกรมรถไฟแผ่นดิน (เป็นชื่อที่ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2464-2467) […]

โทน บางแค – คุณโทนทอง สุขแก่น ธุรกิจพระเครื่อง

“20 กว่าปีที่อยู่ในวงการ ผมจะไม่เอาความผิดพลาดของตัวเองไปยัดเยียดให้ลูกค้า เพราะลูกค้าเงินเขาแท้เขาต้องได้พระแท้”

‘คลองบางประทุน’ สายธารเส้นเล็ก ที่เป็นทั้งชีวิตและจิตใจของชุมชน

เพราะกลัวว่าวันหนึ่ง ‘บางประทุน’ จะหายไป ‘พี่ปอง-นาวิน มีบรรจง’, ‘พี่ปิง-ปุญโญ มีบรรจง’ และ ‘พี่หน่อย-พงพันธ์ นิ่มมา’ จึงร่วมกันก่อตั้ง ‘กลุ่มรักษ์บางประทุน’ ขึ้น เพื่อที่จะรักษาธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ภูมิปัญญา รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวของคลองบางประทุน ให้ทั้งคนในพื้นที่ และผู้คนภายนอกได้รับรู้ถึงความสำคัญของชุมชนแห่งนี้

Urban Quote : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

“ไม่มีใครอยากเกิดเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดี เพราะไม่มีโอกาสและทางเลือก” – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) – คำพูดนี้เป็นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “สมเด็จย่า” หากย้อนกลับไปดูพื้นทีดอยตุง จังหวัดเชียงราย สมัยก่อนนั้นค่อนข้างลำบากมาก ลำบากในที่นี้ คือลำบากทั้งเรื่องป่าที่มีความแห้งแล้ง เป็นภูเขาหัวโล้น ถูกทำลายให้เสื่อมโทรม และลำบากทั้งเรื่องปากท้อง เพราะชาวบ้านยากจน แม้จะปลูกฝิ่นขายหรือจะปลูกข้าวกิน ก็ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโอกาสในการดำรงชีวิตก็ว่าได้ ท่านจึงอยากนำผืนป่ากลับคืนมา พัฒนาชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านไปพร้อมๆ กัน “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” ภายในระยะเวลาร่วม 30 ปี เมื่อสมเด็จย่าริเริ่ม ‘โครงการพัฒนาดอยตุง’ ขึ้นมา จากป่าที่แห้งแล้ง กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งชีวิตชาวบ้านที่เคยขาดรายได้หรือขาดช่องทางทำมาหากิน ก็กลับมามีรายได้พร้อมๆ กับมีความรู้ และความชำนาญเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยรูปแบบการจัดการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เอาคนขึ้นมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาก่อน โดยให้เขาอยู่ให้ได้ รักษาความเจ็บป่วย ให้พ้นจากความไม่รู้ แก้ปัญหาความยากจน ให้สัญชาติ เมื่อคนเข้มแข็งแล้ว ตามมาด้วยการปลูกป่า ใช้การจ้างงานให้ชาวบ้านมาปลูกป่า เช่นป่าเศรษฐกิจอย่างกาแฟและแมคคาเดเมีย ทำให้ต้นไม้ก็มีที่อยู่ ชาวบ้านก็มีรายได้ควบคู่กันไป […]

“โรงเรียนดนตรีในชุมชนคลองเตย” ที่ใช้ดนตรีและศิลปะ สร้างโลกใบใหม่ให้เด็กคลองเตย

ภาพของบ้านหลังเล็กสี่เหลี่ยมที่ถูกตีด้วยไม้เก่าๆ มุงหลังคาด้วยสังกะสีที่เกือบขึ้นสนิม อยู่ในพื้นที่อันน้อยนิดที่หลายพันชีวิตอาศัยอยู่ ปรากฏให้เราเห็นจนชินตา ผ่านพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนคลองเตย” ภาพลักษณ์ของชุมชนที่คนกล่าวถึง คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ยาเสพย์ติด การพนัน อาชญากรรม และการฉกฉิงวิ่งราว ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดกลุ่มคนเล็กกลุ่มหนึ่งที่อยากจะสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมเปิดโลกที่แตกต่างผ่านการเรียนดนตรีและศิลปะให้กับน้องๆในชุมชนคลองเตย จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “Khlong Toey Music Program” โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กในละแวกชุมชน 70 ไร่ ของคลองเตยนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555  คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนดนตรีที่มีชื่อว่า “Khlong Toey Music Program” ถูกก่อตั้งโดย 2 สาวชาวฝรั่งเศสและชาวไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากมูลนิธิ Playing For Change องค์กรที่ให้การสนับสนุนโครงการสอนดนตรีกับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก แรกๆ ทั้งสองเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ก่อนจะเริ่มชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนดนตรีด้วยกันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จากวันนั้นที่มีเพียงไม่กี่คน จนมาถึงตอนนี้โครงการมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 30 คน โดยมีการสอนดนตรี และสอนกาโปเอย์ราสลับกันไป และแม้จะมีเด็กเพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของโรงเรียนยังคงเท่าเดิม […]

ใจบ้านสตูดิโอ : สตูดิโอสถาปนิก ที่ใช้หัวใจในการฟื้นฟู “คลองแม่ข่า”

ถ้าให้นึกถึง ‘เชียงใหม่’ หมุดหมายปลายทางของใครหลายคน ภาพหน้าบ้านที่เห็นอาจจะเต็มไปด้วยความสวยงาม ที่โดดเด่นทั้งประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ผู้คนที่เป็นมิตร และสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนับไม่ถ้วน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าในรั้วบ้านของชาวเชียงใหม่ มีปัญหาหนึ่งที่คนในพื้นที่เผชิญมายาวนานหลายสิบปี อย่างปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียของ ‘คลองแม่ข่า’ คลองคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่ ที่ในอดีตเคยเปล่งประกายด้วยความใสสะอาด เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำ หากินด้วยการจับกุ้ง หอย ปลา ปูในคลอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมืองขยายตัว ความเจริญค่อยๆ แทรกตัวเข้ามา สวนทางกับคลองที่เคยเป็นชีวิตของคนริมน้ำก็ค่อยๆ ตายลงไป จากที่เคยเป็นบ้านของสัตว์น้อยใหญ่ ก็กลายเป็นที่อยู่ของขยะและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ แทน จนเมื่อไม่นานมานี้ ปัญหาของคลองแม่ข่าได้ถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง ด้วยกลุ่มคนทั้งรุ่นเก่า และใหม่ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังที่อยากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ให้ดีขึ้น ผ่านโปรเจกต์สุดยิ่งใหญ่อย่าง โครงการ ‘Imagine Maekha’ ที่รวบรวมหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาทำงานร่วมกัน ซึ่ง ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ ก็เป็นผู้ร่วมเดินทางกลุ่มหนึ่งที่ขับเคลื่อนโปรเจกต์นี้ การเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ เราดีใจมากที่ ‘คุณอ้อ – แพรวพร สุขัษเฐียร’ หนึ่งในผู้บุกเบิกสตูดิโอออกแบบแห่งนี้มานั่งพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของ ‘ใจบ้านสตูดิโอ’ รวมถึงโปรเจกต์ ‘Imagine […]

LIVE ALIVE : “เติมเต็ม อินสไปร์ ทันสมัย” 3 ไลฟ์สไตล์ที่คนยุคใหม่ขาดไม่ได้

เทรนด์การใช้ชีวิตของคนเมืองที่เป็นหลักยึดสำคัญ 3 อย่างคือ “ต้องเติมเต็มประสบการณ์ ต้องอินสไปร์ และต้องทันสมัย” เราไปดูกันว่า สามสิ่งนี้จะตอบโจทย์มนุษย์รุ่นใหม่ได้อย่างไร ตามมาใช้ชีวิตด้วยกันเลย

คุณชุม ช่างภาพรอยเตอร์ TP.02

URBAN PEOPLE : The Professional 02.“ผมเชื่อว่าถ้าเราชอบจริงในสิ่งที่ทำ สักวันมันจะสำเร็จ” ’อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา (ชุม)’ ช่างภาพประจำสำนักข่าวรอยเตอร์ประเทศไทย เมื่อความชื่นชอบในการถ่ายภาพทำให้เขาผันตัวจากวิศวกรคอมพิวเตอร์กลายมาเป็นช่างภาพข่าวมืออาชีพที่มากความรู้และประสบการณ์.มาสัมผัสเคล็ดลับการทำงาน และกล้องคู่ใจที่ติดตัวได้ตลอดเวลา กับกิจกรรมเวิร์กชอปการถ่ายภาพจาก SONY RX โดยคุณชุม ที่มาพร้อมแนวคิดมุมมองการเป็นช่างภาพแบบมืออาชีพที่ใครๆ ก็เป็นได้กับกล้อง Sony RX ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ที่ https://www.sony.co.th/…/alphaunive…/rx/

OAT-CHAIYASITH

URBAN PEOPLE : OAT-CHAIYASITH .เก็บโมเมนต์สำคัญไว้บนภาพถ่าย สไตล์ “โอ๊ต ชัยสิทธิ์” ช่างภาพเวดดิ้ง ที่กดชัตเตอร์ด้วยความรู้สึก พร้อมมารู้จักเขาในมุมมองที่เรายังไม่เคยเห็น กับการฉีกกรอบเดิมๆ ผ่านโฟโต้เซ็ท Trans Project ที่บอกเล่าความหลากหลายทางเพศ

BANGKOKIAN EP.03

เห่นโล๊ววววว ชาวบางกอก ชีวิตช่วงนี้เป็นยังไงกันบ้าง แล้วย่านที่อยู่ตอนนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป มีอะไรสนุกๆอยากแชร์บ้างมั้ย วันนี้เราชาว UC มีเรื่องราวสนุกๆมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ชมกัน ไปดูกันเล้ยยยย

BANGKOKIAN EP.02

ไหนๆขอเสียงชาวกรุงเทพหน่อยเร้วว!! มาดูกันว่าใครจะมาเม้าท์เรื่องมันส์ๆเกี่ยวกับย่านที่เราอยู่บ้าง มีอะไรอยากบ่น แล้วพวกเขามีวิธีคิดให้ชีวิตแฮปปี้ยังไง ตามมาเลย!

1 18 19 20 21

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.