ชิลเกินปุยมุ้ย! โซลเปิดห้องสมุดกลางแจ้ง พร้อมหนังสือกว่า 3,000 เล่ม ให้คนนั่งอ่านหนังสือฟรีจนถึงปลายปี

เพราะเมืองที่ดีคือเมืองที่พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของประชาชนอย่างรอบด้าน ล่าสุดกรุงโซล เกาหลีใต้ ได้เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย https://rusbank.net วันที่ 23 เมษายน 2565 รัฐบาลกรุงโซลได้เปลี่ยน ‘โซลพลาซา (Seoul Plaza)’ ลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) โดยใช้ชื่องานว่า ‘Read at Seoul Plaza’ กรุงโซลไม่ได้จัดอีเวนต์นี้ขึ้นมาเล่นๆ เพราะภายในมีการจัดวางอุปกรณ์ที่พร้อมให้บริการคนเมืองอย่างครบครัน ได้แก่  – พื้นที่อ่านหนังสือเปิดโล่ง ที่รองรับผู้ใช้งานได้มากถึง 500 คน  – 8 ชั้นหนังสือเคลื่อนที่ มีหนังสือรวมกันกว่า 3,000 เล่ม – บีนแบ็กสีสดใสกว่า 70 ใบ – เสื่อปูพื้นกว่า 330 ผืน  – ร่มสนามกว่า 20 ชุด อุปกรณ์ทั้งหมดใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากภาพชาวโซลจำนวนมากที่แวะเวียนมานั่งพักผ่อนและอ่านหนังสือรับแสงแดดอุ่นๆ กันตลอดวัน […]

อนาคตพื้นที่สีเขียวในโซลคึกคัก เส้นทางสีเขียวจะถูกเชื่อมและขยาย 2,000 กม. ทั่วเมือง

รัฐบาลโซล (Seoul Metropolitan Government) ผุดโปรเจกต์ส่งเสริมเส้นทางสีเขียว (Green Path Project) เพื่อช่วยเชื่อมพื้นที่สีเขียวต่างๆ ทั่วทั้งโซลเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ ป่าไม้ สวนสาธารณะ และสวน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้พักฟื้นจากความเหนื่อยล้าในภาวะโควิด-19 ระบาด ด้วยพื้นที่เขียวๆ ในเมืองอีกต่อหนึ่ง โซลมีแผนการสร้างเส้นทางสีเขียว หรือ Linear Landscapes ให้มีภูมิทัศน์ธรรมชาติกลมกลืนไปกับพื้นที่ต่างๆ ในเมือง และเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวทั่วเมืองให้ประชาชนเข้าถึงสภาพแวดล้อมสีเขียวได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนในแต่ละย่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้จะยังอยู่ในสถานการณ์โรคระบาดที่จำกัดการใช้ชีวิตกลางแจ้งก็ตาม โปรเจกต์นี้ กรุงโซลจะลงทุน 180 พันล้านวอน (เทียบเป็นเงินไทยปัจจุบันเกือบ 4,900 ล้านบาท) ในช่วงห้าปีข้างหน้าเพื่อสร้างเส้นทางสีเขียวใหม่ระยะทาง 400 กม. ที่เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมแล้ว 1,600 กม. ทั่วกรุงโซล ทั้งยังปรับปรุงการเข้าถึงเส้นทางที่มีอยู่ อย่างเช่น Seoul Trail, Geungyosan Walkway, ทางเดินริมน้ำ และทางเดินริมถนน โครงการ Green Path ของโซลใช้กลยุทธ์หลักจำนวน สาม ข้อ […]

Seoul Fashion Week 2022 จากวังสู่รันเวย์แบบใหม่

แม้ยังอยู่ในช่วงโควิด แต่ Seoul Fashion Week (SFW) ปี 2022 ก็ยังคงสุดจะปัง และจัดเต็มไม่ยอมแพ้ปีไหนๆ เพราะอีเวนต์บิ๊กเบิ้มของเมืองหลวง และประเทศเกาหลีใต้ในปีนี้ จะสำแดงให้คนทั่วโลกได้เห็นถึงการผสานมรดกทางวัฒนธรรมที่ยาวนานกว่า 600 ปีให้โดดเด่นไปพร้อมกับเสื้อผ้า K-fashion สมัยใหม่ ภายใต้โจทย์ความโมเดิร์นที่ไม่ทิ้งลายอัตลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งถ่ายทอดแฟชั่นโชว์เก๋ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศบนแพลตฟอร์ม Naver TV, VLive, TikTok, YouTube และเว็บไซต์ทางการของอีเวนต์อย่างยิ่งใหญ่ งานสัปดาห์แห่งแฟชั่นในเมืองโซลที่จัดขึ้นในเดือนนี้ จะนำเสนอแนวคิดอันสร้างสรรค์ให้เข้าถึงผู้ชมทุกคนได้มากที่สุด ส่วนหลักของงานจึงนำเสนอเป็นแฟชั่นโชว์รูปแบบดิจิทัล โดยจะมีวิดีโอคลิปที่บันทึกการแสดงบนรันเวย์สับๆ ที่ถ่ายทำล่วงหน้าจำนวนถึง 37 คลิป ซึ่งดีไซเนอร์เสื้อผ้าชั้นนำสัญชาติเกาหลี จะจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์คอลเลกชันล่าสุดของพวกเขาให้โลกรู้แบบจัดเต็ม อาทิ แบรนด์ SEOKWOON YOON, NOHANT, KUMANN YOO HYE JIN, NOTKNOWING และ A.BELL เป็นต้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าล้วนเป็นผลงานที่หลากหลาย เจิดจรัส และทรงอิทธิพลต่อเทรนด์แฟชั่นทั้งโลกมากขึ้นทุกปี  สำหรับลูกเล่นของงานปีนี้ไม่มีคำว่า ‘ธรรมดา’ เพราะการจัดทัพโชว์แฟชั่น […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

Hometown Cha-Cha-Cha เมื่อหมอฟันสาวโซลซัดโซเซจากเมืองหลวงไปซบไหล่ ตจว. ในหมู่บ้านชายทะเลที่กงจิน

พอนึกถึงซีรีส์เกาหลีใต้ทีไร ส่วนใหญ่โลเคชันหลักของเรื่องก็มักเกิดขึ้นในโซล เพราะโซลคือภาพแทนของเมืองหลวงสุดป็อป ที่เป็นภาพจำของคนทั้งโลก ในฐานะศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว และเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนจนเรียกเป็น Megacity ของโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ดำเนินเรื่องในโซล แล้วหันไปมองโลเคชันเมืองอื่นอย่างจังหวัดคังวอน พื้นที่ที่เค-ซีรีส์ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ดำเนินเรื่องล่ะ คุณพอจะนึกถึงซีรีส์เรื่องไหนที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดนี้ไหม ถ้านึกไม่ออก เราขอยก Hometown Cha-Cha-Cha ออริจินัลซีรีส์จาก Netflix มาเล่า เพราะนอกจากจะถ่ายทอดชีวิตคนในพื้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดคังวอน เรายังอยากชวนผู้ชมหลบจากกรุงโซลมาสำรวจเรื่องราวในพื้นที่นอกเมืองหลวงผ่านซีรีส์โรแมนติกคอเมดี้เรื่องนี้ คาจา! (ไปกัน) เดินทางไม่นานหรอก เพราะถ้ากะเส้นทางขับรถจากโซลไปคังวอนคร่าวๆ จะมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร มาเหยียบคันเร่งด้วยจังหวะ Cha-Cha-Cha จากเมืองหลวงสู่ปลายทางที่หมู่บ้านริมทะเลแสนสงบ (โลเคชันสมมติ) เพื่อพบกับเรื่องรักของทันตแพทย์สาวจากโซลที่ปิ๊งรักกับหนุ่ม ตจว.ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้วคาดเข็มขัดให้มั่นเพราะตอนนี้เรากำลังอยู่บนรถของ Yoon Hye-jin (Shin Min-a) ทันตแพทย์สาวมั่นที่จำใจละทิ้งโซล เพราะดันไปมีความขัดแย้งกับผู้อำนวยการคลินิกทันตกรรมผู้มีคอนเนกชันกว้างขวางในเมืองหลวง ฮเย-จินเลยตกงาน เธอเศร้าจนต้องออกมานั่งเหม่อริมทะเลเงียบๆ คนเดียว ซึ่งซีนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของฮเย-จินแบบไม่อาจย้อนกลับ นอกจากจะเล่าเรื่องรักโรแมนติกเจือกับความโกลาหลที่เกิดขึ้น ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับสังคมเมืองและสังคมชนบทให้เราได้สังเกตกันสนุกๆ แถมดูแล้วก็ได้อมยิ้มไปกับเคมีของ […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน

ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]

แค่ยืนชมวิวหรือโดดสะพาน AI เกาหลีช่วยป้องกันได้ ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมจากกล้องวงจรปิด

ปี 2020 ที่ผ่านมาตัวเลขผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยทางน้ำของโซลสูงขึ้นกว่า 30% ส่วนใหญ่เป็นหนุ่มสาววัย 20 – 30 ปีที่ต้องเผชิญปัญหาว่างงาน และความตึงเครียดจากวิกฤตเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่จึงเร่งดูแลอย่างใกล้ชิด คอยเฝ้ากล้องวงจรปิดอย่างแข็งขัน  แต่บางครั้งการเฝ้าสังเกตและวิเคราะห์ของมนุษย์ก็ผิดพลาดกันได้ ทำให้ไม่สามารถบอกแน่นอนว่าคนที่ยืนอยู่ตรงสะพานนั้นแค่เดินเล่นหรือพยายามจะฆ่าตัวตายกันแน่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติโซลจึงพัฒนาระบบ AI ให้เรียนรู้พฤติกรรมของบุคคลที่มีแนวโน้มว่าจะกระโดดสะพานจากบันทึกของหน่วยกู้ภัยทางน้ำของโซลและภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด เช่นท่าทีแสดงความลังเล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทีมกู้ภัยรู้และเข้าถึงบุคคลนั้นๆ ได้เร็วและแม่นยำมากขึ้น เพราะสำหรับภารกิจกู้ภัยแล้วทุกวินาทีนั้นมีค่า เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยทางน้ำของกรุงโซลที่ร่วมมือกับทีมนักวิจัยและสำนักงานใหญ่การจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติกรุงโซลจะได้ทดสอบระบบ AI นี้อย่างเป็นทางการภายในเดือนตุลาคมนี้ เราหวังว่าการร่วมมือกันของมนุษย์และเทคโนโลยีในครั้งนี้จะช่วยชีวิตอีกหลายชีวิตไม่จบลงที่สะพานแม่น้ำฮัน

แอร์กี่หนีเที่ยว : อินชอน

วันนี้จะมานำเสนอ คำศัพท์ที่รู้กันในหมู่ลูกเรือ เพื่อบอกว่าเราจะมีเวลาอยู่ในที่นั้นๆ นานเท่าไหร่ เช่น

‘ขีด’ หมายถึง วันหยุดเต็มๆ 1 วัน ที่เมืองที่เราบินไปลง ไม่นับวันทำงานไปและทำงานกลับ (ซึ่งปัจจุบันนั้นหายากมากแล้ว) เราจะเรียกว่า วันขีด (มาจากเส้นขีดที่เกิดขึ้นในตารางบินของลูกเรือผู้โชคดีนั้นๆ) ถ้าได้หยุด 2 วัน ก็จะเรียกว่า 2 ขีด (อันนี้ ปัจจุบันเรียกว่า ฝันเฟื่อง) เป็นต้นว่า เดือนนี้ แอร์กี่ มีไฟลท์ ไทเป 1 ขีด จะไปเดินหาของอร่อยทานให้พุงแตกเลย หรือ เมื่อเดือนที่แล้วไปโอซาก้า ขากลับเครื่องเกิดเสีย เลยได้อยู่ขีดต่อ เพราะต้องรอซ่อมเครื่องให้เสร็จเสียก่อนถึงจะกลับได้

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.