กทม. ประกาศเขตควบคุมฝุ่น ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นใน ป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคมของทุกปี กรุงเทพมหานครมักต้องเผชิญกับค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานเสมอ ด้วยเหตุนี้ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการหารือแนวทางร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเดินหน้ามาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหา (PM 2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2568 ผลลัพธ์ที่ได้คือ การออก 7 มาตรการเพิ่มเติมเพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และประกาศเขตควบคุมฝุ่น ห้ามรถบรรทุก 6 ล้อเข้ากรุงเทพฯ ชั้นใน 22 พื้นที่เขตมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) เป็นครั้งแรก เริ่มต้นด้วยพื้นที่วงแหวนรัชดาภิเษกภายใต้พื้นที่บังคับใช้ จำนวน 9 เขต ประกอบด้วย เขตดุสิต เขตพญาไท เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตคลองสาน เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตบางรัก และพื้นที่แนวผ่านถนนต่างๆ 13 เขต 31 แขวง ที่จะบังคับใช้เมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสีแดงเกิน […]

‘corn smog ice cream crunch’ ไอศกรีมรสชาติใหม่จาก ‘kintaam’ แรงบันดาลใจจาก PM2.5 ในเชียงใหม่

‘kintaam’ คือร้านไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่นอกจากความเอร็ดอร่อยแล้ว ยังเต็มไปด้วยความครีเอทีฟในการสร้างสรรค์รสชาติให้เหล่านักชิมได้ลิ้มลองไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ อีกด้วย สำหรับฤดูร้อนนี้ที่คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วทุกพื้นที่ สำทับด้วยปัญหาของ ‘ฝุ่น’ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะ PM2.5 ในเชียงใหม่ที่ยังคงอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง kintaam ได้สะท้อนวิกฤตที่ชาวเชียงใหม่ต้องเจออยู่ทุกวันผ่านไอศกรีมรสชาติใหม่ ‘corn smog ice cream crunch’ corn smog ice cream crunch เป็นไอศกรีมรสนมที่คลุกด้วยคอร์นเฟลกส์อบกรอบผสมคาราเมลชาร์โคล จนได้หน้าตาที่เหมือนกับก้อนฝุ่น ซึ่งคอร์นเฟลกส์นั้นก็เป็นตัวแทนของผลผลิตข้าวโพดที่มีการเผาไร่ข้าวโพดในการทำเกษตรกรรม จนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน ‘น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา’ และ ‘น้ำทิพย์ ไชยจินดา’ เล่าถึงไอเดียการริเริ่มทำไอศกรีมรสนี้ว่า ปัญหา PM2.5 ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเธอในช่วงปีหลังๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงอยากทำครีเอชันนี้ขึ้นมา เพราะปกติร้านขนมหรือร้านกาแฟมักจะต้องออกเมนูพิเศษใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อ และลูกค้าใหม่ได้รู้จักแบรนด์เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงมองว่าการที่กินตามออกเมนู ‘corn smog’ ในช่วงฤดูฝุ่นนี้ ไม่ได้ต่างจากการออกเมนูพิเศษประจำฤดูกาลอื่นๆ เช่น วาเลนไทน์หรือฮาโลวีน เพราะวิกฤตฝุ่นคือเหตุการณ์พิเศษที่ไม่ได้เกิดในชีวิตประจำวันปกติ แต่ส่งผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว พวกเธอต้องการสื่อสารว่ามันคือปัญหาที่เราทุกคนเผชิญอยู่ในตอนนี้ ใครที่สนใจ ตามไปชิม […]

บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5

สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]

เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นพิษในภาคเหนือกับ ‘Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่นควัน’ ที่หอศิลปกรุงเทพฯ  วันนี้ – 28 พ.ค. 66

ตอนนี้เวลาแหงนมองไปบนฟ้า เชื่อว่าหลายคนคงทำหน้าเหม็นเบื่อกันสุดๆ เพราะฝุ่นควันซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศปกคลุมเมืองอยู่ ทำให้การออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือการใช้ชีวิตเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่สะดวกนัก ยิ่งกับโซนภาคเหนือที่มีทั้งไฟป่า เผาหญ้า ทำนา เลี้ยงสัตว์ การจราจร ฯลฯ ปัญหาฝุ่นควันยิ่งมีแต่ทวีความรุนแรงขึ้นจนมองวิวทิวทัศน์ภูเขาแทบไม่เห็น อย่างเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่หลายภาคส่วนล้วนพูดถึงและพยายามหาทางแก้ปัญหา เพราะบริเวณภาคเหนือตอนบนประสบปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดนที่พูดได้ว่าร้ายแรงที่สุดในรอบ 20 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่ง พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร ยังไม่นับรวมฝุ่นควันจากการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านอีก เช่น ตอนเหนือของ สปป.ลาว รัฐฉานของเมียนมา ที่ส่งผลให้ประชาชนกว่า 2 ล้านคนเผชิญผลกระทบทางสุขภาพและความเป็นอยู่ และอีกหนึ่งตัวการก่อมลพิษทางอากาศคือ อุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการพืชเพื่อมาเป็นอาหารสัตว์มากตามไปด้วย และเมื่อต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ก็เกิดการรุกรานพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ให้ลดน้อยลง เช่น การรุกล้ำพื้นที่ป่าแอมะซอนเพื่อใช้ปลูกถั่วเหลือง หรือพื้นที่ป่าไม้ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงก็ถูกเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพด 10.6 ล้านไร่ ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายพันล้านตันถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนและกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ได้เสียที แม้ปัจจุบันค่าฝุ่น PM 2.5 ในเมืองจะลดน้อยลง หรืออากาศภาคเหนือได้กลับมาสดใสและมองเห็นภูเขาอีกครั้ง แต่เมื่อฤดูหมอกควันมาถึง ปัญหาก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อความเข้าใจที่มาของการเกิดฝุ่น ระบบทุนผูกขาด หรือชีวิตความเป็นอยู่ของคนกับป่า เกษตรกร ชาวนา ยังไม่ถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน ต้นตอสาเหตุเรื่องนี้ก็ยังอยู่ในม่านหมอกต่อไป เพื่อทำความเข้าใจปัญหาของฝุ่น PM […]

ไหว้เจ้าตรุษจีนแบบรักษ์โลกด้วย ‘ธูปศิลปากรรังสรรค์’ ช่วยลดการเผาไหม้และ PM 2.5

ปกติแล้วกิจกรรมสายมูฯ ต่างๆ อย่างการแก้บนปีชง ไหว้เจ้า ขอพรเสริมสิริมงคล หรือกระทั่งเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะถึงนั้นล้วนแล้วแต่มี ‘ธูป’ เป็นอุปกรณ์หลัก แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ควันธูปมีสารพิษหลายชนิดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด รวมถึงทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งผู้คนใช้ธูปมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงและผลกระทบเชิงลบก็มากขึ้นเท่านั้น ทีมวิจัยจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงนำผลกระทบเหล่านี้มาออกแบบ ‘ธูปศิลปากรรังสรรค์’ เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากควันธูป ความแตกต่างคือ ธูปศิลปากรรังสรรค์จะมีลักษณะสั้นกว่าธูปทั่วไป เพื่อลดการเผาไหม้และใช้วัตถุดิบในการผลิตให้น้อยลง ทำให้มีต้นทุนต่ำลง ลดของเสียจากการจุดธูป และลด PM 2.5 ที่เป็นปัญหามลภาวะทางอากาศ โดยทางทีมวิจัยและศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะจะนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบของธูปศิลปากรรังสรรค์นี้ไปทดลองใช้ในพื้นที่ของศาลเจ้าด้วย ใครที่สนใจ ชวนไปทดลองใช้ธูปศิลปากรรังสรรค์ได้ที่ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ย่านเยาวราช ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 21 – 22 มกราคม 2566 และในงาน Bangkok Design Week 2023 ระหว่างวันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 แต่อาจต้องรีบหน่อยนะ เพราะผลิตภัณฑ์มีจำนวนจำกัด Source :Creative City | […]

PP Meltblown พลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน l Now You Know

เม็ดพลาสติก PP Meltblown คืออะไร ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้ด้วย? ก็เพราะหน้ากากอนามัยที่เราใส่ช่วงออกจากบ้าน หน้ากาก N95 ที่ใส่กันฝุ่นพิษ PM 2.5 หรือแม้แต่ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่ทุกคนได้ยินกันบ่อยช่วงโควิด ล้วนทำมาจากเม็ดพลาสติกชนิดนี้ มันจึงใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตทุกคนอย่างแยกไม่ออก ใกล้ตัวขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักให้มากขึ้น แถมตอนนี้ประเทศไทยเรายังมีโรงงานผลิตและพัฒนา PP Meltblown เป็นเจ้าแรกโดย IRPC ซึ่งช่วยยกระดับศักยภาพการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบไม่ต้องง้อการนำเข้าจากต่างประเทศอีกแล้ว Source : https://www.facebook.com/IRPCofficial/ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #NowYouKnow #IRPCThailand #PPMeltblown #Polimaxx

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.