มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

‘ค่ารถไฟฟ้าทะลุ 100’ ทำอย่างไรให้ราคาไม่พุ่ง ทุกคนจ่ายไหว

ทุกปีจะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าขึ้นไปเรื่อยๆ และไม่มีทางจะลดลงง่ายๆ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะมีแนวทางไหนที่ช่วยลดค่ารถไฟฟ้าได้บ้าง

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

Free Fire World ขึ้นขบวนสู่โลกแห่งเกมเอาตัวรอด

ลองคิดดูสิว่าในโลกความเป็นจริงทุกวันนี้ เราต้องเจอกับเรื่องเครียดๆ ในชีวิตมากมาย เรียกว่าวันจันทร์ – ศุกร์ มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็แทบจะอยู่กับงานตลอดเวลา จนไม่ได้พักหาความผ่อนคลายให้ตัวเอง ดังนั้นเมื่อเราจริงจังกับงานเต็มที่แล้ว ถึงเวลาเล่นก็ต้องเล่นให้จริงจัง ซึ่งเกมบนมือถือก็เป็นตัวเลือกยอดฮิตที่คนทุกเพศทุกวัยเล่นกันทั้งบ้านทั้งเมือง อย่าง ‘Garena Free Fire’ เกมใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมซึ่งมียอดดาวน์โหลดสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

บัตรตั๋วร่วมใช้แน่ ! เริ่มเดือนมิถุนายน 2563 รวมทุกการขนส่งในบัตรเดียว BTS + MRT + ARL + รถเมล์

ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งให้เกิดระบบ ‘ตั๋วร่วม’ ใบเดียวที่ใช้ข้ามขนส่งสาธารณะได้ทั้งหมด เพื่อสะดวกในการเชื่อมการเดินทางในกรุงเทพฯ ได้อย่างครอบคลุม โดยวางแผนไว้ว่าจะใช้จริงตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป หากไม่มีปัญหาขัดข้อง

ย่านเก่าเยาวราช

ประเดิมนั่ง MRT สถานีใหม่ ‘วัดมังกร’ ไปสัมผัสเสน่ห์ย่านเก่าเยาวราชที่โด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ด จนได้ชื่อว่า ‘ไชน่าทาวน์’ ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ต้องมาเช็คอินกินของอร่อย แต่วันนี้เราจะพาไปเปิดมุมมองชมสถาปัตยกรรม ซึ่งโดดเด่นและมีเรื่องราวน่าหลงใหลไม่แพ้กันเลย พร้อมสำรวจวิถีชีวิตของผู้คนในเยาวราชและกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน ผูกโยงไลฟ์สไตล์ใหม่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

‘‘ราชเทวี – สามย่าน’ ย่านที่ไม่เคยหลับ ไลฟ์สไตล์เมืองแห่งอนาคต

‘ราชเทวี – สามย่าน’ เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยตกเทรนด์ ครบทุกด้านไลฟ์สไตล์ และเป็นที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนทุกวัย ไม่ว่าวัยเรียน วัยงาน หรือครอบครัว ด้วยการ เดินทางถึงกันได้เพียงไม่กี่นาทีด้วยรถไฟฟ้า ทำให้ใครๆ อยากมาใช้ชีวิตในย่านนี้ ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปส่องย่าน ‘ราชเทวี – สามย่าน’ ว่าปัจจุบันมีอะไรอัปเดตกันบ้าง และย่านนี้มีอะไรน่าสนใจ

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

Art on Train : มาดูไอเดียดีๆ ในการเปลี่ยนรถไฟฟ้าให้กลายเป็นพื้นที่ศิลปะกัน

เช้าวันใหม่อันสดใสของคนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับเพียงเพราะการขึ้นโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะ สำหรับหลายๆ คน ระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกเดียวในการเดินทาง ซึ่งหากจะให้พูดว่าเป็นการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาเหมาะสม ก็คงจะพูดกันได้อย่างไม่เต็มปาก นี่ยังไม่รวมไปถึงความยากลำบากในการพยายามใช้บริการระบบเหล่านั้นในชั่วโมงเร่งด่วน ที่ก่อนจะเดินทางไปถึงหน้าประตูออฟฟิศอันเป็นที่รัก พลังงานอันน้อยนิดของพวกเราก็ได้ถูกสูบสิ้นออกไปโดยขั้นตอนอันซับซ้อนของการโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะทั้งหลาย ตั้งแต่ยังไม่เข้าแถวซื้อบัตรด้วยซ้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็เป็นปัญหา Top Hit ของหลายประเทศบนโลกเช่นกัน ในยุคสมัยที่ชีวิตของมนุษย์รวมศูนย์เข้าสู่เมืองใหญ่ การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ไม่ว่ายังไงก็เลี่ยงไม่ได้ และความแออัดก็เป็นข้อเสียตามธรรมชาติของระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท โชคดีตรงที่ว่าเราสามารถใช้ประเทศเหล่านั้นเป็น Case Study ที่ดีในการแก้ปัญหาได้ หลากวิธีการสร้างสรรค์ที่เคยเกิดขึ้นอาจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้โดยสารได้ แน่นอนว่าวิธีเหล่านี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวที่ดี แต่ก็เป็นการทำให้การใช้เวลาโดยสารไปกับระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และน่าจะเป็นการเริ่มต้นวันที่ดีกว่าการเบียดเสียดไปกับคนทั้งเมืองในขบวนรถไฟที่เต็มไปด้วยโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารในร้านสะดวกซื้อแน่นอน 1. Art on Track The World’s Largest Mobile art Gallery Art on Track เป็นโปรเจกต์ศิลปะที่เริ่มต้นโดยนักศึกษาจาก School of Art Institute of Chicago เมื่อปี 2008 ด้วยไอเดียเริ่มต้นที่จะมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการแสดงงานของศิลปินในพื้นที่และเหล่านักศึกษาศิลปะ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นก็คือภายในตัวโบกี้ของรถไฟใต้ดินที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดี Art […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.