ชวนดู 5 ภาพยนตร์สั้นเทศกาล Five Films for Freedom สร้างมุมมองใหม่เข้าใจในความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการตระหนักถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิต่อคู่ชีวิตเพศวิถีอื่นๆ และรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมในทุกเพศสภาวะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องเพศเป็นอย่างดี การบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ รวมถึงง่ายต่อการเข้าถึงของคนหลายๆ กลุ่ม คอลัมน์ Urban’s Pick ขอแนะนำ 5 ภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากสหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกปี รับชม Five Films for Freedom เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2567 ผ่านทาง youtube.com/@britishartschannel/featured Little One (เจ้าตัวเล็ก)ความรักของครอบครัวที่ไม่ว่าใครเป็นเพศใดก็ตาม แอนิเมชันจากฟิลิปปินส์ ความยาว 9 นาที หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่แน่ใจว่าเธอจะเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างไร หญิงสาวตัดสินใจไปสัมภาษณ์พ่อบุญธรรมของเธอที่เป็นเกย์ทั้งคู่ […]

ชมฟรี ‘Five Films for Freedom’ เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ที่หอภาพยนตร์ 16 มี.ค. และทางออนไลน์

สื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์นั้นถือว่าเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างความรู้และความเข้าใจต่างๆ ให้กับสังคมได้ง่ายที่สุด เช่นเดียวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกๆ ปี ปีนี้ Five Films for Freedom กลับมาอีกครั้ง พร้อมเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 10 ด้วยการนำภาพยนตร์เข้ามาฉายที่หอภาพยนตร์ ให้ชาวไทยได้รับชมหนังสั้น 5 เรื่องจาก 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย สเปน ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา พร้อมกับอีก 1 ภาพยนตร์จากประเทศไทย รวมถึงวงเสวนาเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ในวันที่ 16 มีนาคม 2567 ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของ LGBTQIA+ จากทั่วโลกที่ต้องพบเจอภายใต้สภาพสังคมและเรื่องราวอันโหดร้ายผ่านมุมมองของความแตกต่างทางเพศ […]

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

What Did You Eat Yesterday? หนังฟีลกู้ดไม่ขายจิ้น แต่ถ่ายทอดชีวิตจริงของเกย์ญี่ปุ่นที่ดูแล้วยิ้ม + หิว

What Did You Eat Yesterday? หรือ เมื่อวานคุณทานอะไร น่าจะเข้าไปอยู่ใน Watchlist ของใครหลายคนตอนที่สตรีมมิงเจ้าใหญ่นำมาเผยแพร่ให้คนไทยดู พร้อมกับเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักรีวิวที่ดูแล้วว่า นี่คือซีรีส์ญี่ปุ่นแนว Slice of Life ที่ดูแล้วทั้งฟินและหิวไปพร้อมกัน  ที่ว่าฟิน เพราะมันถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเกย์วัยกลางคนอย่างสมจริงและแสนจะอบอุ่นใจ โดยไม่ได้เน้นขายความจิ้น ความโป๊ หรือการแสดงความรักด้วยการแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบกัน เหมือนซีรีส์ชายรักชายส่วนหนึ่งในสื่อเมนสตรีมจะเป็น อันที่จริง ถ้าจะมีอะไรในเรื่องนี้ที่นับเป็น ‘การแสดงความรัก’ ได้ มันคงจะเป็นบทสนทนาเรียบง่ายที่ตัวละครถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันทุกวัน รวมไปถึงการทำอาหารอันละเอียดลออ ใส่ใจของ ‘ชิโร่’ ที่สอดแทรกเป็นกิมมิกในทุกๆ ตอน นำมาซึ่งความหิวของทั้ง ‘เคนจิ’ และคนดูอย่างเราและเพราะติดใจความฟิน/ความหิวของมันนี่แหละ เราจึงไม่พลาดจะเดินเข้าโรงหนังทันที เมื่อ What Did You Eat Yesterday? เวอร์ชันภาพยนตร์เข้าฉาย ย้อนกลับไปก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นซีรีส์ฮิต What Did You Eat Yesterday? เคยเป็นมังงะที่มียอดพิมพ์กว่า 5 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ในความนิยมอันล้นหลาม Fumi […]

พาทัวร์อีเวนต์ไพรด์ Bangkok Pride: Rainbowtopia 17 – 19 มิ.ย. 65 ที่ BACC และ Siam Square

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเดินไพรด์พาเหรดในงาน ‘นฤมิตไพรด์’ เฉลิมฉลองความหลากหลาย และเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศไปอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คราวนี้ถึงคิวของ ‘Bangkok Pride 2022: Rainbowtopia’ อีเวนต์ไพรด์อีกงานที่จัดเต็มทั้งศิลปะ เวิร์กช็อป เสวนา มาร์เก็ต และคอนเสิร์ต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองคอมมูนิตี้ LGBTQ+  เทศกาลนี้จัดขึ้นโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานและสื่อสารเรื่องเพศมาอย่างยาวนาน โดยร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ วงการภาพยนตร์ หรือศิลปินนักดนตรี โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน ธีมของงานใช้ชื่อว่า ‘Rainbowtopia’ เนื่องจากต้องการชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ที่คนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงวัย ได้มีพื้นที่ปลอดภัยในเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน  ภายในงานได้มีการแบ่งโซนกิจกรรมออกเป็นหลากหลายรูปแบบตามธีมย่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทั้ง 6 บนธงไพรด์ โดยแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกมาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ ภายในหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (BACC) และ สยามสแควร์ บล็อก I  บรรยากาศงานเป็นยังไงบ้าง สนุกสุดต๊าชแค่ไหน มีกิจกรรมใดที่ไม่ควรพลาด Urban Creature […]

Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

Rainbowtopia by SPECTRUM อีเวนต์รวมกิจกรรมเพื่อความหลากหลาย ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ 17 – 19 มิ.ย. 65

ใน ‘Pride Month’ หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ประเทศไทยได้จัดกิจกรรมหลากประเภทเพื่อเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลาย และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านธงสีรุ้ง การออกแคมเปญรณรงค์ รวมไปถึงการจัดไพรด์พาเหรดครั้งยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ  อีกหนึ่งกิจกรรมน่าสนใจที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ ‘Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia By SPECTRUM’ อีเวนต์ไพรด์เต็มรูปแบบเพื่อเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจและทุกอัตลักษณ์ของ LGBTQIA+ จัดขึ้นครั้งแรกโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานเรื่องเพศอย่างเข้มข้น พร้อมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ นักดนตรี และบุคคลจากวงการภาพยนตร์ ธีมของ ‘Bangkok Pride’ ปีแรกคือ ‘Rainbowtopia’ ที่ผู้จัดอยากชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียมที่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ มีพื้นที่ปลอดภัยในการเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ และได้รับสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมเสมอกันถ้วนหน้า  โดยธีมย่อยของงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้ง 6 สีบนธงไพรด์ ออกแบบโดย กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความเท่าเทียม ความหมายของรุ้งแต่ละสี ได้แก่ สีแดงคือชีวิต สีส้มคือการรักษา สีเหลืองคือดวงอาทิตย์ สีเขียวคือธรรมชาติ สีครามคือความสงบ […]

โปรแกรมหนัง Pride Month ดูหนัง 15 เรื่องฉลองความหลากหลาย ตลอดเดือน มิ.ย. ที่ House Samyan

ในเดือนมิถุนายนที่เป็น Pride Month ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการหยิบยกสื่อที่บอกเล่าและสนับสนุนความหลากหลายทางเพศมาฉายซ้ำหรือพูดถึงอีกครั้ง อย่างโรงหนัง House Samyan เองก็จัด Pride Month Program โปรแกรมพิเศษรวมหนังเฉลิมฉลองประเด็นนี้ด้วย ในโปรแกรมหนัง Pride Month นี้ มีทั้งหมด 15 เรื่อง ประกอบด้วยภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ โดยเนื้อหามีตั้งแต่เรื่องสิทธิของการข้ามเพศ การได้ค้นพบตัวตน การได้รักและถูกรัก ชีวิตของคู่รักเพศเดียวกัน ไปจนถึงการปลดปล่อยตัวเองจากกรอบของเพศและสังคม รายชื่อภาพยนตร์ทั้ง 15 เรื่อง มีดังนี้ – About Ray (2015) – Ammonite (2020) – CompartMent NO.6 (2021)– Dew ดิวไปด้วยกันนะ (2019)– Disobedience (2017)– Girl (2018)– Happy Together (1997)– Love of Siam รักแห่งสยาม (2007)– Malila the […]

ร่วมฉลอง Pride Month กับเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชันพิเศษ มอบรายได้ให้องค์กรเพื่อ LGBTQIA+

ใครอยากร่วมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เราขอชวนทุกคนสั่งซื้อเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน ‘Pride Month (Limited Edition)’ ที่ออกแบบโดย ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ์ พัฒนามาจากข้อความที่สกรีนอยู่บนเสื้อยืดของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ต้นฉบับออกแบบโดย ศุภวิชญ์ ถิตตยานุรักษ์  เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษนี้ผลิตโดย ‘Better Bangkok’ หรือ ‘ชมรมกรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าเดิม’ กลุ่มคนที่รวมตัวกันภายใต้เป้าหมายขับเคลื่อนและผลักดันประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับ ‘คน’ และ ‘เมือง’ เพื่อร่วมมือกันทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ทีมงาน Better Bangkok จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อยืดรุ่น Pride Month ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศ โดยเสื้อยืดล็อตแรกจะพร้อมจัดส่งรอบแรกในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 และจะพร้อมจัดส่งรอบถัดไปในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน Pride Month มีจำหน่ายไซซ์ S […]

เฉลิมฉลอง Pride Month ที่กรุงเทพฯ ไพรด์พาเหรด BANGKOK NARUEMIT PRIDE จากวัดแขกสู่สีลม 5 มิ.ย. 65

เดือนมิถุนายนคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่จัดงานเฉลิมฉลอง ‘Pride Month’ ในรูปแบบของขบวนพาเหรด และกิจกรรมอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางเพศ ในไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศอย่างเข้มข้น ซึ่งพิจารณาแล้วดูมีทิศทางที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีนี้ ได้มีกลุ่มคนและเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อความหลากหลายทางเพศ จัดไพรด์พาเหรดอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 (บางกอกนฤมิตไพรด์) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 19.00 น. โดยเริ่มตั้งขบวนพาเหรดหน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม  จุดยืนของ BANGKOK NARUEMIT PRIDE 2022 คือขบวนที่ต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ผู้คนต่างร้อยเรียงอยู่ด้วยกันภายใต้การเคารพความหลากหลาย โดยขบวนพาเหรดจะเกิดขึ้นผ่านการร้อยเรื่องราวตามเฉดสีรุ้งที่เป็นธงสัญลักษณ์แห่งความหลากหลายทั่วโลก ผู้เข้าร่วมสามารถออกแบบป้ายรณรงค์ และชุดเครื่องแต่งกายตามที่บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง แล้วร่วมเดินไปกับขบวนแยกตามประเด็นและเฉดสีได้ โดยในขบวนจะมีการแบ่งสีช่วงขบวน เพื่อร่วมแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ และสื่อสารถึงประเด็นที่ผู้เข้าร่วมไพรด์พาเหรดอยากสนับสนุน ยกตัวอย่าง ขบวนสีแดงคือพื้นที่ของคนที่อยากขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อชุมชนคนเพศหลากหลาย ขบวนสีส้มคือพื้นที่ของคนที่อยู่เคียงข้างและภาคภูมิใจที่จะสนับสนุนสวัสดิการเพื่อชาว LGBTQIAN+ ขบวนสีเหลืองสำหรับภาคธุรกิจ พรรคการเมือง ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ และผู้ปกครอง ที่ต้องการมายืนยันโอกาสในการมีอนาคตที่สดใสของเด็กๆ และเยาวชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี […]

โหลดฟรี! Welcoming the Rainbow คู่มือที่ช่วยให้ชาวพุทธรู้จักและเข้าใจความหลากหลาย

ขณะนี้ทั่วโลกเคลื่อนไหวและรณรงค์เกี่ยวกับ ‘กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘LGBTQIA+’ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมไปถึงมีมูฟเมนต์จากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะศาสนาที่เริ่มเปิดกว้างและเปิดรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น  ‘Welcoming the Rainbow’ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘ยินดีที่มีรุ้ง’ คือคู่มือภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ให้กับชาวพุทธ ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธที่เข้าวัดทำบุญ รวมไปถึงคนที่อยู่ในองค์กรและศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อเปิดรับความหลากหลายของชุมชนชาวสีรุ้งมากขึ้น  คู่มือเล่มนี้มาพร้อมแนวทางด้านทัศนคติและการปฏิบัติให้แก่ชาวพุทธเพื่อทำให้กลุ่ม LGBTQIA+ รู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธอย่างแท้จริง เนื้อหาครอบคลุมสาระที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเพศหลากหลายอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ เช่น ความหมายและคำนิยามของอักษรย่อ LGBTQIA+ ความหมายของ ‘รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation)’ เช่น ‘เลสเบียน’ ‘เกย์’ ‘เควียร์’ และ ‘ไบเซ็กชวล’ ไปจนถึงวิธีหลีกเลี่ยงคำพูด คำถาม หรือแม้แต่การเล่าเรื่องตลกที่อาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเหมารวม และอคติทางเพศ ซึ่งจะทำให้ชาว LGBTQIA+ รู้สึกถูกโจมตีและละเมิดทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ คู่มือเล่มนี้ยังสอดแทรกด้วยภาพประกอบสีสันสดใสสวยงาม เช่นภาพการ์ตูนพระสงฆ์ และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ และอายุ รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละบท เช่น ธงสีรุ้งและป้ายห้องน้ำสำหรับทุกเพศ […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.