รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!

‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!

ทัวร์ Tokyo Olympics 2020 ออนไลน์จาก Airbnb ที่จะทำให้คุณคิดถึงญี่ปุ่นกว่าเดิม

ใครคิดถึงญี่ปุ่นยกมือขึ้น!  ถึงแม้ช่วงนี้เราจะยังบินไปญี่ปุ่นไม่ได้ และไม่มีโอกาสได้เกาะขอบสนามเพื่อเชียร์ Tokyo Olympics 2020 อย่างใกล้ชิด แต่ Airbnb รู้ดีว่าเราคิดถึงญี่ปุ่นกันมากแค่ไหน จึงจับมือกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) ร่วมกันจัดเอ็กซ์พีเรียนซ์ออนไลน์หลากหลายรูปแบบมากกว่า 200 รายการบนแพลตฟอร์ม Airbnb ให้เราได้คลายความคิดถึงญี่ปุ่นลงไปบ้าง เพราะปีนี้ Airbnb ได้ร่วมกับอาสาสมัครท้องถิ่นญี่ปุ่น 89 คน จากศูนย์ช่วยเหลืออาสาสมัคร-มูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation Volunteer Support Center) จัดกิจกรรมออนไลน์ฟรีกว่า 20 กิจกรรม ใครสนใจเข้าร่วมทัวร์ออนไลน์ในครั้งนี้ต้องรีบจองก่อนตั๋วเต็ม เพราะที่นั่งมีจำกัดมากๆ และบางกิจกรรมเต็มไปแล้ว สามารถดูเอ็กซ์พีเรียนซ์ออนไลน์ฟรีทั้งหมดได้ที่นี่ ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มปักหมุดที่กิจกรรมไหน เราคัดมาแล้วเน้นๆ 5 ทริปน่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้วรีบเปิดคอม นั่งประจำที่ รัดเข็มขัดให้ดี แล้วบินไปญี่ปุ่นพร้อมกันเลย 1. เดินสำรวจรอบสเตเดียมแห่งใหม่ใจกลางโตเกียวExperience : Enchanting World of Tokyo Olympics 2020 ก้าวแรกเมื่อถึงญี่ปุ่นเราอยากพาทุกคนมาเริ่มต้นที่สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ที่ใช้เป็นสถานที่จัด […]

บ้านคือวิมาน ห้องน้ำคือสุขาวดี ดีไซเนอร์ญี่ปุ่นเลยออกแบบห้องน้ำสาธารณะสไตล์บ้านๆ กลางโตเกียว

ห้องน้ำสาธารณะในความคิดคนญี่ปุ่นหรือแม้แต่คนไทยอย่างเรานั้นทั้งมืด มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ภาพลักษณ์ไม่สวยงาม และมักเป็นสถานที่เกิดเหตุน่ากลัวต่างๆ นานา โดยเฉพาะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างชิบุย่าในมหานครโตเกียวแล้ว การจะหาห้องน้ำสาธารณะที่เป็นเหมือนแดนสุขาวดีคงจะเป็นเรื่องยาก มูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) จึงคิดโปรเจกต์ THE TOKYO TOILET ที่ให้สถาปนิกและดีไซเนอร์จากทั่วประเทศร่วมกันออกแบบห้องน้ำสาธารณะตามสไตล์ของตัวเอง เพื่อสนับสนุนความหลากหลายในสังคม และปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องน้ำสาธารณะ ผลงานออกแบบหนึ่งที่เห็นแล้วทำให้นึกถึงบ้านจนลองแวะเข้าไปปลดทุกข์เลยก็คือ ผลงานของ Nigo แฟชั่นดีไซเนอร์ที่เคยทำงานร่วมกับ Adidas และ Louis Vuitton แต่คราวนี้ Nigo หันมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะสไตล์ ‘บ้านๆ’  Nigo ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านแบบ Washington Heights ในย่านชิบุย่าสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ย่านฮาราจุกุเติบโตมาเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมในปัจจุบัน Nigo ในฐานะคนที่โตมาในย่านนี้จึงอยากนำเสนอไอเดีย ‘Learning from the Past’ เพื่ออนุรักษ์บ้านสไตล์นี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไปในฮาราจุกุ ห้องน้ำสไตล์บ้านๆ ของ Nigo นี้มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดมาอย่างถี่ถ้วนเพื่อเสริมลักษณะความอบอุ่น น่าเข้าใช้บริการของห้องน้ำเข้าไปอีก เช่น สุขภัณฑ์ต่างๆ ในห้องน้ำเป็นแบบที่พบเห็นตามบ้านทั่วไปในญี่ปุ่น รั้วสีขาวเล็กๆ ข้างนอกที่ให้ความรู้สึกว่าเป็นเขตบ้าน […]

‘แม่จ๋า อันนี้เอาไว้ทำอะไร’ หนังสือภาพกลไกสิ่งของรอบตัวสำหรับเด็กญี่ปุ่นช่วยพ่อแม่ตอบคำถามลูกแบบละเอียดยิบ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือมือเก่าหลายๆ คนคงเคยต้องตอบคำถามลูกๆ วัยเจ้าหนูจำไมอยู่เรื่อยๆ คำถามบางคำถามไม่ได้ยากจนโลกแตก เช่น ‘แม่จ๋า น้ำในชักโครกไหลมาจากไหน’ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะอธิบายให้เด็กฟัง หนังสือภาพจากญี่ปุ่นเล่มนี้เลยรวบรวมคำตอบพร้อมภาพประกอบสุดน่ารักไว้ให้คุณพ่อคุณแม่แล้ว! หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ‘きかいのしくみ図鑑’ หรือ ‘อันนี้ทำงานอย่างไรนะ’ เป็นหนังสือภาพที่อธิบายโครงสร้างภายในและกลไกต่างๆ ของสิ่งรอบตัวว่าทำงานอย่างไร โดยแบ่งสิ่งของออกเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งของที่อยู่ในบ้าน (พัดลม ไฟฉาย นาฬิกา กบเหลาดินสอ เครื่องดูดฝุ่น) สิ่งของที่อยู่ในเมือง (บันไดเลื่อน ตู้กดน้ำ ลิฟต์) และยานพาหนะ (รถขยะ รถดับเพลิง จรวด) ทั้งยังมีลูกเล่นเป็นภาพป็อปอัปเสริมการเรียนรู้ให้เด็กวัยอนุบาลได้ดีอีกด้วย หนังสือภาพป็อปอัปเล่มนี้สนนราคาอยู่ที่ 2,178 เยน หรือ 645.55 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปในญี่ปุ่น Source : Tonari ญี่ปุ่น | https://www.facebook.com/tonarijapanth/posts/1703424116531478

ญี่ปุ่นปลุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นพ่อให้กลับมาทำงานอีกครั้งหวังลด CO2 แต่ ปชช.กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกประกาศที่จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งรวมถึง ‘ญี่ปุ่น’ เองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ตัดสินใจจะปลุกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อายุกว่า 44 ปีให้มันกลับขึ้นมาผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง เพื่อที่จะใช้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050! เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะหมายเลข 3 ในจังหวัดฟุกุอิได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากได้รับการอนุมัติเป็นการพิเศษจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) เพราะปกติแล้วกฎหมายได้กำหนดให้โรงงานนิวเคลียร์ปฏิบัติการได้ไม่เกิน 40 ปี โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาฮิมะนี้อยู่ในความดูแลของโรงงานไฟฟ้าคันไซ ที่สัญญาว่าจะตรวจสอบและควบคุมการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่กลับมาทำงานใหม่นี้อย่างระมัดระวัง  โดยญี่ปุ่นกล่าวว่า การกลับมาใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าครั้งนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านพลังงานสำรองลดลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนนี้ แต่เพราะเครื่องปฏิกรณ์นี้เป็นหน่วยแรกที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งทำให้พลเมืองชาวญี่ปุ่นบางกลุ่มกังวลและไม่พอใจเกี่ยวกับความปลอดภัย จนยื่นฟ้องเพื่อขอให้หยุดการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานที่ไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอายุเกินมาตรฐานนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง เพราะกลัวว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่จังหวัดฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200,000 คน Sources :Insider | https://tinyurl.com/7n5epjhyVice World News | https://tinyurl.com/5sfs2et9

รถติดนัก งั้นเหาะซะเลย! กระเช้าลอยฟ้า ‘Zippar’ ขนส่งใหม่ของญี่ปุ่น จุคนได้ 3,000 คน/ชม. คาดใช้จริงปี 2025

ชวนส่องโปรเจกต์กระเช้าลอยฟ้า การเดินทางรูปแบบใหม่ ไอเดียโดนๆ จากสตาร์ทอัปญี่ปุ่น

WOSH เครื่องล้างมือสุดล้ำจากญี่ปุ่น มีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยรังสี UV-C

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไร จะหยิบจับอะไรก็ต้องคอยระวังเชื้อโรค จนต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ และรู้หรือไม่ว่าของใกล้ตัวอย่าง ‘โทรศัพท์มือถือ’ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลย ต่อให้มือเราล้างสะอาด แต่ถ้าของที่ถือไม่สะอาดก็เปล่าประโยชน์ WOSH เครื่องล้างมือฆ่าเชื้อโรคจากบริษัท WOTA ผู้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์บำบัดน้ำในญี่ปุ่น จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้มือเราสะอาด แถมยังประหยัดทรัพยากรน้ำ เพราะไม่จำเป็นต้องต่อท่อประปา นำน้ำที่ใช้แล้วมาใส่ในเครื่องนี้ได้เลย บรรจุน้ำได้ถึง 20 ลิตร ใช้ล้างมือได้ 500 ครั้ง ตัวเครื่องมีระบบทำความสะอาดน้ำ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การกรองผ่านเยื่อ (Membrane Filtration) การทำความสะอาดด้วยคลอรีน และการฉายรังสี UV อย่างเข้มข้นเพื่อฆ่าเชื้อ แต่ถึงอย่างไรเครื่องนี้ก็ยังต้องติดตั้งในที่ที่มีแหล่งจ่ายไฟอยู่  นอกจากนี้ ระหว่างที่เราล้างมือ ก็ให้เครื่องนี้ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือของเราไปพร้อมๆ กัน เพราะ WOSH ยังมีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือด้วยรังสี UV-C ที่ใช้เวลาเพียง 20 – 30 วินาทีก็ฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลายปีที่แล้ว เครื่องล้างมือสุดล้ำจำนวนกว่า 4,000 เครื่อง […]

สัมผัสเมืองโตเกียว ผ่านบันไดวนรอบโรงแรม Siro

เพราะอยากให้แขกที่เข้าพักโรงแรมได้สัมผัสกับเสน่ห์ของวิถีชีวิตแบบเก่าใหม่ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงประวัติศาสตร์และอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรืองของโตเกียว สตูดิโอสถาปนิก “Mount Fuji” จึงได้ออกแบบด้านหน้าโรงแรม “Siro” ให้เป็นบันไดที่เชื่อมคนและเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.