‘Toy Storey Residence’ กำแพงบ้านในอินเดียที่ทำขึ้นจากของเล่นพลาสติก ช่วยกำจัดขยะและสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า พลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว และหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าพลาสติกในรูปแบบของเล่นนั้นมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก หลายบ้านต้องประสบปัญหากับการมีของเล่นล้นบ้านและไม่รู้จะกำจัดอย่างไร เพราะบางชิ้นก็ไม่เหมาะแก่การนำไปรีไซเคิล สุดท้ายแล้วของเล่นเหล่านั้นก็จบลงด้วยการเผา ฝังกลบ หรือกลายเป็นขยะลอยอยู่ในทะเล เมืองวาดาการา รัฐเกรละตอนเหนือของประเทศอินเดีย ก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ชื่อว่ามีการบริโภคของเล่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง สถาปนิกจาก Wallmakers จึงหาวิธีการจัดการขยะพลาสติกจากของเล่นกว่า 6,200 ชิ้นด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบการเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงในโครงการ ‘Toy Storey Residence’ โครงการ Toy Storey Residence ออกแบบมาในลักษณะ ‘บ้านภายในบ้าน’ ที่เพื่อนบ้านและสมาชิกในชุมชนสามารถมาใช้พื้นที่อยู่อาศัยได้ ในขณะที่พื้นที่ส่วนตัวนั้นก็จะถูกกั้นด้วยฉากโชจิโปร่งแสงแบบญี่ปุ่น ให้ความรู้สึกเปิดกว้างแต่ยังรักษาความเป็นส่วนตัว และเมื่อลงไปยังชั้นใต้ดินก็จะพบกับห้องสมุดและห้องนอนที่เงียบสงบ ส่วนพื้นที่บริเวณส่วนกลางนั้นมีกำแพงที่ทำจากกระเบื้อง Mangalore แบบดั้งเดิม และของเล่นที่ถูกทิ้งขว้างมาเป็นส่วนประกอบช่วยให้พื้นที่ของบ้านมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยของเล่นเหล่านี้ โดยของเล่นแต่ละชิ้นจะทำหน้าที่ค้ำช่องกำแพง เพื่อให้มีแสงลอดเข้าสู่ภายในและมีการระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้โครงการนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการนำเอาของเล่นที่ไร้ค่ากลับมาใช้งานใหม่ แต่ยังช่วยสร้างความยั่งยืนผ่านโครงสร้างบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ เด็กๆ ในชุมชนยังกลับมาเยี่ยมเยียนอดีตของเล่นชิ้นโปรดของพวกเขาที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของเล่นอีกต่อไป แต่กลายเป็นโครงสร้างบ้านที่ทำประโยชน์ต่อคนจำนวนมากได้อีกด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/ycky6at4Wallmakers | tinyurl.com/yne7vt6n

Kempegowda International Airport อาคารผู้โดยสารในสวน ประเทศอินเดีย สร้างความยั่งยืนและเพิ่มธรรมชาติในสนามบิน

ปัจจุบันธุรกิจการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกโจมตีเรื่องการสร้างมลภาวะทั้งในอากาศและจากตัวสนามบินเอง นี่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ธุรกิจฟากนี้พยายามลดมลพิษที่ปล่อยออกมา ในขณะเดียวกัน หลังจากผ่านวิกฤตโรคระบาด ผู้คนกลับมาเดินทางกันมากขึ้น ทางเมืองเบงกาลูรู ประเทศอินเดีย ก็หวังเพิ่มความจุผู้โดยสารต่อปีขึ้น 25 ล้านคน และต้องการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ โดยตระหนักถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมืองเบงกาลูรูจึงขยับขยายพื้นที่ ‘Kempegowda International Airport’ โดยเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารที่ 2 ซึ่งเน้นการออกแบบที่ผสมผสานกับการปลูกต้นไม้ภายในอาคาร โอบล้อมอาคารด้วยสวนภายนอก ใช้วัสดุธรรมชาติ พร้อมกับตกแต่งด้วยไม้ไผ่และกระจก โดยอาคารผู้โดยสารในสวนแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเสียงของเมืองเบงกาลูรูในฐานะ ‘อุทยานนคร’ หรือเมืองที่ให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียว นอกจากความเป็นธรรมชาติในสนามบินแล้ว ความยั่งยืนยังเป็นจุดเด่นของที่นี่ ด้วยการรับรอง LEED Platinum และ IGBC Platinum ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวระดับสากล ว่าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีความยั่งยืนทั้งการออกแบบและสถาปัตยกรรม โดยโครงสร้างของอาคารมีการใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถบำบัดและนำน้ำฝนจากทั่วสนามบินมาใช้ใหม่ อาคารผู้โดยสารของ Kempegowda International Airport ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างการสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในธุรกิจการบิน ที่ตอนนี้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการออกแบบลักษณะนี้กันมากขึ้น Sources :ArchDaily | bit.ly/3Suvno3Kempegowda International Airport Bengaluru | bit.ly/495NLsA

‘Subterranean Ruins’ ศูนย์ชุมชนหมู่บ้าน Kaggalipura ในอินเดีย ที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้ต้นไม้และดูคล้ายซากปรักหักพัง

ในหลายประเทศย่อมมีพื้นที่รกร้างที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะเสียประโยชน์ด้านการใช้งานแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาอีกด้วย ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ก็มีพื้นที่รกร้างที่เต็มไปด้วยต้นมะม่วง ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว และต้นอ้อยด้วยเหมือนกัน ทางสตูดิโอสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ‘A Threshold’ จึงออกแบบพื้นที่ตรงนั้นให้กลายเป็น ‘Subterranean Ruins’ ศูนย์ชุมชนของหมู่บ้าน ‘Kaggalipura’ ที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน งานสัมมนา คอนเสิร์ต หรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน พื้นที่แห่งนี้ถูกออกแบบมาให้เหมือนซากปรักหักพังที่มีกำแพงอิฐที่เจาะช่องเปิดแบบครึ่งวงกลม ซึ่งแต่ละช่องจะเรียงตรงกัน คล้ายๆ การสร้างเส้นทางหลักของพื้นที่ ส่วนแผ่นอิฐชิ้นอื่นๆ ที่นำมาปูเป็นพื้นจะถูกจัดวางในลักษณะที่หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีต้นไม้ เพื่อปล่อยให้พืชพรรณเหล่านั้นเติบโตตามธรรมชาติและปกคลุมสถานที่แห่งนี้ภายใต้ใบไม้สีเขียว ศูนย์ชุมชนฯ ถูกแบ่งพื้นที่โดยมีลานกลางแจ้งเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยลานนี้จะเปิดให้เด็กๆ เข้ามาวิ่งเล่น หรือใช้จัดนิทรรศการกลางแจ้งก็ได้ และห้องต่างๆ ภายในศูนย์ก็ออกแบบให้ปรับใช้งานได้หลายแบบ ทั้งห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องนิทรรศการ หรือห้องเรียน ขณะเดียวกัน ทางผู้ออกแบบต้องการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการนี้ ผ่านวัสดุต่างๆ ที่ใช้สร้างทั้งภายนอกและภายในศูนย์ชุมชน ซึ่งมาจากวัสดุท้องถิ่นในรัศมี 50 กิโลเมตร ไม่ว่าจะเป็นอิฐสีแดงสำหรับผนัง หินสำหรับปูพื้น และหินแกรนิตสีดำที่ทำหน้าที่เป็นกรวด กำแพงกันดินรอบโครงการก็มาจากก้อนหินที่ขุดขึ้นมาจากบริเวณโดยรอบ รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศเองก็ไม่จำเป็นต้องใช้ในศูนย์ชุมชนแห่งนี้ เนื่องจากมีต้นไม้มากเพียงพอที่จะให้ร่มเงาผู้คนที่เข้ามาใช้งาน Sources :Designboom […]

‘Rajkumari Ratnavati Girl’s School’ โรงเรียนหญิงล้วนในทะเลทรายอินเดียที่เย็นสบายโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ

เมื่อพูดถึงทะเลทราย ความร้อนคงเป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึง ยิ่งประกอบรวมกับความแห้งแล้งก็ยิ่งทำให้ไม่สามารถจินตนาการถึงการใช้ชีวิตท่ามกลางความร้อนโดยไม่มีตัวช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศอินเดีย ใจกลางทะเลทราย ‘Thar’ ในเมือง Jaisalmer ที่มีความแห้งแล้งมาเป็นเวลานานนั้น กลับมีโรงเรียนหญิงล้วน ‘Rajkumari Ratnavati’ ตั้งอยู่ และโรงเรียนแห่งนี้ไม่มีเครื่องปรับอากาศที่ช่วยสร้างความเย็นเลยสักตัว Rajkumari Ratnavati ได้เปิดทำการในเดือนพฤศจิกายน 2565 และขณะนี้มีเด็กผู้หญิง 120 คนลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว โดยโรงเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มศักยภาพให้กับสตรีและเด็กผู้หญิงผ่านการศึกษาในภูมิภาคที่อัตราการรู้หนังสือของสตรีต่ำที่สุดในอินเดีย ดำเนินการโดย CITTA ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรของสหรัฐฯ และได้ ‘Diana Kellogg’ สถาปนิกชาวนิวยอร์กมาเป็นผู้ออกแบบ ความท้าทายในการออกแบบคือทำเลที่ตั้งอยู่กลางพื้นที่ทะเลทรายอันแห้งแล้ง Kellogg จึงนำวิธีการต่างๆ ในสมัยอดีตที่จะทำให้อุณหภูมิเย็นลงมาปรับใช้กับอาคารเรียนนี้ เพื่อให้อุณหภูมิภายในลดต่ำกว่าภายนอกประมาณ 20 – 30 องศาฟาเรนไฮต์ เธอเลือกใช้หินทรายจากท้องถิ่นมาเป็นโครงสร้าง และบุผนังด้านในด้วยปูนปลาสเตอร์ปูนขาวแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นวัสดุระบายความร้อนตามธรรมชาติ และมีกำแพงจาลี ซึ่งเป็นกำแพงตารางหินทรายที่ช่วยลดแสงแดดที่ส่องเข้ามาด้านในโดยตรง และทำให้อากาศภายในเย็นลง รวมถึงด้านบนก็มีหลังคาโซลาร์เซลล์ที่ช่วยบดบังความร้อนจากดวงอาทิตย์และยังช่วยเก็บพลังงานเอาไว้ใช้ประโยชน์อีกด้วย ตัวโครงสร้างที่ Kellogg ออกแบบนั้นยังช่วยในการหมุนเวียนอากาศเย็นภายในอาคาร โรงเรียนแห่งนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยเพิ่มความเย็นอีก นอกจากเด็กๆ จะได้สัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอีกทางหนึ่ง Sources : CNN […]

Diana Kellogg สถาปนิกนิวยอร์ก ดีไซน์โรงเรียนหญิงล้วนในอินเดียแทนพลังเด็กหญิง

ออกแบบโรงเรียนหญิงล้วนแห่งอินเดีย ที่อยากลดปัญหาจากสังคมชายเป็นใหญ่ และทำให้เด็กหญิงมีความสุข

Hidden Gem of Leh Ladakh: ชมวิวหลักล้านที่ทะเลสาบโมริริ

หลังจากที่เราพาทุกคนไปทัวร์อังกฤษมาพักใหญ่ คราวนี้ขอพาทุกคนวกกลับมาเที่ยวในเอเชียกันบ้าง ซึ่งที่ที่เราจะพาไปก็ไม่ใกล้ไม่ไกล และน่าจะเป็นหนึ่งใน Bucket List ของใครหลายๆ คน เพราะเมื่อหลายปีก่อนที่นี่ฮิตมากกกก แบบมากๆ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังฮิตอยู่ และที่นี่ก็คือเลห์ ลาดักนั่นเอง แต่เดี๋ยวก่อน! เพราะที่ที่เราจะพามาเนี่ย บอกเลยว่าหลายๆ คนที่ไปเลห์มาแล้วอาจมองข้ามไป แต่จริงๆ แล้วมันสวยมาก แบบที่เราขอยกให้เป็นอันดับหนึ่งของทริปเลห์ ลาดักเลย และที่นั่นก็คือ Tso Moriri หรือทะเลสาบโมริรินั่นเอง

Nha-mas-tay India : นมัสเต! จ่ะนายจ๋า

เดินทอดน่องท่องอินเดียพร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน หลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับแหล่งค้าผ้าชื่อดัง “ย่านพาหุรัด” ที่เมื่อก้าวเดินเข้ามาในย่านนี้จะได้เห็นสิ่งหนึ่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของ “Little India” เลยก็คือ บรรยาการของผู้คนที่เปลี่ยนไป ร้านขายของแปลกตาเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในประเทศอินเดียเลยทีเดียว

เลห์ ดาลักห์ Vol.2 | ถึงเราเดินทางอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังคงโหยหาการเดินทางที่เป็นของตัวเราเองอยู่ดี

วันนี้เป็นวันที่ตื่นเต้นที่สุด เพราะโปรแกรมของวันคือ เราจะไปทะเลสาบน้ำเค็มที่สูงที่สุดในโลก อยู่กลางหุบเขากัน ว่ากันว่าเป็นที่ที่สวยงามมากในวันที่ฟ้าใส แค่นั้นยังไม่พอเส้นทางที่จะไปยังเป็นทางที่ต้องผ่านจุดที่เรียกว่าเป็นหนึ่งในถนนที่สูงที่สูดในโลกอีก และจุดนี้เองก็ยังถือเป็นจุดที่อันตรายมากๆด้วยสำหรับผู้ที่เดินทางผ่านไปมา เนื่องจากถนนที่สร้างขึ้นเป็นเพียงเส้นเล็กๆพอให้รถสวนกันได้คดเคี้ยวไปตามขอบภูเขา ปราศจากรั้วกั้นใดๆ คือหากมองออกนอกรถ ก็จะเห็นเป็นเหวลาดลงไป (ฟังดูเว่อร์แต่ก็เว่อร์จริง เพราะมันไม่ถึงกะเป็นเหวซะทีเดียวแต่ก็เสียวน่าดูค่ะ) อ่ะ! พอก่อน จูงผู้อ่านไปไกลเหลือเกิน ยังค่ะ! ยังไม่ไป ย้อนมาที่ล๊อบบี้ ลูกทีมทุกคนพร้อมมากกับการเตรียมของเพื่อออกไปผจญภัย ของที่เตรียมไปก็มี · หมอนรองคอเตรียมหลับ (แต่สำหรับคนที่ชอบเสพความงามของเส้นทางแล้วล่ะก็ อย่าหวังจะได้หลับเพราะพูดเลยว่าสวยงามทุกวินาที นั่งเสพไปค่ะคุณขาเวลาในการเดินทางก็แค่ขาละ 6 ชั่วโมงเอ๊ง ไปกลับก็ 12 ชั่วโมง จัดไปให้คุ้มค่ะ) · ยาดม  พกไว้ค่ะ ได้ใช้แน่นอน · น้ำเปล่า  ต้องคอยจิบบ่อยๆนะคะ แต่อย่ากระดกพรวดๆ เพราะห้องน้ำเค้า open air มาก เลือกเอาเลยหินก้อนไหนดี · เสื้อกันหนาว  หนาๆเลยค่ะ · อาหาร ขนม หิวแน่นอนค่ะ และในความรู้สึกของกี่นะคะ ยิ่งอากาศหนาว ยิ่งหิวบ่อย จัดไปเยอะๆค่ะ · หูฟัง วิวดีๆได้ฟังเพลงเพราะๆไปด้วยมันยิ่งสร้างบรรยากาศสุดๆไปเลย แต่จะให้สร้างมากขึ้นก็ฟังเพลงที่คนขับเค้าเปิดนั่นแหล่ะค่ะ […]

แอร์กี่หนีเที่ยว : เลห์ ลาดักห์

เสน่ห์จริงๆ อีกอย่างที่ดึงดูดผู้ คนจากทุกที่ทั่วโลกให้มาผจญภัยที่เมืองนี้ก็คือ สภาพภูมิประเทศที่แสนจะงดงาม ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตระหง่านละลานตาไปหมด หลายคนอาจพึมพำว่าโห่ภูเขา บ้านเราก็มี เยอะไปก็น่าเบื่อ แต่ช้าก่อนพี่น้อง ขอบอกว่าภูเขาบ้านเค้านี่มันคนละเรื่องกันเลยจริงๆ พี่กี่ไปมา 5 วัน ไม่เคยเบื่อจะมองวิวเลยสักวัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.