Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

ไม่ต้องงดเนื้อสัตว์ตลอดไป ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้แค่กินอาหารให้เหมาะสม

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน จนหลายคนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้เป็นแค่งานวิจัยหรือคำขู่จากการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป ถึงแม้จะดูไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลงแล้ว อาหารการกินของเราในทุกๆ มื้อก็มีส่วนส่งผลกระทบต่อโลกด้วยเหมือนกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตวัตถุดิบไปจนถึงมื้ออาหารที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่บนจาน แต่ขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต เพราะเราคงไม่สามารถงดกินข้าวเพื่อคืนความยั่งยืนให้โลกได้ แล้วจะมีหนทางไหนบ้างที่ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบหน้ามือเป็นหลังมือ คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูฮาวทูการกินที่ยังคงสนุกกับมื้ออาหาร และเป็นส่วนหนึ่งในการรักโลกไปพร้อมๆ กัน อาหารจากเนื้อสัตว์ทำโลกร้อน เราเรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กจนโตว่าสัตว์บางประเภท เช่น วัว หมู ไก่ ปลา แกะ ถูกสร้างมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ แต่เรากลับไม่รู้เลยว่าการมีอยู่และเพาะพันธุ์สัตว์เหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่จำนวนมากนั้นกำลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายโลกอยู่ เพราะการทำปศุสัตว์จำเป็นต้องใช้พื้นที่มหาศาล จนอาจส่งผลให้พื้นที่ป่าและต้นไม้ลดลง กระทบต่อการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยลงตามไปด้วย กลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ทุกขั้นตอนของการผลิตเนื้อสัตว์ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรและปล่อยของเสียไปรบกวนธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำและพลังงานปริมาณมากในการเลี้ยงสัตว์ ทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ การขนส่งอาหารและเนื้อสัตว์ รวมถึงการแปรรูปอาหาร ที่เป็นปัจจัยของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น คาร์บอนฟุตพรินต์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร คาร์บอนฟุตพรินต์ หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย 1 ใน 4 ของการเกิดก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ก็ตาม […]

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

โลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุบสถิติ สูงสุดในรอบ 3 – 5 ล้านปี เสี่ยงอุณหภูมิทะลุ 2 องศาเซลเซียส

ระหว่างการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศครั้งสำคัญหรือ COP26 ในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO) ได้เปิดเผยว่า ล่าสุด ‘ก๊าซเรือนกระจก’ หรือระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก ได้ทุบสถิติสูงสุดในรอบ 3 – 5 ล้านปี โดยทาง WMO เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2015 ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกพุ่งสูงถึงระดับ 400 ส่วนต่อล้านส่วน หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาโดยตลอด จนกระทั่งปีนี้ระดับดังกล่าวมีมากถึง 413.2 ส่วนต่อล้านส่วน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่ายุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ระหว่างปี 1850 – 1900) ถึง 149% WMO แสดงความกังวลอย่างมาก เพราะระดับก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ในปี 2020 ที่โลกเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 การล็อกดาวน์และมาตรการต่างๆ ส่งผลให้ทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 5.6%  แต่ทาง WMO ก็ได้อธิบายว่า สัดส่วนที่ลดลงเมื่อปีที่แล้วเทียบไม่ได้กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากกิจกรรมของมนุษย์ อย่างเช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล […]

จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์

โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้  ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า  กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม  เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก  ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?

ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน

กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ  World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์  4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.