มื้อนี้ไม่ง้อแมสก์ ประสบการณ์มื้ออาหารใต้โคมโบราณป้องกันโควิด-19

เรียวกังชื่อ Hoshinoya ในเมืองโตเกียวหัวใส จัดมื้ออาหารในโรงแรมที่เรียกว่า Tokyo Lantern Dinner ซึ่งมีการจัดเตรียมโคมใสที่สร้างสรรค์จากไวนิลให้บรรดาแขกที่มากินข้าว ได้ร่วมมื้ออาหารโดยไม่ต้องสวมแมสก์ให้รำคาญใจกันอีกต่อไป ซึ่งนี่คือหนึ่งในผลผลิตของงานดีไซน์ ที่ทำให้เราเห็นว่าอุตสาหกรรมการออกแบบทั่วโลกต่างก็รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่แผงกั้นระหว่างโต๊ะกินข้าว หรือรถส่งอาหารแบบไร้การสัมผัส แสดงให้เห็นว่าดีไซเนอร์พยายามจะทำให้การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องเป็นไปได้ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แม้แต่ในปี 2021 นี้ ผลกระทบของโควิดที่มีต่อการกินข้าวนอกบ้านก็ยังคงมีอยู่เสมอ ส่งผลให้ยังเกิด New Normal เวอร์ชันใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่โรงแรม Hoshinoya ในย่าน Otemachi ของกรุงโตเกียว ที่ได้ออกแบบประสบการณ์การกินอาหารในยุคนี้ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยสร้างโคมแทนแผงกั้นใสให้แขกของโรงแรมได้ใช้งาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิดระหว่างมื้ออาหาร สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นอิสระ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างมื้ออาหาร แผงกั้นจากโคมนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยโรงแรมเอง ซึ่งบันดาลใจมาจากความคุ้นเคยในวัฒนธรรมการใช้โคมของญี่ปุ่น  โดยที่ส่วนยอดของโคมแต่ละอัน จะให้แสงอุ่นนุ่มนวลส่องลงมาจากบริเวณเหนือหัว ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้บริการดูสว่างสดใส มองแล้วดูสบายตา เช่นเดียวกับแสงที่ตกกระทบจานอาหาร เจ้าโคมตัวนี้ผลิตโดยร้านโคมเจ้าเก่าแก่ชื่อ Kojima Shoten ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต โดยที่โคมแต่ละชิ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร และสูงถึง 102 เซนติเมตร ทำให้มีพื้นที่เหลือเฟือในการเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวว่าการทานอาหารจะหกเลอะเทอะตัวโคมที่มีความหนา 0.15 เซนติเมตร  ดีไซเนอร์ผู้อยู่เบื้องหลังมื้ออาหารที่มีโคมรูปแบบนี้ […]

10 ประเทศที่ประชาชนได้วัคซีนครอบคลุมที่สุดในโลก

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถูกยืนยันครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ปี 2019 ซึ่งนับแต่วันนั้นเป็นต้นมาชีวิตของทุกคนก็ตกอยู่ในความหวาดหวั่นโดยสมบูรณ์

#StayArtHomePejac ศิลปะบนหน้าต่าง ปล่อยอารมณ์ศิลป์ช่วงกักตัว

#StayArtHomePejac โปรเจกต์ชวนสร้างสรรค์งานศิลปะบนหน้าต่าง ปลดปล่อยความเป็นศิลปินในตัวคุณเมื่อต้องอยู่บ้าน

ต่อสายตรงหา ‘บอลพาเที่ยว’ ผู้ติดอยู่เนปาลเกือบเดือนเพราะโควิด-19

เมื่อครั้งหนึ่งในชีวิตของ ‘บอล-นเรศร นันทสุทธิวารี’ แบ็คแพ็คเกอร์จากเพจ ‘บอลพาเที่ยว’ ที่หิ้วกระเป๋าอยาก ไปพิชิตเส้นทางในเนปาล แต่กลับต้องจบทริปกระทันหัน เพราะการประกาศล็อคดาวน์ของประเทศเนปาล เพื่อ ยับยั้งไวรัสโควิด-19 ให้อยู่หมัด ทำให้สถานะ ‘นักท่องเที่ยว’ ของบอล ต้องกลายเป็นผู้ติดค้างอยู่ในเมืองกาฐ มาณฑุ ทันที !

เผยโฉมหน้าศัตรูที่มองไม่เห็น ‘Coronavirus’ นักวิทย์ฯ ศึกษาโครงสร้างไวรัสจิ๋วได้อย่างไร ?

ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักไปทั่วโลกในตอนนี้ การเรียนรู้โครงสร้างของไวรัสโคโรน่า รวมถึงศึกษาการทำงานของมันกับเซลส์ในร่างกายเรา จึงเป็นกุญแจสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะนำไปสู่การคิดค้นวัคซีนมาหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้

The Art of Absence

ซีรีย์ภาพจำลองผลงานชิ้นเอกของศิลปินชื่อดังเกือบทั่วทุกมุมโลก ที่ ‘José Manuel Ballester’ ศิลปินชาวสเปนนำคนในภาพออก แล้วปล่อยเหลือแต่องค์ประกอบอื่นๆ เพื่อล้อไปกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ผู้คนทั่วโลกต้องห่างกันสักพัก จนมีคนตีความไปว่า นี่อาจจะเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นในยุค COVID-19 ระบาดก็เป็นได้

EAT

ไวรัสโคโรนา เช็กลิสต์ ‘สัตว์ตลาดออนไลน์อู่ฮั่น’ เปิบพิสดารนำไวรัสโคโรนาสู่คน

29 สัตว์ป่าในตลาดออนไลน์ ที่อาจเป็นพาหะไวรัสโคโรนา ไวรัสโคโรนาที่กำลังระบาด เชื้อต้นตอของมันมาจากเมนูเปิบพิสดารสัตว์ป่า ที่มีขายทั้งในตลาดสดฮั่วหนาน ในเมืองอู่ฮั่นที่ตอนนี้โดนแบนการขายไปแล้ว ยังมีตลาดออนไลน์ที่เรียกได้ว่าเป็นตลาดมืด ซึ่งยังไม่มีข้อมูลเปิดเผย แต่รู้แค่คร่าวๆ ว่าติดต่อซื้อขายกันผ่านแอปฯ แชท weibo รวมถึงการตั้งกระทู้ในเว็บไซต์เพื่อซื้อขาย และเชิญชวนไปลองสัตว์ป่าเพื่อเปิปพิสดารอีกด้วย โดยการค้าขายสัตว์ป่าผ่านตลาดออนไลน์ ที่นึกอยากจะกินเมื่อไร ก็ส่งถึงบ้านทันที มีสัตว์ให้เลือกมากกว่า 29 ชนิด ได้แก่ 1.อูฐ 2.โคอะลา 3. สุนัขจิ้งจอก 4.นกกระจอกเทศ 5.จักจั่น 6.ซาลาแมนเดอร์ยักษ์พันธุ์จีน 7.อีเห็น 8.ตะขาบยักษ์ 9.ลูกหมาป่า 10.แมลงป่อง 11.เม่นจีน 12.นกยูง 13.หงส์ 14.นาก 15.งู 16.กระต่าย 17.เบดเจอร์ 18.จิงโจ้ 19.จระเข้ 20.ห่าน 21.หมูป่า 22.กวาง 23.เต่า 24.ไก่ฟ้า 25.ลา 26.สุนัข 27.วัว 28.หมู 29.ไก่ โดยยังไม่รู้ว่าตอนนี้ถูกสั่งห้ามขายไปแล้วหรือไม่ โดยเนื้อสัตว์เหล่านี้ซึ่งมาจากทั้งตลาดออฟไลน์ และออนไลน์มักจะเชื้อไวรัสโคโรนาและไวรัสอื่นๆ […]

เพราะโลกร้อนขึ้น ‘ไวรัสโคโรนา’ จึงแข็งแกร่ง ?

ความฝุ่นยังไม่ทันหาย ความวุ่นวายของ ‘ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019’ (Novel Coronavirus) ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามันพัฒนาขึ้นมาจากตัวเดิม ก็เข้ามาแทรก ซึ่งทำเอาหลายคนรับมือแทบไม่ทัน ขนาดพี่จีนที่เป็นประเทศต้นทางของการแพร่ระบาด ยังออกมาประกาศสภาวะฉุกเฉินกันเลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน ‘ภาวะโลกร้อน’ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของโลกใบนี้ และเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จุดไฟให้ไวรัสแข็งแกร่ง อึดถึกทน และระบาดได้อย่างรุนแรงยิ่งขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.