Hidden Gem in Old Town : ลัดเลาะย่านฮิป นานา-เยาวราช-ทรงวาด ยลถิ่นเก่ากลิ่นอายโคโลเนียล

ณ ที่แห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่ Urban Creature จะพาไปเดินเที่ยวย่านเมืองเก่า “นานา-เยาวราช-ทรงวาด” แหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดฮิปที่เป็นดั่ง Hidden Gem ใจกลางกรุงเทพฯ ดื่มด่ำบรรยากาศสุดชิล ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ ร้านดอกไม้ แกลเลอรี่ และบาร์ ดูตึกรามบ้านช่องที่แฝงมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ย่านที่เคยเงียบเหงาถูกปลุกให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจพัฒนาทำเลเมืองเก่า เราจะแวะไปเยี่ยมเจ้าของบ้าน ตั้งแต่ร้านดอกไม้และคาเฟ่สุดฮิป “Oneday Wallflowers”, ทายาทรุ่น 4 ของร้านขายยาโบราณ “บ้านหมอหวาน”, และสองสาวเจ้าของบาร์สุดคูล “Shuu Shuu” เพื่อชวนพูดคุยถึงแพชชั่นที่จะทำให้ตึกเก่าทรุดโทรมเหล่านี้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ตึกโคโลเนียล มีที่มาจากยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ที่เข้ามาสร้างอาคารบ้านเรือนในเมืองขึ้น แม้ประเทศไทยจะไม่เคยเป็นอาณานิคม แต่ก็ได้รับอิทธิพลด้านศิลปะ วัฒนธรรม การแต่งกาย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ที่ผู้คนในสมัยนั้นเรียกว่า “ตึกฝรั่ง” ซึ่งแพร่หลายในช่วง ร.5- ร.6 ผสมผสานกับช่างพื้นถิ่น โดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพอากาศและวิถีชีวิตคนไทย หลอมรวมสองวัฒนธรรมจนเกิดเป็นสไตล์ที่มีเอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมโคโลเนียลในไทย มีรูปแบบที่หยิบยืมมาจากศิลปะกรีกโรมัน เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า […]

“บึงบางซื่อ” พื้นที่ตาบอดกลางเมือง สู่ชุมชนต้นแบบแห่งการพัฒนา

ในพื้นที่ 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรของเมืองกรุงเรานั้น รู้ไหมว่ายังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทะเบียนราษฎร์ ซึ่งนั่นทำให้ระบบการบริหารของภาครัฐ เช่น การเข้าถึงของน้ำประปา หรือไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น เรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต บึงบางซื่อ บึงน้ำกลางกรุงขนาด 61 ไร่ ที่ล้อมรอบด้วย 5 ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประมาณ 250 หลังคาเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ไม่มีทะเบียนราษฏร์ และเป็นพื้นที่ตาบอดที่ไม่มีทางเข้าออก ในอดีตเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว บึงบางซื่อเป็นแหล่งดินดำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ของโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ SCG ได้สร้างบ้านให้กับคนงานและครอบครัวเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรอบบริเวณบึง แต่หลังจากเลิกใช้งาน บึงบางซื่อก็เริ่มมีคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชุมชนแออัดในที่สุด “ตอนที่บ้านยังไม่ขึ้น การเป็นอยู่มันก็อยู่ในสภาพบ้านโทรมๆ ย้อนหลังไปปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นทางผู้ใหญ่ยังไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย เราก็จัดตั้งคณะกรรมการ บุกเบิกกันมา การทำงานช่วงนั้นก็เหนื่อยกันมาก เพราะทั้งถูกด่า ถูกแช่ง ซ้ำเติมกันว่าบ้านจะขึ้นได้หรอ เพราะคำดูถูกคำนี้แหละ ทำให้เมื่อมีประชุมที่ชุมชนไหน เราก็ต้องไป กลับมาแล้ว เราก็มาทำที่บ้านเรา” […]

De LAPIS Charan 81 : จงเลือกใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ

ความหมายของการใช้ชีวิตคืออะไร? บางคนอาจหมายถึงความสำเร็จในเป้าหมายที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หรือการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ แต่สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงแค่การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับคนที่คุณรักในพื้นที่ส่วนตัว ‘บางพลัด’ จึงเป็นอีกหนึ่งย่านที่ตอบคำถามของการใช้ชีวิตที่ยังคงเสน่ห์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบฉบับคนฝั่งธนฯ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

เมื่อ Juli Baker and Summer หยิบประเด็นกรุงเทพฯ มาเล่าผ่านลายเส้นเด็กๆ และสีฉูดฉาด

เดรสสีเขียวอ่อน ตัดกับกระเป๋าถักสะพายข้างและรองเท้าสีเหลือง การแต่งตัวแบบคู่สีสดใสพร้อมแว่นกลมๆ ที่ประดับอยู่บนใบหน้ายิ้มแย้มผ่านมาทักทายสายตา เรารู้ทันทีว่าคนที่เรานัดไว้

Life of Huatakhe : วิถีชีวิตริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้”

หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น  “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]

มุมมอง “เมืองกรุงเทพฯ” ที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเพลง

อย่างที่ว่ากันว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ เป็นเมืองที่ไม่ว่าใครก็ต่างอยากจะเข้ามาสัมผัส ทั้งคนไทยเองและชาวต่างชาติ ก็มักจะบอกเล่าถึงกรุงเทพฯ ในหลายๆ แง่มุม ทั้งผ่านตัวอักษร ภาพถ่าย เรื่องเล่าแบบปากต่อปาก ที่เป็นตัวกลางสื่อสาร #ความกรุงเทพ และ สตอรี่ของชาว #bangkokian นอกจากสิ่งที่เรากล่าวถึงมาด้านบนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสื่ออย่าง “บทเพลง” ที่ช่วยเปิดมุมของเมืองกรุง ให้เรามองและทำความรู้จักกันได้ดีไม่น้อยกว่าสื่ออย่างอื่น เราจึงมี 5 บทเพลงคุ้นหู ที่เชื่อว่าหลายคนต้องเคยฟังหรือร้องตามได้ นำมาถอดรหัสเรื่องราวของกรุงเทพฯ ที่ซุกซ่อนอยู่ในเนื้อเพลงมาฝากกัน เพลงชาติBNK 48 by BNK 48 | ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ “นี่คือบางกอกแดนศิวิไลซ์ เมืองที่ใครต่อใครต้องมา” เมื่อปลายปี 2560 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เปิดผลสำรวจดัชนีจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกประจำปี 2017 (2017 Global Destination Cities Index) โดยมาสเตอร์การ์ด ได้ยกให้ “กรุงเทพมหานคร” เป็นเมืองที่ชาวต่างชาติ ยกเป็นเมืองฮอตฮิตที่ต้องมาเที่ยว ขอบอกว่าครองแชมป์ ชนะขาดลอยคู่แข่งจาก 132 เมืองทั่วโลกมา […]

Sick Building Syndrome : วันที่ฉันป่วยจากตึกสูง

เคยเป็นไหม? ในวันทำงานเรามักมีอาการป่วยแปลกๆ และเพื่อนในออฟฟิศก็เริ่มมีอาการคล้ายๆกัน หรือคุณอาจกำลังมีอาการของ ‘โรคภูมิแพ้ตึก Sick Building Syndrome (SBS)’  ภัยใกล้ตัวของเหล่าพนักงานออฟฟิศที่คุณอาจไม่รู้ตัว จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์แตกต่างไปจากเดิมปัจจุบันเรามักถูกจำกัดด้านการใช้พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของคนเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่แต่ในตึกทั้งวัน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ แฟลต ตึกแถว หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีพื้นที่ภายนอกตัวบ้านมากนัก ซึ่งการต้องทำงานหรืออยู่แต่ในตึกสูง อาคารที่เปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันไม่เคยได้รับอากาศจากธรรมชาติเลย นั่นส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณโดยตรงอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ | ปีศาจร้ายบนตึกสูง กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของประเทศทำให้มีประชากรจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย และเมื่อประชากรหลั่งไหลเข้ามาก็ย่อมไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัยซึ่งสมัยก่อนการอยู่อาศัยในบ้านเราจะเป็นแนวราบซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯได้เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นการอยู่อาศัยแบบแนวตั้งมากขึ้น อาทิเช่น ตึก คอนโดมิเนียม หอพัก เป็นต้น วิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มักใช้เวลา 80-90% อยู่ภายในตึกหรือออฟฟิศที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอขาดการถ่ายเทที่ดี ซึ่งจะทำให้มีสิ่งปนเปื้อนสูงกว่าภายนอกอาคารที่โล่งแจ้งจึงทำให้เกิดอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลันซึ่งโรคนี้ไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดใหม่โดยเป็นโรคที่ถูกยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเวลากว่า 34 ปีมาแล้ว หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ ขณะอยู่ที่ทำงาน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคือง ตา จมูก หรือลำคอ จาม น้ำมูกไหล คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานไวต่อกลิ่นมากขึ้น หดหู่ อ่อนเพลีย ง่วงนอน […]

โสเภณี (ถ้า) อาชีพนี้ถูกกฎหมาย

เจาะลึกเรื่องราวของ “หญิงขายบริการ” ที่มีประเด็นถกกันอย่างเข้มข้นระหว่างนักอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม และนักวิชาการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเพื่อให้โสเภณีในประเทศไทยถูกกฎหมาย ถึงทิศทางความเป็นไปของ “โสเภณี” ว่า อาชีพนี้ ควรถูกกฎหมายหรือไม่?

Hello Strangers : กาลครั้งหนึ่ง…เมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า

“ห้ามคุยกับคนแปลกหน้า” “คนแปลกหน้าอันตราย” “อย่ารับของจากคนที่ไม่รู้จัก”   ประโยคเชิงลบถึงคนแปลกหน้าที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนเริ่ม แต่ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนก็ขยันเพิ่มลงซีรีบรัมตั้งแต่เด็ก พร้อมย้ำซ้ำๆ ให้จำกันขึ้นใจอีกว่า ‘คนแปลกหน้า = อันตราย’ เราและหลายคนจึงถูกกระบวนการทางสังคมหล่อหลอม (socialization) ให้เติบโตและใช้ชีวิตกับกรอบความเชื่อแบบนั้นโดยอัตโนมัติ เรากังวลเวลาอยู่ใกล้พวกเขา เพราะเราไม่มีข้อมูล เราไม่รู้ว่าเจตนาของพวกเขาคืออะไร เราจึงจัดพวกเขาไว้ในกล่องของ “คนแปลกหน้า” จนถึงยุคที่สังคมโลกถูกแทรกแซงด้วยคำว่า ‘สังคมไซเบอร์’ เกิดแพลทฟอร์มต่างๆ ที่ทำให้เราได้ทักทายกับคนแปลกหน้าผ่านตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการตั้ง status บอกใครสักคนบนโลกให้ผ่านมาเห็น โดยอาจลืมคิดไปว่า สิ่งนั้นคือจุดเริ่มต้นของการพูดคุยกับคนแปลกหน้า เราจึงขอชวนทุกคนมาเปิดโลกอีกมุมในการมองคนแปลกหน้า ที่กลายเป็นความสบายใจภายใต้การไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ Hello Strangers “When you talk to strangers, you’re making beautiful interruptions into the expected narrative of your daily life — and theirs,” ประโยคชวนคิดจาก ‘ไคโอ สตาร์ค […]

Whal & Dolph แก๊งปลาว่ายวนในเสียงเพลง บรรเลงดนตรีป็อปให้ฟุ้งเมือง

คืนหนึ่งเราเปิดเพลงฟังวนตอนหัวแตะหมอนไปตามประสา แล้วการสุ่ม playlist ก็พาเรามาเจอกับเสียงร้องนุ่มฟังสบาย พร้อมเสียงเกากีตาร์ในท่วงทำนองดนตรีป็อป ซุกซ่อนกลิ่นอายโซล จากเพลง ‘ยิ้ม’ ที่ชวนให้มุมปากยกยิ้มได้ง่ายๆ และพวกเขากลายเป็นอีกหนึ่งวงดนตรีโปรดของเราไปโดยปริยาย เรากำลังพูดถึง  “Whal & Dolph”    นำ้วน – วนนท์ กุลวรรธไพสิฐ (วาฬ) และ ปอ – กฤษสรัญ จ้องสุวรรณ (ดอล์ฟ) ดูโอดนตรีป็อปที่เดินทางมาจากมหาสมุทรกว้างใหญ่ เพื่อมอบเสียงเพลงให้คนเมืองได้ปล่อยใจพักผ่อนกัน เมื่อเจ้าวาฬกับเจ้าดอล์ฟเล่นเพลงใหม่ล่าสุดที่ mv มีความทะเล้นได้ใจอย่าง “เก็บเธอเอาไว้ดูก่อน” ให้ฟังสดๆ เป็นที่เรียบร้อย เราจึงเริ่มการพูดคุยแบบเป็นกันเองที่สุดในบรรยากาศชุ่มฉ่ำหลังฝนตก ไปพร้อมกับความอารมณ์ดีของแก๊งปลาเพื่อนซี้ UC : จุดเริ่มต้นของกระแสน้ำที่พัดพา Whal & Dolph ให้มาเจอกัน น้ำวน : เมื่อก่อนเรามีวงดนตรี underground กันคนละวง เริ่มรู้จักกันจากตรงนั้น สมาชิกในวงเก่าปอเป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัยเลยสนิทกัน จนวันหนึ่งเรามานั่งคิด และตั้งต้นโปรเจ็กต์ด้วยคำว่า Whal & Dolph คุยกันว่า […]

คนเมืองรึเปล่าา

คนไหนคนเมืองใหญ่ จะรู้ได้ไง ถ้าอ่านแล้วเข้าข่ายล่ะคนเมืองใหญ่แน่น๊อนน ไม่ได้มาร้องเพลงให้ฟัง แต่จะมาให้ดู 9 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณนั้นเป็นคนเมืองใหญ่โดยแท้จริง ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ แต่แค่คุณรู้สึกว่าคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ อ่านแล้วรู้สึกว่า “ใช่เลย นี่มันชีวิตชั้นนี่!” บอกเลยว่าคุณอยู่ไม่ผิดที่ผิดทางแน่นอน ยินดีด้วย เมืองนั้นคือบ้านของคุณ 1.กาแฟคือพลัง! ก่อนตาจะเปิดกาแฟต้องเข้าร่างซะก่อน ไม่ว่าวันนั้นคุณจะมีตารางชีวิตที่จ่อรออยู่แค่ไหนก็ตาม ความวุ่นวายต่างๆ ไม่สามารถหยุดคุณจากการหากาแฟกระแทกปากได้เสมอก่อนคุณจะพร้อมเผชิญโลก จนคุณไม่รู้แล้วว่าคุณติดคาเฟอีนจริงๆ หรือว่ามันคือ routine ประจำวันที่เป็นสัญญาณในการเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับการสู้ชีวิตในวันนั้นๆ กันแน่ แต่ไม่ว่าเพราะเหตุผลไหน กาแฟคือพลังงานสำหรับร่างกายและจิตใจคุณ 2. ทานข้าวนอกบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะตารางชีวิตที่แน่นจนไม่มีเวลาเตรียมอาหารเองได้ทุกวัน หรือเป็นเพราะในเมืองมันมีร้านอาหารอร่อยๆ เต็มไปหมด ถึงอยากจะประหยัดโดยการกินข้าวบ้าน แต่รู้ตัวอีกทีเย็นวันศุกร์หลังเลิกงานคุณก็นั่งแทะไก่บอนชอน ปิ้งเนื้อบาบีคิวพลาซ่ากับเพื่อนๆ ตบท้ายด้วยชิบูย่าโทสต์อาฟเตอร์ยูเรียบร้อย 3. เพื่อนบ้านชื่ออะไร? คุณไม่รู้จักเพื่อนบ้านของคุณ คุณไม่รู้แม้กระทั่งว่าเค้าชื่ออะไร แม้ว่าจะเจอกันทุกวันหน้าบ้าน หน้าปากซอย ในลิฟคอนโด เพราะคุณไม่มีเวลาหรือกระจิตกระใจจะทำความรู้จักกับใคร แต่คุณก็จำหน้าตาเค้าได้ รู้แม้กระทั่งกิจวัตรของพวกเค้า แถมตั้งชื่อในจินตนาการให้พวกเค้าเสร็จสรรพในหัว ไม่ว่าจะเจ๊ผมสั้นข้างบ้านที่เลี้ยงแมวเยอะๆ ตี๋เนิร์ดห้องตรงข้ามที่ออกจากห้องอาทิตย์ละครั้งเพื่อไปเซเว่น มนุษย์ป้าหน้าดุที่รดน้ำต้นไม้ทุกเช้า แต่คุณก็ไม่คิดจะเข้าไปคุยกับพวกเค้าหรอกนะ 4. ไลน์แมนมาเยี่ยมบ้านบ่อยกว่าเพื่อน คุณมีกล่องอาหาร ตะเกียบไม้ […]

ต้อนรับปีหมา 2018 ด้วย 8 สายพันธุ์หมาน่าเลี้ยงสำหรับคนเมืองพื้นที่จำกัด

สวัสดีปีหมา เราก็เลยนำเรื่องหมาๆ มาแนะนำชาวเมืองทุกคนที่กำลังมองหาเจ้าตูบมาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน แต่ชาวเมืองประเทศไทยพื้นที่จำกัด ไม่มีสวนหรือพื้นที่วิ่งเล่นสำหรับน้องหมา ไม่ว่าจะอยู่คอนโด อพาร์ทเม้นท์ ตึกแถว ทาวน์โฮม จะเลี้ยงหมาทั้งทีต้องเป็นหมาที่เหมาะสมกับพื้นที่ บ้านไม่พัง น้องหมาอยู่สบายไม่เครียด ขอแนะนำน้องหมา 8 สายพันธุ์นี้เลย แต่อย่างไรก็ตาม ถึงเป็นหมาที่เหมาะกับการเลี้ยงในพื้นที่จำกัด ก็ต้องพาน้องไปทำกิจกรรมนอกบ้านและเข้าสังคมบ้างนะ เค้าจะได้อารมณ์ดี สุขภาพดี และอยู่กับเราได้นานๆ ไง Cavalier King Charles Spaniel หมาหน้าตาไฮโซขนสวยนี้ผมยาวสลวยนี้ มีพื้นเพมาจากประเทศอังกฤษ เป็นหมาขนาดเล็กแต่ไม่จิ๋ว มีอุปนิสัยขี้เล่น ชอบเข้าสังคม ช่างสงสัย แต่ใจเย็น และซนแบบมีขอบเขต ขี้อ้อน และไม่ขี้กลัวด้วย ด้วยความฉลาดและปรับตัวง่าย ทำให้สอนง่ายและใครๆ ก็หลงรักในความสวย น่ารัก สง่าแบบหมาผู้ดีอังกฤษเลยล่ะ อยู่ในอพาร์ทเม้นได้ เป็นหมา indoor ที่แท้จริง Chihuahua หมาพันธุ์สุดฮิตตัวเล็กจิ๋ว ที่จริงๆ แล้วนิสัยใหญ่เกินตัว มีทั้งพันธุ์ขนสั้นและขนยาว มีอุปนิสัยกล้าหาญ รื่นเริง ตื่นตัว ไม่กลัวใคร แถมว่องไวสุดๆ ตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมุ่งมันมากๆ […]

1 9 10 11 12 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.